ของดีทั่วไทย
นับจากแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมานั้น ทำให้วงการสมุนไพรทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัดตื่นตัวเป็นอย่างมาก โดนในแผนแม่บทได้ระบุให้มีการพัฒนาเมืองสมุนไพรใน 4 ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกการพัฒนาสมุนไพรครบวงจรแบบบูรณาการระดับพื้นที่ ซึ่งจังหวัดปราจีนบุรี ได้รับคัดเลือกให้เป็น เป็น 1 ใน 4 เมืองสมุนไพรของประเทศ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมในด้านการพัฒนาสมุนไพรโดยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เมื่อได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 4 เมืองสมุนไพร ทางจังหวัดฯจึงจัดตั้งคณะกรรมการเมืองสมุนไพรขึ้นมา ทำหน้าที่ในการกำหนดยุทธศาสตร์และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดให้เกิดการพัฒนาเมืองสมุนไพรปราจีนบุรี โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ของเมืองสมุนไพรปราจีนบุรีได้นำ Thailand Model 4.0 มาปรับใช้ในการวางกลยุทธ์ เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรี มีความได้เปรียบในความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อีกทั้งยังความหลากหลายทางวัฒนธรรม เนื่องจากมีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ ซึ่งความได้เปรียบเหล่านี้สา
เรื่องโดย : มติชนออนไลน์ วันที่ 28 ธันวาคม 2559 นายอนุชา กาติ๊บ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ตำบลอ่างทองมีประชาชนชาวไทยอีสานจำนวน 8 หมู่บ้าน ซึ่งมีวิถีชีวิตนิยมทอผ้าข้าวม้าและทำหมอนจากผ้าทอกันทุกครัวเรือน โดยเฉพาะผ้าขาวม้าทอเก็บไว้ในตู้ทุกปี ไว้ใช้สำหรับต้อนรับแขกผู้มาเยือน ดังนั้นทุกครัวเรือนจะมีผ้าขาวม้ากันทุกหลังคาเรือน เมื่อมีมากก็จึงได้หารือร่วมกันระหว่าง อบต.และกลุ่มแม่บ้าน จนได้แนวคิดเรื่องการเพิ่มมูลค่าผ้าขาวม้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวไทยอีสานใน ต.อ่างทอง ด้วยการฝึกอาชีพแปรรูปผ้าขาวม้า ทั้งนี้ อบต.ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้มีการฝึกอาชีพดังกล่าวขึ้น นางเพ็ญศรี ชื่นวงค์ รองนายก อบต.อ่างทอง กล่าวว่า เป็นการฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่กลุ่มแม่บ้าน และที่สำคัญคือการสืบทอดและต่อยอดภูมิปัญญาด้านผ้าขาวม้ามิให้สูญหาย เมื่อผ่านการฝึกอาชีพในครั้งนี้แล้ว ยังสามารถผลักดันและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์โอทอปของตำบลอ่างทองได้ด้วย ด้านนางรุจิรา พิมพ์ประสงค์ ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าตำบ
“ยุง” เป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาได้มีการคิดค้นผลิตภัณฑ์และยาต่างๆเพื่อกำจัดหรือป้องกันไม่ให้ยุงร้ายมาไต่ตอมหรือกัดผู้คน ซึ่งในประเทศไทยก็มีผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำนวนไม่น้อย อย่างเช่นนวัตกรรมสูตรน้ำไล่ยุงชนิดไมโครแคปซูล ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรม Polymer assisted a sustained and release (PASAR: พาซ่าร์) โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ผศ.ดร.