กรมพัฒนาที่ดิน
ทุกวันนี้ ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกอย่าง ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในทิศทางขาลง หากเกษตรกรคนใดต้องการลดต้นทุนการผลิต ขอแนะนำวิธีที่ทำได้ง่ายและต้นทุนถูก คือ ปลูกปุ๋ยพืชสด ที่สามารถตอบโจทย์ 3 ข้อ ที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด คือ ช่วยให้มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยปรับปรุงบำรุงดินไปพร้อมๆ กัน รู้จัก “ปุ๋ยพืชสด” กันรึยัง? ปุ๋ยพืชสด คือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูง ย่อยสลายง่าย โดยใช้วิธีการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆ ของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ระยะเวลาที่พืชปุ๋ยสดจะให้คุณประโยชน์สูงสุด คือช่วงระยะออกดอก เพราะเป็นช่วงที่พืชมีธาตุอาหารสูงสุด โดยจะตัดส่วนเหนือดินไถลบลงดินแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชหลักที่จะปลูกตามมา พืชปุ๋ยสดที่คนส่วนใหญ่รู้จักและได้รับความนิยมมากที่สุดคือ พืชตระกูลถั่ว เพราะหาเมล็ดพันธุ์ปลูกได้ง่าย เมื่อนำไปจำหน่ายก็ได้ราคาดี พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราบไร้หนาม พืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม เป็นต้น การปล
หลายๆ คนอาจจะคุ้นตากันมาบ้าง แต่ก็มีอีกหลายคนที่อาจจะยังไม่รู้ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจะพาไปรู้จัก พด. คืออะไรกันนะ ต้องบอกก่อนว่า พด. คือ จุลินทรีย์ที่ผลิตโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีหลายชนิดมาก โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน มีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย ✨กลุ่มที่ 1 จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารและฮอร์โมนพืช – สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 – สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 – จุลินทรีย์ ซุปเปอร์ พด.9 – จุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงบำรุงดิน พด.11 – ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ✨กลุ่มที่ 2 จุลินทรีย์ควบคุมศัตรูพืช – สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 – สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ✨กลุ่มที่ 3 จุลินทรีย์รักษาสิ่งแวดล้อม – สารเร่ง พด.6 จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ พด. มีหลากหลายสูตรเลยทีเดียว แต่ละสูตรใช้งานยังไง แตกต่างกันแบบไหน วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้สรุปมาให้ทุกคนได้อ่านกัน เกษตรกรบางคนอาจจะเคยเห็นมาบ้างแล้ว ใครยังไม่รู้ไปดูกันได้เลย ✨สารเร่ง พด.1 กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรที่มีองค์ประกอบของเซลลูโลสและไขมันที่ย่อยสลายยาก เช่น ทะลายปาล์ม ขี้เลื่อย เปลือกถั่ว
วันนี้ แวะเยี่ยมไร่นาสวนผสม 1 ไร่ รายได้ทุกวัน ปีละกว่าแสนบาท ของ ลุงประคอง บุญสะอาด อายุ 64 ปี บ้านเลขที่ 82 หมู่ที่ 5 บ้านนาน้อย ตำบลม่วงนา อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ “ถิ่นน้ำดำ เมืองคนใจดี” พร้อมภรรยา คือ ป้าบุญจันทร์ บุญสะอาด โทร. 083-870-6378 ลุงประคอง มีบุตร 1 คน คือ นางสาวชนัดดา บุญสะอาด ทำงานที่เทศบาลตำบลม่วงนา พร้อมเข้าร่วมโครงการโคกหนองนาโมเดล ปี 2564 ขอบคุณกระทรวงพลังงานที่ติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรฯ ส่งเสริมระบบน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ในพื้นที่ดินที่มีอย่างจำกัด ปลูกมะละกอพืชหลักเป็นแถวคู่ 2 คูณ 2 เมตร ร่องระหว่างต้น ปลูกพืชผักสวนครัว คะน้า ผักกาดจ้อน ผักชี สลัด มะเขือเทศ ผักกาด รอบแปลงปลูกตะไคร้ พริก มะเขือ ฝรั่งไร้เมล็ด ร่องฝรั่งปลูกข่า บ่อซีเมนต์เลี้ยงปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ มีบ่อน้ำของกรมพัฒนาที่ดินขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร เลี้ยงปลากินพืช หอยขม หอยเชอรี่ ปูนา กบ ขอบบ่อทำคอกโคขุน 12 ตัว ราคาขณะนี้ประมาณ 1 ล้านบาท ลุงประคอง เล่าว่า มะละกอที่ปลูกมาได้ 3-4 ปี ต้นสูงแล้ว รุ่นใหม่กำลังเจริญเติบโต ให้ผลผลิตตั้งแต่ความสูง 80 เซนติเมตร ดกมาก ขายทั่วไปลูกละ 10-5
