Leadership
“ช่วงเวลาที่คนกรุงเทพฯ เข้างานมากที่สุดคือ 10 โมงเช้า ในขณะที่เชียงใหม่ ขอนแก่น อยู่ที่ 8 โมง การเดินทางไปทำงานไกลกว่า และอาจเสียเวลารถติดหรือเลี่ยงการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งก็นำไปสู่แนวคิดการสร้างย่านละแวกหรือนโยบาย ‘เมือง 15 นาที’ ที่ช่วยให้ผู้คนได้ทำงาน หรือมีบริการที่จำเป็นในย่านละแวกบ้าน ลดเวลาการเดินทางเพื่อนำไปใช้ชีวิตที่ต้องการได้” ‘คนส่วนใหญ่เข้างานเช้าแค่ไหน เลิกงานกันกี่โมง และมีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นมากน้อยแค่ไหน’ ‘เมืองใหญ่มีพื้นที่ให้กับกิจกรรมแบบไหน มีเพียงพื้นที่ทำงาน หรือมีพื้นที่หลากหลายให้คนได้พักผ่อนหย่อนใจ’ ‘คนสูงวัยใน 4 เมืองใหญ่ใช้ชีวิตกันอย่างไร กระจายตัวทั่วเมืองหรือไม่ หรือกระจุกตัวอยู่ในย่านที่คุ้นเคย’ นี่คือตัวอย่างของคำถามที่นำไปสู่การค้นหาและเปิดโลกเรื่อง ‘เมือง’ ในโปรเจ็กต์ชื่อว่า ‘Dynamic Cities via Mobility Data หลากชีวิตในเมืองที่โลดแล่น’ โปรเจ็กต์ที่ใช้ข้อมูล Mobility จากทรู โดยมีหมุดหมายในการศึกษาชีวิตผู้คนและเมืองที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ด้วยข้อมูลระดับ Big Data ที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เรียกได้ว่าโปรเจ็กต์นี้มีความแปลกใหม่และน่าสนใจ 3 แง่มุม คือ ห
เรียกได้ว่ากระแสร้านชาในปัจจุบัน ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหลายแบรนด์ยังมีการปรับรสชาติให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้น อาทิ CHAGEE (ชาจี) แบรนด์ชานมเจ้าดังจากจีน ที่ขยายสาขาไปแล้วกว่า 6,440 แห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเข้ามาบุกตลาดไทยสาขาแรก ‘เซ็นทรัลเวิลด์’ โดย บริษัท อีสบริดจ์ จำกัด และ บริษัท ที เนชั่น จำกัด จุดเริ่มต้น CHAGEE Zhang Junjie (จาง จุนเจี๋ย) ผู้ก่อตั้ง CHAGEE เคยทำงานเป็นลูกมือในร้านชานมไข่มุกมาก่อน ต่อมาเขาได้รับประสบการณ์ด้านการดูแลกิจการ ขณะทำงานที่บริษัทสตาร์ตอัปแห่งหนึ่งในเซี่ยงไฮ้ หลังจากนั้นจึงได้ก่อตั้งแบรนด์ CHAGEE ขึ้น CHAGEE (ชาจี) มีต้นกำเนิดจากมณฑลยูนนาน ประเทศจีน เปิดสาขาแรกเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2017 ซึ่งชื่อแบรนด์มาจากบทละครจีนเรื่อง “Farewell My Concubine” (霸王别姬) ที่เล่าเรื่องราวของกษัตริย์นักรบในสมัยจีนโบราณและการร่ำลาคนรักอย่างแสนโรแมนติก โลโก้ของบริษัทเป็นรูปของ “หฺวาตาน” (花旦) ซึ่งเป็นตัวละครหญิงสาวในงิ้วปักกิ่ง โดย Chagee แตกต่างจากแบรนด์ชานมไข่มุกอื่นๆ คือ จะเน้นชาพรีเมียมที่ทำจากน
