การทำเกษตร
คุณลุงทองปาน พิมพานิช วัย 65 ปี และภรรยา คุณป้าเคี่ยม พิมพานิช อายุ 63 ปี ที่มีความทะมัดทะแมงแข็งแรงทำงานได้สบายๆ คุณลุงทองปาน เล่าว่า ยึดอาชีพทำนา ทำสวน มาจากบรรพบุรุษ เดิมอยู่บ้านบัวสว่าง ต่อมาเมื่อมีการมาตั้งหมู่บ้านที่นี่จึงออกมา เพราะว่ามีที่ดินอยู่ที่นี่ คุณลุงทองปาน มีลูก 6 คน ชาย 2 หญิง 4 คน แต่งงานมีครอบครัว ก็ยึดอาชีพทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ส่วนแม่บ้านยามว่างก็หันมาทอผ้าใช้เอง ไม่ได้ซื้อหาเหมือนปัจจุบัน ผ้าส่วนใหญ่ที่ทอ ผ้าคราม ผ้าขาวม้า ผ้าห่ม ใช้เองในครอบครัว อินทผลัมกินผล ฐานะครอบครัวค่อนข้างลำบาก แม้จะมีที่ดินทำนา ทำสวน ทำไร่ ก็ตาม เพราะการทำการเกษตรนั้นส่วนใหญ่จะรอน้ำจากฝนที่ตกลงมา ไม่ได้พัฒนาเหมือนปัจจุบัน ลูกหลายคนถามว่า จะให้เรียนหนังสือแล้วไปรับราชการทำงานหรือไม่ จึงบอกไปว่า การเรียนหนังสือเป็นสิ่งที่ดี ทำให้เราฉลาด แต่เป็นส่วนประกอบของความสบายระดับหนึ่งเท่านั้น คิดว่าลูกๆ ทุกคน ประกอบอาชีพการเกษตรดีกว่า เพราะคนทุกคนบนโลกนี้จะต้องกินข้าว กินน้ำ แม้จะมีเงินก็ต้องกินขาดไม่ได้ จึงช่วยกันทำนา ทำสวน เรื่อยมา การเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น เมื่อ ปี 2540 คุณลุงทองปาน บอกว่า มีผู้นำ
ทันทีที่คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติเลื่อนการพิจารณาห้ามใช้สารเคมีพาราควอต ออกไปอีก 2 ปี โดยให้อยู่ในรูปของการจำกัดการใช้ ส่วนสารเคมีอีก 2 ชนิด คือ คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตก็เช่นกัน ยืนตามมติเดิมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ระบุว่า ยังไม่มีการยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 รายการ ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เพราะให้ใช้เฉพาะ 6 พืช ประกอบด้วย ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และไม้ผลที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น ระหว่างนี้ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตาม มาตรการ 5 ข้อ อาทิ ทำโครงการศึกษาวิจัยเพื่อลดการใช้สารเคมีและหาวิธีทดแทนการใช้สารเคมี รวมทั้งศึกษาผลกระทบของสารที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิต และผู้บริโภค จัดอบรมให้ความรู้โครงการนำร่องทดสอบหลักสูตรผู้พ่นสารพาราควอตเพื่อกำจัดวัชพืช เป็นต้น โดยเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างพาราควอต คาดว่าจะมีความชัดเจนว่าจะเลิกหรือไม่เลิก ภายใน 2 ปี หรือภายใน วันที่ 1 มกราคม 2564 แต่หากสามารถหาสารทดแทนได้ก็ยกเลิกก่อน 2 ปี อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าข้อเท็จจริงของการพิจารณาและโหวตความคิดเห็นของกรรมการวัตถุอันตราย
จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้หลายๆ คนมีรายได้ที่ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย จึงได้มีการยึดอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้เพียงพอไม่เกิดหนี้สิน และที่สำคัญยังมีเก็บเพื่อไว้ใช้จ่ายในอนาคตอีกด้วย อย่างเช่นมนุษย์เงินเดือนยุคนี้หาเวลาว่างหลังเลิกงานมาทำอาชีพเสริมในแบบที่รักและถนัด ก็สามารถทำรายได้เสริมโดยที่งานหลักไม่เสียอีกด้วย งานทางด้านการเกษตร ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางเลือกที่หลายๆ คนให้ความสนใจ เพราะสามารถใช้เวลาช่วงเช้าและเย็นมาทำได้ จึงเหมือนเป็นการสร้างเวลาว่างให้มีประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการทำเกษตรสมัยนี้ไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพียงแต่นำพื้นที่ที่มีอยู่มาปรับใช้ ก็สามารถมีรายได้เช่นกัน คุณชื่นกมล เนตรสังข์ อยู่บ้านเลขที่ 56/5 หมู่ที่ 1 ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ด้วยการปลูกพืชและไม้ยืนต้นต่างๆ รอบบริเวณบ้านในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ มีผลผลิตให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี จนเกิดเป็นรายได้เสริมที่เธอเป็นผู้ลงแรงเองทั้งหมด คุณชื่นกมล เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนนั้นประกอบอาชีพมาหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ หรือดำเนิน
