กระทรวงอุดมการศึกษาฯ (อว.)
“น.ส.ศุภมาส” เผย กระทรวง อว.จับมือ สกร.จัดทำแผน 5 ปีผลิต “ครูนวัตกรให้กับชุมชน” โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ เดินหน้าผลักดันให้เกิด 30,000 หมู่บ้านนวัตกรรมพร้อมก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หนึ่งศูนย์หนึ่งอำเภอ ให้ได้ 879 อำเภอ เมื่อวันที่ 28 พ.ย. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)เปิดเผยระหว่างลงพื้นที่ติดตามการดําเนินงานของกระทรวง อว.ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 ที่ จ.เชียงใหม่ ว่า ขณะนี้กระทรวง อว.และกรมส่งเสริมการเรียนรู้(สกร.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกันจัดทำแผน 5 ปีในการผลิตครูนวัตกรให้กับชุมชน โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยปีที่ 1 ตั้งเป้าให้ครู สกร. จำนวน 16,000 คน ได้พัฒนาทักษะ(Upskill) ปรับปรุงทักษะ(Reskill ) และเพิ่มทักษะ(Newskill) และปีที่ 2 เราจะสร้างครูนวัตกรให้ได้ จำนวน 15,000 คน ปีที่ 3 ครู นวัตกรจะสามารถนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านได้ไม่น้อยกว่า 50,000 เทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ปีที่ 4 ที่จะสามารถผลักดันให้เกิดหมู่บ้านนวัตกรร
ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำทัพเสนอแนะแนวทางการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจและโครงสร้างสังคมใหม่ เพื่อวางรากฐานสำคัญของก้าวต่อไปโดยกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยหลังวิกฤตโควิด-19 คือ การวิจัยและนวัตกรรม ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องสร้างเครื่องจักรทางเศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืนและมีมูลค่าสูง นั่นคือ BCG ที่ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวง อว. ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ อนาคตประเทศไทย หลังโควิด-19 สรุปว่า เราอยู่กับโควิดมา 3 ปี ปีที่แล้วเรายังไม่แน่ใจว่าเราอยู่ตอนไหนของโควิด แต่ปีนี้ค่อนข้างมั่นใจว่าเราค่อนข้างผ่านโควิดไปแล้ว สำหรับตนเองไม่ได้ไปต่างประเทศมา 2 ปี เพิ่งไปต่างประเทศอีกครั้งเมื่อไม่ถึงเดือนที่ผ่านมา ไปที่ยุโรปดูเหมือนไม่เคยมีโควิดมาก่อนเลย เหมือนเพียงเราหายไป 2 ปีแล้วกลับมา ณ เวลานี้ โดยส่วนตัวจึงไม่คิดว่า โควิดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่คิดว่าโควิดเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง หรือทำให้การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ที่ผ่านมาทุกประเทศเห็นตรงกันว่า ไทยรับมือก
วันนี้ (20ตุลาคม 2564) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับจังหวัดชุมพร นำโดย นายสัมฤทธิ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นำทีมนักวิจัย จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง “โครงการชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรแปรรูปผลไม้ตัวต่อเพื่อธนาคารผลไม้เคลื่อนที่” และ “โครงการนวัตกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่ามังคุดสำหรับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน : บทเรียนต้นแบบจากชุมชนลุ่มน้ำหลังสวน” ลงพื้นที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ผนึกการทำงานกับภาครัฐ เอกชน และกลุ่มชาวสวนมังคุด เพื่อขับเคลื่อนการแปรรูปผลไม้เพิ่มมูลค่า บรรเทาผลผลิตล้นตลาด กระตุ้นการจ้างงาน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย วช. ตระหนักถึงปัญหา และผลกระทบในหลายมิติ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก จึงได้วางเป้าหมายการวิจัยและพัฒนา ให้สอดรับกับแผนพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็ง โดยส่งเสริมให้ “นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ภายใต้แนวคิดหลัก คือ เปลี่ย
