จังหวัดขอนแก่น
ภายหลังที่ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรเมืองพล จำกัด อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้กำลังใจและแนะนำดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ แก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์และสมาชิก เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐให้เต็มศักยภาพ ก่อนจะเดินทางไปเยี่ยมแปลงปลูกเมล่อนของนายสาธิต กระฉอกนอก สมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองพล จำกัด ณ บ้านเลขที่ 89 หมู่ 1 ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เพื่อดูความสำเร็จจากการดำเนินงานตามนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่มุ่งสนับสนุนให้สหกรณ์ส่งเสริมการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิกสหกรณ์ นางสาวณัฐชา เลาหะวณิช รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงการลงพื้นที่จ.ขอนแก่นของนายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ในครั้งนี้ว่า เพื่อมอบนโยบายแก่เจ้าหน้าที่ในการติดตามงานโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร และกองทุนพัฒนาสหกรณ์ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง “ท่านอธิบดีฯไ
ชาวขอนแก่น พบวิธีเลี้ยงจิ้งหรีดแบบลดต้นทุนจากกากมอลล์แล้วเสริมคุณภาพด้วยวิตามินเร่งการเติบโตจิ้งหรีด ย่นเวลาการจับขาย ช่วยให้ได้เงินเร็วขึ้น มีรายได้เพิ่ม มีตลาดรับซื้อแน่นอนในราคาสูง มีรายได้เดือนละเกือบแสนบาท พร้อมมีไข่จิ้งหรีดคุณภาพส่งขายออนไลน์ คุณเอกลักษณ์ บัวระบัดทอง หรือ คุณกุ้ง มีบ้านพักอยู่เลขที่ 126 หมู่ที่ 1 ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ผ่านอาชีพส่วนตัว ไม่ว่าจะเปิดร้านขายอาหาร อู่ซ่อมรถ ที่ล้วนแต่เจอคู่แข่งมากมายแต่ไม่ค่อยมีลูกค้า จึงมองหาอาชีพทางเลือก ด้วยการทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดเพราะมองว่าใช้เวลาเลี้ยงสั้น มีรายได้เร็ว ไม่ยุ่งยาก ไม่เปลืองพื้นที่ ที่สำคัญตลาดจิ้งหรีดเพิ่งโตไม่มาก มีกลุ่มเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จจริงๆ ไม่มาก จึงทำให้มีรายได้ดี จิ้งหรีดที่เลี้ยงเป็นพันธุ์ทองดำ ทองแดง เริ่มต้นทดลองเลี้ยงจำนวน 5-10 บ่อ ที่นครสวรรค์ ไปซื้อไข่พร้อมอุปกรณ์แล้วทางร้านแนะนำวิธีเลี้ยงเสร็จสรรพ โดยได้ศึกษาทางอินเตอร์เน็ตร่วมด้วย แต่ด้วยความที่ยังไม่รู้วิธีบริหารจัดการต้นทุนอย่างระมัดระวัง รอบคอบ แต่ไปมุ่งหากำไรเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น ในขวบปีแรกนักเลี้ยงจิ้งหรีดมือใหม่รายนี้จึง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ตำบลศรีบุญเรือง จังหวัดขอนแก่น ในการแก้ไขปัญหาเชิงรุกปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง โดยมี รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารจัดการน้ำ วช. เป็นประธานเป็นผลงานโครงการวิจัยที่ได้สนับสนุนให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการ เรื่อง “แนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำระดับชุมชนในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วม” โดย นายชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งมี นายพงษ์ศักดิ์ ชลชี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบุญเรือง ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นายวิรัตน์ วัฒสุข ประธานกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ คณะกรรมการองค์กรผู้ใช้น้ำ ตำบลศรีบุญเรือง อบต.