คิดเป็นเทคโนฯ
คุณนิรันดร์ สมพงษ์ หรือ คุณโอ๋ ประธานสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินปากช่อง (คทช.) จำกัด ในพื้นที่หมู่ที่ 15 ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คิดค้นและต่อยอดนวัตกรรม Smart Farm IOT นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อจัดการระบบแปลงเกษตร ควบคุมและสั่งงานอัตโนมัติในระยะไกลด้วยโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ต้นทุนต่ำ เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงได้ ลดเวลา เพิ่มผลผลิต รายได้เพิ่มขึ้น เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จุดเริ่มต้นของการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมตัวนี้มาจากปัญหาทางการเกษตรในเรื่องของราคาผลผลิตตกต่ำ เพราะฉะนั้นการขายผลผลิตให้ได้ราคา ตลาดที่มีอยู่ไม่ได้เอื้อต่อการขายผลผลิตของเกษตรกรอยู่แล้ว สิ่งที่เกษตรกรสามารถทำได้คือ การลดต้นทุนในการผลิตให้น้อยลงที่สุด รวมถึงในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาไปไกลในการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรที่เกิดขึ้นได้จริงนั่นเอง ซึ่งปัญหาหลักในการแก้ไขในเรื่องแรกคือ การลดต้นทุน ลดเวลา เพิ่มผลผลิต และการเพิ่มศักยภาพในการเพาะปลูกพืชให้ดีขึ้นและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้วยเหตุผลต่างๆ จึงนำมาสู่โจทย์การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้การทำเกษตรกรรม คุ
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ปลูกโกโก้และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคและเป็นขนมหวานทั้งในประเทศและส่งออกเมล็ดโกโก้สู่ตลาดต่างประเทศ ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการปลูกโกโก้กันมานานแล้วก็ตาม พื้นที่ปลูกกันมากส่วนใหญ่จะปลูกกันทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไปจนถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร มีบางจังหวัดในภาคตะวันออก ซึ่งมีปลูกกันมาก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ในภาคอื่นๆ ก็สามารถปลูกได้แต่ก็จำกัดด้วยดินฟ้าอากาศ ปริมาณน้ำฝนและความชื้นจึงทำให้ได้ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้รับซื้อและผู้ประกอบการ กรมวิชาการเกษตรได้พยายามปรับปรุงพันธุ์จนได้พันธุ์ชุมพร 1 และให้เกษตรกรทำการปลูกแซมในสวนไม้ผล สวนมะพร้าว สวนยางพารา เพื่อให้โกโก้เป็นพืชทางเลือกอีกทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2547-2557 มีความต้องการบริโภคโกโก้ในประเทศสูงขึ้นถึงปีละ 20,000 ตัน ในปี 2556 มีการส่งออกเมล็ดโกโก้และผลิตภัณฑ์ประมาณ 3,000 ตัน แต่ปริมาณการผลิตเมล็ดโกโก้ของประเทศมีประมาณ 200 ตัน ในปี 2551 ไทยมีการนำเข้าโกโก้ปริมาณ 38,847.88 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,978.55 ล้านบาท โดยม