ใครจะเชื่อว่าจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากแผงขายน้ำมะนาวของลูกสาว จะกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ต่อเดือนกว่าครึ่งล้านบาท เรื่องราวของ Swetha (สเวทา) และ Venkat Raju (เวนกัต ราชู) คู่รักชาวอินเดียวัย 40 ปี ในบรูกลิน นิวยอร์ก คือบทพิสูจน์ของคำว่า “โอกาสมีอยู่ทุกที่” หากรู้จักสังเกตและลงมือทำ ย้อนกลับไปในปี 2021 Mahati (มาหตี) ลูกสาวตัวน้อยวัย 6 ขวบ เกิดไอเดียอยากหารายได้พิเศษด้วยการตั้งแผงขายน้ำมะนาวและโดซ่า เครปสไตล์อินเดียใต้รสชาติต้นตำรับ บริเวณตลาด Fort Greene Park Green Market คุณแม่ Swetha จึงลงมือปรุงโดซ่าสูตรพิเศษให้ลูกสาวไปขายเล่นๆ ใครจะรู้ว่ารสชาติอันเป็นเอกลักษณ์นั้น จะสร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้ลูกค้าติดใจ จนต้องกลับมาซื้อซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากแผงเล็กๆ ริมทาง สู่การตัดสินใจครั้งสำคัญ Swetha และ Venkat เล็งเห็นโอกาสทอง ที่ซ่อนอยู่ในรสชาติอาหารอินเดียใต้ที่มีความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ พวกเขาเริ่มจริงจังกับการขายโดซ่าทุกวันเสาร์ พร้อมขนเตาแก๊สมาปรุงสดๆ ร้อนๆ สร้างความฮือฮาจนลูกค้าต่อแถวยาวเหยียด เพื่อลิ้มลองโดซ่าราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 300 กว่าบาท ที่อร่อยจนหยุดไม่ได้ ความต้องการที่พุ่ง
อาตี๋ ลื้อเจ๊งแน่! จากคำสบประมาท สู่ร้านแว่น 2,000 กว่าสาขาทั่วไทย ‘แว่นท็อปเจริญ’ โตเงียบ รายได้ 5,000 กว่าล้าน หากพูดถึงธุรกิจ ‘ร้านแว่นตา’ ที่อยู่คู่กับเมืองไทยมาอย่างยาวนาน หนึ่งในนั้นคือ ‘แว่นท็อปเจริญ’ ที่เปิดให้บริการ 2,000 กว่าสาขา แต่น้อยครั้งที่เราจะเห็นคนเข้าใช้บริการ ทำให้เกิดคำถามมากมาย ว่าแบรนด์นี้สามารถยืนหยัดอยู่ในตลาดได้อย่างไร ท่ามกลางสมรภูมิร้านแว่นเกิดใหม่มากมาย วันนี้ ‘เส้นทางเศรษฐีออนไลน์’ จะพาไปพูดคุยกับ นพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ผู้สืบทอด ‘เจริญการแว่น’ สู่ ‘แว่นท็อปเจริญ’ นพศักดิ์ เล่าว่า พ่อของเขาทำแว่นตา มาตั้งแต่ พ.ศ. 2490 หากนับถึงปัจจุบันคือ 78 ปี ส่วนตนเองทางบ้านตั้งใจอยากให้เรียนหมอ เพราะเป็นเด็กเรียนเก่ง ได้ที่ 1 ของโรงเรียน แต่กลับต้องหยุดความตั้งใจนั้นไว้ เมื่อพ่อและแม่เสียชีวิต “ผมกลายเป็นลูกกำพร้า ต้องออกจากโรงเรียนมาทำธุรกิจแว่นตา แต่ตอนเรียนคุณพ่อเคยบอกไว้ว่า ถ้าไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่เป็นไร จะทำธุรกิจอะไร ทำแว่นตาดีสุด แว่นตามงานสบาย กำไรเยอะ อย่าไปทำอย่างอื่น ผมก็จำฝังหัว ถ้าจะอดตาย ก็ทำแว่น” นับจากนั้น นพศักดิ์ จึงเข้ามารับช่วงต่อ ณ ตอนนั้นเขามี