ปัญหาอุทกภัยในปี 2564 ช่วงเดือนกันยายนถึงปัจจุบัน เกิดจากปริมาณฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงวันที่ 8-11 กันยายน 2564 ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้รับอิทธิพลของพายุโซนร้อน “ไลออนร็อก”(Lion Rock ) ช่วงวันที่ 11-13 กันยายน 2564 ได้รับอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน “โกนเซิน” (Con Son) ช่วงวันที่ 13-14 ตุลาคม 2564 ได้รับอิทธิพลของพายุโซนร้อน “คมปาซุ”(Kompasu) ร่วมกับร่องมรสุมพาดผ่าน วันที่ 14-24 กันยายน 2564 ได้รับอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่าน และช่วงวันที่ 24-26 กันยายน 2564 ได้รับอิทธิพลพายุดีเปรสชัน “เตี้ยนหมู่”ทำให้ปริมาณฝนสะสมช่วงเวลาดังกล่าว เฉลี่ยมากกว่า 400 มิลลิลิตร ทำให้ในช่วงแรกของเดือนกันยายน ที่ผ่านมา พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาหลายพื้นที่มีน้ำท่วมขัง เช่น จังหวัดชัยนาท อ่างทอง และสุพรรณบุรี และในช่วงหลังของเดือน เกิดอุทกภัยจากปริมาณฝนร่วมกับน้ำล้นตลิ่งตามมา ในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา ผศ.ดร.ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน ม
วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ส่งมอบแพลตฟอร์มการจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยว “มาตะ เมืองลุง” ผลงานจากการจัดการความรู้การจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุงเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน แก่นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ZOOM Cloud Meeting ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้วางเป้าหมายการวิจัยและพัฒนา ให้ตอบโจทย์ตามแผนพัฒนาประเทศที่ตอบโจทย์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจ วช. ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัย เป็นเครื่องมือสนับสนุนเศรษฐกิจได้เดินหน้า ไปสู่ “นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยมีหลักคิด คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า ไปสู่ “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และ เปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น ซึ่งแพลตฟอร์มการจัดการโลจิสตกิส์ท่องเที่ยว “มาตะ เมืองลุง” เป็นผลงานของโครงการเรื่อง “การจัดการความรู้การจัดการโลจิสต
วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีวางพวงมาลาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม พร้อมวางพวงมาลาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ โดยมีคณะผู้บริหารหน่วยงานในสังกัด อว. เข้าร่วมในพิธีฯ ณ ห้องแถลงข่าวชั้น ๑ กระทรวง อว. อาคารพระจอมเกล้า ถนนโยธี กรุงเทพมหานคร และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวง อว. ได้จัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร โดยดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี พร้อมวางพวงมาลาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ โดยผู้บริหารและบุคลากร วช. เข้าร่วมในพิธีเพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย ณ ห้องโถงอาคาร วช.๒ ชั้น๑ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. สนับสนุนร้านค้าขายอาหารภายใน สั่งอาหารแจกจ่ายประชาชนในชุมชนโดยรอบ ใน โครงการ “วศ.ปันอิ่ม ปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-19” วันที่ 19 สิงหาคม 2564 นายแพทย์ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ มอบหมายให้ นางสาวนีระนารถ แจ้งทอง รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมทีมเจ้าหน้าที่ จัดเตรียมอาหาร 100 กล่อง น้ำดื่ม 100 ขวด น้ำยาฆ่าเชื้อ 5 แกลลอน ซึ่งผู้ประกอบการร้านค้า ร่วมสมทบผลไม้ เงาะประมาณ 20 กิโลกรัม และอาหารเพิ่มเติมอีก 10 กล่อง เพื่อนำไปมอบให้กับ ชุมชนสระแก้ว ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยอธิบดี วศ. กล่าวว่าโครงการดังกล่าว เบื้องต้น วศ.จะดำเนินการโดยหมุนเวียนให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ นำอาหารไปแจกจ่ายให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกวัน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ด้วยงบประมาณสวัสดิการกรมวิทยาศาสตร์บริการและงบบริจาคสนับสนุนของบุคลากร ภายใน วศ. เพื่อส่งต่อความห่วงใยในห้วงวิกฤติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้แก่พี่น้องประชาชนในละแวกชุมชนโดยรอบ
