ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อ.ส.ค.) ให้การต้อนรับ Mr. Rolf Stangle CEO และคณะผู้บริหารจาก บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค จำกัด พร้อมทั้งนำเยี่ยมชมโรงงานผลิตนมไทย-เดนมาร์ค และเครื่องจักร (High-Speed) ณ สำนักงาน อ.ส.ค.ภาคกลาง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
MOST POPULAR
ในเรื่องของการส่งออกข้าวจำหน่ายตลาดต่างประเทศ ไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 2 ของโลก เท่ากับปริมาณการส่งออกของเวียดนามที่ 7.5 ล้านตันเช่นกัน และอินเดียยังคงเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกที่ปริมาณ 16.5 ล้านตัน จึงเป็นความเสี่ยงของไทยที่จะต้องรักษาอันดับ การเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ เวียดนามยังมีโอกาสที่จะส่งออกข้าวแซงไทยที่เป็นไปได้สูง เพราะเริ่มเห็นตัวเลขการส่งออกข้าวเวียดนามเพิ่มขึ้น จากปกติการส่งออกเฉลี่ยเพียง 6 ล้านตันต่อปีเท่านั้น แต่เห็นชัดเจนขึ้นจากปี 2566 เวียดนามสามารถส่งออกได้ถึง 8.1 ล้านตัน และประมาณต้นปี 2567 เวียดนามสามารถประมูลข้าวจากอินโดนีเซียได้ถึง 4 แสนตัน จากการประมูลทั้งสิ้น 5 แสนตัน ส่วนที่เหลือเป็นของปากีสถานและเมียนมา ส่วนประเทศไทยไม่ได้เพราะราคาข้าวแพงกว่า ข้าวคาร์บอนต่ำ ทางรอดของเกษตรไทย นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปรับตัวของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันการผลิตและการค้าขายทางภาคการเกษตรข
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก ในแต่ละปีมีการผลิตและส่งออกข้าวจำหน่ายในปริมาณสูงเป็นลำดับต้นๆ ของโลก การอนุรักษ์สายพันธุ์ดั้งเดิมของข้าวพื้นเมืองเอาไว้ โดยนำมาผลิตเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำพวกสาโทนั่นเอง จากเครื่องดื่มพื้นบ้าน มีปัจจัยอะไรบ้างที่จะประกอบร่างสร้างให้กลายเป็นสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มีดีทั้งคุณภาพและรูปลักษณ์ ยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นสู่ของดีประจำชาติ และยังสร้างรายได้มหาศาลกลับคืนสู่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมแบรนดิ้งให้แข็งแรง ให้คุณค่ากับความเฉพาะตัวของวัตถุดิบพื้นถิ่น ใส่ใจในการออกแบบหน้าตาบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มสุนทรียะในการดื่มชิม คือตัวอย่างองค์ประกอบที่จะพาให้เครื่องดื่มพื้นบ้านไปไกลได้ทั้งในไทยและต่างแดน ความโดดเด่นทางภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยส่งผลให้แต่ละภูมิภาคมีการเพาะปลูกพืชพันธุ์ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีจุดร่วมคือภูมิปัญญาหมักดองถนอมอาหารแต่การแปรรูปข้าว พืชผลไม้พื้นถิ่น สมุนไพรเหล่านี้ก็ยังต้องอาศัยภูมิปัญญาของชุมชนปราชญ์ ชาวบ้านที่ศึกษาและลงลึกในการหยิบจับส่วนผสมต่างๆ มาทดลองหมักบ่มผ่
ผักกรอบไม่ง้อเคมี! ด้วย “สูตรน้ำหมักถั่วเหลือง” ฮอร์โมนถั่วเหลือง จะช่วยเร่งต้น เร่งใบ ทำให้ผักอ่อนกรอบ ลำต้นไม่แคระแกร็น ผักสมบูรณ์แข็งแรง และช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินดี มีธาตุอาหารมากขึ้น 🔴วัตถุดิบ ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม (ที่ใช้ทำน้ำเต้าหู้) ผงกลูโคส 1 กระป๋อง (ปริมาณ 400 กรัม) น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม โยเกิร์ต (รสธรรมชาติ) 2 ถ้วย หรือ ยาคูลท์ 2 ขวด น้ำส้มสายชู 1/2 ขวด (ขนาดขวดน้ำปลา) มะพร้าว 4 ลูก กลูโคส 400 กรัม น้ำเปล่า 8 ลิตร 🪴ขั้นตอนการทำ ล้างถั่วเหลืองด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด นำไปแช่ในน้ำอุ่นทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นเทน้ำทิ้งแล้วล้างให้สะอาดอีกครั้ง นำถั่วเหลืองที่ล้างแล้วผสมกับน้ำสะอาด 8 ลิตรปั่นให้ละเอียด กรองกากถั่วเหลืองครั้งแรกด้วยกระชอน แล้วกรองซ้ำอีกครั้งด้วยผ้าขาวบาง จากนั้นเทใส่ถังที่เตรียมไว้ ใส่ส่วนผสมที่เหลือทั้งหมดตามลงไปในถัง คนให้ส่วนผสมเข้ากันแล้วปิดฝา หมักทิ้งไว้ 1 เดือน 🍀วิธีใช้ ผสมน้ำหมักถั่วเหลือง 2-3 ช้อนลงในน้ำเปล่าประมาณ 5 ลิตร ใช้รดผักสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วยให้ผักเติบโตได้ดี ลำต้นแข็งแรง และทำให้ผักกรอบอร่อย ✨เคล็ดลับ หากใช้ยาคูลท์หมักทิ้งไว้ 1 เดือน หากใช้โยเกิร์ตหม
ประเทศไทยในยุคโลกรวน เสี่ยงเจอภาวะอาการแปรปรวนได้ตลอดเวลา หากในช่วงเช้าฟ้าครึ้มผิดปกติ เมฆหนา ไม่มีแดด แม้จะเป็นช่วงเวลา 06.00-09.00 น. ซึ่งตามปกติต้องมีแสงแดดที่เป็นตัวกลางสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสง จะพบว่า ปลาว่ายน้ำรวมตัวเป็นฝูง ลอยหัวเหนือผิวน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะอาการปลาขาดอากาศ ส่งผลให้สุขภาพปลาอ่อนแอ กินอาหารน้อยลง การเจริญเติบโตช้า หากปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำเกินค่ามาตรฐาน ปลาที่เลี้ยงในบ่อ อาจลอยตายได้ หากเกิดกรณีดังกล่าว สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี ให้คำแนะนำว่า เกษตรกรควรเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เช่น ใช้เครื่องตีน้ำหรือเครื่องมือที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ ให้ออกซิเจนในชั้นบรรยากาศละลายผสมกับน้ำ เพื่อให้ออกซิเจนละลายในน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของปลา ทั้งนี้ อุณหภูมิของสภาพแวดล้อมมีผลต่ออุณหภูมิภายในร่างกายของปลา เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโรคจะเป็นปกติเมื่ออุณหภูมิน้ำอยู่ในช่วงเดียวกับอุณหภูมิทางสรีระ (physiological range) ปลาจะมีอัตราการเผาผลาญของร่างกาย (metabolic rates) เพิ่มขึ้นถ้าน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ปลาส่วนใหญ่ถ้าอุณหภูมิข