กรณีศึกษา “ยาโยอิ” จากร้านเล็กๆ ในญี่ปุ่น สู่แบรนด์ระดับภูมิภาคเอเชีย ใช้กลยุทธ์ Brand Connection ตอกย้ำภาพลักษณ์แบรนด์ให้ทันสมัย รุกตลาดคนรุ่นใหม่ เมื่อพูดถึงร้านอาหารญี่ปุ่นที่ทั้งอร่อย ราคาจับต้องได้ และยังคงเอกลักษณ์ความเป็นต้นตำรับ เชื่อว่าอันดับแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงคงเป็น “ยาโยอิ (Yayoi)” ร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์ “เทโชกุ (Teishoku)” ที่อยู่เคียงข้างคนไทยมาอย่างยาวนานกว่า 19 ปี ด้วยเมนูอาหารที่หลากหลาย และการบริการที่อบอุ่น ทำให้ไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยาโยอิก็ยังเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่หลายคนเลือกใช้บริการอยู่เสมอ แม้ว่าในตอนนี้ ยาโยอิจะกลายเป็นแบรนด์ระดับแนวหน้าแล้ว แต่ก็ยังไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาต่อไป อย่างในปีที่แล้วที่เพิ่งได้ทำการรีภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ และไลฟ์สไตล์ที่สดใส สนุกสนาน แต่ยังคงความเป็นญี่ปุ่น จุดเริ่มต้นของยาโยอิ จากโตเกียว สู่ไทยแลนด์ ย้อนกลับไปในปี 1886 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ยาโยอิในตอนนั้นยังเป็นเพียงร้านอาหารเล็กๆ ที่เน้นการเสิร์ฟอาหารแบบ เทโชกุ หรือ เซตอาหารที่ประกอบด้วยข้าว เนื้อสัตว์ ซุป และเครื่องเคียง ตามแบบฉบับญี่ปุ่นแท้ๆ ด
จากผู้บริหารสู่แม่ค้าผลไม้! หญิงวัย 54 ออกจากงาน เปิดแผงลอยขายผลไม้ ทำเงินหลักแสนต่อเดือน ขยายสาขาไปมากกว่า 100 แห่ง ใครจะเชื่อว่าจากผู้บริหารบริษัทซอฟต์แวร์ จะผันตัวมาเป็นแม่ค้าผลไม้ริมทางที่ทำเงินได้ถึง 50,000 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 1.7 ล้านบาท) ในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ เรื่องราวนี้เป็นของหญิงวัย 54 ปี ชื่อว่า Shannon Houchin (แชนนอน ฮาวชิน) ที่พลิกชีวิตตัวเองด้วย “ธุรกิจแผงลอยลูกพีช” ที่เธอเรียกว่า “ตู้ ATM เคลื่อนที่” จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากความสูญเสียคุณพ่อของเธอด้วยโรคมะเร็งปอด เธอต้องการทำอะไรที่จับต้องได้ มีความหมาย และสร้างความสุขให้ผู้คน เพื่อนของเธอแนะนำให้ไปลองขายลูกพีชที่แผงลอยริมทางในเซาท์แคโรไลนา และนั่นคือจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเธอ จาก 0 สู่ 100 แผงลอยใน 1 ปี เธอไม่ได้เริ่มจากเล็กๆ ในปี 2014 เธอเปิดแผงลอยถึง 100 แห่ง ด้วยประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์จากธุรกิจซอฟต์แวร์ เธอเรียนรู้และปรับตัวอย่างรวดเร็ว แม้จะพบกับความผิดพลาดมากมาย แต่เธอก็สามารถแก้ไขและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เธอเล่าว่า ไม่มีแหล่งข้อมูลใดๆ ที่สอนเธอทำธุรกิจนี้ เธอต้องสร้างทุกอย่างขึ้นมาเอง ตั
