กล้วยตาก
นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 พิษณุโลก (สศท.2) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนับเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืช ที่มีโอกาสทางตลาด และมีความต้องการในอุตสาหกรรมการแปรรูป โดยกล้วยน้ำว้าสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบมีทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด (สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และ ตาก) ซึ่งกล้วยตากบางกระทุ่มเป็นสินค้า GI และเป็นของฝากที่คนมาเยือนพิษณุโลกเมืองสองแควจะต้องซื้อ โดยเฉพาะการมานมัสการหลวงพ่อพระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จึงนับได้ว่ากล้วยตากเป็น Signature ของจังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้ สศท.2 ได้ศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้ากล้วยน้ำว้า ทดแทนการผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ไม่เหมาะสมจังหวัดพิษณุโลก ตามโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) และจัดทำแนวทางพัฒนาสินค้ากล้วยน้ำว้าเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกผลิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่ จาก
“กล้วยน้ำว้า” ผลไม้สารพัดประโยชน์ ด้วยสรรพคุณที่หลากหลาย รับประทานผลห่าม ให้พลังงานสูง มีวิตามินซีช่วยบำรุงกระดูกฟัน รับประทานผลสุก จะช่วยระบายท้องได้ดี สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย ซึ่งหากจะยกให้กล้วยน้ำว้าเป็นพืชกู้วิกฤตคงไม่ใช่เรื่องที่เกินจริง เพราะด้วยประโยชน์และสรรพคุณที่มากมายดังที่กล่าวมา ส่งผลให้มีเกษตรกรหลายรายปิ๊งไอเดียการเพิ่มมูลค่าจากกล้วยน้ำว้ากันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นขนม ของหวานต่างๆ เช่น กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี มีลักษณะสีเหลืองทั้งเปลือก และเนื้อมีรสหวาน เหนียวนุ่ม นำมารับประทานเป็นผลไม้ และทำขนมหวาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล้วยตาก กล้วยทอด กล้วยอบแห้ง หรือข้าวต้มมัด ล้วนแล้วแต่เป็นขนมที่มีคุณค่า กลายเป็นพืชสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการได้ไม่น้อย คุณโกสินธุ์ สุวรรณภักดี หรือ คุณมอส ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวบ้านหนองโน อาศัยอยู่ที่ 163 หมู่ที่ 3 ตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เกษตรกรนักแปรรูป ผู้ขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวบ้านหนองโน สู่การพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกด้วยการส่งเสริมให้ปลูกกล้วยน้ำว้าเ
อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก มีผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อเป็นสินค้าประจำจังหวัด โด่งดังไปไกลถึงต่างประเทศ และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) คือ กล้วยตากบางกระทุ่ม วัตถุดิบหลักที่สำคัญที่สุด ของการทำกล้วยตากบางกระทุ่ม ก็คือ กล้วย กล้วย ที่เหมาะสมสำหรับทำกล้วยตากบางกระทุ่มมากที่สุด คือ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง เดิมกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง ปลูกมากตามหัวไร่ปลายนา เมื่อนำมาทำเป็นกล้วยตาก ทำให้รู้ว่า กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องนี้ มีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับการทำกล้วยตากที่สุด คุณอภิเษก อ่ำบางราย ชาวบ้านหมู่ที่ 7 บ้านบึงเรียน ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ผู้ที่ได้รับการเอ่ยถึงว่า ในฤดูแล้งที่น้ำน้อย พืชขาดน้ำ ส่งผลให้ราคาผลผลิตสูงขึ้น คุณอภิเษก เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง แล้วสามารถผลิตกล้วยน้ำว้ามะลิอ่องได้มีคุณภาพที่สุดคนหนึ่ง หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า แปลงสวย พิจารณาจากใบกล้วย ซึ่งแปลงตั้งอยู่ริมถนน พบว่า ใบกล้วยถูกลมในช่วงรอยต่อของฤดู ใบแตก ฉีก รุ่ย ไม่มีความสวย จึงวิเคราะห์ได้ว่า แปลงสวย ห
