การปลูกผัก
เกษตรอินทรีย์เป็นระบบการผลิตที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดีรวมไปถึงระบบนิเวศด้วยเช่นกัน ซึ่งเกษตรอินทรีย์ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและปราศจากสารตกค้าง แต่ยังช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและลดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำอีกด้วย นอกจากประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตมากขึ้น โดยการทำเกษตรอินทรีย์หากมีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่างๆ จะช่วยทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจได้ในคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ คุณดาด้า-ณัฐรินี สกุลจงเกษมสุข เจ้าของไร่เกษมสุขผักอินทรีย์ ได้ยึดการปลูกผักอินทรีย์ที่ไม่ใช่เพียงเพราะความรักความชอบเท่านั้น แต่ยังเกิดจากความมีใจล้วนๆ ที่อยากให้ทุกคนในครอบครัวได้กินผักที่มีคุณภาพ และพร้อมส่งต่อความตั้งใจนี้ให้กับลูกค้าที่เข้ามาซื้อผลผลิตในสวนอยู่ตลอดทั้งปี แรงบันดาลใจของการทำเกษตรอินทรีย์ อยากให้ครอบครัวได้กินอาหารที่ปลอดภัย คุณดาด้า
เกษตรผสมผสาน คือระบบการผลิตทางการเกษตรที่รวมเอาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เข้าไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน โดยมีการจัดการระบบนิเวศอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน คุณสมพรชัย องอาจ เป็นคนที่ชอบทำเกษตรมาตั้งแต่สมัยเด็ก ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็จะทำเรื่อยๆ แบบทีละเล็กละน้อย ต่อมาเมื่อเข้าสู่ชีวิตคู่จึงได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดนครปฐมกับภรรยา ก็จะประกอบอาชีพเพาะเห็ด เลี้ยงกบ และตลาดจนการปลูกไม้ผลต่างๆ ไปด้วย คุณสมพรชัย เล่าว่า “ช่วงนั้นก็ไปอยู่ที่นครปฐมก่อน เราก็จะไปปลูกพวกไม้ผลต่างๆ เอาไว้ ต่อมาก็ผลิตกิ่งพันธุ์ขาย ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ม่อนเบอรี่ หน่อกล้วยทำหมด คราวนี้พอช่วงที่บึงกาฬเริ่มมีการปลูกยางพารามากขึ้น ก็เลยย้ายมาอยู่ที่บ้านเกิด ซึ่งบริเวณรอบบ้านมันจะมีพื้นที่อยู่ประมาณ 1 ไร่ เราก็คิดว่า ต้องหาอะไรมาทำให้เกิดประโยชน์ และสร้างเงินให้เราให้ได้ ก็ทำแบบผสมผสานไปเลยน่าจะดี” เนื่องจากพื้นที่บ้านของเขาไม่สามารถที่จะทำบ่อสำหรับเลี้ยงปลาได้ เขาจึงได้เลือกเลี้ยงกบแทน โดยนำกบที่อยากเลี้ยงมาออกแบบให้อยู่ในกระชังบก ที่การเลี้ยงไม่มีอะไรยุ่งยากเพียงแค่ใส
ในปีนี้ ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยในวงกว้าง สร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตรหลายจังหวัด ขณะนี้หลายพื้นที่น้ำท่วมลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ สามารถเริ่มต้นเพาะปลูกพืชได้อีกครั้ง กรมส่งเสริมการเกษตรมีคำแนะนำสำหรับการปลูกผักหลังจากน้ำลด รวมทั้งวิธีปรับปรุงดินอย่างไรให้ผักที่ปลูกปลอดโรค นอกจากนี้ ชนิดของผักที่จะปลูกหลังจากน้ำลด ควรเป็นผักที่มีอายุสั้น เก็บผลผลิตได้เร็ว และตลาดนิยมบริโภค และพันธุ์พืชที่ใช้ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ควรเป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี การเตรียมดิน ระยะแรกที่ดินยังเปียกอยู่ ไม่ควรให้คน สัตว์เลี้ยง และเครื่องจักร เข้าไปในพื้นที่ จะทำให้โครงสร้างของดินจับตัวกันแน่น