“สอนลูกน้องให้คิดแบบเถ้าแก่” การบริหารสไตล์ “ดองกิ” หนึ่งในกลยุทธ์ยอดขายโตติดต่อกัน 33 ปี ทั้งพนักงานประจำหรือพาร์ตไทม์ ก็สามารถสั่งซื้อสินค้าเข้าร้านเองได้ DONKI (ดองกิ) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Don Quijote เป็นร้านค้าปลีกชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น ที่โดดเด่นด้วยสินค้าหลากหลายชนิดในบรรยากาศที่คึกคักและมีสีสันสดใส เหมือนเดินเข้าไปในโลกแห่งความสนุกสนาน แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า แบรนด์ดองกิ เป็นหนึ่งแบรนด์ที่ผู้บริหารมีแนวคิด หรือกลยุทธ์ในการบริหารพนักงานที่แปลกและแตกต่างไปจากแบรนด์อื่นๆ แต่ในความแปลกนี้ ทำให้ดองกิ มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 33 ปี และขยายสาขาไปมากกว่า 600 สาขาทั่วโลก เป็นร้านค้าที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย คุณทาคาโอะ ยาสุดะ เมื่อปี 1980 และมีการเปลี่ยนเปลงเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 1989 เป็นร้านที่เกิดจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ เป็นร้านค้าธรรมดาทั่วไป แต่เล็งเห็นโอกาสว่าในญี่ปุ่นมีซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง จึงอยากหาข้อแตกต่างที่จะดึงดูดลูกค้าได้ โดยมองหาตลาดของคนที่ทำงานกลางคืน เลิกกะดึก จึงผันตัวเองมาเป็นร้านที่เปิด 24 ชั่วโมง และขายในราคาย่อมเยา ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที
ปรับใช้ได้จริง! เปิดแนวคิด 21 นักธุรกิจ เมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจ ก่อนค้นพบความสำเร็จ ในหลายๆ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จได้บอกว่า พวกเขาต้องการที่จะรู้อะไรหลายๆ อย่างตั้งแต่การเริ่มต้นในเส้นทางธุรกิจ ทั้งเรื่องเวลา การลำดับความสำคัญของเป้าหมาย รวมไปถึงการพัฒนาตนเอง ซึ่งคำแนะนำทั้ง 21 ผู้ประกอบการนี้ ชี้ให้เห็นว่า ทุกคนได้ผ่านบทเรียนมามากมาย และสามารถนำคำแนะนำไปปรับใช้กับธุรกิจปัจจุบันหรืออนาคตได้ นี่คือสิ่งที่เหล่านักธุรกิจทั้ง 21 ท่าน อยากบอกกับตัวเองเมื่อครั้งเริ่มต้นทำธุรกิจ 1. โฟกัสกับสิ่งที่ควบคุมได้ Bayu Prihandito บอกว่า ในฐานะนักธุรกิจ เราเจอสภาวะที่ควบคุมไม่ได้อยู่บ่อยๆ และง่ายที่จะจมไปกับความไม่แน่นอนและความเครียดที่ตามมา แต่จำไว้ว่า ถึงเราควบคุมทุกอย่างไม่ได้ เราสามารถควบคุมปฏิกิริยาและการตัดสินใจได้ด้วยการโฟกัสสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เราจะผ่านความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประโยชน์จากทุกสถานการณ์ 2. จงเป็นผู้นำ แม้ไม่มีตำแหน่ง Michelle LaBrosse กล่าวว่า ถ้ากลับไปบอกตัวเองตอนหนุ่ม ฉันคงบอกว่า ไม่ต้องรอให้ใครแต่งตั้งคุณเป็นผู้นำ ผู้นำที่ดีจะลุกขึ้นมาทำ แม้หน้า
