กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นำโดย ผศ.ดร. อภิญญา วณิชพันธุ์ คณบดีคณะอุตสาหกรรมเกษตร ผศ.ดร. น้อมจิตต์ แก้วไทย อันเดร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และทีมนักวิจัยร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ลงพื้นที่ติดตามและรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานพร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนวทางการพัฒนาการทำงานด้านต่างๆ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช การลงพื้นที่ติดตามและรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงาน จำนวน 4 กลุ่ม ใน 4 อำเภอ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ 1) กลุ่มโกโก้แปลงใหญ่ ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองคล้าสามัคคี ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง 3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่อำเภอฉวาง และ 4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมังคุดบ้านกอยอพิปูน อำเภอพิปูน โดยมี คุณ ศุภสิทธ์ จำปาวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพัฒนาธุรกิจและการตลาดสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ร่วมรับฟังการนำเสนองานและให้คำแนะนำแก่ชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาดและกลุ่มผู้บริโภคในวงกว้าง
เมื่อเร็วๆ นี้ อาจารย์ทวีศักดิ์ ศรีภูงา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม ได้มอบหมาย ดร.สุพร ฤทธิภักดี หัวหน้าสาขาวิศวกรรม เป็นตัวแทนวิทยาลัย เข้าร่วมโครงการความร่วมมือแลกเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตร ครั้งที่ 2 ภายใต้กิจกรรมแลกเปลี่ยนผลผลิตข้าวอินทรีย์และอาหารทะเล “ข้าวใหม่ ปลามัน” จัดโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด โดยมี กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ และเครือข่ายเกษตรกร GPS จังหวัดสุรินทร์ เข้าร่วมโครงการ การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติ นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม สำหรับกิจกรรมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน ข้าวหอมมะลิอินทรีย์กับผลผลิตอาหารทะเลของจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาทางด้านการตลาดหลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ไม่สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ให้มีการบริโภคภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งให้ผู้บริโภคได
การยกระดับอาหารพื้นถิ่น ผลิตภัณฑ์ชุมชนและโอทอป ให้ได้มาตรฐานเพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะการขยายตลาดส่งออกไปต่างประเทศ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เอง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ จึงได้มีแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้เข้าถึงเทคโนโลยีการฉายรังสีในอาหารพื้นถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เปิดโอกาสในการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญกว่านั้น คือ การสร้างรายได้ให้กับชุมชชนท้องถิ่น ได้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต วันนี้ พามารู้จักผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตอาหารพื้นถิ่นที่ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ Product Champion ของ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ สทน. ได้แก่ น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง ของ “นางสาวชลิตา วิจิตรสุข” กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตน้ำพริกจังหวัดอุทัยธานี หลังจากได้มีแผนที่จะขยายตลาด จากน้ำพริกแบบผัดที่ทำสดๆ ซึ่งขายน้ำพริกได้เฉพาะในพื้นที่ ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษา หรือขยายไปยังพื้นที่อื่นๆได้ ประกอบกับไม่สามารถตอบโจทย์ตลาดคนรุ่นใหม่ ด้วยเหตุ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี)โดย ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี ร่วมกับ บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด โดยนายธนารัตน์ จิตต์พายัพ กรรมการผู้จัดการ , พร้อมด้วยนางอรพินทร์ พญาพิทักษ์สกุล ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปบุกเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ นายพลวรรธน์ พญาพิทักษ์สกุล รองประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกและแปรรูปบุก,เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม จ.