ศรีบุญเรือง คณะกรรมการองค์กรผู้ใช้น้ำ ตำบลเมืองเพีย แกนนำชุมชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ และสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยแล
“จิ้งหรีด” เป็นแมลงที่หลายคนคุ้นชื่อรู้จักดี ส่วน “จิ้งโกร่ง” เป็นแมลงประเภทไหน ฟังชื่อแล้วไม่ค่อยคุ้น แต่ทำไมจึงมีชื่อคล้ายกัน?? จิ้งโกร่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า : Brachytrupes portentosus เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานได้ มีลักษณะคล้ายกับจิ้งหรีด และชื่อพื้นเมืองของญาติจิ้งหรีดนี้มีแตกต่างกัน ได้แก่ อ้ายโกร่ง หัวตะกั่ว จี้กุ่ง ขี้กุ่ง จี่นายโม้ ขี้หนาย จี่ป่ม และ จี่โป่ง จิ้งโกร่ง รูปร่างคล้ายกับจิ้งหรีดแต่ค่อนข้างอ้วน มีลำตัวยาวประมาณ 4.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร มีสีน้ำตาล หนวดยาวแบบเส้นด้าย หัวกลมและใหญ่ ปากแบบกัดกิน ปีกมีลายเส้นเล็กน้อย ตัวผู้สามารถทำเสียงได้โดยใช้ขอบปีกคู่หน้าสีกัน มีอวัยวะฟังเสียงอยู่ที่บริเวณขาหน้า ในทางโภชนาการชี้ว่า จิ้งโกร่งเป็นแหล่งโปรตีนเช่นเดียวกับจิ้งหรีด ในปัจจุบันผู้คนนิยมบริโภคแมลงมากขึ้น เนื่องจากพิสูจน์แล้วว่าบางประเภทไม่เป็นอันตราย แถมยังให้ประโยชน์และคุณค่ามากกว่าเนื้อสัตว์เสียด้วยซ้ำ และจิ้งโกร่งก็เป็นแมลงอีกชนิดที่นิยมนำมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ รับประทานกัน ที่จังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านตำบลพระบุ รวมกันตั้งกลุ่มเพาะเลี้ยง “จิ้งโกร่ง” ขายเป็นรายได้เ
“นายพันธ์เทพ เสาโกศล” รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าแปรรูปจากจิ้งหรีด “งานมหกรรมจิ้งหรีด สินค้าดี สินค้าเด่น ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร จังหวัดขอนแก่น” เผยว่า การจัดงานในครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ตลอดห่วงโซ่กระบวนการเลี้ยงและการผลิตผลผลิตจิ้งหรีด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำให้เกิดการรับรู้อย่างแพร่หลาย ทำให้ประชาชนในจังหวัดขอนแก่นได้ทำความรู้จักกับบ้านของจิ้งหรีด ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างและเพิ่มทักษะ องค์ความรู้ในการเลี้ยงจิ้งหรีดคุณภาพเชิงพาณิชย์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดเข้าสู่ฟาร์มมาตรฐาน GAP และการค้าอย่างมีระบบ พร้อมเป็นส่วนช่วยในการยกระดับการเลี้ยงจิ้งหรีดสู่อาชีพหลักของเกษตรอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด และยกระดับฟาร์มให้มีมาตรฐานมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่สำคัญในการทำเกษตรเชิงพาณิชย์ ภายใต้นโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสร้างโอกาสให้เกษตรกร ยกระดับสินค้าเกษตร เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลกได้จากตลาดท้องถิ่นสู่ตลาดต่างประเทศและตลาดออนไลน์ ให้คนเมืองได้เห็น