ทำให้ยากต่อการปรับปรุงดิน กรณีที่มีน้ำขังควรหาทางระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ให้ขุดดินและตากดินไว้ 2-3 วัน และควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่าคลุกเคล้าดินเพื่อให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพในการปลูกพืชดีขึ้น หรือใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์ช่วยปรับปรุงดินด้วย เพื่อป้องกันปัญหาโรครากเน่า วิธีการปลูกผัก หากสภาพพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่หรือสภาพดินยังแฉะมาก ควรใช้วิธีการปลูกด้วยต้นกล้า จะทำให้ผักเจริญเติบ
การเกษตรเป็นงานที่หลายคนให้ความสนใจ โดยเริ่มทำจากความรักความชอบก่อน เมื่อลงมือทำยิ่งมีประสบการณ์เกิดความสนุก และสิ่งที่ตามมาคือเรื่องของตลาดเพื่อขาย ทำให้เกิดเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ไม่น้อยทีเดียว เหมือนเช่น คุณปรมพร สีเหนี่ยง หรือ คุณแจง ทำสวนผักเกษตรอินทรีย์ โดยใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำสวนผักเกษตรอินทรีย์ในแบบที่ชอบ โดยใช้พื้นที่ว่างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาสร้างเป็นสวนเกษตรในแบบที่ต้องการ ทำให้ในทุกวันหลังเลิกงานและวันหยุด ใช้เวลาให้มีความสุขในสวนเกษตรอินทรีย์อันเป็นที่รัก ชอบกินผัก จึงคิดทำแปลงผักอินทรีย์ คุณแจง เล่าให้ฟังว่า สนใจในเรื่องของสุขภาพมาก โดยแต่ละวันในมื้ออาหารของคุณแจงจะต้องมีผักร่วมอยู่เสมอ นอกจากนี้ ยังปั่นน้ำผักน้ำผลไม้ดื่มเองอยู่เป็นประจำ ซึ่งการนำพืชผักเหล่านี้มาบริโภคนั้น ต้องเลือกผักที่ไร้สารพิษจริงๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจปลอดภัยในทุกมื้อ คุณแจงจึงได้ปรึกษากับแฟน และเริ่มต้นมาปลูกผักอินทรีย์ เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและต่อมาสามารถสร้างรายได้ด้วยเช่นกัน “ประมาณปี 2559 คุยกับแฟนเรื่องการทำเกษตร ว่าน่าจะปลูกผักอินทรีย์ไว้กินเอง เพราะเรายังมีพื้นที่ว่างอยู่ พื้นท
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสถาบันที่มีความพร้อมในเรื่องงานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์ให้มีความยั่งยืนมากขึ้น จึงได้มี โครงการ “ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ KMITL” (The KMITL organic agriculture model) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของการทำเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้ในเรื่องนี้ พื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ KMITL ผศ.ดร. สุพัตรา โพธิ์เอี่ยม อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หัวหน้าโครงการต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ KMITL ให้ข้อมูลว่า การจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมานั้น เกิดจากการพัฒนาสารชีวภัณฑ์ เพื่อนำมาใช้ในการกำจัดแมลงและโรคพืชต่างๆ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี ซึ่งสารชีวภัณฑ์ที่นำมาใช้เกิดจากงานวิจัย ของ รศ.ดร. เกษม สร้อยทอง ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยนำสารชีวภัณฑ์มาป้องกันการเกิดโรคพืชต่างๆ พร้อมทั้งมีการพัฒนางานวิจัยขึ้นมาเรื่อยๆ ดังนั้น ทางสถาบันฯ เห็นถึงความพร้อมในทุกด้าน จึงได้ทำแปลงต้นแบบของการปลูกพืชในระบบอิ
