การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
แม้ไทยจะครองตำแหน่งผู้ส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก แต่ด้วยปัจจัยต่างๆ อย่างเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็ทำให้ราคายางในไทยมีความผันผวนสูงไปด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่มีบทบาทดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราของไทยให้เติบโต จึงเดินหน้าช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางต่อเนื่อง 2 โครงการ คือ โครงการชะลอการขายยาง และ โครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง ช่วยยกระดับการซื้อขายยาง เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ลดความเสี่ยง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ได้ยางที่มีคุณภาพ นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ กยท. เผยรายละเอียดของโครงการชะลอการขายยางว่า กยท. ได้ดำเนินการอุดหนุนงบประมาณให้สถาบันเกษตรกรนำไปสร้างห้องเก็บยางดูดความชื้น สามารถเก็บยางรมควันได้ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน โดยที่คุณภาพยังเหมือนเดิม “เราบอกกับพี่น้องเกษตรกรว่า ท่านไม่ต้องรีบเอายางแผ่นรมควันมาขาย เอายางแผ่นรมควันนั้นแหละไปเก็บในโกดัง แล้วก็เอาราคายางในตลาดกลางที่ตกกิโลกรัมละกี่บาท ก็คูณไปกับจำนวนยางที่สถาบันเกษตรกรจัดเก็บ เขาสามารถได้เงินไปหมุนเวียน 80% จาก กยท. เมื่อสถานการณ์ราคายางสูงขึ
ท่ามกลางความผันผวนของสถานการณ์โลก ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข่าวดี เมื่อ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 ไทยยังครองตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลก ด้วยการส่งออกยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ยาง ปริมาณรวม 2,190,065 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 2.4 แสนล้านบาท หนึ่งในกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้ยืนหนึ่งในระดับโลกก็คือ เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่ง กยท. ได้ดูแล ส่งเสริม และสนับสนุนมาตลอด ด้วยการออกมาตรการต่างๆ ช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตและมีความมั่นคงมากขึ้น นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยถึงบทบาทขององค์กรว่า โดยทั่วไปประชาชนจะให้ความสำคัญกับ กยท. 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ การรักษาเสถียรภาพราคายาง และเรื่องที่สอง คือ การสงเคราะห์ปลูกแทน ซึ่งเป็นพันธกิจที่ กยท. ทำอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำและให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ทั้งเรื่องการปรับยางหรือปลูกยาง ปรับยางและปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น หรืออาจปรับแล้วทำเกษตร
ครบรอบ 7 ปี วันสถาปนาการยางแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ กยท. โชว์ผลงานเชิงประจักษ์รอบด้าน ช่วยอุตสาหกรรมยางพาราเติบโต ผลักดันชาวสวนยางเข้าถึงสวัสดิการที่จำเป็น พร้อมตั้งเป้าใช้นวัตกรรมล้ำสมัยช่วยขับเคลื่อนภาคการเกษตร ด้านผู้ว่า กยท. ชูแนวคิดบริหารงานเพื่อสิ่งแวดล้อม เชื่อมเศรษฐกิจ สังคม สู่อนาคตที่ยั่งยืน วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 น. การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบปีที่ 7 ภายใต้แนวคิด “Greener Better” ณ ห้องราชไมตรี การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ โดยมีเป้าหมายเพื่อจุดประกายความคิด สร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมยางพาราไทย พร้อมสนับสนุนชาวสวนยางให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเกิดความความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมนายกุลเดช พัวพัฒนกุล ประธานกรรมการ กยท. ประเมินผลงานตลอด 7 ปีที่ผ่านมาว่า ในฐานะองค์กรกลางที่มีบทบาทโดยตรงในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ กยท. มีผลงานเชิงประจักษ์รอบด้าน สามารถช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผ่านหลายโครงการที่มีประโยชน์ อาทิ โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งทำมาต่อเนื่อง 3 ปี, โครงการชะ
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เดินหน้าสนับสนุนการทำเกษตรชีวภาพ ปรับแนวทางใช้ปุ๋ยปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีใหม่ ลดปริมาณปุ๋ยเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่ม โดยไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ลดต้นทุนการผลิต ตามนโยบาย BCG โมเดลของกระทรวงเกษตรฯ พร้อมรับมือวิกฤตการขาดแคลนปุ๋ยเคมีและราคาที่เพิ่มสูงขึ้น นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการขาดแคลนเคมีที่นำมาเป็นส่วนผสม ทำให้ราคาแม่ปุ๋ยสูตรต่างๆ ปรับราคาสูงขึ้นจากเดิม เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว กยท.ได้มีแนวทางการบริหารจัดการปุ๋ยในปีรอบต้นฤดูฝนปี 2565 ดำเนินการจัดหาปุ๋ยให้เกษตรกรผู้รับการปลููกแทนด้วยยางพันธุ์ดี ส่วนปัญหาปุ๋ยเคมีขาดแคลน แก้ไขโดยปรับลดอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่งเพื่อให้สามารถจัดหาปุ๋ยได้ง่ายขึ้นและเพียงพอกับความต้องการ ร่วมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักวิชาการในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี จากเดิมที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่า จะไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีค
วันที่ 10 เมษายน โค้งสุดท้ายของ มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังคงมีประชาชนทยอยเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากโดยต่างต้องการมาชมนิทรรศการให้ความรู้เรื่องยางพารา รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พร้อมเข้าฟังเสวนาและร่วมเวิร์กช้อปอย่างสนใจ โดยวันนี้มีการเสวนา “วิกฤตการณ์โควิดกับวิถีชีวิตชาวสวนยาง” และเวิร์กช็อป “ปลูกพืชผสมผสานในสวนยาง” รวมทั้งกิจกรรมสร้างความเพลิดเพลิน อย่าง การแข่งขันนกกรงหัวจุก ที่ชาวสวนยางต่างส่งเสียงเชียร์กันสุดมันจนถึงรอบตัดเชือก ระดมองค์ความรู้นวัตกรรมยางพารา เพื่อชาวสวนยาง มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” นำเสนอนิทรรศการความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมยางพารา และวิถีชีวิตชาวสวนยางพาราแบบครบวงจร มีการแบ่งโซนนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ โซนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โซนนิทรรศการ นครฯ เมืองแห่งยางพารา โซนนิทรรศการ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี โซนนวัตกรรมยางพา
