กล้วยหอม
กล้วยหอมทอง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการส่งออก หลายประเทศมีความต้องการบริโภคสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้าในหลายจังหวัด รวมถึงที่จังหวัดอุดรธานี โดยการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการค้าของจังหวัดอุดรธานี เกิดขึ้นในปี 2537 โดยมี คุณทองคูณ โพธิ์พรม เกษตรกร บ้านโพธิ์ ตำบลบ้านโคก อำเภอสร้างคอม เป็นเกษตรกรผู้เริ่มต้นและจุดประกายการปลูกกล้วยหอมทอง เริ่มขายจากตลาดท้องถิ่น เดิมนั้น คุณทองคูณทำงานอยู่ในโรงงานไม้อัดที่จังหวัดนนทบุรี แต่เนื่องด้วยมีรายได้ไม่เพียงพอการค่าใช้จ่ายในครัวเรือน จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด มาประกอบอาชีพการเกษตร และได้นำพันธุ์กล้วยหอมทองจากจังหวัดนนทบุรีมาปลูก ด้านการตลาด เริ่มต้นด้วยการปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น และนำไปให้เพื่อนที่อยู่บ้านปากสวย ตำบลปากสวย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ช่วยจำหน่ายในร้านค้าริมข้างทาง บนถนนสายหนองคาย-โพนพิสัย เนื่องจากมีรถสัญจรมากพอสมควร ต่อมามีการพัฒนาจนกลายเป็นตลาดกล้วยหอมทองแหล่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี 2540 คุณทองคูณได้ริเริ่มจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกกล้วยหอมทองอำเภอสร้างคอมขึ้น มีสมาชิก
วิกฤตโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้คนทั้งโลกตื่นตัวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องขยะพลาสติก ที่สร้างผลกระทบทางมลพิษอันยิ่งใหญ่ต่อผืนดินและท้องทะเล รวมถึงพวกเราทุกคน ความพยายามลดการใช้ถุงพลาสติกในทุกรูปแบบจึงเกิดขึ้นในทุกภาคส่วน รวมถึง ถุงพลาสติกบรรจุผลไม้อย่างกล้วย 4 ลูก ที่ว่ากันว่า มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมร้ายแรงยิ่งกว่า ถุงหิ้วพลาสติกเสียอีก เนื่องจากไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ เมื่อผู้บริโภคแกะบรรจุภัณฑ์แล้วจะทิ้งทันที นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดไอน้ำ ส่งผลให้กล้วยเสื่อมสภาพเร็วขึ้น นำไปสู่การเกิดขยะอาหารตามมา โก โฮลเซลล์ (GO WHOLESALE) ศูนย์ค้าส่งวัตถุดิบอาหาร ทางเลือกใหม่เพื่อผู้ประกอบการ จึงร่วมมือกับ บริษัท คิงโปรเซสซิ่ง จำกัด ทำ “สายคาด” สินค้าประเภทกล้วยหอม แพ็ก 4 ลูกขึ้นมาเป็นครั้งแรก ทดแทนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก หลังจากเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยสายคาดนี้ ทำขึ้นจากกระดาษชนิดพิเศษ มีขนาดความกว้างประมาณ 2 นิ้ว พันรอบกล้วยแพ็ก 4 ลูก ซึ่งจะมีข้อมูลรายละเอียดสินค้า และผู้ผลิต กำกับไว้ด้วย ข้อดีคือ ทำให้มองเห็นลักษณะภายนอกของกล้วยได้อย่างชัดเจน จึงดูได้ทั้งความสุก ลักษณะผิว และหยิ
กล้วยหอมทอง พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ด้วยรสชาติที่อร่อย กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ทำให้กล้วยหอมไทยครองใจชาวญี่ปุ่นได้ไม่ยาก รวมถึงความต้องการภายในประเทศก็มีไม่แพ้กัน เนื่องจากกล้วยหอมเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายควรได้รับ จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค รวมไปถึงเรื่องศาสนาและความเชื่อ กล้วยหอมก็เป็นอีกหนึ่งผลไม้มงคลที่ต้องใช้ในการไหว้เจ้าที่เช่นกัน โดยมีความหมายถึง ความมั่งคั่ง ร่ำรวย การมีบริวารเยอะแยะ ใครที่จัดของไหว้เจ้าที่ด้วยกล้วยหอมจึงมักจะมีความร่ำรวยเงินทอง มีเงินเข้ามาอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นหากท่านใดสนใจปลูกกล้วยหอมทองสร้างรายได้ก็ยังน่าสนใจ แต่ต้องศึกษาวิธีการปลูกการดูแลให้ดีอีกเช่นกัน เพราะกล้วยหอมทองเป็นพืชที่ได้รับฉายาว่า “ปลูกง่าย แต่ดูแลยาก” นั่นเอง คุณศศิธร พันธ์มุง หรือ คุณติ๋ว เจ้าของสวน T.N banana อยู่ที่ ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี อดีตสาวโรงงานในเมืองกรุง ลาออกจากงานมาเป็นเกษตรกร ปลูกกล้วยหอมทองเน้นคุณภาพส่งห้าง หวีใหญ่ ผิวสวย เนื้อแน่นอร่อย กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ฟันรายได้ครึ่งล้านต่อปี คุ
ส้มเขียวหวาน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นครนายก และสระบุรี เคยปลูกมากถึง 2 แสนไร่ หลังจากพืชนี้ล่มสลาย เกษตรกรหันมาทำนา ปลูกกล้วยหอมทอง ซึ่งก็สร้างชื่อให้กับจังหวัดปทุมธานีมาจนถึงปัจจุบัน คุณธนิสร ชีพประกิต หรือ คุณต่าย อยู่บ้านเลขที่ 10/3 หมู่ที่ 8 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เคยปลูกส้มเขียวหวานมาก่อน เมื่อโรครุมเร้าต้นส้ม ได้หันมาปลูกกล้วยหอมแทน คุณต่าย บอกว่า ทำกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ราว 200 ไร่ มีส้มเขียวหวาน 20 ไร่ มะนาว 30 ไร่ กล้วยหอมทอง 40 ไร่ และอื่นๆ ปลูกสลับ…ลดโรคแมลง ผลผลิตดี พื้นที่ปลูกพืชของที่นี่เป็นร่องสวนส้มเดิม งานปลูกพืชต่างๆ จึงปลูกตามสันร่อง คุณต่าย เล่าว่า กล้วยหอม เป็นพืชหลักที่ปลูกแล้วสร้างงานทำเงิน เมื่อเก็บผลผลิตกล้วยหอมหมด ตนเองจะปลูกข้าวโพดหวานสลับ ซึ่งประโยชน์นั้น ช่วยลดการระบาดของโรคแมลง ข้อดีของการสลับด้วยข้าวโพด พืชชนิดนี้อายุการเก็บเกี่ยวสั้น อยู่ที่ 65-70 วัน ก็จำหน่ายได้เงินแล้ว “นำข้าวโพดหวานมาปลูกสลับ 10 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้ เกษตรกรจะเดินไปร้านค้า ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมาปลูก ช่วงใดราคาดีก็ดีไป แต่ช่วงใดราคาตกต่ำลำบากมาก ทุกวันนี้มี
กล้วยหอมทอง เป็นผลไม้ที่นิยมปลูกกันแพร่หลาย จะปลูกจำนวนน้อยหรือจำนวนมาก ปลูกชนิดเดียวหรือปลูกแซมผสมผสานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละราย เพราะการพัฒนาคุณภาพกล้วยหอมทองจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของตลาดทั้งใน/ต่างประเทศ นับเป็นความสำเร็จอันดีเยี่ยม ถือเป็นบันไดอีกขั้นของวงการเกษตรไทย แล้วช่วยผลักดันให้ชาวบ้านตื่นตัวปลูกสร้างรายได้กัน สำหรับ คุณโสฬส เดชมณี บ้านเลขที่ 38 หมู่ที่ 1 ตำบลศรีเวียงชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 081-370-0105 ใช้กล้วยหอมทองพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกง่าย ทนทาน รสอร่อย สำหรับส่งขายตลาดนักท่องเที่ยว ทำให้มีรายได้เกือบ 20,000 บาท ต่อเดือน ชาวศรีเวียงชัยคนนี้พกดีกรีปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี 2528 แล้วทำงานอยู่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แต่พบว่ารายได้น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ จึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิดที่สุราษฎร์ธานีเพื่อยึดอาชีพใหม่ ได้ผ่านประสบการณ์อาชีพหลายอย่าง ไม่ว่าจะเลี้ยงเป็ด-ไก่ ผลิตหัวอาหารกุ้ง ปลูกชมพู่ ซึ่งล้วนประสบปัญหาหลายอย่าง จนกระทั่งมาจบที่การทำสวนปาล์มน้ำมันและทำสวนกล้วยหอมทอง ปลูกกล้วยมีพื้นที่จำกัด ทำไงให้ได้ผล
