มะขามป้อมแป้นสยาม เป็นพันธุ์ไทยแท้ๆ ที่เกิดจากการนำเอาเมล็ดของมะขามป้อมพันธุ์พื้นเมืองของไทยที่ขึ้นตามธรรมชาติในป่าเขตพื้นที่ จ.กาญจนบุรี
ก่อนที่จะถูกเรียกว่า “มะขามป้อมแป้นสยาม” เดิมทีเรียกว่า “พันธุ์เตี้ยเลื้อย”
มีจุดเด่น ที่สำคัญได้แก่ รูปทรงของผลสวยกลมแป้น มีน้ำหนักเฉลี่ยระหว่าง 20-25 ผลต่อ 1 กิโลกรัม โดยผลโตเต็มที่จะเกือบเท่าลูกปิงปอง ต้นเตี้ย ติดผลดก โดยที่ไม่ต้องฉีดฮอร์โมนอะไรมาก เพียงบำรุงด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพียงเท่านั้น
สำหรับท่านที่สนใจจะปลูกมะขามป้อม 1.ต้องดูพื้นที่ หากเป็นที่ลุ่มน้ำ น้ำท่วม ก็ไม่สมควรปลูก 2.น้ำ ปีแรกที่ปลูกต้องให้น้ำสม่ำเสมอ 3.ปลูกแล้วเน้นที่การแปรรูปสร้างมูลค่า
#มะขามป้อม #มะขามป้อมแป้นสยาม #การปลูกมะขามป้อม
MOST POPULAR
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
“ทุเรียนปราจีน” ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) อย่างเป็นทางการ มีผลตั้งแต่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งการทำสวนทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ ไม่ได้เน้นการทำสวนแบบจำนวนมาก โดยเกษตรกรแต่ละรายจะมีสวนทุเรียนที่สามารถดูแลกันเองได้ภายในครอบครัว จึงทำให้ผลผลิตที่ได้แต่ละปีมีการดูแลอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งมีการใส่ใจในเรื่องของการผลิตให้ได้มาตรฐาน จีเอพี (GAP) ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาด คุณธัญญรัตน์ ชาญยงค์ อยู่บ้านเลขที่ 127/1 หมู่ที่ 2 ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้ทำสวนทุเรียนปลูกอยู่รอบบริเวณบ้านรวมกับพันธุ์ไม้อื่นๆ เมื่อถึงหน้าฤดูกาลทุเรียนออกผลก็จะดูแลอย่างดี ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีรสชาติดี ผลผลิตได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า และเมื่อทุเรียนหมดฤดูกาลไปก็จะได้ผลผลิตจากไม้อื่นทำรายได้แทน เธอจึงมีรายได้จากพืชหลากหลายชนิดทำรายได้ตลอดทั้งปี คุณธัญญรัตน์ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่เธอจำความได้ตั้งแต่สมัยเด็ก ครอบครัวของเธอก็มีสวนไม้ผลอยู่รอบบริเวณบ้าน โดยเน้นเป็นทุเรียนพันธุ์โบราณเป็นหลัก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่
ชูการ์ไกลเดอร์ (Sugar glider) ซึ่งถูกเรียกว่า “จิงโจ้บิน” หรือจิงโจ้ร่อน มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลียและอินโดนีเซีย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง จำพวกพอสซั่ม เนื่องจากตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่จนกว่าจะโตได้ ด้วยรูปลักษณ์ที่น่ารัก ไม่ดุร้าย ไม่ก้าวร้าว และพฤติกรรมการร่อนที่น่าสนใจ ทำให้ชูการ์ไกลเดอร์ เป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ลักษณะเด่นเฉพาะตัว ชูการ์ไกลเดอร์ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป แต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเอง ตามธรรมชาติชูการ์ไกลเดอร์ จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำให้มีเล็บที่แหลมคมใช้เกาะ เพื่อกระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง ความสามารถในการบินได้ ซึ่งเกิดจากพังผืดข้างลำตัวจากขาหน้าไปถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลาร่อน จากที่สูงไปยังที่ต่ำได้ในระยะทางที่ไม่ไกล เช่นเดียวกับกระรอกบิน หรือ บ่าง ชูการ์ไกลเดอร์มีพฤติกรรมที่ชอบกินยางไม้จากต้นไม้ และอาหารที่มีรสชาติหวานในธรรมชาติ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
คุณพงพันธ์ เทพไทย (พัน) Young Smart Farmer จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชายผู้มีความสุขในการทำเกษตร ซึ่งคุณพันได้เริ่มทำเกษตรมาตั้งแต่อายุ 20 ปี จนถึงปัจจุบันเขาก็ยังได้ส่งต่อแนวคิดดีๆ ในการทำเกษตรในรูปแบบ “เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ เกษตรผสมผสาน” ให้กับลูกๆ และเด็กรุ่นใหม่ที่อยากเรียนรู้อีกด้วย อันดับแรกมาทำความรู้จักเกี่ยวกับคำว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” กันก่อน เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแนวทางในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากให้ผ่านพ้นวิกฤตมาได้ แบ่งพื้นที่จัดสรรในการทำสวนตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 จุดเริ่มต้นของการทำเกษตรผสมผสาน คุณพัน เล่าว่า จุดเริ่มต้นมันเกิดจาก “ความรักในการทำเกษตร” ซึ่งการจะเป็นเกษตรกรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกษตรเป็นเรื่องของการเอาใจใส่ และเวลาในการเพาะเลี้ยง แต่เมื่อมันออกผลผลิตให้เราแล้ว ผลผลิตเหล่านั้นจะทำให้เราอยู่ได้แถมสร้างรายได้ให้เราอีกด้วย และที่สำคัญคือ ‘เราเป็นนายตัวเอง’ ช่วงหนึ่งในการพูดคุยคุณพันได้เล่า