สมชาย เจียจิตต์สวัสดิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยบริษัท บาริแคร์ จำกัด ที่ได้ร่วมกันพัฒนา เพื่อใช้เป็นวัสดุฉลาดในการช่วยควบคุมการปลดปล่อยสารสกัดจากธรรมชาติและวิตามินอย่างยั่งยืน นับเป็นการใช้องค์ความรู้ด้านไบโอเทคโนโลยีการสกัดสารสกัดจากพืชสมุนไพรให้ออกมาเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไล่ยุง ซึ่งนับว่ามีความโดดเด่นแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ดร.สรวง สมานหมู่ นักวิจัยห้องปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ชีวภาพ ไบโอเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้น้ำมันหอมระเหยในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงคือ ความเสถียรของน้ำมันหอมระเหย เนื่องจากเกิดการระเหยได้ง่าย ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพของผลิ
ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ผู้ช่วยผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร เผยว่า แบรนด์ “น่านเน้อเจ้า” มีที่มาจากการที่ชุมชนกลุ่มทอผ้าในเขตพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ประกอบด้วย อำเภอเมืองน่าน ได้แก่ กลุ่มทอผ้าโฮงเจ้าฟองคำ ตำบลในเวียง กลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวง ตำบลบ่อสวก กลุ่มทอผ้าบ้านนาปงพัฒนา ตำบลนาซาว กลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านเชียงราย ตำบลดู่ใต้ และกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง ตระหนักในคุณค่าของผ้าทอ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองน่าน แบรนด์ “น่านเน้อเจ้า” โดย อพท. สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เข้ามาเชื่อมการทำงานระหว่างชุมชนและผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาเอกลักษณ์ผ้าทอ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านการแปรรูป บรรจุภัณฑ์ และการทอผ้ารูปแบบใหม่ และสร้างตลาดผู้บริโภคที่หลากหลาย มีช่องทางการจัดจำหน่ายและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น พร้อมนำคนรุ่นใหม่เข้าร่วมเพื่ออนุรักษ์ผ้าทอเมืองน่านให้สืบทอดต่อไปได้ “แบรนด์ น่านเน้อเจ้า เป็นแบรน
ยายเบ เจ้าของรถเข็นขายโรตี ชื่อร้าน “อาบัง-ยายเบ” ที่จอดขายอยู่หน้าสถานีรถไฟวังโพ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เล่าให้ฟังว่า ขายโรตี มานานหลายสิบปีแล้ว ส่วนโรตีเนื้อมะพร้าวอ่อน เสิร์ฟในลูกมะพร้าวนี้ ขายมาได้ 5-6 ปี โดยมีลูกชายคนโต เป็น “คนต้นคิด” สูตรเอง เรียกกันว่า “โรตีมะพร้าว” คล้ายกับโรตีกล้วยหอม “เมื่อก่อนมี โรตีลูกตาล แต่ช่วงที่ไม่ใช่ฤดู ลูกตาลมักหายาก เลยหันมาทำมะพร้าวอ่อนแทน ทุกวันนี้มีขายที่อำเภอไทรโยคอย่างเดียว คือ หน้าสถานีรถไฟวังโพ ช่วงเย็นถึงค่ำ และแถวหน้าน้ำตกไทรโยคน้อย เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน”เจ้าของร้าน เล่า สำหรับขั้นตอนเทคนิคการทำนั้น ยายเบ ไม่มีหวงสูตร ก่อนบอก ใช้มะพร้าวอ่อนครึ่งลูก นำมาขูดเป็นเส้นพักลงในกระป๋องสแตเลส ก่อนตอกไข่ไก่ลงไปหนึ่งฟอง ตีให้เข้ากันและพักไว้ จากนั้นจึงหันมาตบแป้งโรตี สูตรผสมใบเตย แผ่จนได้ขนาดแล้วจึงนำลงกระทะ เทเนื้อมะพร้าวอ่อนและไข่ ที่เตรียมไว้ลงบนแป้ง เกลี่ยมะพร้าวและไข่ไก่ ให้กระจายทั่วแผ่นแป้ง ก่อนให้พลิกขอบแป้งทั้งสี่ด้าน เติมน้ำมันลงไปอีกนิด และให้ตักเนยมาประมาหนึ่งช้อนหย่อนลงไปบนนกระทะและแผ่นแป้งโรตี รอแป้งด้านหนึ่งเกรียมได้ที่จึง