ส้มเขียวหวาน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นครนายก และสระบุรี เคยปลูกมากถึง 2 แสนไร่ หลังจากพืชนี้ล่มสลาย เกษตรกรหันมาทำนา ปลูกกล้วยหอมทอง ซึ่งก็สร้างชื่อให้กับจังหวัดปทุมธานีมาจนถึงปัจจุบัน คุณธนิสร ชีพประกิต หรือ คุณต่าย อยู่บ้านเลขที่ 10/3 หมู่ที่ 8 ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เคยปลูกส้มเขียวหวานมาก่อน เมื่อโรครุมเร้าต้นส้ม ได้หันมาปลูกกล้วยหอมแทน คุณต่าย บอกว่า ทำกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ราว 200 ไร่ มีส้มเขียวหวาน 20 ไร่ มะนาว 30 ไร่ กล้วยหอมทอง 40 ไร่ และอื่นๆ คุณธนิสร ชีพประกิต หรือคุณต่าย ปลูกสลับ…ลดโรคแมลง ผลผลิตดี พื้นที่ปลูกพืชของที่นี่เป็นร่องสวนส้มเดิม งานปลูกพืชต่างๆ จึงปลูกตามสันร่อง คุณต่าย เล่าว่า กล้วยหอม เป็นพืชหลักที่ปลูกแล้วสร้างงานทำเงิน เมื่อเก็บผลผลิตกล้วยหอมหมด ตนเองจะปลูกข้าวโพดหวานสลับ ซึ่งประโยชน์นั้น ช่วยลดการระบาดของโรคแมลง ข้อดีของการสลับด้วยข้าวโพด พืชชนิดนี้อายุการเก็บเกี่ยวสั้น อยู่ที่ 65-70 วัน ก็จำหน่ายได้เงินแล้ว “นำข้าวโพดหวานมาปลูกสลับ 10 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้ เกษตรกรจะเดินไปร้านค้า ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมาปลูก ช่วงใดราคาดีก็ดีไป แต่ช่วงใดราคา
นางสุจารีย์ พิชา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 นครราชสีมา (สศท.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมามีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาผลิตสินค้าเกษตรที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง และคุ้มค่าแก่เกษตรกร มีตลาดรองรับ โดยสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิต การบริหารจัดการร่วมกันและรวมกันจำหน่าย โดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน และให้เกษตรกรเป็นผู้บริหารจัดการ แบบครบวงจรทั้งด้านการผลิต แปรรูปและการตลาดได้ จากการลงพื้นที่ของ สศท.5 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตกล้วยหอมทองของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง ตำบลสุขไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา นับเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เข้มแข็งและประสบความสำเร็จ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 700 ไร่ ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 100 ราย ซึ่งทางกลุ่มวิสาหกิจฯ มีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง และวางแผนการผลิตและการตลาดอย่างเป็นระบบ ผลผลิตผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP รวมถึงมีโรงคัดบรรจุตามระบบ GMP เพื่อให้ได้
กล้วย คือผลไม้ที่คนไทยนิยมรับประทานทานกันมากโดยเฉพาะนักกีฬา กล้วยมีมากมายหลายชนิด เช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง เป็นต้น กล้วยชนิดต่างๆ มีความแตกต่างกันทั้งรสชาติ ขนาด และสี ชนิดของกล้วยจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไปนอกจากจะมีหลายชนิดแล้ว กล้วยชนิดต่างๆ สามารถแบ่งพันธุ์ได้อีกมากมาย แต่พันธุ์ที่ต้องการแนะนำโดยเฉพาะคือ กล้วยหอมพันธุ์ คาเวนดิช (Cavendish) ชื่อภาษาไทยเรียกว่า กล้วยหอมเขียว เป็นกล้วยหอมที่ต่างประเทศให้ความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากนักและเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับเกษตรกรไทยอีกด้วย คุณวิเชียร เนียมจ้อย นักประดิษฐ์และเกษตรกรแบบผสมผสาน เช่น กล้วยไม้ มะม่วง กล้วยน้ำว้า อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 40/2 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชได้ผลดี กล้วยหอมพันธุ์คาเวนดิช คุณวิเชียร มีชื่อเสียงโด่งดังจากมะม่วงและกล้วยน้ำว้าพันธุ์ โชควิเชียร กล้วยหอมคาเวนดิชเป็นพันธุ์กล้วยหอมพันธุ์ใหม่สำหรับเกษตรกรไทย คุณวิเชียร บอกว่า กล้วยหอมคาเวนดิช เพาะปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก มีลำต้นที่แข็งแรงไม่ต้องใช้ไม้ค้ำเหมือนกล้วยหอมพันธุ์อื่นๆ ปกติกล้วย
กล้วยหอมทอง พืชมากประโยชน์ และถือเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออกสำคัญของประเทศไทยอีกชนิดหนึ่ง ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยสัมภาษณ์ คุณจักรินทร์ โพธิ์พรม ประธานวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง อยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เกี่ยวกับเทคนิคการปลูกกล้วยหอมทองให้ได้มาตรฐานส่งร้านสะดวกซื้อ รวมถึงการส่งออกต่างประเทศ และมีบางช่วงบางตอนที่ได้พูดคุยกันถึงตลาดกล้วยหอมทองทั้งในและต่างประเทศ คุณจักรินทร์ได้มีการพูดถึงตลาดกล้วยหอมทองว่า “สำหรับอนาคตการตลาดกล้วยหอมทองภายในประเทศค่อนข้างสดใสเมื่อเทียบกับอดีตที่หลายคนยังไม่รู้ว่าประโยชน์ของกล้วยหอมทองมีมากแค่ไหน แต่ในปัจจุบันแทบไม่ต้องบอกถึงสรรพคุณ คนส่วนใหญ่ก็รู้ถึงคุณประโยชน์ที่มากล้นของกล้วยหอมทองอยู่แล้ว จึงส่งผลไปถึงความต้องการบริโภคกล้วยหอมทองภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น 120-150 ล้านลูก ต่อปี อันนี้คือตลาดภายในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศถ้าพูดถึงญี่ปุ่น หรือจะดึงจีนและประเทศแทบตะวันออกกลางเข้ามา ความต้องการกล้วยหอมทองในตลาดโลกยังมีความต้องการสูงมาก เฉพาะแค่ญี่ปุ่นประเทศเดียวมีความต้องการบริโภคกล้วยหอมทองปีละกว่าล้านตัน แต่ประเทศไทยสามารถส่งออกกล้วยหอมทองได้เพียงปีละ 5,000 ตัน เท่าน
เกษตรกรตัวจริงเสียงจริงสร้างธุรกิจเงินล้านได้ไม่ยาก แค่จับตลาดให้ถูกช่องทาง แม้ทำธุรกิจกล้วยๆ อย่าง คิงฟรุทส์ (King Fruit) ผู้ผลิตกล้วยหอมสุกพร้อมทานบรรจุในถุงพลาสติกใสที่เราคุ้นตากันในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ สามารถสร้างรายได้สูงต่อปีถึง 150 ล้านบาททีเดียว คุณเสาวณี วิเลปะนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัทคิง ฟรุทส์ จำกัด กล่าวว่า เราเป็นเกษตรกร ผู้ปลูกกล้วยหอมที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมานานกว่า 15 ปี มีพื้นที่การปลูกกล้วยหอมทองกว่า 3,000 ไร่ และเกษตรกรในเครือข่ายกว่า 1,000ไร่ ควบคุมดูแลการปลูก โดยนักวิชาการผู้เชียวชาญ โดยเฉพาะ ภายใต้มาตรฐาน GAP ตั้งแต่การคัดเลือก หน่อพันธุ์ที่ดี จนถึง การเก็บเกี่ยว มีโรงคัดบรรจุตามระบบ GMP และ HACCP เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และปลอดภัยต่อผู้บริโภค ภายใต้นโยบายคุณภาพ ” มุ่งมั่น พัฒนา ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน เพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ” คิงฟรุทส์ ตั้งเป้าเติบโตด้วยคุณภาพ เน้นการรวมกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้ปลูกกล้วยหอมทอง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาตรฐาน