คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“ปากช่อง KU 46” เป็นกล้วยน้ำว้าลูกผสมพันธุ์ใหม่ ผลงานของ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล้วยน้ำว้า “ปากช่อง KU 46” เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ผสมตามธรรมชาติ ระหว่าง กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 (ต้นแม่) กับกล้วยเล็บช้างกุด (ต้นพ่อ) ผลสุกเนื้อสีเหลืองอมส้ม เนื้อแน่นเหนียวนุ่ม มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลสุกงอม มีรสหวานมาก ประมาณ 30% Brix กล้วยปากช่อง KU 46 เหมาะปลูกเป็นไม้ผลประจำบ้าน เป็นเสบียงคู่ครัวและเป็นผลไม้ทางเลือกของผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคกล้วยผลสด เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารเบต้าแคโรทีนและวิตามินซี ในผลสุก เป็นทั้งอาหารและยาในเวลาเดียวกัน สนใจเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้าปากช่อง KU 46 สอบถามเพิ่มเติมกับ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส โทร. 089-844-6293 ในวันและเวลาราชการ
“KU80 นิลกาฬ” ข้าวสีพันธุ์ใหม่ เป็นอีกหนึ่งในผลงานวิจัยและนวัตกรรมเด่นของ ผศ. ดร.วีรชัย มัธยัสถ์ถาวร และ รศ. ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย สังกัดภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่นำมาเปิดตัวครั้งแรกใน “งานเกษตรแฟร์ 2567” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมนนทรี แก้วิถีโลกรวน” ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผศ. ดร.วีรชัย มัธยัสถ์ถาวร กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์กระแสความนิยมบริโภคข้าวสีเพื่อสุขภาพที่ขยายตัวมากขึ้น ปกติข้าวสีที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นข้าวกล้อง มักมีเนื้อข้าวแข็ง ไม่ค่อยถูกใจผู้บริโภคสักเท่าไหร่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวจึงอยากได้ข้าวสีพันธุ์ใหม่ซึ่งมีเนื้อข้าวกล้องนุ่มตรงตามความต้องการตลาด ทีมนักวิจัยใช้ระยะเวลาเกือบ 7 ปีในการศึกษาปรับปรุงข้าวสีพันธุ์ใหม่ โดยใช้พันธุกรรมจากพันธุ์เจ้าหอมนิลที่มีเยื้อหุ้มเมล็ดสีม่วงเข้ม ผสมกับสายพันธุ์ KUB ที่ได้จากโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสม ตั้งแต่การปลูกและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงดำ และมีปริมาณอะมิโลสต่ำ จนได้สายพันธุ์ข้าวสี “KU80 นิลกาฬ” ที่มีความคงตัวทางพันธุกรรมคือ ข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ด
ปัจจุบัน โรงงานอุตสาหกรรมทางด้านแป้งมันสำปะหลัง มีความสนใจในการผลิตแป้งฟลาวคุณภาพสูงจากมันสำปะหลัง ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อทดแทนแป้งสาลีที่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าปีละมากกว่าหมื่นล้านบาทโดยแป้งฟลาวจากมันสำปะหลังมีข้อได้เปรียบแป้งจากข้าวสาลี 2 ประการ ก็คือ (1) ปราศจากสารกลูเต็น (gluten) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง มักจะเกิดการแพ้กับคนบางคนได้ และ(2) มีสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ในปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับแป้งจากข้าวสาลี ข้าวโพด และมันเทศ โดย สารชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ได้เกิดขึ้นจากกรดอะมิโนแอสพาราจีน เมื่อนำไปทอด หรืออบในอุณหภูมิสูง การปรับปรุงพันธุ์ และคัดเลือกพันธ์ุมันสำปะหลังที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวสดสูง ผลผลิตดี และมีไซยาไนด์ต่ำ จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง สำหรับหรับประเทศไทย มีการผลิตแป้งฟลาวจากมันสำปะหลังเพื่อการค้า แต่ยังใช้พันธุ์มันสำปะหลังชนิดขม (bitter type)หรือพันธุ์อุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งฟลาว ซึ่งยังมีปริมาณไซยาไนด์ในหัวสดสูง รสชาติและเนื้อสัมผัสอยู่ในขั้นต้องพัฒนาให้ดีขึ้นอีก ดังนั้น สถานีวิจัยลพบุรี จ.ลพบรี, สถาน
ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก จากภาวะโลกร้อน ปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ฯลฯ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรไทย รศ.ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่เกิดขึ้นนับเป็นความท้าทายที่เกษตรกรไทยต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเกษตรให้สูงขึ้น ประชากรโลกเพิ่มขึ้น 9,900 ล้านคนในปี 2050 ส่องโครงสร้างประชากรโลกในอนาคต รศ.ดร.สุดเขตต์กล่าวว่า คาดการณ์ว่าในปี 2050 โลกจะมีประชากรถึง 9,900 ล้านคน โดยประเทศที่มีประชากรจำนวนมาก ได้แก่ อินเดีย จีน ไนจีเรีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เม็กซิโก ฯลฯ ดังนั้นในอนาคต เราจะเห็นกลุ่มคอเคเซียน(ผิวขาว) และผิวสีมากขึ้นในประเทศไทยที่มาในรูปแบบนักกีฬาและผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่ประชากรไทยมีแนวโน้มลดลง ใน 10 อันดับแรกของโลก เร่งพัฒนาเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำ ปริมาณประชากรโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้มีความตัองการอาหารเพิ่มขึ้น 60 % สวนทางกับทรัพยกรธรรมชาติที่นับวันยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ
มะกรูด เป็นหนึ่งพืชเศรษฐกิจทำเงินที่ขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในการปรุงรสอาหารไทย เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร ส่วน ใบ ดอก และผลมะกรูดมีต่อมน้ำมันจำนวนมากที่ให้น้ำมันหอมระเหยอยู่หลายชนิด จึงเป็นที่ต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยา ธุรกิจสปา และความงามอย่างต่อเนื่อง เทคนิคการผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า ต้นมะกรูดที่ปลูกตามธรรมชาติหรือตามสวนทั่วไปมักมีการออกดอกเป็นฤดูกาล ทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จึงเป็นผลพลอยได้มากกว่าการผลิตเพื่อเอาส่วนของผลโดยตรง การผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า จึงมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลัก การตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ รวมทั้งระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสม รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แนะนำเทคนิคการผลิตใบมะกรูดเชิงการค้า ซึ่งมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 1. พื้นที่ สภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง มีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูง หรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืช
มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นผลไม้เขตร้อนที่เติบโตได้ดีในบริเวณพื้นที่ราบจนถึงบนภูเขาสูง ปลูกได้ทุกสภาพดิน ทนแล้ง ให้ผลดก ฝักใหญ่เนื้อหนา น้ำหนักดี รสเปรี้ยวสูง ขายดีทั้งมะขามฝักสดและมะขามเปียก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามลอยแก้ว มะขามกวน สบู่อาบน้ำ และเครื่องสำอาง ฯลฯ ในช่วงวันสถาปนา ครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดตัวมะขามเปรี้ยวลูกผสมในชื่อ “KU 80” จำนวน 3 สายพันธุ์ เรียกว่า KU 80-1 KU 80-2 และ KU 80-3 ของทีมนักวิชาการสถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การนำของ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ที่ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์ยาวนานถึง 30 ปี ซึ่งมะขามเปรี้ยวลูกผสม KU 80- แต่ละสายพันธุ์มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ได้แก่ มะขามเปรี้ยวลูกผสมพันธุ์ KU 80-1 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ดกกิ่งหัก กับพันธุ์ปากช่อง 1 ลักษณะฝักตรง น้ำหนักเฉลี่ย 54.40 กรัมต่อฝัก ความกว้างฝัก 3.59 เซนติเมตร ความยาวฝัก 22.20 เซนติเมตร ความหนาฝัก 2.4 เซนติเมตร เนื้อฝักสุกสีน้ำตาลเข้ม น้ำหนักเนื้อ 25.90
“มะคาเดเมีย” หรือ “แมคคาเดเมีย” อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินหลายชนิดรวมถึงไขมันไม่อิ่มตัวและสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ ลดภาวะการอักเสบ ลดปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง (NCDs) ต่างๆ ช่วยลดระดับไขมันชนิดไม่ดี (IDL) ต้านเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประกอบกับเมล็ดแมคคาเดเมียมีรสชาติมัน หอม จึงเป็นที่นิยมบริโภคและตลาดมีความต้องการสูง สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ปลูกแมคคาเดเมีย 4 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์เชียงใหม่ 344, พันธุ์เชียงใหม่ 508, พันธุ์เชียงใหม่ 660, พันธุ์เชียงใหม่ 741 ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะให้ผลผลิตที่สูง และต้านทานโรคได้ดี สถานีวิจัยเพชรบูรณ์ ได้ส่งเสริมการปลูกแมคคาเดเมียและการแปรรูปเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกรแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว แต่การแปรรูปแมคคาเดเมียนั้นจะต้องใช้เครื่องจักรที่มีราคาสูง ซึ่งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตแมคคาเดเมียส่วนใหญ่ไม่สามารถลงทุนได้ จึงนิยมขายผลผลิตแมคคาเดเมียดิบให้กับโรงงานทั้งหมด ที่ผ่านมา มีเกษตรกรพยายามแปรรูปผลแมคคาเดเมียเอง โดยใช้ใบมีดกะเทาะ
