วิสาหกิจกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูมะพร้าวครบวงจร บ.คลองวัว ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ. สมุทรสงคราม “จากความสามัคคี ก่อให้เกิดพลังในการพัฒนา กลายเป็นบทเรียนสำคัญที่ส่งต่อให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองแทนการรอความช่วยเหลือจากภายนอก”
MOST POPULAR
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เผยผลไม้ไทยมีโอกาสส่งออกตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เหตุต้องพึ่งพาการนำเข้าเกือบ 100% โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เคยมาเที่ยวไทย และกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงเป็นลูกค้าหลัก ส่วนใหญ่ขายในห้าง และมีจำหน่ายปลีกแบบใส่ถาดโฟมหรือกล่องพลาสติกด้วย เตรียมจับมือทูตพาณิชย์ประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการบริโภคผลไม้ไทย เพื่อสร้างการรับรู้และเพิ่มโอกาสส่งออกต่อไป นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางการค้า และโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ ตามนโยบาย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ล่าสุดได้รับรายงานจาก นายปิติชัย รัตนนาคะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ถึงการสำรวจตลาดผลไม้สดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คู่แข่งในการส่งออกผลไม้ และโอกาสในการส่งออกผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และการส่งออกต่อไปยังประเทศในตะวันออกกลางอื่นๆ โดยทูตพาณิชย์ได้รายงานว่า ยูเออีเป็นประ
“จิตร์นิยม” สวนผลไม้ชื่อดังของจังหวัดปราจีนบุรี ที่ได้เป็นสวนออร์แกนิกดีเด่นระดับประเทศจากกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2556 มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรุ่นอาเหล่ากงบุกเบิกทำเป็นสวนเกษตรอินทรีย์เป็นที่แรกของอำเภอศรีมหาโพธิ จนเริ่มเป็นที่รู้จักในยุคคุณสมพร อุดมสิน ในชื่อสวนจิตร์นิยม และได้รับการเฝ้าดูจนมาถึงรุ่นคุณเกรียงศักดิ์ อุดมสิน เจ้าของสวนคนปัจจุบัน ผู้ทำการตลาดส่งออกผลไม้และติดต่อขายกับ 24 Shopping ในรูปแบบ E-Commerce และห้างสรรพสินค้า Central จนมาถึงรุ่นที่ 4 ซึ่งได้มีการวางแผนลงทุนและต่อยอดต่อไป ปัจจุบันที่สวนก็ยังยืนหยัดที่จะทำเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมีการขยับขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมพื้นที่ 20 ไร่ จนถึงปัจจุบันขยายพื้นที่ไปถึง 500 ไร่ นับได้ว่าเป็นอีกสวนเกษตรผสมผสานแบบอินทรีย์ที่มากคุณค่า มากเรื่องราว และน่าค้นหาเป็นอย่างมาก คุณบุณยกร อุดมสิน หรือ คุณเนียร์ อยู่บ้านเลขที่ 29/1 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองโพรง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรง ในวัย 23 ปี ที่กำลังจะกลับมาสานต่อกิจการทำสวนของที่บ้าน อยู่ในช่วงระหว่างการเปลี่ยนรุ่นการดูแล โดยได้มีกา
นานแล้วที่คนพื้นบ้านตำนานไทยว่าไว้ ถึงภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับ “ขมิ้นชัน หรือขมิ้นเหลือง” กันอย่างมาก เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณทางยา เรียกว่า เป็นตำรับสมุนไพรพื้นบ้าน และเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารประจำครัว นานจนดูเหมือนว่าจะเป็นพืชไทยมาแต่โบราณกาลเก่าก่อน แท้จริงเลย เรารู้จักขมิ้นกันมาตั้งแต่สมัยไหนสมัยใดแล้ว ถ้ามีใครสืบค้นต้นตอ และบันทึกไว้ อาจจะเจอเป็นหลักฐานโบราณเลยก็เป็นได้ จนถึงวันนี้สารพัดประโยชน์จากขมิ้น มีมากมายหลายด้าน หลากหลายสรรพคุณ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสมุนไพร ขมิ้นชัน มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นเหลือง ขมิ้นดี เข้าหมิ้น ภาคใต้เรียก ขี้มิ้น ละมิ้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ขิง ข่า คือ ZINGIBERACEAE มีชื่อสามัญ Turmerie ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma domestica (C.longa) ขมิ้นมี 2 อย่าง คือ ขมิ้นชัน กับ ขมิ้นอ้อย มีสรรพคุณเหมือนกัน แต่ขมิ้นอ้อยจะนำมาเป็นยารักษาโรค ขมิ้นชันจะนำมาเป็นยาสมุนไพร และเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารหลายอย่าง ใช้ได้ทั้งหัวแง่ง และใบแก่ ใบอ่อน ทางภาคใต้ แกงเหลือง หรือแกงส้ม ทางเหนือ แกงฮังเล เครื่องหมักไก่ปิ้งสีสวย กลิ่นหอมมาก ใส่ห่อหมกปลา ใบรองหม้อนึ่
คุณอังคณา ปาคำ หรือ คุณจ๊ะเอ๋ ธุรการสาว เจ้าของบ้านไร่อำไพร ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 186 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่พลู อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ที่ถึงแม้จะมีงานประจำทำอยู่แล้ว ก็ยังสามารถแบ่งเวลามาทำงานเกษตรที่ตนเองรักได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง คุณจ๊ะเอ๋ บอกว่า การปลูกผักของตนเองเริ่มจากการมีเป้าหมายอยากจะปลูกผักไว้กินเอง จึงเริ่มต้นจากการปลูกผักสลัดก่อน แต่ด้วยสภาพดินและต้นทุนการปลูกผักสลัดค่อนข้างสูง ทำให้ต้องกลับมาพิจารณาใหม่ว่าควรจะเอาเงินไปทุ่มกับตรงนี้หรือไม่ และก็คิดได้ว่าการทำเกษตรเราต้องเริ่มต้นจากศูนย์ จึงเปลี่ยนความคิดเริ่มมองจากสิ่งใกล้ตัวก่อนคือมีผักอะไรบ้างที่เราและที่บ้านชอบกิน แล้วขยายต่อไปยังชุมชนว่าคนในชุมชนชอบกินผักอะไร หรือปลูกอะไรที่ชาวบ้านเข้าถึงง่าย จับจ่ายใช้สอยสะดวก โดยนำเอาหลักความคิดเหล่านี้มาเป็นแนวทางการทำเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวผสมผสาน เช่น แตงกวา กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง มะเขือเปราะ และอื่นๆ อีกมากมายตามฤดูกาล มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกทั้งหมด 18 แปลง เลือกปลูกพืชผักตามฤดู และเลือกพืชที่ไม่ค่อยมีแมลงมารบกวน เพื่อการจัดการง่าย ประหยัดต้นทุน ส่วนเรื่องระบบน้ำไม่เป็นปัญห