เดินผ่านรั้วสังกะสีแถวออฟฟิศสายตาไปปะทะกับ “มะอึก” ผักเคียงที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จัก ยกเว้นคอน้ำพริก แค่ฝานเป็นแว่น โขลกกับน้ำพริก ช่วยเพิ่มรสชาติได้อย่างวิเศษ ไม่เพียงแค่นั้น ความเริ่ดของมะอึกยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย นอกจากมีเบต้าแคโรทีนสูง (สารตั้งต้นของวิตามินเอ) มะอึก 100 กรัม จะให้พลังงานต่อร่างกาย 53 กิโลแคลอรี แบ่งเป็นเส้นใย 3.6 กรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี 1-0.07 มิลลิกรัม วิตามินบี 2-0.05 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม “ผลสด” ช่วยบรรเทาอาการไอ ละลายเสมหะ “ดอก” ช่วยรักษาอาการคัน “ราก” ซึ่งมีรสเย็นและเปรี้ยวเล็กน้อยมาปรุงเป็นยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ไขที่มีอาการชักกระตุก แก้ไขสันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ ดับพิษร้อนภายใน ช่วยกระทุ้งพิษไข้ให้ออกตุ่มอย่างอีสุกอีใส เหือด หรือหัดเยอรมัน หัด และอื่นๆ อีกมากมาย แม้กระทั่ง “ขน” มะอึก ขูดรวมกันผสมกับไข่ นำไปทอดเป็นไข่เจียวแก้พยาธิได้ดี ฉะนั้น ขอแนะนำให้หามาปลูกไว้ข้างรั้วสักต้น แค่มีดินปนทราย น้ำไม่ต้องมาก แมลงก็ไม่ค่อยกวน
ผู้เขียน/ภาพ : กรรณิกา เพชรแก้ว ฉันเห็นเขาทำหมี่พันครั้งแรก นอกจากสนุกไปการม้วนๆพันๆของเขาแล้ว ก็นึกในใจว่าทำง่ายปานนี้ นี่หรือที่ติดขั้นของดีเมืองลับแล คือฉันนึกว่าจะมีอะไรซับซ้อนเวอร์วังมากกว่านี้เสียอีก ง่ายปานนี้ แต่หมี่พันก็เป็นของขึ้นชื่อ ของกินติดบ้านติดเรือนของคนเมืองลับแล อุตรดิตถ์จริงๆ และป่านนี้ก็กำจรกำจายไปทั่ว เคยเห็นที่เมืองนอก เขาก็ยังเรียกหมี่พันลับแล ฮิตกันไปทั่วทีเดียว ที่ชื่อว่าหมี่พัน มันมาง่ายๆคือ เขาใช้วิธีพันๆม้วนๆแบบง่ายๆ ง่ายกว่าปอเปี๊ยะหรือก๋วยเตี๋ยวหลอดเพราะไม่ต้องพับปลายใดๆทั้งสิ้น ม้วนง่ายๆอย่างนั้น ส่วนข้างในก็เป็นหมี่ยำ ซึ่งก็คือเส้นหมี่ขาวแช่น้ำหรือลวก ผสมกระเทียมโขลกสักหน่อย แล้วเอามายำกับพริกป่น น้ำปลา มะนาว น้ำตาล ถั่วงอก กระเทียมเจียว ผักชี หรือจะใส่เครื่องเคียงอื่นใดอีกก็ตามใจ จะเอาเผ็ดน้อยเผ็ดมากแล้วแต่จะสั่งการกัน แผ่นที่นำมาพันนั่น เขาเรียกว่าแผ่นข้าวแคบ ซึ่งมันก็คือแผ่นข้าวเหนียวโม่ผสมกับน้ำแล้วเอามาทาเป็นแผ่น เอาไปนึ่งบนผ้าขาวบางที่คลุมปากหม้อ เเล้วตากเเดดจนเเห้ง หน้าตาเหมือนแผ่นปอเปี๊ยะ แผ่นข้าวเเคบนี่เขาจะผสมงาดำกับเกลือ ลงในเเป้ง เพื่อเพิ
เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจว่า ที่โรงเรียนบ้านค้างปินใจ ม.4 ต.แม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แพร่ เขต 2 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสเป็ดการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาม.3 มีจำนวนนักเรียน 85 คน ครู 10 คน มีนายสมชาย ไชยเขียว เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นสถานศึกษาปลอดผงชูรส 100 เปอร์เซ็นต์ มากว่า 10 ปี นายสมชาย ไขยเขียว ผอ.ร.ร.