จัดเต็มสาระความรู้ในแวดวงอุตสาหกรรมยางพารา ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมมอบความสุขและความบันเทิงให้พี่น้องเกษตรกรสวนยางและประชาชนทั่วไปมาตลอดสองวันของการจัดงาน จนเข้าสู่วันที่สามในวันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของ มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช งานนี้จัดขึ้นเพื่อตอกย้ำความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการปลูกยาง และเป็นศูนย์กลางน้ำยางที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก พร้อมโชว์ศักยภาพประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปยางพาราระดับโลก วันที่ 10 เมษายน ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ยังคงทยอยเดินทางมาร่วมงานอย่างไม่ขาดสาย ส่วนมากเป็นเกษตรกรสวนยาง ที่ต้องการมาชมนิทรรศการให้ความรู้เรื่องยางพารา รวมทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้โตไกลระดับโลก รวมทั้งเข้าฟังเสวนา และเข้าร่วมเว
ภาพรวมบรรยากาศ มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 9 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่สองของการจัดงาน ยังคงเป็นไปอย่างคึกคัก เกษตรกรสวนยางพาราและประชาชนทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ทยอยมาร่วมงานอย่างหนาตาตลอดทั้งวัน เพื่อเข้าชมนิทรรศการสาระความรู้เกี่ยวกับยางพารา ฟังเวทีเสวนา และเข้าร่วมเวิร์กช็อป ที่สามารถนำไปใช้กับการทำสวนยางได้จริง รวมทั้งมาร่วมลุ้นร่วมเชียร์กิจกรรมต่างๆ มากมายตลอดทั้งวัน ทั้ง การแข่งขันกรีดยางพาราชิงแชมป์ประเทศไทย การประกวดนกกรงหัวจุก และ การประกวดธิดาชาวสวนยาง 2564 สร้างสีสันให้มหกรรมยางพารา 2564 สนุกสนานยิ่งขึ้น โดยการจัดงานครั้งนี้ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน เป็นไปภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จัดเต็มสาระความรู้ “ยางพารา” ครบวงจร มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” นำเสนอนิทรรศการความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมยางพารา การแสดงขนบธรรมเนียม วัฒน
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จับมือหน่วยงานรัฐและเอกชน จัด มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โชว์ศักยภาพประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปยางพาราของโลก พร้อมนำเสนอแนวคิดและนิทรรศการ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” วันที่ 9 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่สองของการจัดงาน ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรชาวสวนยาง ต่างทยอยเข้าชมงานตั้งแต่เช้า ท่ามกลางมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยจะมีพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต้อนรับ และ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ยกขบวนสาระความรู้ “ยางพารา” ครบวงจร ผ่านนิทรรศการ เวิร์กชอป และเวทีเสวนา จากผู้รู้จริง มหกรรมยา
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัด มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายนนี้ ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช ตอกย้ำความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการปลูกยาง และเป็นศูนย์กลางน้ำยางที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก พร้อมโชว์ศักยภาพประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปยางพาราระดับโลก ประเดิมวันแรกสุดคึกคัก เกษตรกรชาวสวนยางทยอยร่วมงานไม่ขาดสายตั้งแต่เช้า ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จัดเต็มสาระประโยชน์ ครบเครื่องเรื่องยางพาราครบวงจร มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” นำเสนอนิทรรศการความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมยางพารา การแสดงขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น วิถีชาวสวนยาง มีการจัดแบ่งโซนนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ โซนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ, โซนนิทรรศการ นครฯ เมืองแห่งยางพารา, โซนนิทรรศการ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโซนนวัตกรรมยางพารา จากการยางแห่งประเท
อีกไม่กี่อึดใจ มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะอุบัติขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 8-10 เมษายนนี้ ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช นับเป็นงานใหญ่ของชาวสวนยางพาราในภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมยางพาราของไทย ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้ก้าวหน้า ก่อนถึงวันเริ่มงาน นายณรงค์ศักดิ์ ใจสมุทร ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เขตภาคใต้ตอนกลาง ได้ลงพื้นที่สำรวจความเรียบร้อยของการจัดงาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมความพร้อมแล้วอย่างเต็มที่ พร้อมกล่าวเชิญชวนเกษตรกรชาวสวนยางในเขตภาคใต้ตอนกลาง ซึ่งประกอบด้วย จ.นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง กระบี่ พังงา และภูเก็ต รวมถึงชาวสวนยางทุกคนในพื้นที่จังหวัดภาคใต้มาร่วมงาน โดยมั่นใจว่า จะมีชาวสวนยางเดินทางมาร่วมงานไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย และสามารถนำสาระความรู้กลับไปใช้ในการทำสวนยางได้อย่างแน่นอน “กยท. ภายใต้การนำของนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. ได้จัดงานครั้งนี้ขึ้น ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ภายในงานมีสิ่งที่น่า