การหาสัตว์เลี้ยงมาเป็นเพื่อนในยามต้องอยู่บ้านช่วงโควิด-19 ถือว่าสร้างความเพลิดเพลินได้มาก และสัตว์ที่นิยมเลี้ยงอันดับต้นคงหนีไม่พ้นหมา แมว แต่ระยะหลังกระต่ายดูจะมาแรง อาจเป็นเพราะมีนิสัยเงียบ รูปร่างน่ารักและแปลก มีขนฟู เลี้ยงไม่ยาก คุ้นเคยกับคนง่าย จึงหันมาเลี้ยงกระต่ายกันมากขึ้นหลายจังหวัดทั่วประเทศ อย่างที่จังหวัดขอนแก่น มีฟาร์มเพาะ-ขายกระต่ายชื่อ “PRAEW RABBIT FARM” ฟาร์มแห่งนี้มีมานานกว่า 10 ปี มีกระต่ายทั้งพันธุ์ไทยและต่างประเทศไว้บริการลูกค้าในจังหวัดภาคอีสานและอีกหลายจังหวัด ลูกกระต่ายทุกตัวจากฟาร์มแห่งนี้ล้วนมีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ มีลักษณะสวยงามตรงตามสายพันธุ์ดั้งเดิม ชนิดสำเนาถูกต้องเพราะผ่านการผสมจากพ่อ-แม่พันธุ์ที่คัดเลือกและเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพ คุณปัฑฐณณัฐ อนันธวัฑรธศรี หรือ คุณแพรว เจ้าของเล่าถึงที่มาก่อนจะตั้งฟาร์มแห่งนี้ว่า ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยากเลี้ยงสุนัขแต่มีข้อจำกัดบางประการไม่สามารถเลี้ยงได้ จึงหันมาเลี้ยงกระต่ายแทน แล้วเลี้ยงมาตลอด โดยกระต่ายตัวแรกซื้อมาจากตลาดนัดจตุจักร จึงทำให้รู้จักธรรมชาติและวงจรชีวิตกระต่ายอยู่พอควร หลังจากคลุกคลีกับก
การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นหนึ่งในอาชีพทางเลือกหรืออาชีพเสริมรายได้ที่น่าสนใจ เนื่องจากการบริโภคจิ้งหรีดยังเป็นที่นิยมสูงทั้งในประเทศและตลาดส่งออก เพราะจิ้งหรีดเป็นแหล่งอาหารโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ จึงนิยมนำจิ้งหรีดไปปรุงเป็นอาหารในรูปแบบต่างๆ ทั้งเมนูอาหารทอด ลาบ คั่ว บรรจุกระป๋อง และทำน้ำพริกจิ้งหรีด (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น) หมู่บ้านแสนตอ จังหวัดขอนแก่น ต้นแบบเลี้ยงจิ้งหรีดเงินแสน หมู่บ้านแสนตอ หมู่ที่ 8 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง คือแหล่งเลี้ยงจิ้งหรีดที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยงจิ้งหรีดเป็นรายได้หลัก โดยจิ้งหรีดที่นิยมเลี้ยงมี 2 ชนิด คือ จิ้งหรีดทองดำและจิ้งหรีดแดงทองลาย (สะดิ้ง) จิ้งหรีดจะมีขนาดตัวที่โตเต็มวัยในระยะเวลา 45 วัน เหมาะสำหรับจับขาย เมื่อถึงเวลาจับขาย จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงฟาร์ม การจับจิ้งหรีดทำโดยการนำแผงไข่ออกจากบ่อเลี้ยง ก่อนนำออกจากบ่อเลี้ยงให้สลัดตัวจิ้งหรีดออกให้หมด จากนั้นนำแผงไข่บางส่วนพิงไว้รอบบ่อ จิ้งหรีดจะเข้าไปแอบในแผงไข่นั้นๆ แล้วจึงนำแผงไข่นั้นออกมาสลัดจิ้งหรีดใส่เครื่องกรอง เพื่อกรองเ
นายฉกาจ ฉันทจิระวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “มะม่วงน้ำดอกไม้” เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นเป็นแหล่งผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคาดว่า ปี 2564 (ข้อมูล ณ มีนาคม 2564) จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ปลูกประมาณ 2,500 ไร่ ผลผลิตรวม 2,850 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัม/ไร่ แหล่งปลูกสำคัญอยู่ในอำเภอบ้านแฮด หนองสองห้อง บ้านไผ่ พล มัญจาคีรี และอุบลรัตน์ สำหรับปีนี้ ผลผลิตได้ทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะออกต่อเนื่องถึงพฤษภาคม 