แม่ฮ่องสอน และนายณัฐวรรธน์ วรพนิตกุล รองประธานวิสาหกิจชุมชนทุ่งนางแลสมุนไพรเพื่อการแพทย์ ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการศึกษา วิจัย และพัฒนาโครงการวิจัย กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม โดยมี ศ.ดร.พิชัย สนแจ้ง และ ผศ.ดร.ภูธดา คุนผลิน ที่ปรึกษา บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน โดย ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า การลงนามในครั้งนี้เป็นความร่วมมือ โดยมีความร่วมมือกันครบกระบวนการตั้งแต่ ต้นน้ำ วิจัยการพัฒนาสายพันธุ์กัญชา กัญชง กระท่อมและพืชสมุนไพรอื่น รวมถึงกระบวนการปลูกด้วยระบบ Smart Farm กลางน้ำ วิจัยกระบวนการสกัดสารสำคัญจาก
ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากสมุนไพรกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพราะเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่มีความปลอดภัยและมาจากธรรมชาติ ทำให้ขณะนี้มีชุมชนหรือผู้ประกอบการจำนวนมากหันมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากขมิ้น ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกลุ่มเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางจากขมิ้นผง พบปัญหาในขั้นตอนการล้างขมิ้นที่มีจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้เวลาในการล้างมากส่งผลให้การผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จากปัญหาดังกล่าว นายอมเรศร์ ชูพงศ์ นายวิชา บรรดาศักดิ์ และ นายนันทวัฒน์ แป้นเหลือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย โดยมี อาจารย์ศุภเวทย์ สงคง และ ผศ. พงษพันธ์ ราชภักดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา มีแนวคิดในพัฒนาเครื่องล้างขัดผิวขมิ้นสำหรับการผลิตระดับชุมชน ล้างขมิ้นได้ครั้งละ 10 กิโลกรัม สามารถล้างขมิ้นได้เฉลี่ย 300 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง มีอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 2.44 บาท ต่อชั่วโมง ซึ่งปัจจ
นางเสาวณี สุจิระกุล ผู้จัดการทั่วไป แม็คโคร สาขาระนอง ให้การต้อนรับ นางสาวทิพย์สุดา อินทรสุวรรณ พาณิชย์จังหวัดระนอง พร้อมคณะ ในการเยี่ยมชมการดำเนินงาน หลังแม็คโครเปิดพื้นที่ให้เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน นำผลผลิตมังคุดเกษตรอินทรีย์มาวางจำหน่าย ณ แผนกผักและผลไม้ภายในสาขา พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนชาวระนองร่วมอุดหนุนผลผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่นด้วย
เมื่อลงมาถึงภาคใต้ หากไม่เอ่ยถึงไม้ดอกชนิดหนึ่งที่ให้ผลมีชื่อคล้ายผลไม้คงไม่ได้ เพราะในอดีตพบมากเฉพาะพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น แต่ปัจจุบัน กระจายปลูกไปยังพื้นที่ภาคอีสานจำนวนมากเท่าๆ กับภาคใต้ ไม้ดอกชนิดนั้น คือ มะม่วงหิมพานต์ มะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ในทางวิทยาศาสตร์ มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ดอกยืนต้น นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี 2544 โดยพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง ทำให้มีชื่อเรียกตามสำเนียงภาษาถิ่นใต้ต่างกันไป เช่น กาหยู กาหยี เม็ดล่อ ยาร่วง ยาโห้ย และหัวครก เป็นต้น เม็ดมะม่วงหิมพานต์นี้ ขึ้นอันดับของฝาก รับประทานอร่อย ของจังหวัดกระบี่ แต่วางจำหน่ายในรูปของเม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่ว ขึ้นกับกลุ่มผู้ผลิตว่าจะใช้ชื่อใด แต่กรรมวิธีการทำให้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ออกสู่ตลาดและได้รสชาติติดใจคนรับประทาน คือ การคั่วและอบ ในจังหวัดกระบี่ บ้านไร่ใหญ่ ควนต่อ และคลองรั้ง เป็นชุมชนที่มีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์มากที่สุด แต่สำหรับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านไร่ใหญ่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่ว ติดทอปชาร์ตความอร่อย ถึงขั้นได้รับร
นับเป็นการเพิ่มมูลค่า “กล้วยไข่” ที่น่าสนใจทีเดียว สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านลำสินธุ์ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ “กล้วยไข่กรอบแก้ว” จากกล้วยไข่ในสวน ราคากิโลกรัมละเพียง 3 บาท สร้างสรรค์เป็นสแน็กกล้วยชั้นเยี่ยม รสชาติหลากหลาย ตอบโจทย์คนรักสุขภาพในยุคปัจจุบัน พอมีโอกาสเข้าไปขายในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นได้ไม่นาน ลูกค้าต่างชื่นชอบ สร้างรายได้ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 300,000 – 400,000 บาท ต่อเดือน ทำให้สมาชิกกว่า 15 ครัวเรือน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ที่สำคัญชาวสวนกล้วยไข่ยังมีออเดอร์ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพราะทางกลุ่มวิสาหกิจรับซื้อพร้อมประกันราคาให้อีกด้วย หากย้อนไปดูที่มาของความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้จะพบว่า เกิดจากความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือเกษตรกร ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้นำในชุมชนบ้านลำสินธุ์ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง นางประทิ่น นาคมิตร วัย 64 ปี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านลำสินธุ์ เล่าว่า ปี พ.ศ. 2540 เข้ามารับช่วงต่อเป็นประธานกลุ่ม ด้วยความตั้งใจหลักคือ นำพากลุ่มให้อยู่รอด และช่วยเหลือเกษตรกรในท้องถิ่นให้ม
นายสมมาตร ยิ่งยวด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สศท.5) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน “มะเดื่อ” (Fig Fruit) หรือ “มะเดื่อฝรั่ง” ได้รับความนิยมในตลาดผู้บริโภคสินค้าปลอดสารเคมี (Organic Food) และกลุ่มผู้รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลมะเดื่อมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งทางการแพทย์มีการรับรองว่าผลมะเดื่อ มีส่วนช่วยป้องกันโรคนิ่วในไต ช่วยฟอกตับและม้าม และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เกษตรกรจึงนิยมปลูกในหลายพื้นที่นับว่าเป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี จากการลงพื้นที่ของ สศท.5 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต และการตลาดมะเดื่อในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ 50 ไร่ มีเกษตรกรที่ปลูก จำนวน 10-15 ราย โดยเกษตรกรมีการปลูกมะเดื่อในลักษณะต่างคนต่างปลูก กระจายอยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ ได้แก่ อำเภอปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน และ ปักธงชัย เป็นต้น เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโต ซึ่งการปลูกมะเดื่อในปัจจุบันเกษตรกร จะนิยมใช้กิ่งพันธุ์ตอนหรือกิ่งปักชำที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น พัน
ในช่วงปีที่ผ่านมา “สินค้าเกษตรอินทรีย์” ติดโผสินค้าขายดีอันดับต้นๆ ของภาคเกษตรทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าพืชผัก ธัญพืชและผลไม้นานาชนิด ที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ (ออร์แกนิก) เช่น ข้าว ผักปลอดสารพิษ มังคุด ทุเรียน ลำไย ฯลฯ มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและส่งออก ยอดขายดี ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องอาหารอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ พืชสมุนไพร ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากระบบเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งกระแสท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ (Organic Tourism) ก็ขายดีด้วยเช่นกัน สอดคล้องกับกระแสความนิยมของผู้บริโภคทั่วโลกที่หันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพกันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทุกชนิดมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี คาดว่า ในปี 2562 ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์จะเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% เพราะทั้งเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคเอง ต่างตื่นตัวในเรื่องสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เลมอน ฟาร์ม “ร้านเลมอน ฟาร์ม” เป็นองค์กรของสมาชิกและผู้บริโภคที่ร่วมกันสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นกลไกเชื่อมโยงเกษตรกรผู้ผลิตในชนบทกับผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นการผลิตสินค้าเกษตรปลอดสารพิษที่ปลอดภัยต่อตัวเกษตรกร สร้างสุขภาพ