บ้านค้างปินใจ เปิดเผยว่า ทางโรงเรียนผลิตผงชูรสจากธรรมชาติขึ้นใช้ประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวัน โดยนักเรียนจะหาเก็บใบโกศลชนิดใบใหญ่ ใบมะรุม ใบผักย่านาง ใบผักหวานป่าหรือผักหวานบ้าน ทั้ง 4 ชนิด นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตผงปรุงรสจากธรรมชาติ โดยขั้นตอนหลังจากเก็บใบไม้ก็นำมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นฝอย ตากแดดให้แห้ง ก่อนนำเข้าตู้อบ และนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงสีเขียว มีกลิ่นหอมของใบไม้ ก็จะได้ผงปรุงรส ทดแทนการใช้ผงชูรสที่เป็นผงปรุงแต่งอาหารที่มีขายตามท้องตลาด ผอ.ร.ร.บ้านค้างปินใจ กล่าวต่ออีกว่า ซึ่งการเลือกใบไม้ทั้งสี่ชนิดคือมีความหวานตามธรรมชาติ นำมาใช้เพิ่มรสของอาหารกลางวันให้นักเรียนทาน ใบไม้มีวิตามินมีสารอาหารส่งผลกับสุขภาพของ
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2559 บรรยากาศการท่องเที่ยวในช่วงหยุดเสาร์-อาทิตย์ ที่ จ.หนองคาย เริ่มคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะที่วัดผาตากเสื้อ ต.ผาตั้ง อ.สังคม จ.หนองคาย ได้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นชาวลาวเดินทางมาเที่ยวชมสกายวอล์กพื้นกระจกใส ชมทัศนียภาพ 2 ฝั่งโขงไทย-ลาว สัมผัสเย็นสบายของต้นฤดูหนาว และถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันตั้งแต่เช้า โดยทางวัดได้ขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวลงทะเบียนก่อนเข้าชม และจัดระเบียบให้เข้าชมครั้งละไม่เกิน 20 คน ทุกคนต้องถอดรองเท้า ใส่รองเท้าพื้นฟองน้ำที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นกระจกเกิดรอยขีดข่วน และขอให้นักท่องเที่ยวที่ใส่กระโปรงสั้นหรือกางเกงขาสั้น ได้สวมชุดที่จัดเตรียมไว้ให้ทับอีกชั้นหนึ่งด้วย ซึ่งช่วงนี้จะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเดินทางมาท่องเที่ยวที่สกายวอล์กเพิ่มมากขึ้น หลังจากช่วงหน้าฝนที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ขณะนี้ในวันธรรมดาประมาณ 1 พันคน และในวันหยุดจะไม่ต่ำกว่า 5 พันคน และเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับการก่อสร้างสกายวอล์ก จุดชมวิวที่กำลังก่อสร้างนี้ เป็นโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้
ไก่ดำ จัดเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ป่วย คนชรา คนท้องและหลังคลอด หรือผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพ เชื่อกันว่าไก่ดำ ถ้าบริโภคสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย ทำให้สมองแจ่มใส กระชุ่มกระชวย เสริมสร้างสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย จากความเชื่อนี้จึงทำให้ไก่ดำเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งการบริโภคโดยตรงหรือการทำเป็นซุปไก่สกัดที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป ด้วยความนิยมในการบริโภคทำให้ไก่ดำมีราคาที่สูงกว่าไก่พื้นเมืองหรือไก่เนื้อทั่วไป ไก่ดำ มีลักษณะต่างจากไก่บ้านธรรมดาคือ มีเนื้อดำ กระดูกดำ อวัยวะภายในสีดำ ลักษณะดังกล่าวเกิดจากสารที่เรียกว่า “ไมอานิน” เป็นสารสีดำที่มีประโยชน์ เนื้อไก่ดำมีโปรตีนสำคัญที่ร่างกายต้องการ คือแอนโดร และอมิโนแอซิค อีกทั้งเนื้อไก่มีปริมาณไขมัน หรือคลอเลสเตอรอลต่ำ จึงให้คุณค่าทางอาหารให้ร่างกายโดยสมบูรณ์ ไก่ดำลูกผสม ที่ลพบุรี คุณบุญยืน ผ่องจะบก (ก๊อบ) อาศัยอยู่ที่ 263/1 หมู่ 1 ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงไก่ดำ และเป็นเกษตรกรที่สามารถผสมพันธุ์ไก่ดำขึ้นเองได้ โดยให้ชื่อไก่ดำสายพันธุ์นี้ว่า “ไก่ดำหัวหวาย” คุณบุญ