กระบือ
กระบือ เป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในหลายพื้นที่ เพราะการเลี้ยงสามารถกำหนดทิศทางและทำตลาดได้หลากหลายช่องทาง มีตั้งแต่การเพาะพันธุ์เพื่อส่งเข้าประกวด ตลอดไปจนถึงการผลิตเป็นลูกพันธุ์ดีจำหน่าย หรือส่งจำหน่ายไปยังตลาดเนื้อเพื่อบริโภคอีกหนึ่งช่องทาง จึงนับได้ว่ากระบือปัจจุบันไม่ได้เป็นเพียงสัตว์ที่คนทั่วไปมักมองว่าใช้แรงงานในเรื่องของการนำมาไถนา แต่ในเวลานี้เป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญสามารถเกิดประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง คุณกิตติรัตน์ อินทนุ หรือ คุณโน่ เจ้าของ ก.กิตติรัตน์ ฟาร์มควายไทย ลำพูน เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ให้ความสนใจเรื่องของการเลี้ยงกระบือ โดยคุณโน่ได้หาซื้อพ่อพันธุ์กระบือที่มีโครงสร้างดีเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม เพื่อต่อยอดในการพัฒนาสายพันธุ์ให้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้นอกจากการผสมพันธุ์กระบือภายในฟาร์มแล้ว ยังมีเพื่อนเกษตรกรในหลายพื้นที่ต้องการพัฒนากระบือภายในฟาร์มของตัวเอง นำแม่พันธุ์มาให้พ่อพันธุ์กระบือของคุณโน่ทำการผสม จึงช่วยให้คุณโน่เกิดรายได้ในช่องทางนี้ กระบือเลี้ยงง่าย ทำเป็นอาชีพเสริมได้ คุณโน่ เล่าให้ฟังว่า สาเหตุท
กระบือ ในยุคนี้ไม่ได้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อไว้ไถนาเหมือนเช่นเก่าก่อน แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาและเลี้ยงได้หลากหลาย โดยมุ่งเน้นการทำตลาดได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งเกษตรกรหรือผู้สนใจเลี้ยงต้องมีทิศทางและเป้าหมายของการสร้างตลาดว่าจะไปในทิศทางใด จึงส่งผลให้กระบือเป็นสัตว์ที่นับวันตลาดกำลังเติบโตได้ไม่แพ้สัตว์เศรษฐกิจอื่นๆ คุณจิราภัค ขำเอนก อยู่บ้านเลขที่ 193 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงกระบือจนประสบผลสำเร็จ สามารถผลิตลูกพันธุ์และสร้างกระบือสวยงาม พร้อมทั้งเริ่มมีการพัฒนาแปรรูปนมกระบือพร้อมดื่ม สร้างเป็นอีกหนึ่งสินค้าน่าซื้อเพื่อให้ตลาดมีทางเลือก จึงเกิดการทำตลาดที่หลากหลายสร้างรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดีทีเดียว จากอดีตลูกจ้าง สู่เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ คุณจิราภัค เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างอยู่ในหน่วยงานราชการ และได้ลาออกมาภายหลังเพื่อช่วยครอบครัวเลี้ยงสุกร ซึ่งในช่วงที่กลับไปเลี้ยงสุกรนั้น ครอบครัวได้มีกระบือเลี้ยงไว้ 4-5 ตัว และเมื่อการเลี้ยงกระบือไม่ติดปัญหาเจออุปสรรคมากนัก จึงได้ตัดสินใจมาทำฟาร์มสำหรับเลี้ยงกระบือโดยเฉพาะในปี 2554 “
คุณจิราภัค ขำเอนก อยู่บ้านเลขที่ 193 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงกระบือจนประสบผลสำเร็จ สามารถผลิตลูกพันธุ์และสร้างกระบือสวยงาม พร้อมทั้งเริ่มมีการพัฒนาแปรรูปนมกระบือพร้อมดื่ม สร้างเป็นอีกหนึ่งสินค้าน่าซื้อเพื่อให้ตลาดมีทางเลือก จึงเกิดการทำตลาดที่หลากหลายสร้างรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดีทีเดียว คุณจิราภัค ขำเอนก คุณจิราภัค เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างอยู่ในหน่วยงานราชการ และได้ลาออกมาภายหลังเพื่อช่วยครอบครัวเลี้ยงสุกร ซึ่งในช่วงที่กลับไปเลี้ยงสุกรนั้น