หลายคนประสบความสำเร็จกับคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คุณชาญ มั่นฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านหาดใหญ่ ตำบลหนองหอม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ก็เช่นกัน คุณชาญ ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร จากการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่คุณชาญก็ให้ข้อคิดว่า ไม่ใช่ทุกคนที่ประสบความสำเร็จจากการทำเกษตร ด้วยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะนั่นอาจจะเป็นเพียงแนวทาง แต่ไม่ใช่การดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจริง เช่น การลงทุนสูง การไม่มีใจรักเมื่อเริ่มต้นทำเกษตร แต่ทำเพราะกระแส เป็นต้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้สร้างความพอเพียงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การทำการเกษตรของคุณชาญ ก็เริ่มต้นจากเกษตรกรทำนาเช่นเดียวกับเพื่อนบ้านรายอื่นๆ ที่มีผืนนาเป็นของตนเอง และทำนาตามฤดูกาล ในอดีตทำนาปีละครั้ง โดยอาศัยน้ำฝนในฤดูกาล ไม่มีระบบชลประทานมาเกื้อหนุน การปลูกข้าวที่ทำอยู่ก็ทำเหมือนเกษตรกรรายอื่น ระบบการปลูก ดูแล เก็บเกี่ยว ขาย ไม่แตกต่าง เมื่อไม่เกิดความแตกต่าง ผลที่ได้ก็เหมือนกันคือ ประสบภาวะขาดทุน คุณชาญ เป็นผู้ที่สนใจใฝ่รู้ จึงเริ่มศึกษาระบบการทำการเกษตรด้วยวิธีต่างๆ และเคยเข้ารับการอบรมการทำเกษตรโดยยึดหลักเศรษฐ
คนโบราณนั้นท่านมีความสามารถในเรื่องการกินผักเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคและรักษาได้อย่างลงตัว จนหลายๆ คนในสมัยปัจจุบันต้องยอมรับกันเลยทีเดียว โดยท่านสามารถนำเอาผัก ผักกูด ผักพื้นบ้านที่มีสรรพคุณมากมายมาใช้ปรุงประกอบอาหาร ได้อาหารสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากมาย ผักกูด เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์น ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูด มักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำมากกว่าในป่าทึบ และมักพบมากในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงเจริญเติบโตได้ดีที่สุด นอกจากนี้แล้ว ผักกูด ยังเป็นดัชนีชี้วัดถึงสภาพแวดล้อมให้ได้รู้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ และผักกูดจะไม่ขึ้น หรือแตกต้นในบริเวณนั้นโดยเด็ดขาด ใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่ม หรือกินสด ช่วยแก้ไข้ ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก ลดความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด มีสารเบตาแคโรทีน และธาตุเหล็กสูง วิธีการปรุงประกอบอาหารจากผักกูด ส่วนมากมักจะนำเอาใบอ่อน ช่ออ่อน มาทำแ
“สวนสามแสน” ชื่อของสวนเกษตร ในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งเกิดจากการปรับปรุงพื้นที่ภายในบริเวณโรงเรียนเก่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาเป็นแปลงปลูกพืชผักผลไม้แนวเศรษฐกิจพอเพียง แล้วเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในชุมชนมีส่วนร่วมทำเกษตรกรรมเน้นความเป็นอินทรีย์หวังให้ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ เพื่อสร้างความยั่นยืน คุณสมคิด ธีระสิงห์ ประธานกลุ่ม “สวนสามแสน” เปิดเผยถึงความเป็นมาของสวนแห่งนี้ว่า เกิดจากความคิดที่ต้องการหาวิธีทำเกษตรกรรมเพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหลักปฏิบัติ การนำเสนอแผนพัฒนาชุมชนของคุณสมคิดในฐานะผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการนำโรงเรียนมิตรภาพ 17 หรือโรงเรียนบ้านกลาง ที่มีพื้นที่จำนวน 5 ไร่ ตั้งอยู่ริมถนนเส้น ลี้-เถิน ซึ่งถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่ามานานกว่า 9 ปี จนเกิดความเสื่อมโทรม สร้างภาระให้แก่ชาวบ้านต้องมาช่วยกันทำความสะอาดทุกวันสำคัญเพื่อมาใช้ประโยชน์แล้วปรับเปลี่ยนพื้นที่เป็นสวนเกษตรกรรม จัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือแปลงส่วนรวม กับแปลงส่วนตัว แล้วเปิดโอกาสให้ทุกครัวเรือนที่อยู่ในหมู่บ้านกลางสามารถสมัครเข้ามาปลูกพืชผัก ซึ่งปรากฏว่ามีชาวบ้านสนใจสมั
คนตะวันออกเชื่อว่าการรับประทานอาหารอย่างสอดคล้องกับฤดูกาลเป็นผลดีต่อสุขภาพ ทำให้สุขภาพสมดุลและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สำหรับในสังคมไทย ทัศนะการแพทย์แผนไทย แผนดั้งเดิมเชื่อว่า ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยธาตุ 4 (มหาภูติรูป 4) ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุแต่ละอย่างมีลักษณะและธรรมชาติที่แตกต่างกัน และธาตุทั้ง 4 ยังเป็นแหล่งกำเนิดของโรค โรคจะบังเกิดกับธาตุใดธาตุหนึ่งจะต้องมีธรรมชาติภายนอกมากระทบหรือมูลเหตุอื่นๆ เช่น อาหาร อิริยาบถ อารมณ์ ฯลฯ ทำให้เสียสมดุล จึงเกิดโรคธรรมชาติภายนอกที่สำคัญคือ ธรรมชาติของความร้อน ความเย็น ความหนาว เมื่อธรรมชาติภายนอก มากระทบธาตุ 4 ภายใน หากร่างกายต้านทานไม่ไหวจะทำให้เจ็บป่วยได้หรือธรรมชาติภายนอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วหรือรุนแรงมากไป จนธรรมชาติภายในเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ก็จะเจ็บป่วยได้ เมื่อเข้าใจกฎเกณฑ์ดังนี้ เราควรปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ จะทำให้หลีกเลี่ยงหรือบรรเทาอาการเจ็บป่วย การเลือกรับประทานอาหารหรือผักพื้นบ้าน ควรคำนึงถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าว การรับประทานผักพื้นบ้านควรพิจารณาให้สอดคล้องกับฤดูกาลใน 3 ฤดูกาล ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ในฤด
ใครจะตกใจไม่ว่ากัน ครั้งแรกที่ฉันได้ยินคนเรียกชื่อ สวนพิซซ่า หรือ Pizza Farm ฉันก็ตกใจ จะล้อเล่นหรือไง? ใครเขาทำสวนพิซซ่ากัน? พิซซ่ามันต้องทำในห้องครัว ต้องทำในเตาอบ ต้องทำในร้านขายพิซซ่า? ตอนอยู่ที่เมืองแมดิสัน รัฐวิสคอนซิน อเมริกา ฉันชอบไปเที่ยวสวนแอปเปิ้ลประเภทที่เขาปล่อยให้เดินไปดู แล้วให้เก็บเอง สวนพวกนี้จะอยู่นอกเมือง ขับรถออกไปราว 1 ชั่วโมง เขาจะเก็บค่าเข้าชมสวนเท่านั้นเท่านี้ แล้วเอาถุงพลาสติกให้เราไปถุงหนึ่ง จากนั้นเราอยากเก็บเท่าไรก็เก็บ จะเด็ดกินเดี๋ยวนั้นเลยก็ได้ เพราะเขาบอกว่า แอปเปิ้ล ของเขาไม่มีสารเคมี และเมืองก็ไม่ค่อยมีฝุ่น ดังนั้น การเก็บแอปเปิ้ลจากต้นแล้วเอาเข้าปากเลยไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ฉันยังไม่ได้บอกใช่ไหมว่า นอกจากจะมีสวนแอปเปิ้ล ไร่ฟักทอง ให้เดินเก็บตามสบายแบบนี้แล้ว เขายังมีสวนพิซซ่าด้วย สวนพิซซ่า ไม่ได้ปลูกพิซซ่า แต่ปลูกส่วนผสมที่เอามาทำพิซซ่า ซึ่งก็คือบรรดาพืชผักสมุนไพรนานาที่เขาใส่ลงไปในพิซซ่า ถ้าเอาตามมาตรฐานดั้งเดิมของฝรั่ง ก็จะมี มะเขือเทศ แตงกวา ไทม์ โรสแมรี่ พาร์สลีย์ เซช พริกหวาน หอม ซึ่งบรรดาสวนพิซซ่า หรือ Pizza Farm เหล่านี้ก็คือ สวนที่เขาปลูกสมุน