Uncategorized
เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจหนักมาตลอด โดยเริ่มจากการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปทุกภูมิภาค ทำให้พระองค์ทรงรับรู้ถึงสารพัดปัญหาในประเทศไทย และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าทรงพระปรีชาสามารถและทรงรอบรู้ในหลากหลายสาขา จนทรงได้รับการยกย่องเชิดชูจากองค์กรระดับโลกหลายองค์กร พร้อมกันนั้นยังทรงให้ความสนพระทัยในศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา ดนตรี ศิลปวัฒนธรรม เกษตร และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ทรงแนะ ต้องรับมือความท้าทายใหม่ๆ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ที่ผ่านมา ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานสำคัญๆ สองงานที่ล้วนเกี่ยวเนื่องกันและมีความสำคัญยิ่งต่อผู้คนในโลกใบนี้ งานแรกเป็นงานใหญ่ระดับโลก นั่นคือ งานประชุมวิชาการนานาชาติและนิทรรศการเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านเกษตรและเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (International Conference on Sustainable Agriculture and Bioeconomy 2017 หรือ แอ็กไบโอ AgBio 2017) จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ไบเทค บางนา งานที่สองทรงเป็น
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีสาธารณะนโยบายน้ำ เนื่องในวันน้ำโลกในประเด็น “การวางแผนด้านน้ำในบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการ บูรณาการเชิงพื้นที่” เพื่อยกระดับความสามารถในการวางแผนน้ำทั้งระดับประเทศ ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด และลุ่มน้ำ ให้รับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงเรื่องน้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดร.ศิริพงษ์ หังสพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาประเด็นวิจัยเชิงยุทธศาสตร์เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ น้ำ ที่ดิน และการจัดการสิ่งแวดล้อม สกว. กล่าวว่า วาระของวันน้ำโลกของปี 2560 องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ ได้ประกาศและเล็งเห็นความสำคัญร่วมกันของน้ำเสียเนื่องด้วยว่าปัจจุบันโลกนี้ยังมีประชากรประมาณ 2,400 ล้านคน ที่ยังไม่มีระบบสุขาภิบาล และ 946 ล้านคน ยังขับถ่ายในที่ที่ไม่มีส้วม สถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบสุขาภิบาลและการจัดการน้ำเสียเป็นสิ่งจำเป็น ด้วยเหตุนี้ปี 2560 องค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดวาระวันน้ำโลกเป็นเรื่อง “น้ำเสีย” เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำของโลกปัจจุบัน โดยการปรับชุดความคิดของคนเกี่ยวกับน้ำเสียใหม่ว่า “น้ำเสียคือทรัพยากรที่สามารถนำ
ในระยะเวลา 7 ปี นับตั้งแต่จังหวัดบึงกาฬได้แยกตัวออกมาจากจังหวัดหนองคายอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2554 จังหวัดบึงกาฬได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งด้านสังคม การค้า การลงทุน ความสำเร็จในวันนี้ สืบเนื่องจากชาวบึงกาฬเป็นคนขยันทำมาหากินแล้ว พวกเขายังได้ผู้นำที่ดี อย่าง “คุณนิพนธ์ คนขยัน” นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ (อบจ. บึงกาฬ) ที่มุ่งพัฒนาบึงกาฬให้เป็นสังคมแห่งความสุข มีอาชีพการงานที่มั่นคง และสร้างความมั่งคั่งแก่ประชาชนชาวบึงกาฬ ทำให้ “จังหวัดบึงกาฬ” ได้รับการยกย่องให้เป็น “เมืองหลวงแห่งยางพารา แห่งภูมิภาคอีสาน” มาจนถึงทุกวันนี้ ถนนยางพารา… เพิ่มช่องทางใช้ยางในประเทศ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 คุณวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เเละคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมถนนยางพาราสายแรกของจังหวัดบึงกาฬ ที่อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ นับเป็นนวัตกรรมการสร้างถนนลาดยางพาราโพลิเมอร์ดินซีเมนต์ เทคโนโลยีเเละนวัตกรรมก้าวล้ำสมัยในการสร้างถนนรูปแบบใหม่แห่งเเรกในประเทศไทย ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กับจังหวัดบึงกาฬ เเละองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ มจพ. ได้คิดค้น “ถนนลาดย