คุณอร่าม ทรงสวยรูป อดีตช่างภาพรางวัลพูลิตเซอร์ หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานมากว่าสิบปี ก็ได้หันมาทำเกษตร โดยเริ่มต้นจากลงทุนซื้อที่ดิน คุณอร่าม เล่าว่า ครอบครัวมีที่ดินอยู่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ แต่พ่อแม่หวงที่ดินมาก ไม่อยากให้มาทำเกษตร ขุดบ่อ ตนจึงตัดสินใจเอาบ้านเข้าธนาคารเพื่อที่จะนำเงินมาซื้อที่ดิน ในการเลือกซื้อที่ดิน ก็จะดูทำเล มีแหล่งน้ำ เหมาะแก่การทำเกษตร จึงได้ที่ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวนที่ดินทั้งหมด 9-10 ไร่ ราคาซื้อเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ไร่ละ 40,000 บาท ในการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานของ คุณอร่าม ทรงสวยรูป จะแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน ที่อยู่อาศัย 20 เปอร์เซ็นต์ น้ำ 30 เปอร์เซ็นต์ เกษตร 30 เปอร์เซ็นต์ ป่า 20 เปอร์เซ็นต์ ใช้พื้นที่ทั้งหมดให้เกิดประโยชน์ ทำคันนาให้กว้าง เหลือพื้นที่ปลูกผัก มีการปลูกพืชแซมเพื่อให้พืชได้เอื้อผลประโยชน์กัน และที่สำคัญคือเกษตรอินทรีย์ ปราศจากสารเคมี เหมือนสโลแกนที่คุณอร่ามคิดไว้คือ “คนกินมีสุข คนปลูกมีกิน” คุณอร่าม เล่าว่า ตนมีหลักการทำเกษตรอยู่ 4 การ การแรกคือ อุดมการณ์ ในการทำเกษตร ต้องสะอาด ปลอดภัย เพราะเราปลูกกินปล
โรงเรียนดอนสีนวน เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนในระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองแซง อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ทางโรงเรียนได้เล็งเห็นแนวทางที่จะส่งเสริมให้เด็กๆ และเยาวชน และเด็กบางกลุ่มที่ผู้ปกครองมีปัญหาทางการเงิน ไม่สามารถส่งเสียบุตรหลานให้เรียนต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปได้ ทางโรงเรียนจึงได้หาแนวทางที่จะส่งเสริมให้เด็กๆ เหล่านี้ได้มีอาชีพไว้หาเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต เพื่อที่เด็กๆ ส่วนนี้เมื่อจบการศึกษาไปแล้วจะนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพที่สุจริตจะได้ไม่เป็นภาระของสังคม และไม่ไปสร้างปัญหาให้กับสังคมในภายภาคหน้า อาจารย์สุมิตร ทองแว่น ผอ. โรงเรียนดอนสีนวน กล่าวถึงการจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรดังกล่าวว่า จากแนวคิดของโรงเรียนได้มองเห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเป็นโรงเรียนที่นักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวเกษตรกร มีฐานะยากจน ซึ่งมีพื้นฐานการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงได้ดำเนินการโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ และสมัครขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่ม “ยุวเกษตรกรในโรงเรียนดอนสีนวน” เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2540 เริ่
จากปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้ คุณสอาด คำทราย จำต้องเกษียณตัวเองออกราชการก่อนกำหนด ทั้งๆ ที่ใจยังรักอยากจะทำงานต่อ แต่เพราะกลัวความเครียดจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นตามภาระงานที่ได้รับ ซึ่งเป็นสาเหตุเร่งเร้าทำให้สุขภาพทรุดโทรม จึงตัดสินใจเกษียณตัวเองจากอดีตเจ้าพนักงานการเกษตร อำลาหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้แก่เกษตรกรมา 31 ปี คุณสอาด คำทราย อยู่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 6 บ้านปงวัง ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สัมผัสชีวิตเกษตรมาโดยตลอด เมื่อเรียนที่วิทยาลัยเกษตรกรรมลำปาง (ปัจจุบัน เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง) ปี พ.ศ. 2520 ในระดับ ปวช. และ ปวส. จบปี พ.ศ. 2524 (ต่อมาจบปริญญาตรี วท.บ. เทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปี พ.ศ. 2535) ในปี พ.ศ. 2524 ได้บรรจุเป็นเจ้าพนักงานการเกษตรที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และย้ายมาอยู่จังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. 2531 ระหว่างรับราชการอยู่ที่จังหวัดลำปาง ได้ใช้พื้นที่หลังบ้านตนเอง ประมาณ 400 ตารางเมตร ยกแปลงปลูกผักเป็นแปลงๆ เริ่มปลูกได้ก็แจกจ่ายให้เพื่อนบ้าน เมื่อมีมากขึ้นจึงมีแม่ค้าใกล้เคียงมาซื้อกัน ส่วนใหญ่เป็นผักตามฤดูกาล ในเวลานั้นไม่ได้