ครอบครัวได้มีกระบือเลี้ยงไว้ 4-5 ตัว และเมื่อการเลี้ยงกระบือไม่ติดปัญหาเจออุปสรรคมากนัก จึงได้ตัดสินใจมาทำฟาร์มสำหรับเลี้ยงกระบือโดยเฉพาะในปี 2554 “ช่วงที่เริ่มเลี้ยงใหม่ๆ ก็มีการหากระบือมาจากเพื่อนเกษตรกรรายอื่นบ้าง เข้ามารวบรวมไว้ภายในฟาร์ม พอทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง จึงตัดสินใจมาเลี้ยงเองแบบเต็มรูปแบบ มีการผสมและพัฒนาสายพันธุ์เองภายในฟาร์ม ซึ่งช่วงแรกบอกเลยว่า เป็นคนที่กลัวกระบือมาก แต่ด้วยแฟนเป็นคนชอบเลี้ยง พอเราได้มาอยู่คลุกคลีอย่างจริงจัง ได้มาลองทำและอยู่กับกระบือทุกวัน
ถ้าพูดถึง “กระบือ” ทุกคนก็คงรู้จักเพราะมีเอกลักษณ์ เขาสองข้างที่โค้งสวย กระบือเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง ใช้แม้กระทั่งในการทำสงครามของชาวบ้าน “บางระจัน” ปัจจุบันกระบือไม่ค่อยมีบทบาทในสังคมมากนักโดยเฉพาะการเกษตร เป็นเพราะคนส่วนใหญ่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำเกษตรมากขึ้น มีการประยุกต์สิ่งเก่าๆ ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้เกษตรกรสะดวก สบาย มากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางกลุ่มที่มีการอนุรักษ์กระบือคงไว้อยู่ เลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์เป็นรายได้อีกทางหนึ่ง อาจจะไม่ได้ใช้งานในเรื่องของการเกษตรแบบเดิมก็ตาม คุณไชยวัฒน์ ภิญโญเทพประทาน หัวหน้างานวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ศูนย์วิจัยแห่งนี้ก่อตั้ง พ.ศ. 2510 ที่นี่เป็นแหล่งผลิตสัตว์พันธุ์ดี และสนับสนุนเกษตรกรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้มีการเลี้ยงสัตว์อยู่ 3 ประเภท คือ กระบือ ไก่ และสุกร โดยปัจจุบันมีหน้าที่ผลิตกระบือเป็นส่วนใหญ่ มี สุกร 30 แม่, กระบือ 120 แม่, ไก่โรดไทย, ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ, และไก่ลูกผสม ปีหนึ่งก็ผลิตออกมาประมาณ 25
“ถ้าให้เลือกระหว่างเลี้ยงกระบือกับการทำไร่ทำนา แบบไหนดีกว่ากันในปัจจุบันนี้ สำหรับผมเลือกเลี้ยงกระบือ เพราะการเลี้ยงกระบือไม่ได้ขายตัวละ 7,000-8,000 บาทเหมือนสมัยก่อน ซึ่งต่อตัวถ้าเลี้ยงเป็นเนื้อ ก็สามารถขายได้เป็นหลักหมื่นบาท เพียงแต่เราต้องมีวิธีการที่ต้องศึกษาให้ถูกต้อง เพื่อให้การเลี้ยงประสบผลสำเร็จ ซึ่งเดี๋ยวนี้วิทยาการต่างๆ สามารถหาข้อมูลศึกษาได้ เมื่อถึงเวลาขายคนเลี้ยงเองสามารถกำหนดเรื่องราคาได้อีกด้วย” คุณพรทรัพย์ กล่าว คุณพรทรัพย์ พาภักดี อยู่บ้านเลขที่ 494 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือจนประสบผลสำเร็จ โดยเน้นผลิตลูกพันธุ์ขายให้กับผู้ที่สนใจนำลูกไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ จนทำให้เวลานี้เขาได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อให้สมาชิกได้เรียนรู้และมีแนวทางการแก้ปัญหาไปด้วยกัน โดยลดที่ทำนาบางส่วนมาทำแปลงปลูกหญ้าให้กระบือกิน เพื่อเป็นการลดต้นทุนเรื่องอาหาร จึงทำให้ทุกคนในกลุ่มเกิดรายได้ มีเงินใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี ใช้เวลาว่าง เลี้ยงกระบือ คุณพรทรัพย์ ชายผู้มากด้วยรอยยิ้มเล่าให้ฟังว่า ชุมชนในย่านนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพทำเกษตรกรรม คือทำนา ต่อมาได้มีแ
กระบือในยุคนี้ไม่ได้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อไว้ไถนาอย่างเช่นเก่าก่อน ปัจจุบันการเลี้ยงได้พัฒนาเพื่อให้มีความหลากหลาย โดยมุ่งเน้นการทำตลาดได้ง่ายกว่าเดิม หรือเกษตรกรบางรายเลี้ยงกระบือเพื่อเป็นเชิงอนุรักษ์ จึงเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ส่งผลให้กระบือในยุคนี้มีรูปทรงและส่วนต่างๆ ของโครงสร้างตัวที่ใหญ่ขึ้น มีความสง่างาม ส่งเข้าประกวดเป็นกระบืองามตามงานต่างๆ ได้ ซึ่งเกษตรกรหรือผู้สนใจเลี้ยงต้องมีทิศทางและเป้าหมายของการสร้างตลาดว่าจะไปในทิศทางใด อาชีพเลี้ยงกระบือจึงทำรายได้ตอบแทนไม่แพ้งานเกษตรด้านอื่นๆ เลยทีเดียว คุณสมบัติ ทำละเอียด เจ้าของ บิ๊กไอซ์ ฟาร์มควายไทยเจ้าของฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ ตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ได้สนใจที่จะนำกระบือมาเลี้ยงในพื้นที่ของตนเอง เพราะมองว่ากระบือเป็นสัตว์ที่ต้องทำการอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นอีกสัตว์สำคัญที่อยู่คู่กับชาวไร่ชาวนา เมื่อเขามีโอกาสได้มาทดลองเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์อยู่เสมอ จึงทำให้กระบือที่เลี้ยงภายในฟาร์มมีลักษณะพันธุ์ที่ดี ส่งผลให้ในเรื่องของราคาจำหน่ายเพิ่มมูลค่าตามไปอีกด้วย เห็นกระบือมาแต่วัยเด็ก จึงมีความผูกพันและอยากอนุรักษ์
ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง สัตว์เลี้ยงมักมีสุขภาพอ่อนแอ และอาจไวต่อการติดเชื้อโรคระบาดได้ง่าย กรมปศุสัตว์จึงมีคำแนะนำในการดูแลและป้องกันโรคให้แก่สัตว์เลี้ยงในช่วงฤดูฝน เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียม น้ำ อาหาร พร้อมอาหารเสริมประเภทวิตามิน ให้สัตว์เลี้ยงกินรวมทั้งทำวัคซีนป้องกันโรคไว้อย่างสม่ำเสมอ เป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงฤดูฝน สัตว์เลี้ยงมักมีปัญหาเรื่องโรคที่แตกต่างกันออกไป เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ แพะ แกะ มักมีปัญหาเรื่องท้องอืด ท้องเสีย จากการกินหญ้าอ่อนที่เพิ่งแตกยอดเมื่อได้รับน้ำฝนเข้าไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสัตว์กลุ่มนี้จะกินแต่ฟาง หรือหญ้าแห้งตลอดในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ ยังเผชิญปัญหาโรคหวัด โรคปอดบวม โรคคอบวม โรคปากและเท้าเปื่อยอีกด้วย ส่วน สุกร ต้องระวังโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคพีอาร์อาร์เอส โดยมักแสดงอาการผิดปกติที่เกษตรกรสามารถสังเกตได้คือ ซึม เบื่ออาหาร หากเป็น โค-กระบือ จะมีขี้ตา หายใจลำบาก มีขี้มูก ไอหรือจาม หรือท้องเสีย และอาจมีอาการแท้งลูกได้ ส่วนสัตว์เคี้ยวเอื้องในเบื้องต้นมักจะไม่มีการเคี้ยวเอื้อง จมูกเปียกแฉะหรือแห้งผิดปกติ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หนังไม่สั่นไล่
ที่วัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง นายประมวล มุ่งมาตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานในงานแต่งงานของควายไทย ระหว่าง มณีแดง (เจ้าบ่าว) และวาสนา (เจ้าสาว) ซึ่งเป็นควายไทยราคาหลักล้าน โดยเจ้าบ่าวมณีแดงนั้น มีราคาสูงถึง 6 ล้านบาท ส่วนเจ้าสาววาสนานั้น 1.2 ล้านบาท ซึ่งบรรยากาศภายในงานนั้นจัดขึ้นไม่แพ้การแต่งงานของคนทั่วไป โดยเริ่มด้วย ขบวนขันหมากของเจ้าบ่าว ควายเพศผู้ ชื่อ“เจ้ามณีแดง” โดยมีนายเตือนใจ ทรงไตร ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง เป็นเถ้าแก่ ยกขบวนขันหมากมาสู่ขอควายเพศเมีย คือ “เจ้าวาสนา” ซึ่งฝ่ายควายเจ้าสาวนั้นมีนายสุรเชษฐ์ นิ่มกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง เป็นเถ้าแก่ โดยทางฝ่ายควายเจ้าบ่าวนั้นมีสินสอดเป็นน้ำเชื้อ 100 ล้านตัว และหญ้าเนเปียร์ 20 กิโลกรัม ภายหลังจากเสร็จสิ้นพิธีสู่ขอ มีการจดทะเบียนสมรสควายไทยทั้งคู่ ซึ่งภายในงานแต่งงานของควายทั้งสองตัวนั้น ยังได้มีการแต่งงานระหว่างเจ้าบ่าวไก่ชน ราคา 1.7 ล้าน กับเจ้าสาวไก่ชน การะเกด ราคา 1.5 แสนบาทถ้วน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักมีการนำธนบัตรปลอม และทองปลอม มาจัดเป็นขบวนสวยงามตามขบวนขันหมากของคนทั
อุทัยธานี จัดงานเทศกาลควายไทย ครั้งที่ 8 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานการซื้อขาย แม่หงษ์อุทัย กระบือเพศเมียจังหวัดอุทัยธานี ที่ขายให้กับชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในราคา 1,300,000 บาท บริเวณเวทีสนามประกวดสัตว์ แยกอุทัยฯ-วัดสิงห์ อ.เมือง จ.อุทัยธานี นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เป็นประธานในพิธีอัญเชิญถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นประธานพิธีเปิดงานเทศกาลควายไทย ครั้งที่ 8 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมอบถ้วยรางวัลชนะเลิศ และรางวัลอื่นๆ ให้แก่ผู้ที่นำกระบือเข้าประกวดประชันความงาม โดยมี นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย หัวหน้าปศุสัตว์ เขต 6 และปศุสัตว์จังหวัดใกล้เคียง น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ นายกเทศบาลเมืองอุทัยธานี ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พระเอกหนุ่ม น้ำ รพีภัทร เอกพันธ์กุล ตลอดจน กลุ่มผู้อนุรักษ์กระบือไทย และประชาชนร่วมงานจำนวนมาก โดยงานดังกล่าว จังหวัดอุทัยธานี ร่วมกับ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุทัยธานี และส่วนร
หลายคนอาจไม่เคยดื่มนมควายเพราะยังไม่รู้ถึงคุณค่า ความจริงนมควายดื่มได้ ที่สำคัญมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการมากมาย ทั้งโปรตีน ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ธาตุเหล็ก อีกทั้งไม่มีกลิ่นคาว มีรสชาติหวานมันแล้วมีคอเลสเตอรอลต่ำ นอกจากนั้น น้ำนมควายยังมีสารต้านอนุมูลอิสระจึงเหมาะกับคนที่แพ้แล็กโทสในนมวัว แล้วไม่ต้องการดื่มนมแพะ คุณพรหมพิริยะ สอนศิริ หรือ คุณเอก อยู่บ้านเลขที่ 66/1 หมู่ที่ 2 ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีอาชีพเพาะเลี้ยงและจำหน่ายควายไทย ในชื่อ “สอนศิริฟาร์มควายไทย” เป็นฟาร์มควายที่ได้มาตรฐานทั้งสถานที่และวิธีการเลี้ยงจนทำให้ได้พันธุ์ควายที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ สมบูรณ์ ถูกต้องตามคุณลักษณะควายไทยแท้ทุกอย่าง อีกทั้งยังได้ลูกควายที่สมบูรณ์แข็งแรง เป็นที่ต้องการของตลาด สามารถขายได้ในราคาสูง จากนั้นยังต่อยอดด้วยการรีดนมควาย กับผลิตโยเกิร์ตขายให้แก่กลุ่มผู้รักสุขภาพในชื่อแบรนด์ “SIAM BUFF MILK” ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมและช่วยเหลืออย่างเต็มที่จากปศุสัตว์จังหวัด ก่อนที่จะมาอยู่บนเส้นทางของควาย คุณเอกเคยผ่านอาชีพเพาะเลี้ยงและจำหน่ายพันธุ์วัว แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งพบว่าถูกกดราคาจากผู้รับซื้อ