กองทุน FTA ทุ่มงบพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ รุกสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จำกัด จ. กำแพงเพชร เน้นถ่ายทอดองค์ความรู้จากการฝึกอบรม ให้การสนับสนุนเงินยืมปลอดดอกเบี้ยเพื่อจัดหาโคแม่พันธ์และโคเพศผู้ ตลอดจนแนวทางเพื่อช่วยเกษตรกรลดต้นทุน นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ได้อนุมัติงบประมาณ 25 ล้านบาท ให้สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคขุนในเขตปฏิรูปที่ดินปางศิลาทอง จำกัด ดำเนินการโดยจัดอบรมและยกระดับการเลี้ยง สู่มาตรฐาน ระยะเวลาโครงการพฤศจิกายน 2559 – พฤศจิกายน 2565 สำหรับการจัดอบรมให้เกษตรกร ได้รับความร่วมมือจากสมาคมโคเนื้อพันธุ์กำแพงแสน ซึ่งมีทีมวิทยากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านโคเนื้อจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยได้จัดอบรมจำนวน 3 รุ่น มีผู้ผ่านการ
โรงสีขาดสภาพคล่องหนัก ถูกแบงก์กรุงไทยเข้มงวดปล่อยเงินกู้แพ็กกิ้งสต๊อก-ตั๋ว P/N หลังพบ NPL พุ่ง จากวงเงิน 70,000 ล้านบาท หวั่นขาดเงินซื้อข้าวนาปรังที่จะออกสู่ตลาด 3 เดือนนี้อีก 9 ล้านตันข้าวเปลือก ด้านนายก ส.โรงสีข้าว ดิ้นทำหนังสือถึงพาณิชย์-คลัง ขอให้ช่วยแก้ปัญหา หากแบงก์ยังไม่ปล่อยกู้ หนี้ดีที่มีอยู่ก็จะกลายเป็นหนี้เสียทั้งหมด โรงสีข้าว หนึ่งในกลไกสำคัญของอุตสาหกรรมข้าวครบวงจรในประเทศ กำลังตกอยู่ในสถานะลำบาก เมื่อสถาบันการเงินในประเทศหันมาใช้มาตรการเข้มงวดในการปล่อยกู้ ส่งผลให้โรงสีขาดสภาพคล่องในการซื้อข้าวเปลือกนาปรังและมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบถึงราคาข้าวเปลือก โรงสีขาดสภาพคล่อง นายเกรียงศักดิ์ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สมาคมได้ประสานกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ขอทราบความชัดเจนหลัง สมาคมโรงสีได้ทำหนังสือถึง น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ขอให้ช่วยแก้ปัญหาธนาคารกรุงไทยปรับเปลี่ยนนโยบายการให้และใช้วงเงินชนิดตั๋วระยะสั้น (ตั๋ว P/N) หรือแพ็กกิ้งสต๊อก (ตั๋ว P/N) ที่เคยให้กับผู้ประกอบการโรงสีข้าว “ลดลง” โดยไม่แจ้
“อุตสาหกรรมเม็ดมะม่วงหิมพานต์” ของเวียดนาม ถือเป็นหนึ่งสินค้า “เกษตร” ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ทำให้เม็ดมะม่วงหิมพานต์กลายเป็น “พืชเศรษฐกิจ” สำคัญของประเทศที่มียอดส่งออกมากเป็นอันดับต้น ๆ รองจากข้าว ยางพารา และกาแฟ ไซ่ง่อน ไทมส์ รายงานข้อมูลสมาคมผู้ผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเวียดนาม (Vinacas) ระบุว่า ระหว่างปี 2549-2558 เวียดนามเป็นผู้นำเข้าผลมะม่วงหิมพานต์ที่ยังไม่ผ่านการแปรรูปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์อันดับ 1 ของโลกตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยปี 2558 เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ถึง 330,000 ตัน ไปยัง 80 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นมูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสหรัฐ จีน และประเทศยุโรป เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ นายดั๋ง หว่าง ยาง เลขาธิการสมาคมมะม่วงหิมพานต์เวียดนาม กล่าวว่า เม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็น 1 ใน 2 สินค้าเกษตร ที่มีการเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า และยอดส่งออกของเวียดนามคิดเป็น 50% ของมูลค่าส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทั่วโลก ปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่ปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์ ประมาณ 450,000 เฮกตาร์
ด้วยวิสัยทัศน์ของบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ “GGC” ที่มุ่งเป็นผู้นำในการผลิต ผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ภายใต้กลุ่มบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ “PTTGC” จึงทำให้เกิดการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญ และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เหมือนดั่งเช่น “น้ำมันปาล์ม” ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต จึงทำให้ต้นทางของการได้มาของวัตถุดิบมีการใส่ใจ และให้ความสำคัญ โดย GGC มีการการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการทำเกษตรกรรมสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ด้วยมาตรฐาน RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) โดยมีการประสานความร่วมมือพันธมิตรทางธุรกิจอย่างบริษัท อีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ในการดำเนินการ เพื่อไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่ยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ “จิรวัฒน์ นุริตานนท์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และสามารถเพาะปลูกได้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งม