“หมาก” เป็นไม้ยืนต้น จัดอยู่ในวงศ์ของปาล์ม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมปลูกมากที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา บังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา หมากจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด มีปริมาณฝนพอเหมาะ ในประเทศไทยนิยมปลูกมากในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และระนอง ซึ่งเป็น 3 จังหวัดที่มีการปลูกต้นหมากมากที่สุด ต้นหมากที่สมบูรณ์จะให้ผลผลิตประมาณ 6-8 ทะลายต่อต้นต่อปี หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ส่วนต้นหมากที่ไม่สมบูรณ์จะให้ผลผลิตประมาณ 2 ทะลายต่อต้นต่อปี นิยมนำหมากไปแปรรูปใน 3 ประเภทธุรกิจ ทั้งในอุตสาหกรรม เครื่องสำอาง และรับประทาน ผลหมากมีสารจำพวก แอลคาลอยด์ ชื่อว่า สาร Arecoline ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและเพิ่มแรงดันเลือด ผู้ที่เคี้ยวหมากจึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ด้านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ บูรณา
ตู้ฟักไข่ นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญช่วยให้สามารถฟักไข่ไก่ หรือไข่ของสัตว์ปีกชนิดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียของลูกไก่ที่ฟักออกมาให้มีสภาพพร้อมสำหรับการเจริญเติบโต การเริ่มต้นทำธุรกิจใดๆ หากเริ่มทำด้วยความตั้งใจอย่างแท้จริงแล้วย่อมที่จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในกรณีที่มีเวลาว่างจากการทำงานประจำก็สามารถนำเวลาเหล่านั้นมา สร้างสรรค์เพื่อให้เกิดเป็นรายได้นำมาหล่อเลี้ยงชีวิต การทำตู้ฟักไข่อัตโนมัติจำหน่ายในตลาดเพาะขยายพันธุ์ไก่นั้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยมีผู้ที่ต้องการใช้ตู้ฟักไข่อัตโนมัติเหล่านี้เพื่อทำการขยายพันธุ์ไก่สวยงาม ไก่ชน หรือสัตว์ปีกชนิดอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ที่ต้องทำงานที่บ้าน (Work from home) เป็นระยะเวลานานหันมาให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์สวยงามเพิ่มมากขึ้น ผลักดันให้ตลาดตู้ฟักไข่อัตโนมัติเติบโตควบคู่ไปกับตลาดขายไข่เชื้อ (ไข่ไก่) สายพันธุ์ต่างๆ ที่นับวันจะมีมากขึ้นตามไปด้วย คุณกมลชัย พลชะนา หรือ คุณแจ้ เกษตรกรทำฟาร์มสุกรและผลิตตู้ฟักไข่อัตโนมัติ อาศัยอยู่ที่ตำบลนากระตาม อำเภอท่า
จากโจทย์ “ต้นทุนต่ำ ใช้งานง่าย” สู่การพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่น KomilO ระบบ IoT ฝีมือคนไทย โดยนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แอปพลิเคชั่นที่ตรวจจับการเป็นสัดของโคนม ด้วยเซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ รศ.ดร.ราชวดี ศิลาพันธ์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และทีมนักศึกษา โปรเจ็กต์ KomilO ได้แก่ คุณมินธร พันธ์ถาวรวงศ์ นักศึกษาปริญญาเอก คุณตรีเทพ แซ่โง้ว นักศึกษาปริญญาเอก คุณกฤษกร ลาศรี ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี คุณกณวรรธณ์ ผึ่งผดุง ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี คุณฐิติกร วังแสน นักศึกษาปริญญาโท และ คุณวรวลัญช์ ตรีทิพยะนันท์ ศิษย์เก่าระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมกันคิดค้นและพัฒนา แอปพลิเคชั่น KomilO เพื่อแก้ปัญหาการตรวจจับการเป็นสัตว์ของโคนม ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ด้าน รศ.ดร.ราชวดี เล่าว่า จุดเริ่มต้นของแอปพลิเคชั่น KomilO และระบบวิเคราะห์การเป็นสัดของโคนมด้วยเทคโนโลยี IoT ถูกวิจัยและสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหา “โคผสมติดยาก” ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาของฟาร์มโคนม เน
“บริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด เปลี่ยนชื่อจาก “ซีวิค มีเดีย” เมื่อปี 2564 เราดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 31 ปี เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2534 ในฐานะผู้บุกเบิก และผู้นำในธุรกิจ LEDs Screen ในประเทศไทย ตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน เรามีความมุ่งมั่นในการพัฒนา เพื่อเป็นผู้นำในการส่งมอบนวัตกรรมด้าน LEDs อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เราคือผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย พัฒนา ผลิต และจำหน่ายป้าย LEDs Full Colour Screen Display, ป้าย LEDs, หลอด LED T8, หลอด LED BULB, LEDs Street Light และผลิตภัณฑ์ LEDs อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การันตีคุณภาพด้วยความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ส่งออกไปจำหน่ายกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศที่ส่งออกยากที่สุด อย่างประเทศญี่ปุ่น Civic AgroTech ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2015 ซึ่งนับเป็นรายแรกสำหรับธุรกิจ LEDs Display ของประเทศ และมาตรฐาน ISO 14001 : 2015” คุณชิงชัย คนธรรพ์สกุล ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด ผู้คร่ำหวอดในวงการธุรกิจมากว่า 30 ปี ประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมที่ชื่อว่า “Kabinet Smart Garden ตู้ปลูกผักอัจฉริยะ” นวัตกรรมเกษต
หากพูดถึง “เตาเผาอิวาเตะ” (Iwate Kiln) ซึ่งเป็นเตาเผาถ่านที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น บรรดาผู้ที่อยู่ในแวดวงเกษตรกรรมปลอดสารพิษคงรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเริ่มมีการผลิตในประเทศไทยมานานหลายปีแล้ว ข้อดีของเตาเผาชนิดนี้คือ มีการควบคุมอุณหภูมิในเตาเผาถ่านได้เป็นอย่างดี ซึ่งรูปแบบเตาเผาลักษณะนี้นำต้นแบบมาจากประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น เตาเผารูปทรงนี้เป็นรูปแบบที่พัฒนาจากเตาดินและเตาอิฐ ให้ผลผลิตถ่านที่มีคุณภาพดี ได้ผลผลิตถ่านในปริมาณมาก อีกทั้งยังได้ “น้ำส้มควันไม้” ซึ่งเป็นผลพลอยได้และคุ้มค่าต่อการลงทุนก่อสร้าง แม้ว่าต้นทุนจะสูงกว่าเตาดินและเตาอิฐก่อธรรมดา “วิสาหกิจชุมชนคำหอม” เลขที่ 16 หมู่ที่ 2 บ้านเขาหลาง ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เป็นวิสาหกิจชุมชนที่กำลังได้รับความสนใจเกี่ยวกับการทำเตาเผาอิวาเตะขนาดใหญ่คือ 5.5×5.5 เมตร อยู่กลางสวนปาล์มน้ำมัน และมีสองพ่อลูกคือ คุณชินปกรณ์ อานันท์รัตนกุล หนุ่มใหญ่วัย 55 ปี อาชีพเป็นเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน สวนทุเรียน สวนผลไม้ และบุตรชายคือ คุณชินวิศิษฐ์ อานันท์รัตนกุล บัณฑิตหนุ่มวัย 27 ปี จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ช่วยกัน