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ทุ่งใหญ่ นำโดย อาจารย์จิระนาถ รุ่งช่วง อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการอาหารและบริการ สาขานวัตกรรมอาหารและการจัดการ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ “การแปรรูปกล้วย” เป็นผลิตภัณฑ์กล้วยฉาบรสต่างๆ ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก และวุ้นกรอบกล้วย ให้กลุ่มประชาชนตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช การส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการแปรรูปกล้วยในครั้งนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้การดูแลของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพและสร้างรายได้เพิ่มให้กับสมาชิกในครัวเรือน ส่งเสริมความรู้และทักษะในอาชีพที่สามารถนำไปต่อยอดการประกอบอาชีพหลัก หรือสร้างอาชีพเสริมในยุคโควิด-19 จัดขึ้นที่ โคกหนองนาโมเดล ตำบลนาไม้ไผ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแปรรูปกล้วย หรือการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ได้ที่ อาจารย์จิระนาถ รุ่งช่วง อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการอาหารและบริการ คณะอุต
น่าจะมีการเอ่ยถึงมาแล้วหลายสิบราย สำหรับเกษตรกรหรือกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่ใช้เวลาว่างรวมกลุ่มแปรรูปกล้วย ออกมาในรูปแบบของกล้วยตาก รสชาติดี จนขึ้นชื่อเรียกติดปากกันว่า กล้วยตากบางกระทุ่ม กระทั่งได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือจีไอ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี 2558 มีรายชื่อ ผู้ขอขึ้นทะเบียนในครั้งนั้น 13 ราย โดยให้คำนิยามถึงกล้วยตากบางกระทุ่ม พิษณุโลก ว่า หมายถึง กล้วยตาก ที่มีเนื้อแห้งเนียนละเอียด เหนียวนุ่ม ไม่มีเม็ด รสชาติหวานเป็นธรรมชาติ ผลิตจากกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง พันธุ์นวลจันทร์ พันธุ์ปากช่อง 50 หรือพันธุ์พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร คุณบุญศักดิ์ มาขำ เป็น 1 ใน 13 ราย ที่ได้รับขึ้นทะเบียนในครั้งนั้นด้วย คุณบุญศักดิ์ เป็นประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์บางกระทุ่ม และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้างบึงเรียน หมู่ที่ 7 ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก คุณบุญศักดิ์ เล่าว่า โดยอาชีพเดิมของเกษตรกรที่นี่ทำนา และตามหัวไร่ปลายนา หรือบริเวณบ้านก็มีต้นกล้วยพันธุ์มะลิอ่องปลูกอยู่ เ
กล้วย…เป็นพืชสารพัดประโยชน์ ใบ…นำไปห่อสิ่งของ หรือห่อทำขนม ปลี…นำไปยำ หรือแกงได้รสแซ่บ ผลกล้วย…ในระยะก่อนสุก หรือห่าม เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยฉาบ แต่ถ้าผลสุกพอดีจะกินเป็นผลไม้ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง หรือนำผลสุกพอดีไปทำกล้วยตากอบ หรือตากอบน้ำผึ้ง เช่น ที่วิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบานานาว ตำบลท่ามะนาว ได้ร่วมกันผลิตกล้วยตาก ภายใต้ชื่อ “กล้วยตากบานานาว” มีกลิ่นหอม เนื้อนุ่ม รสหวานกลมกล่อม เป็นผลิตภัณฑ์ขายดี เป็นทางเลือกที่ดี วันนี้จึงนำเรื่อง กล้วยตากบานานาว ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ทำให้ผู้ผลิตมีรายได้หลักแสนบาท มาบอกเล่าสู่กัน คุณแสนพลอย พรมหนองแสน เกษตรอำเภอชัยบาดาล เล่าให้ฟังว่า ได้สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาการใช้พื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผัก ปลูกพืชไร่ หรือปลูกไม้ผลแบบแปลงใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตไว มีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี ให้เครือใหญ่ ปริมาณหวีมาก ผลอวบใหญ่ เนื้อละเอียด ไส้กล้วยสีขาว มีความหวานแบบธรรมชาติ เม
หลายขวบปีมาแล้วที่ กล้วยตากบางกระทุ่ม ได้รับการการันตีว่าเป็นกล้วยตากที่รสชาติดีที่สุด เพราะ “กล้วย” เป็นผลผลิตที่พบได้ง่ายในละแวกบ้านทุกแห่ง ไม่เฉพาะอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก แต่เพราะกล้วยตากที่ผลิตในพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ทำให้ได้รับการยอมรับมาเนิ่นนาน จากกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตสินค้าหลังบ้าน ตากกล้วยด้วยแสงอาทิตย์บ้านๆ มีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พัฒนาระบบการตากกล้วยให้ดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น และมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มากขึ้น บานาน่า โซไซตี้ (Banana Society) แปลตรงตัวคือ สังคมกล้วย ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่เกี่ยวกับกล้วยแบบครบวงจร และนี่คือชื่อของบริษัท ซึ่ง คุณวุฒิชัย ชะนะมา ผู้จัดการกล้วยตาก “Banana Society” ก่อตั้งขึ้น จากเดิมเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา ที่เริ่มจากกิจการกล้วยตากภายในครัวเรือน โดยคุณแม่เป็นหัวเรือใหญ่ ทั้งผลิตเอง ส่งกล้วยสุกให้ลูกบ้านผลิต แต่คัดคุณภาพ เพื่อนำไปส่งขายตามร้านค้าต่างๆ ในจังหวัดพิษณุโลก กระทั่งจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และเมื่อตกทอดมาถึงมือของคุณวุฒิชัย ที่คุณแม่ยื่นคำขาดให้เลือกระหว่างสื