จังหวัดตรัง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเกษตรกรมีการปลูกยางพาราเป็นพืชหลัก รองลงมาคือการปลูกปาล์มน้ำมัน ไม้ผล พืชผัก และพืชอื่นๆ แต่เกษตรกรมักประสบปัญหาความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรหรือราคาตกต่ำในช่วงเวลาที่สินค้าเกษตรทยอยออกสู่ตลาดปริมาณมาก อีกทั้งยังมีต้นทุนการผลิตสูง จากปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมีที่มีราคาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ไม่มั่นคง นอกจากนี้ การที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเป็นเวลานานอาจจะทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในดินถูกทำลาย ดินเสื่อมสภาพ กลายเป็นดินที่แข็งแน่นทึบ การระบายถ่ายเทอากาศและนํ้าลดลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของรากพืช การดูดกินน้ำ และธาตุอาหารจากดิน ถึงแม้จะมีธาตุอาหารอยู่ในดินเป็นจํานวนมาก รากพืชก็ดูดกินได้ไม่เต็มที่ เกิดการสูญเสียธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมานี้ โดยทั่วไปเกษตรกรไม่ทราบ จึงไม่ได้ให้ความสําคัญเต็มที่ในการปรับปรุงสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดินร่วมไปกับการใช้ปุ๋ยเคมี จึงทําให้ผลที่ได้จากการใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้ผลเต็มที่อย่างที่เคยได้รับอีกต่อไป เสมือนว่าเมื่อใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานปีเข้า ผลผลิตที่เพิ
บริหารงานมา 2 เดือนกว่าแล้ว รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลายกระทรวงได้ขับเคลื่อนงานตามนโยบายต่างๆ ที่ได้ประกาศเอาไว้ รวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกหนึ่งกระทรวงสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้รับมอบจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดูแล 4 หน่วยงาน คือ กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน (พด.) สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และองค์การสะพานปลา (อสป.) กล่าวถึงการขับเคลื่อนหน่วยงานดังกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้แยกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก มาทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน คือ กรมการข้าว และกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อมาดูในเรื่องของการเพาะปลูก ผนวกกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเข้ามาดูเรื่องมาตรฐานของผลผลิต เพื่อให้ทั้ง 3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนี้ ช่วยเหลือและผลักดันเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไป อีกทั้งต้องการช่วยเหลือให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน ที่ต้องประสบพบเจอมาเป็นเวลานาน เนื่องจากปัญหาเรื่องหนี้สิน และ
มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน! SUSTAINABILITY EXPO 2022 SX2022 : GOOD BALANCE, BETTER WORLD สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ได้จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “ความสมดุลของโลกเกษตรยุคใหม่” ดำเนินรายการโดย คุณกิตติ สิงหาปัด ผู้ประกาศข่าวรายการ 3 มิติ และผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย คุณสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ศ.เกียรติคุณ ดร. ปิยะ ดวงพัตรา อดีตหัวหน้าภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประธานกรรมการมาตรฐานปุ๋ยของ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม คุณโฮ เรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ดร. นฤมล ศรีสุมะ ที่ปรึกษา Biofuels and Biocatalysts Research Center ภาควิชาพฤกษศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และ คุณธนะชาติ เหล่าศิริพงศ์ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) คุณสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ประเทศไทยมีพื้นที่การเกษตร 150 ล้านไร่ ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ขณะที่ดินเวียดนาม มีอินทรียวัตถุ 3% ดินญี่ปุ่น มีอินทรียวัตถุ 4% แต่ประเทศไทย ดินมีอินทรียวัตถุต่ำไม่ถึง 1% เนื่องจากไทยมี