ปัจจุบันกาแฟที่ปลูกในประเทศไทยจะมีอยู่ 2 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์อะราบิก้า ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก และแพร่ อีกหนึ่งสายพันธุ์ คือ พันธุ์โรบัสต้า ปลูกมากในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2564 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกาแฟรวมทั้งประเทศประมาณ 268,211 ไร่ ผลผลิต 21,773 ตัน (เมล็ดกาแฟ) ลักษณะพื้นที่การปลูกกาแฟในประเทศไทย กาแฟอะราบิก้าส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกใต้ร่มเงาไม้ยืนต้นบนพื้นที่สูงที่มีอากาศหนาวเย็น ระยะปลูกทั่วไป 1.50×1.50, 1.50×2.00 และ 2.00×2.00 เมตร ส่วนกาแฟโรบัสต้า การปลูกของเกษตรกรจะมีทั้งการปลูกแบบเชิงเดี่ยวและปลูกแซมร่วมกับพืชอื่น ระยะปลูกทั่วไป 2.50×3.00, 3.00×3.00, 2.50×3.50, 3.50×3.50 และ 3.00×4.00 เมตร และต้นกาแฟจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้จะมีอายุตั้งแต่ 2-3 ปีขึ้นไป กิ่งของกาแฟ เป็นกิ่งที่แตกออกมาจากลำต้น ผลจะติดตามข้อ โดยข้อที่ให้ผลแล้วจะไม่ให้ผลซ้ำอีก ต้นกาแฟที่มีสภาพสมบูรณ์ดีกิ่งนอน
คุณณัฐวี บัวแก้ว หรือ คุณบ่าว นักธุรกิจหนุ่มวัย 27 ปี CEO & Co-founder บริษัท จีฟินน์รับเบอร์เทค จำกัด คิดค้นและต่อยอดนวัตกรรมยางพารา สู่รองเท้าโคนม ภายใต้แบรนด์ Deeco จึงทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพราะเล็งเห็นโอกาสว่าประเทศไทยมีจุดแข็งเรื่องยางพาราเป็นสินค้าส่งออกหลัก จึงนำยางพารามา สร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้แนวคิดที่ว่าอยากให้เกษตรกรรายย่อยได้ใช้สินค้าแบบเดียวกับต่างประเทศในราคาที่สามารถจ่ายไหวและคุณภาพดี “จุดเริ่มต้นของการทำรองเท้าวัวยางพารานั้น เริ่มมาจากบ้านอยู่ใกล้กับสถานที่เลี้ยงวัวชนและเห็นการวิ่งออกกำลังกายของวัวชนเป็นเรื่องปกติ จนกระทั่งวันหนึ่งเห็นวัวชนใส่รองเท้าวิ่ง จึงได้คุยกับคนเลี้ยงวัวชนว่าทำไมวัวชนต้องใส่รองเท้าให้วัวชน จนได้คำตอบว่าใส่เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของเท้าวัวชน เมื่อต้องวิ่งริมถนน ซึ่งรองเท้าที่วัวชนใส่มีลักษณะคล้ายรองเท้าช้างดาว จึงเกิดแนวคิดว่าถ้าเรามีรองเท้ามาให้วัวชนใส่ มันน่าจะขายได้ พอเริ่มศึกษาข้อมูลจริงจัง จึงรู้ว่าจะมีกลุ่มโคอยู่ประเภทหนึ่งที่มีการใช้รองเท้าอยู่แล้ว นั่นก็คือโคนม จึงเกิดความสงสัยว่าทำไมโคนมต้องใส่รองเท้
ปัญหาทุเรียนอ่อน คือ มาตรฐานค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งของทุเรียน (หรือเรียกกันง่ายๆ เปอร์เซ็นต์แป้ง) ไม่เป็นไปตามกรมวิชาการเกษตรกำหนด คือ – กระดุม เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อแห้งไม่น้อยกว่า 27 เปอร์เซ็นต์ – ชะนี พวงมณี 30 เปอร์เซ็นต์ – หมอนทอง ก้านยาว 32 เปอร์เซ็นต์ 3 จังหวัดภาคตะวันออก จันทบุรี ตราด ระยอง เป็นแหล่งผลิตทุเรียนอันดับ 1 ปี 2565 มีผลผลิตถึง 720,000 ตัน มีการประกาศกำหนดวันตัดทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ ฤดูกาล 2565 กระดุมวันที่ 20 มีนาคม 2565 ชะนี พวงมณี 10 เมษายน และหมอนทอง ก้านยาว 25 เมษายน การตัดทุเรียนก่อนกำหนดเสี่ยงต่อ “ทุเรียนอ่อน” เปอร์เซ็นต์เนื้อแห้งไม่เป็นตามที่กำหนด การตัดทุเรียนอ่อนมักจะเกิดช่วงต้นฤดูที่ทุเรียนมีปริมาณน้อยและมีราคาสูงแถมได้น้ำหนักดีด้วย ต้นฤดูกาลปี 2565 พันธุ์กระดุมราคาสูงถึง 260-270 บาทต่อกิโลกรัมต่อหมอนทอง 250 บาท ปริมาณทุเรียนเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้ราคาสูงที่ขายได้ช่วงต้นฤดู แต่ถ้ามีทุเรียนอ่อนหลุดออกไปในตลาดทั้งในและต่างประเทศจะทำลายราคาและตลาดทุเรียนไทยที่เหลืออยู่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ที่จะออกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เพื่อความ