“รองเท้านารีอินทนนท์” ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2396 เป็นกล้วยไม้รองเท้านารีอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ในลักษณะคล้ายคลึงกันกับรองเท้านารีเมืองกาญน์ พบในทำเลภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า 1,100-1,200 เมตร ในบริเวณดอยอินทนนท์ ภูหลวง และภูกระดึง (ดร.ระพี สาคริก, 2535) รองเท้านารีอินทนนท์เป็นกล้วยไม้แบบอิงอาศัย โดยพบขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ที่มีลักษณะเปลือกหนา มีการผุพังของเปลือกไม้ง่าย ปกคลุมด้วย มอส เฟิร์น ตะไคร่น้ำ อุ้มความชื้นได้ดี โดยหยั่งรากไปตามเปลือกไม้ พบแพร่หลายในพื้นที่ดอยสูงทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ และดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ดอยแม่อูคอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน บริเวณภูหลวง จังหวัดเลย รวมทั้งประเทศพม่า อินเดีย และตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ลักษณะเด่นของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์คือ ดอกใหญ่ สีสดใส และเนื้อกลีบเป็นมันเงามาก ฤดูออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ดอกบานทนนานเป็นเดือน ทั้งมีรูปลักษณ์และสีสันที่แปลกตาจึงได้รับความสนใจจากคนไทยและต่างประเทศ โดยนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบไม้กระถางและไม้ตัดดอก ในอดีตกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ถูกลักล
“งานเกษตรแฟร์ 2567” จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมนนทรี แก้วิถีโลกรวน” ระหว่างวันที่ 2-10 กุมภาพันธ์ 2567 มุ่งนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยออกสู่สังคม ซึ่งหนึ่งในนวัตกรรมเด่นของภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่นำมาจัดแสดงในงานเกษตรแฟร์ปีนี้ คือ “ถั่วลิสงพันธุ์ดี” ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและตลาดได้อย่างดีเยี่ยม “ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์ สวก.1” มีจุดเด่นสำคัญคือ ให้ผลผลิตสูง 375 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคยอดไหม้ ปรับตัวได้ดีเมื่อปลูกในฤดูฝนและฤดูแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณภาพเมล็ดเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมแปรรูป “ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์โก๋แก่ 40” มีจุดเด่นสำคัญคือ ให้ผลผลิตสูง 370 กิโลกรัมต่อไร่ ทรงต้นเป็นพุ่มเตี้ย เก็บเกี่ยวง่าย เปลือกฝักมีลาย เปอร์เซ็นต์กะเทาะสูง ต้านทานโรคยอดไหม้ ผลผลิตเหมาะกับการแปรรูปเป็นขนมอบกรอบตามมาตรฐานโรงงาน “ถั่วลิสงพันธุ์เคยู อาร์ด้า 20” มีจุดเด่นสำคัญคือ ให้ผลผลิตสูง 393 กิโลกรัมต่อไร่ มีอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมและมีการปรับตัวได้ดีในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงอบกรอบ
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) แห่งสหประชาชาติ คาดการณ์ว่าในปี 2567 ปรากฏการณ์เอลนีโญจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนถึงเดือนเมษายน ส่งผลให้อุณหภูมิโลกปรับตัวสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้ทั่วโลกเกิดภาวะโลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และคาดว่าปริมาณฝนลดลงต่อเนื่องจนถึงปี 2568 ด้านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) คาดการณ์ว่า ครึ่งปีแรก 2567 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนน้อยจากอิทธิพลเอลนีโญ และมีแนวโน้มว่าช่วงฤดูแล้งจะยาวนานจนถึงช่วงกลางเดือนพฤษภาคม เพื่อให้รับมือเอลนีโญได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูก “ถั่วลิสงพันธุ์เกษตรศาสตร์ สวก. 1” ซึ่งเป็นหนึ่งในพืชน้ำน้อย ที่ได้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เพื่อยกระดับอาชีพภาคการเกษตรของเกษตรกร ให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นภายใต้นโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำแปลงสาธิตขยายผลการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงเกษตรศาสตร์ สวก.1 เพื่อเ