การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ที่ห้องประชุม อาคารข่าวสด นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นายวิชัย ไตรสุรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์,นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชและนายกมลดิษฐ สมุทรโคจร รองกรรมการผู้จัดการสายการผลิต บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงความพร้อมจัด “งานมหกรรมยางพารา 2564 ภายใต้แนวคิด “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2565 ณ สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราชนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า การจัดงาน “มหกรรมยางพารา 2564 : นครฯ แห่งนวัตกรรม” กยท.มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีการแปรรูปยางพารา เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณภาพ มาตรฐาน การวิจัย และแนวคิดการต่อยอดพัฒนานวัตกรรมให้เกิดความหลากหลายในการใช้ยางพาราในภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยางพารามีช่องทางการจำหน่าย และแสวงหาพันธมิตรคู่ค้าใหม่ในต
เมื่อวันที่ 24 ส.ค.64 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จับมือบริษัท เท็กเซ็ท จำกัด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นำเทคโนโลยีการผลิตน้ำยางคอมพาวนด์สำหรับนำไปเคลือบบนแผ่นใยสังเคราะห์เข้าสู่กระบวนการผลิต เพิ่มศักยภาพการผลิตและการแข่งขัน ดันสู่ภาคอุตสาหกรรมต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กยท. มีนโยบายการพัฒนาและเพิ่มมูลค่ายางพาราโดยการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมยางที่หลากหลาย เน้นการลดต้นทุนการผลิตเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน เพิ่มปริมาณการใช้ยางธรรมชาติภายในประเทศและขยายตลาดส่งออก ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดการผลิตในเชิงพาณิชย์และเป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมยางของประเทศ จึงนำมาสู่ความร่วมมือการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ระหว่าง กยท. และ บริษัท เท็กเซ็ท จำกัด ตามโครงการวิจัย “การนำผลงานวิจัยการทำแผ่นกั้นน้ำที่ทำจากแผ่นใยสังเคราะห์ขยายผลสู่ผู้ประกอบการ” นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการวิจัยดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งในโครงการวิจัยที่สำคัญในปี 2564 กยท. โดยฝ่ายอุ
เมื่อระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม 2564 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้จัดสถานที่ของ กยท. ให้เป็นจุดบริการฉีดวัคชีนซิโนฟาร์มแก่กลุ่มประชาชนที่ได้รับจัดสรรวัคซีนโดยตรงกับโรงพยาบาลวิชัยเวช แยกไฟฉาย จำนวนกว่า 1,000 คน ณ ห้องประชุมกันตรัง การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ โดย กยท. ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประชาชนชาวไทยในช่วงวิกฤตจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID 19 ด้วยการจัดสถานที่ที่เหมาะสมในพื้นที่ของ กยท. พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และทีมบุคลากรทางการแพทย์จาก รพ.วิชัยเวช แยกไฟฉาย อย่างไรก็ตาม กยท. ขอเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยผลักดัน สนับสนุนให้ประชาชนได้รับวัคซีนโดยเร็ว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายและลดความรุนแรงของเชื้อไวรัส COVID 19
ชาวสวนยางพาราในอดีตปลูกทุกอย่างที่กินหรือใช้ในครอบครัว ทำงานอยู่ในสวนยางประมาณ 10-12 ชั่วโมง ต่อวัน สวนยางในอดีตจึงเปรียบเสมือนซูเปอร์มาร์เก็ตและตู้เย็นที่มีชีวิต มักพูดกันติดปากว่า อยากได้อะไรก็ไปหาจากป่ายาง แต่ระยะหลังเกษตรกรหันมาปลูกยางในลักษณะพืชเชิงเดี่ยว ทำให้วิถีชีวิตชาวสวนยางแบบดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเจอวิกฤตยางพาราราคาตกต่ำ ทำให้มีรายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย ปี 2557 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงกำหนดนโยบายให้สงเคราะห์ปลูกยางพาราทดแทนแบบผสมผสาน โดยปลูกยางพันธุ์ดีไม่น้อยกว่า 40 ต้น ต่อไร่ ร่วมกับไม้ยืนต้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เกษตรกรหลายรายตัดสินใจลงทุนทำ “สวนวนเกษตรยางพารา” (Rubber Agroforestry) ซึ่งเป็นการปลูกยางพาราโดยมีพืชอื่นๆ ปลูกร่วมและปลูกแซม ทำให้ภายในสวนยางพารามีความหลากหลายของพืชและสัตว์เพิ่มมากขึ้น มีแมลงช่วยผสมเกสร ตัวเบียน ช่วยกินศัตรูพืช จุลินทรีย์ดินช่วยย่อยสลาย ไส้เดือนช่วยทำให้ดินร่วนซุย ฯลฯ สวนวนเกษตรห้วยหาด บังหมัดฉา หรือ คุณหมัดฉา หนูหมาน เจ้าของสวนวนเกษตรห้วยหาด เป็นหนึ่งในเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการสร้างป่าในสวนยางพารา บังหมัดฉา อาศ