สวัสดีครับ ยินดีที่ได้พบกันผ่านคอลัมน์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย” กับผมธนากร เที่ยงน้อย เมื่อเดือนธันวาคม ผมได้รับเชิญจาก สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี ให้ไปบรรยาย เรื่อง นวัตกรรมกับการแปรรูปสินค้าเกษตรการยืดอายุและการเก็บรักษา ให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ในเขตภาคตะวันตก ผมได้พูดถึงเรื่อง “Eatnomics” หรือที่มีคนไทยแปลเอาไว้ว่า “เทคโนโลยีอาหารและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่” ทุกท่านครับ เรื่อง “Eatnomics” ที่ บริษัท Reimagine Food คิดออกมาเป็นการคาดการณ์การกินอยู่ของคนในโลกของเราในอนาคตจนถึง ปี 2026 หรือ พ.ศ. 2569 สะท้อนให้เห็นถึงอาหารในอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปมากมาย ทั้งรูปร่างหน้าตา คุณค่า สารอาหาร วิธีการผลิต จนถึงการบรรจุและการขนส่ง ในอนาคตอาหารและการแปรรูปอาหารต้องตอบโจทย์ด้าน ความใหม่สด สะดวกสบาย ผ่านการแปรรูปน้อย มีความปลอดภัย มีอายุการเก็บรักษานาน เราจึงจะได้เห็นเนื้อวัวที่สร้างขึ้นในห้องแล็บ เนื้อวัวเทียมที่ผลิตจากพืช อาหารพิเศษเฉพาะรายบุคคล เหล่านี้คืออาหารในอนาคตอันใกล้ แต่สิ่งหนึ่งที่สะดุดตาสะดุดใจของผมคือ เรื่องของอาหารที่จะผ่านการแปรรูปน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมจะนำท่านไป
น่าจะมีการเอ่ยถึงมาแล้วหลายสิบราย สำหรับเกษตรกรหรือกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่ใช้เวลาว่างรวมกลุ่มแปรรูปกล้วย ออกมาในรูปแบบของกล้วยตาก รสชาติดี จนขึ้นชื่อเรียกติดปากกันว่า กล้วยตากบางกระทุ่ม กระทั่งได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือจีไอ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี 2558 มีรายชื่อ ผู้ขอขึ้นทะเบียนในครั้งนั้น 13 ราย โดยให้คำนิยามถึงกล้วยตากบางกระทุ่ม พิษณุโลก ว่า หมายถึง กล้วยตาก ที่มีเนื้อแห้งเนียนละเอียด เหนียวนุ่ม ไม่มีเม็ด รสชาติหวานเป็นธรรมชาติ ผลิตจากกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง พันธุ์นวลจันทร์ พันธุ์ปากช่อง 50 หรือพันธุ์พื้นเมือง ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร คุณบุญศักดิ์ มาขำ เป็น 1 ใน 13 ราย ที่ได้รับขึ้นทะเบียนในครั้งนั้นด้วย คุณบุญศักดิ์ เป็นประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์บางกระทุ่ม และประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้างบึงเรียน หมู่ที่ 7 ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก คุณบุญศักดิ์ เล่าว่า โดยอาชีพเดิมของเกษตรกรที่นี่ทำนา และตามหัวไร่ปลายนา หรือบริเวณบ้านก็มีต้นกล้วยพันธุ์มะลิอ่องปลูกอยู่ เ
อำเภอบางกระทุ่ม ได้รับการยกย่องว่า เป็นแหล่งผลิตกล้วยตากคุณภาพดี มีรสหวาน กลิ่นหอม นุ่ม อร่อยระดับแนวหน้าของประเทศ แถมมีรางวัลเป็นเครื่องการันตีคุณภาพมากมายนับไม่ถ้วน ส่งผลให้ “ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ” ของท้องถิ่นแห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญของจังหวัดพิษณุโลกมาจนถึงปัจจุบัน สืบสานตำนานกล้วยตาก คุณอ้อ หรือ คุณศิลาพร สิงหลักษณ์ เป็นแกนนำกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านเกาะคู เธอเล่าว่า ครอบครัวคุณอ้อสืบทอดกิจการกล้วยตากจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานถึง 84 ปีแล้ว ปัจจุบัน คุณอ้อ นับเป็นทายาทรุ่น 2 ที่สืบทอดกิจการกล้วยตากจากบรรพบุรุษ เมื่อปี 2474 นางโป๊ว ผู้เป็นย่าของกำนันประภาส(คุณพ่อของคุณอ้อ) ได้นำหน่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องจำนวน 2 หน่อ มาจากเมือง แปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงทรา เพราะติดใจในรสชาติความอร่อยของกล้วยพันธุ์นี้ ระยะแรก ตั้งใจปลูกขายเพื่อขายกล้วยหวี เพื่อเป็นรายได้เลี้ยงดูครอบครัว โดยขายส่งผลกล้วยให้กับพ่อค้าที่มาทางเรือ จากจังหวัดต่างๆ พ่อค้ารับซื้อเฉพาะกล้วยหวีงามๆ เพราะขายได้ราคาดี แต่กล้วยตีนเต่า หวีเล็ก ปลายเครือมักขายไม่ได้ ย่าโป๊วจึงนำกล้วยที่เหลือจากการขายไปเลี้ยงปลา แ