17 สิงหาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยประชาคมวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “ขยะทะเล…สู่…การเพิ่มรายได้ชุมชนระยอง” ร่วมกับกลุ่มชุมชน จ.ระยอง ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพชุมชนเกาะกก และ หมู่บ้านเอื้ออาทรจังหวัดระยอง (วังหว้า) เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างจากพลาสติกใช้แล้วให้กับชุมชน หวังสร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิต และลดปัญหาขยะในทะเลไทยอย่างยั่งยืน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “วช. ในฐานะหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ในประเด็นการจัดการกับปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความร่วมมือ โครงการ“ขยะทะเล…สู่…การเพิ่มรายได้ชุมชนระยอง” ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการนำผลงานการวิจัยและนวัตกรรมของ“แผนงานวิจัยท้าทายไทย : ทะเล
มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ พื้นที่ท้องเนียน อ.ขนอม โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มทร.ศรีวิชัย ส่งมอบเครื่องอบลมร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับวิสาหกิจชุมชนอาหารทะเลแปรรูปกลุ่มเขาออก สนับสนุนทุนโดย กระทรวง อว. วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม เป็นประธานในการส่งมอบ เครื่องอบลมร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับวิสาหกิจชุมชนอาหารทะเลแปรรูปชุมชนบ้านเขาออก ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงาน นำโดย อาจารย์ ดร.สุพร ฤทธิภักดี หัวหน้าสาขาวิศวกรรม, อาจารย์อภิรัญธ์ จันทร์ทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, อาจารย์นภดล ศรภักดี อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาวิศวกรรมโยธา, ดร.เกริกวุฒิ กันเที่ยง หัวหน้าหลักสูตรวิชาการจัดการ และอาจารย์เมธาพร มีเดช อาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาการจัดการ พร้อมด้วยคณะทำงาน U2T ตำบลท้องเนียน ในนามผู้รับผิดชอบโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้าง
นักวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร นำนวัตกรรมระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ “พาราโบลาโดม”แก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าการผลิตเมล็ดกาแฟอบแห้ง วิสาหกิจชุมชน จ.แม่ฮ่องสอน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สามารถใช้งานบนพื้นที่สูงอย่างมีประสิทธิภาพ การอบแห้งเมล็ดกาแฟของเกษตรกรบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือ นิยมใช้วิธีการตากแห้งแบบดั้งเดิม จึงประสบปัญหาเรื่องฝนตก แมลงรบกวน ขนาดพื้นที่ที่จำกัดและระยะเวลาการตากแห้งหลายสิบวัน จนเกิดเชื้อรา ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ขายได้ราคาถูก ซึ่งในแต่ละปีจะมีผลผลิตเมล็ดกาแฟเกิดขึ้นในพื้นที่จำนวนมาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศรากรณ์ มหาโยธี ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เล่าว่า พาราโบลาโดม ถูกใช้อย่างกว้างขวางกับผลิตภัณฑ์อบแห้งหลากหลายชนิด สำหรับการอบแห้งเมล็ดกาแฟ นักวิจัยได้ใช้พาราโบลาโดมมาตรฐานขนาดเล็ก ขนาดพื้นที่ฐาน 6.0 x 8.2 ตร.ม. และพาราโบลาโดมขนาดที่เหมาะสมกับพื้นที่จำกัดบนดอย คือ ขนาดพื้นที่ฐาน 3.0 x 6.2 ตร.ม. ติดตั้งใน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยไม้ดำ กลุ่มเกษตรกรบ้านหนอ