2564 ซึ่งคาดว่าผลผลิตจะออกตลาดชุกช่วงเมษายน ประมาณร้อยละ 35 ของผลผลิตทั้งหมดในจังหวัด จากการติดตามสถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมะม่วงบ้านแฮดเพื่อการส่งออก ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ที่ประสบความสำเร็จในการรวมกลุ่มผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 มีพื้นที่ปลูก 1,590 ไร่ ปัจจุบัน มีสมาชิก 69 ราย โดยผลสำรวจข้อมูล ณ วันที่ 19-20 เมษายน ที่ผ่าน
สถานการณ์การผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านแฮด มัญจาคีรี และบ้านไผ่ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2558จนถึง ปัจจุบันมีพื้นที่ จำนวน 2,863 ไร่ สมาชิกแปลงใหญ่ 1,543 ราย โดยเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไม่เหมาะสมจากการปลูกอ้อยโรงงานและมันสำปะหลัง เป็นการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง เนื่องจากสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ เติบโตเร็ว ทนโรคและแมลง และสามารถตอบสนองต่อการบังคับให้ออกผลนอกฤดูได้เป็นอย่างดี จากการติดตามของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) พบว่า ต้นทุนการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ของเกษตรกรแปลงใหญ่ เฉลี่ย 14,632 บาท ต่อไร่ (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ระยะยาว) ราคาต้นพันธุ์เสียบยอดอยู่ที่ 40-50 บาท นิยมปลูกช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ระยะเวลาเก็บเกี่ยวในฤดูช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม และบางส่วนเก็บเกี่ยวนอกฤดูช่วงเดือนสิงหาคม-มีนาคม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 737.50 กิโลกรัม ต่อไร่ ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 35.20 บาท ต่อกิโลกรัม เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 11,328 บาท ต่อไร่ ด้านการต
ลืมตาอ้าปากได้ ก็เพราะอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีด สำหรับชาวบ้าน ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ. ขอนแก่น เพราะประชากรของหมู่บ้านนี้มี 99 ครัวเรือน ยึดอาชีพเลี้ยงจิ้งหรีดจำนวน 66 ครัวเรือน มีเงินสะพัดในหมู่บ้านแห่งนี้เดือนละกว่า 1.6 ล้านบาท โดยผู้ที่นำจิ้งหรีดมาเลี้ยงคนแรก คือ ผู้ใหญ่บ้าน “เพ็ชร วงศ์ธรรม” ซึ่งทุกๆ 45 วันเขาจะเก็บจิ้งหรีดขาย มีรายได้แสนกว่าบาทเลยทีเดียว เพ็ชร วงค์ธรรม ผู้ใหญ่บ้านวัย 53 ปี อดีตเคยขับสองแถวตั้งแต่อายุ 23 ปี ต่อจากนั้นหันมาเลี้ยงหมู เลี้ยงได้ 3 ปี ราคาหมูตกต่ำ หันมาเลี้ยงนกกระทา เลี้ยงได้ 2 ปีต้องยุติเพราะประสบปัญหาไข้หวัดนก ในที่สุดมาเพาะถั่วงอก แต่แล้วเจอภัยแล้ง เพาะถั่วงอกได้ 6 ปี สุดท้ายมาเลี้ยงจิ้งหรีดในปี 2550 จวบจนปัจจุบัน “ผมเริ่มเลี้ยงจิ้งหรีดตอนอายุ 44 ปี หรือประมาณ 9 ปีที่แล้ว สาเหตุที่เลี้ยงจิ้งหรีด เพราะเพื่อนที่อำเภอกัณทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มาแนะนำวิธีการเลี้ยงพร้อมทั้งแนะนำตลาดให้ เลยซื้อไข่จิ้งหรีด ขันละ 100 บาท มา 600 ขัน มีจิ้งหรีดทั้งหมดราว 42,000 ตัว เป็นเงิน 60,000 บาท และค่าอุปกรณ์ 70,000 บาท รวมครั้งแรกลงทุนเบ็ดเสร็จ 130,000 บาท” ผู้ใหญ่บ้าน เลี้ยงจิ