พด.แปรวิกฤตปุ๋ยเคมีแพง เป็นโอกาสขับเคลื่อนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง นำร่องสวนยาง จ.ตรัง เมื่อเร็วๆนี้ นายศรีศักดิ์ ธานี ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 กรมพัฒนาที่ดินนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลดำเนินงานโครงการการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดินลดการใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพง(ปุ๋ยอินทรีย์ตราพะยูน)ในพื้นที่จังหวัดตรัง พร้อมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)ซื้อ-ขายปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมีราคาแพงฯระหว่างวิสาหกิจชุมชนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจ.ตรังและการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)จังหวัดตรัง ณ วิสาหกิจชุมชนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังนายศรีศักดิ์ ธานี ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพง การขาดแคลนปุ๋ย เนื่องจากประเทศผู้ผลิตลดปริมาณการส่งออกปุ๋ยเคมีทำให้อุปสงค์ลดลงแต่อุปทานมีมากขึ้น ทำให้ปุ๋ยเคมีปรับราคาสูงขึ้น เกษตรกรมีภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจึงสั่งซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้บำรุงพืชลดลงประกอบกับกำลังผลิตปุ๋ยเคมีของประเทศไทยยังมีจำนวนจำกัด กรมพัฒนาที่ด
ครบรอบ 59 ปี กรมพัฒนาที่ดิน โชว์ผลงานกว่า 5 ทศวรรษ ภายใต้หัวข้อ “ทีมดี ดินดี 59 ปี กรมพัฒนาที่ดิน” มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาทรัพยากรที่ดินให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม สร้างความมั่นคงทางอาหาร และความมั่งคั่งให้กับภาคการผลิตอย่างยั่งยืน ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานวันสถาปนากรมพัฒนาที่ดิน ครบรอบ 59 ปี ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ภายใต้หัวข้อ “ทีมดี ดินดี 59 ปี กรมพัฒนาที่ดิน” โดยมี ดร. ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน จตุจักร กทม. โดยภายในงานได้มีการมอบรางวัลให้แก่ข้าราชการพลเรือนดีเด่น จำนวน 2 รางวัล บุคลากรผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมดีเด่น จำนวน 6 รางวัล หมอดินอาสาดีเด่น จำนวน 12 รางวัล หน่วยงานชนะเลิศการยกระดับองค์กร 4.0 จำนวน 8 รางวัล มอบทุนการศึกษามูลนิธิพัฒนาที่ดินสงเคราะห์และทุนการศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์ แก่บุตรหลานบุคลากรกรมพัฒนาที่ดิน และเยี่ยมชมนิทรรศการของกรมพัฒนาที่ดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ก
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์และการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ในภาคการเกษตร พร้อมกล่าวในพิธีการลงนาม ถึงความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กับทางกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) ลงนามโดย นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามโดย นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ลงนามโดย นางสาวธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) หรือ สวข. ซึ่งที่ผ่านมา ทั้ง 4 หน่วยงาน ได้ร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการเกษตร ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการพัฒนาแพลตฟอร์มความร่วมมือด้านข้อมูลเกษตรกรรมของประเทศไทย เพื่อเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลภาคเกษตรให้มีข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกมิติ สามารถนำไปวิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ข้อมูลสำหรับบริการแก่เกษตรกร หน่วยงา
“หมอดินอาสา” เป็นเกษตรกรอาสาเข้ามาเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน โดยเป็นเครือข่ายที่ช่วยถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินต่างๆ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทั่วประเทศ และยังเป็นต้นแบบด้านการจัดการดินอย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาดินเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและยั่งยืน คุณเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า “กรมพัฒนาที่ดินให้ความสำคัญกับการพัฒนาหมอดินอาสา ทั้งหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ซึ่งมีอยู่มากถึง 77,672 รายทั่วประเทศ ให้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง โดยนำกิจกรรมต่างๆ พร้อมอุปกรณ์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ปัจจัยการผลิตแจกจ่ายให้กับหมอดินอาสาทั่วประเทศ ตลอดจนเข้าพัฒนาพื้นที่ของหมอดินอาสาให้เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นตัวอย่างการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรในหมู่บ้านนั้นๆ และให้หมอดินอาสาเป็นศูนย์กลางสำหรับเกษตรกรในการเข้าถึงงานบริการของกรมพัฒนาที่ดินได้อย่างเต็มที่ ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดิน ได้เร่งพัฒนาศักยภาพหมอดินอาสา 4.0 ให้เพิ่มพูนความรู้และเข