เทคนิค ปิดการขาย ด้วย คำ ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรนำไปใช้ รับรองเวิร์ก! การเลือก “คำ” ที่จะใช้สื่อสารกับลูกค้ามีความสำคัญต่อการขายออนไลน์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากในการไลฟ์สดขายของ จะเห็นว่าคนตัดสินใจซื้ออย่างรวดเร็วเพียงเพราะชอบหรือถูกใจ ทั้งๆ ที่สินค้านั้นอาจไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยซ้ำ เนื่องจากอารมณ์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจได้ง่าย ดังคำที่ว่า “ซื้อเพราะอารมณ์ มากกว่าเหตุผล” ถ้าคำที่ใช้ไม่มีพลัง ไม่สร้างแรงดึงดูดมากพอ อาจทำให้พลาดโอกาสที่จะปิดการขายได้ เว็บไซต์ POST Family ได้รวบรวม คำช่วยปิดการขาย มาให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ลองนำเอาไปใช้กัน ดังนี้ คำสื่อถึงการเป็น “คนพิเศษ” คำทรงพลังกลุ่มแรกที่ลูกค้าเห็นแล้วต้องหัวใจกระตุก คือ คำที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็นคนพิเศษ ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับบริการนั้นๆ หรือไม่ใช่ทุกคนที่จะได้สินค้านั้นๆ เช่น เฉพาะสมาชิกเท่านั้น (Members Only) เช่น สินค้าลด 40% เฉพาะสมาชิกเท่านั้น รับสิทธิ์ก่อนใคร (Get It before Anyone Else) เช่น รับสิทธิ์ก่อนใคร!! เพียงสแกน QR Code 10 คนแรกที่ลงทะเบียนจะได้สิทธิ์ทดลองใช้บริการฟรีก่อนใคร บุคคลสำคัญ (VIP) เช่น เมื่อซื้อเคร
ขายได้ กับ ขายเป็น รู้ไหมว่าต่างกัน แถมส่งผลต่อ การขาย อีกด้วย ทุกวันนี้ แทบจะบอกได้เลยว่า ใครๆ ก็หันมา ขายของ ซึ่งการ ขายได้ กับ ขายเป็น อาจฟังดูคล้ายๆ กัน แต่แท้ที่จริงแล้วมันไม่เหมือนกัน คุณนพ-นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCM ได้เผย ความแตกต่างระหว่าง ขายได้ กับ ขายเป็น ที่ถือเป็นสิ่งที่ส่งผลกับธุรกิจ ดังนี้ นิยามของการ ขายได้ ก็คือ ได้เพียงยอดขาย ส่วนการขายเป็น คือ การได้ลูกค้าตลอดชีวิต ซึ่งมีความต่างของรูปแบบกระบวนการที่ใช้ในการขาย กล่าวคือ การขายได้ ใช้กระบวนการขายแบบ ตื๊อ ง้อ ขอ ขาย บางครั้งเหมารวมไปถึง การหลอก ด้วย โดยเน้นขายเอายอดเพียงอย่างเดียว อาจมาจากรูปแบบของความสัมพันธ์จากผู้ใหญ่ เพื่อเชื่อมให้ ลูกค้า มาสนับสนุนสินค้าหรือบริการ ซึ่งลูกค้าจะซื้อด้วยความอึดอัดใจ เกรงใจ หรือหลงเชื่อชั่วขณะ ไม่มีทางเลือกจึงจำเป็นต้องซื้อ ส่วนใหญ่จึง ไม่สามารถรักษาลูกค้าไว้ได้ นั่นเอง ส่วน ขายเป็น คือ การออกแบบหรือมีความเข้าใจในคุณค่าของสินค้า สามารถเป็นที่ปรึกษาในการซื้อเพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ ทั้งยังตรงความต้องการและความรู้สึ