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดตัวยางพาราไทยพันธุ์ใหม่ RRIT 3904 (สถาบันวิจัยยาง 3904) ยางพาราพันธุ์ดีตามคำแนะนำ เป็นลูกผสมระหว่าง RRII 203 และ PB 235 ลักษณะเด่น ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ต้านทานต่อโรคทางใบ ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กยท. โดยสถาบันวิจัยยาง ได้คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ยางพาราใหม่ตามกระบวนการขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และประสบผลสำเร็จได้ ยางพาราพันธุ์ RRIT 3904 เข้าสู่คำแนะนำพันธุ์ยาง พร้อมขยายส่งมอบสู่เกษตรกร โดยยางพันธุ์นี้ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี รวมถึงให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 400 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 ถึง 2 เท่าตัว โดยพันธุ์ RRIT 3904 นี้ ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ RRII 203 และ PB 235 นอกจากมีความโดดเด่นด้านผลผลิตน้ำยางแล้ว ยังเด่นด้านการเจริญเติบโต ลำต้นตรงแตกกิ่งน้อย ทำให้ได้ปริมาณเนื้อไม้มากเมื่อตัดโค่น ใบเขียวเข้ม ค่อนข้างต้านทานต่อโรคทางใบ เช่น โรคราแป้ง โรคไฟท็อปทอร่า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากประเทศมาเลเซียว่า ยางพันธุ์ PB 235 ซึ่งเป็นพ่อของยางพันธุ์นี้ ได้รับผลกระทบ
เมื่อเร็วๆ นี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดย ดร. นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง ได้ให้การต้อนรับ ดร.ทพญ. เพ็ญแข ลาภยิ่ง และคณะทำงาน กลุ่มพัฒนาระบบทันตสาธารณสุข สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ณ การยางแห่งประเทศไทย บางเขน เพื่อหารือในประเด็นการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน (MOU) และรูปแบบการทำงานร่วมกัน ภายใต้โครงการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้เพื่อสุขภาพเด็กพิเศษ ปีงบ 63 และพัฒนาระบบการดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่และเด็กพิเศษแบบองค์รวมไร้รอยต่อ ดร. นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง กล่าวว่า กยท. และสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ได้ร่วมกันหารือในประเด็นการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของสองหน่วยงาน (MOU) และรูปแบบการทำงานร่วมกันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้โครงการพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้เพื่อสุขภาพเด็กพิเศษ ปีงบ 63 และพัฒนาระบบการดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่และเด็กพิเศษแบบองค์รวมไร้รอยต่อ: ระยะที่ 2 ของสำนักทันตสาธารณสุข โดย กยท. จะเข้าไปพัฒนาสื่อส่งเสริมความรอบรู้ สุขภาพของบุคลากรและผู้ปกครองด้วยยางพารา ได้แก่ ตุ๊กตาเด็กปากแห
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฏิบัติการ กล่าวว่า ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชมีค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากสามารถให้ผลผลิตที่เป็นน้ำยาง ส่งออกขายหรือแปรรูปได้แล้ว ไม้ยางพาราก็เป็นที่ต้องการในแวดวงอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมพลังงาน โดยที่ผ่านมา กยท. ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางของ กยท. ดำเนินการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ยกระดับสู่มาตรฐานสากลมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เปิดตัวระบบการรับรองการจัดการป่าไม้ของไทย (TFCS) อย่างเป็นทางการ ให้บริการด้านการออกใบรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งเทียบเท่ามาตรฐานสากล (The Programme for the Endorsement of Forest Certification: PEFC) กยท. จึงได้ร่วมมือกับ ส.อ.ท. ขับเคลื่อนสวนยางพาราให้เข้าสู่มาตรฐานดังกล่าว เพื่อเป็นการยกระดับสวนยางพาราไทยสู่มาตรฐานสากล ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตยางพาราและไม้ยางพารา “ทาง กยท. มีบทบาทในการส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานสากล (PEFC) โดยมีงบประม