ในงานมหัศจรรย์พันธุ์ข้าวมงคล พืชผลของพ่อ จัดโดยเครือมติชน มีการนำพันธุ์ข้าวมงคลไปแสดง 9 พันธุ์ แจกข้าวมงคล 3 พันธุ์ แสดงพันธุ์ข้าวหายาก ข้าวยอดนิยมกว่า 199 พันธุ์ หุงข้าวให้ชิมอย่างน้อยวันละ 4 พันธุ์ ข้าวขึ้นน้ำ ต้นสูงกว่า 2 เมตร จะนำไปแสดงในครั้งนี้ด้วย โดยได้ความอนุเคราะห์จากศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา กรมการข้าว กรมการข้าว ได้เก็บรักษาพันธุ์ข้าวไว้ เพื่อใช้ในยามไม่ปกติ หมายถึงน้ำท่วม ฝนแล้ง แมลงระบาด นักวิชาการเกษตรทางด้านข้าวมีหน้าที่วิจัย ปรับปรุงพันธุ์ข้าว ให้เหมาะต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในวงกว้าง ก็จะหาพันธุ์ที่ต้านทานเพลี้ยสนับสนุนให้เกษตรกรปลูก เพื่อลดความเสียหาย กรณีข้าวขึ้นน้ำ มีวิจัยและปลูกกันอยู่พอสมควร ข้าวขึ้นน้ำที่เกษตรกรปลูก เมื่อน้ำไหลบ่าและมีปริมาณมากขึ้น ข้าวจะสูงตามน้ำ จาก 1 เมตรเพิ่มเป็น 2-3 เมตร เมื่อน้ำลง ข้าวก็เอนราบกับผืนนา สามารถเก็บเกี่ยวได้ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา มีข้าวขึ้นน้ำสูงถึง 4 เมตร เสียดายที่ไม่สามารถบรรทุกรถมาได้ แต่ผู้จัดงานก็นำต้นข้าวที่สูงเกือบ 3 เมตรมาแสดง อย่าลืมอย่าพลาด อย่าละโอกาสอันดี
เนื่องจากคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์สีย้อมสังเคราะห์ 5 ชนิด ได้แก่ สีไดเร็กต์ สีรีแอกทีฟ สีแวต สีซัลเฟอร์ และสีแอซิด ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา ผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้นำเข้าสีย้อมสังเคราะห์ดังกล่าว ต้องยื่นขออนุญาตเพื่อยืนยันว่า สีย้อมสังเคราะห์เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งกรณีนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและกลุ่มผู้ผลิตสิ่งทอและย้อมสีเส้นใย รวมถึงการย้อมสีเส้นไหมด้วย ดังนั้น กรมหม่อนไหม จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยเข้ามาเรียนรู้การย้อมสีธรรมชาติ ที่ “ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ไม้ย้อมสี” เพื่อเพิ่มทางเลือกในการย้อมเส้นไหมด้วยวัสดุธรรมชาติ ซึ่งให้สีสันสวยงามสุดคลาสสิก เป็นเอกลักษณ์และมีคุณภาพไม่แพ้การย้อมสีสังเคราะห์ ที่สำคัญยังมีความปลอดภัยสูงและช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วย ปัจจุบันกรมหม่อนไหมมีศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ไม้ย้อมสี จำนวน 15 ศูนย์ทั่วประเทศ ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ศมม.) แพร่ ตาก อุดรธานี หนองคาย สก
จากการวางแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในโครงการกองทุนการศึกษา รุ่นที่ 3 และรุ่นที่4 ในพื้นที่ภาคใต้ ประจำปี 2558-2559 โดยความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เขตภาคใต้ตอนล่าง นั้นคณะกรรมการมีนโยบายให้โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 11 แห่งในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่โรงเรียนคุรุชนพัฒนา โรงเรียนบ้านบาละ โรงเรียนบ้านบูเกะตา โรงเรียนบ้านมูโนะ โรงเรียนนิคมพัฒนา10 โรงเรียนบ้านสาเมาะ โรงเรียนบ้านวังกว้าง โรงเรียนบ้านตะโละไกรทอง โรงเรียนบ้านป่าโอน โรงเรียนบ้านกระอาน โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ ให้ได้รับการพัฒนาให้กับครูผู้สอนในด้านวิชาชีพพื้นฐาน เพื่อให้ครูผู้สอนได้นำความรู้และทักษะด้านวิชาชีพช่างไปพัฒนาสถานศึกษา และถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงาน และนักเรียน นายขจรศักดิ์ พงศ์ธนา คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี กล่าวว่า โครงการฝึกทักษะงานช่างวิชาชีพพื้นฐาน สำหรับอาจารย์ผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุทธศาสตร์พัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งเป็นการหารือร่วมกันทั้ง 9 มทร.