เกษตรกรรม เป็นกิจกรรมการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และประมง แต่การเลือกทำเพียงกิจกรรมเดียว จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะไม่ได้รับผลผลิตเมื่อต้องประสบกับภัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ แต่ถ้าเลือกทำ “เกษตรผสมผสาน” คือมีตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป มีการวางแผนการผลิต ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิต ความเสี่ยงก็ลดลง ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนเกษตรผสมผสานจึงเป็นทางเลือกในการยกระดับรายได้เพื่อนำไปสู่การดำรงชีพที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง เกษตรผสมผสาน วิถีพอเพียง บนพื้นที่ 2 ไร่ ที่สิงห์บุรี มาบอกเล่าสู่กัน คุณยศพนธ์ ทัพพระจันทร์ เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า จังหวัดสิงห์บุรีมีพื้นที่การเกษตร 418,781 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ทำนา 377,826 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 11,002 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชสวน เช่น ปลูกไม้ผล พืชผัก 26,895 ไร่ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ 1,189 ไร่ และพื้นที่ประมง 1,869 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ทำไร่นาสวนผสม หรือเกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน เป็นงานเกษตรที่ทำตั้งแต่ 2 กิจกรรม ขึ้นไป เพื่อลดความเสี่ยง โดยได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้วางแผนการปลูกและ
อาชีพตำรวจ เป็นงานที่มีเกียรติและกล้าหาญ พิทักษ์ความสงบสุข และผดุงความยุติธรรมในสังคม แต่ผลตอบแทนในรูปเงินเดือนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ จึงเกิด โครงการ 4 ประสาน ระหว่างภาครัฐและเอกชน ภายใต้ชื่อ “หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” เพื่อยกระดับรายได้ข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยตลอดช่วงการรับราชการไปจนถึงหลังเกษียณ ปัจจุบัน “หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” กลายเป็นโมเดลต้นแบบเพิ่มรายได้และทรัพย์สินเสริมสวัสดิการแก่ครอบครัวตำรวจผู้มีรายได้น้อยอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้น เมื่อปี 2549 ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (ซีพีเอฟ) ธนาคารทหารไทย (TMB) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสถานีตำรวจภูธรเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ร่วมกันสนับสนุนเงินกู้ 56.3 ล้านบาท ให้ข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย ของ สภ. เกาะจันทร์ จำนวน 31 ครอบครัว จัดซื้อที่ดิน 230 ไร่ ตำบลนาวังหิน มาดำเนินโครงการ “หมู่บ้านเกษตรสันติราษฎร์” โดยแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกใช้เป็นที่ดินสำหรับพักอาศัย เนื้อที่ 50 ไร่ โดยจัดสรรให้สมาชิกรายละ 600 ตารางวา สำหรับก่อสร้างบ้านพัก 1 หลัง และโรงเรือนสำหรับใช้เลี้ยงไก่พันธุ์พื
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการระยะยาวของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กับโครงการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชมบ้านเขาสมอคอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากมหาอุทกภัยเมื่อปี 2554 โดยบ้านปูเข้าไปให้ความช่วยเหลือชุมชนหมู่ 1, 2 และ 3 ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 5 ปีที่ผ่านมา ชุมชนแห่งนี้มีพัฒนาการตามลำดับ เริ่มต้นจากกิจกรรมระยะเร่งด่วนด้วยการซ่อมแซมและพื้นฟูชุมชนหลังน้ำลดให้กลับคืนสภาวะปกติโดยเร็ว หลังจากนั้นเข้าสู่กิจกรรมระยะกลาง ซึ่งเน้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชน และพัฒนาทักษะเกษตรกร ปิดท้ายด้วยกิจกรรมระยะยาวกับการพัฒนาบ้านเขาสมอคอนให้เป็นชุมชนต้นแบบในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนในโครงการนาอินทรีย์ข้าวสินเหล็กเขาสมอคอนที่ทำให้เกษตรกรมีแบรนด์สินค้าของตนเอง “อุดมลักษณ์ โอฬาร” ผู้อำนวยการสายอาวุโส-องค์กรสัมพันธ์ บมจ.บ้านปู สะท้อนภาพโครงการว่า เรามองถึงความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรมีรายได้ระยะยาว และสามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง ดังนั้น เพื่อให้ชุมชนปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง จึงแนะนำให้ทำเกษตรกรรมด้านอื่นนอกเหนือจากการปลูกข้าว