จังหวัดนครราชสีมา
งานประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมเกษตรระดับภูมิภาค หรือ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA Regional Summit ในรูปแบบไฮบริดใหม่ได้ประสบความสำเร็จและปิดงานประชุมทั้งสองวันลงเมื่อวานนี้ (16-17 พฤศจิกายน 2564) ภายใต้ธีมการจัดงาน “การผลิตอัจฉริยะสำหรับระบบอาหารที่ยั่งยืน” สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ได้จำนวนมากกว่า 800 คน จาก 34 ประเทศ เข้าชมงานผ่านระบบออนไลน์เสมือนจริง พร้อมด้วยผู้เข้าชมงานที่สถานที่จัดงานจริงมากกว่า 240 คน โดยมีการจัดงานประชุมขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย ซึ่งมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประชุมสุดยอดดังกล่าวนี้ ซึ่งถือว่าเป็นงานเกษตรกรรมระดับนานาชาติที่สามารถเข้าร่วมงานได้จริงทั้งสองรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งที่มีการจัดขึ้นในประเทศไทยในปีนี้ ทั้งนี้ การประชุมได้ครอบคลุมหัวข้อเรื่องการผลิตพืชที่กำลังเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น การทำเกษตรแบบคลัสเตอร์และการทำเกษตรแนวตั้ง ตลอดจนการผลิตน้ำตาลและ มันสำปะหลังอย่างยั่งยืนโดยใช้เทคนิคที่ทันสมัย โดยมีผู้บรรยายทั้งที่อยู่ในสถานที่และแบบออนไลน์มากกว่า 90 คน จากประเทศไทยและทั่วโลก ร
นายปิโยรส ธรรมจารึก รองกรรมการผู้จัดการ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครราชสีมา ส่งมอบรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (BIOSAFETY MOBILE UNIT) จำนวน 1 คัน มูลค่า 350,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา สำหรับใช้เป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ในการให้บริการเก็บตัวอย่างโรคโควิด-19 แก่ประชาชนในอำเภอโชคชัย และพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก โดยมี นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ครุธกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโชคชัย รับมอบ พร้อมด้วย นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และ นายสมชาย อำพันกาญจน์ นายอำเภอโชคชัย ร่วมด้วย ณ ที่ว่าการอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ ขยายเครือข่ายเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในฤดูกาลปลูกปี 2564 ลดการเผาให้เป็นศูนย์ ชูเทศบาลตำบลบัลลังค์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา และ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี นำร่องเป็นชุมชนลดการเผาหลังเก็บเกี่ยวเป็นศูนย์ ตอบเป้าหมายการรับซื้อข้าวโพดยั่งยืนของซีพีเอฟ ยึดตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” ร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี พัฒนาห่วงโซ่การผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นายวรพจน์ สุรัตนวิศิษฏ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรผลิตอาหารสัตว์ให้แก่ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารที่รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการจัดซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มาจากแหล่งผลิตที่มีการปลูกอย่างยั่งยืน ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า 100% (Zero Deforestation) ควบคู่กับการงดการเผาแปลงเกษตรหลังเก็บเกี่ยวให้เป็นศูนย์ (Zero Burn) สำหรับในฤดูกาลปลูกปี 2564 นี้ บริษัทฯ
ททท.โคราช สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ ร่วมกับ ซีพีเอฟ … จัด Private Dinner แสนพิเศษ ด้วยวัตถุดิบชั้นเยี่ยมจากพื้นถิ่น พร้อมวัตถุดิบ คุณภาพพรีเมียมจากซีพีเอฟ รังสรรค์โดย เชฟหนุ่ม- ธนินทร เจ้าของรางวัลมิชลินสตาร์ 4 ปีซ้อน หนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomic Tourism) กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน นางภาวนา ประจิตต์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นางสาวพันชนะ วัฒนเสถียร นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ และ นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกันเปิดงาน Dining Experience in Khao Yai with Michelin Star Chef ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “เขาใหญ่ม่วนซื่น” ในรูปแบบ Private Dinner โดยแขกวีไอพีทุกท่านได้สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ กับอาหารรสเลิศที่ปรุงจากวัตถุดิบชั้นเยี่ยม จากท้องถิ่น ผสมผสานวัตถุดิบคุณภาพพรีเมียม สด สะอาด ปลอดภัย จากร้าน CP Fresh ของ ซีพีเอฟ รังสรรค์เมนูสุดล้ำโดย เชฟหนุ่ม-ธนินทร จันทรวรรณ เชฟมิชลินสตาร์ 4 ปีซ้อน ท่ามกลางบรรยากาศสุด
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่ติดตามโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา ว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ 12 สิงหาคม 2563) พบการระบาดใน 29 จังหวัด ได้แก่ พื้นที่ระบาดรวมทั้งสิ้น 442,564 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่การระบาดมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา สระแก้ว และบุรีรัมย์ ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมวิชาการเกษตร ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจและชี้เป้าพื้นที่ระบาด โดยมีมาตรการกำจัดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคและแมลงหวี่ขาวยาสูบ ซึ่งเป็นพาหะนำโรค พร้อมชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบในอัตราชดเชยไร่ละ 3,000 บาท ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ท่อนพันธุ์สะอาด ควบคุมการนำเข้าท่อนพันธุ์จากต่างประเทศและการขนย้ายท่อนพันธุ์ภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรเพื่อป้องกันกำจัดโรคใบด่าง โดยได้ทำลายแล้ว ด้วยวิธีฝังกลบและราดสารกำจัดวัชพืช การใส่ถุง/กระสอบและตากแดด หรือวิธีบดสับและตากแดดต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคฯ จำนวน
บ่ายวันนี้ (18 สิงหาคม 2563) CP Fresh ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งใหม่ใจกลางเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรม “ซีพี มิตรแท้ธุรกิจอาหาร ร่วมก้าวผ่านวิกฤตไปด้วยกัน” โดยมี นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นายวิโรจน์ อรุณพันธุ์ ประธานชมรมผู้ประกอบการร้านอาหารเขาใหญ่-ปากช่อง เชฟหนุ่ม นายชนินธร จันทรวรรณ และ เชฟเก่ง นายณัฐพันธ์ เพิ่มศิลป์ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ กลยุทธ์ และเทคนิควิธีการปรับตัว เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มกำไร โดยมีผู้ประกอบการร้านอาหารในเขาใหญ่เข้าร่วมกิจกรรม ณ ร้านครัวบินหลาอาหารใต้ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นายสิริพงศ์ เปิดเผยว่า การจัดงานในวันนี้ เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการในชุมชน ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ ที่จะช่วยสร้างโอกาสให้ธุรกิจในพื้นที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นกิจกรรมนำร่องในพื้นที่เขาใหญ่-ปากช่อง เพื่อให้เป็นต้นแบบ และขยายสู่จุดยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวอื่นๆ ต่อไป และเพื่อสนับสนุนแนวทางการฟื้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว การปรับตัวของธุรกิจอาหาร รับยุคท่องเที่ยว วิถีใหม่ที่เน้นใส่ใจด้านสุ
ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 ผมยังทำงานอยู่กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ ตอนนั้นโชคดี ได้ติดตามอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ไปสำรวจแหล่งต้มเกลือสินเธาว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเก็บข้อมูลและภาพถ่ายมาทำฉบับ “เกลืออีสาน” ครั้งนั้นได้ไปหลายแหล่ง ทั้งที่เป็นแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งพบร่องรอยต้มเกลือมาตั้งแต่ร่วมสองพันปีก่อน และแหล่งที่ยังมีชาวบ้านทำสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ แหล่งสำคัญซึ่งอยู่ในเขตลุ่มน้ำมูล ทางตะวันตกของเมืองนครราชสีมา ก็คือ “บ้านพระหัวบึง” ตำบลด่านนอก อำเภอด่านขุนทด ตอนนั้นอาจารย์ศรีศักร บันทึกไว้ในบทความเรื่อง ‘เกลืออีสาน’ ว่า พื้นที่มีสภาพเป็นบึงขนาดใหญ่ “ในฤดูแล้งน้ำมีน้อย พื้นบึงแลดูขาวโพลนไปทั่วเพราะคราบเกลือ..ชายขอบบึงด้านตะวันตกอันเป็นที่ตั้งของบ้านพระหัวบึงนั้นยังมีชาวบ้านทำเกลือกันอยู่เป็นประจำ มีโคกเนินที่เกิดจากการทำเกลือปัจจุบันสลับกับโคกเนินใหญ่น้อยจำนวนมากที่เป็นโคกเนินโบราณ พบเศษภาชนะดินเผาที่เนื่องในการทำเกลือมากมาย..แสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนโบราณที่สำคัญในการผลิตเกลือ..” อาจารย์ศรีศักร ยังอธิบายถึงแหล่งต้มเกลือในเขตอำเภอขามสะแกแสง โนนไทย หนองบัวโคก โด
กรมส่งเสริมการเกษตร เผยหยุดวงจรโรคใบด่างมันสำปะหลังได้แล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม ระยอง ศรีสะเกษ สำหรับสถานการณ์ของโรคใบด่างมันสำปะหลัง พบว่า ข้อมูล ณ 12 กุมภาพันธ์ 2563 ยังคงเหลือพื้นที่ระบาด จำนวน 55,560.94 ไร่ ใน 11 จังหวัด และส่วนใหญ่สามารถควบคุมพื้นที่การระบาดได้ สำหรับพื้นที่ระบาด คิดเป็น ร้อยละ 0.66 ของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังทั้งประเทศ 8.43 ล้านไร่ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินงานโครงการป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศไทยแล้ว นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยภายหลังการเปิดงานรณรงค์ (Kick Off) เพื่อป้องกันและกำจัดโรคใบด่างมันสำปะหลัง ณ ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ได้มีมาตรการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลัง อย่างต่อเนื่อง ทั้งเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมช่วยเหลือเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับแผนการขับเคลื่อนการปราบใบด่างมันสำปะหลัง ได้ วางไว้ 4 แนวทาง สำรวจ ชี้เป้า
ธ.ก.ส. มอบเงินช่วยเหลือ 100,000 บาท ให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต และ 50,000 บาท แก่ผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์รุนแรงที่จังหวัดนครราชสีมา ทั้งที่เป็นลูกค้าผู้กู้ เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารที่ปฏิบัติงานในวันเกิดเหตุ โดยยกหนี้ให้ลูกค้าผู้กู้ที่เสียชีวิตและลดดอกเบี้ยเหลือ ร้อยละ 0.01 ต่อปี พร้อมเร่งรัดประกันชีวิตจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากเหตุกราดยิงที่ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ธ.ก.ส.ในฐานะสถาบันการเงินของรัฐ ได้มอบหมายให้สาขาในพื้นที่เร่งสำรวจข้อมูลแล้ว พบว่า สำหรับผู้เสียชีวิตจำนวน 30 ราย เป็นลูกค้าผู้กู้ จำนวน 1 ราย และในส่วนของผู้บาดเจ็บ จำนวน 58 ราย เป็นลูกค้าผู้กู้ 2 ราย ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้ กรณีเสียชีวิต สำหรับลูกค้าผู้กู้ ธ.ก.ส.มอบเงินช่วยเหลือให้กับครอบครัว จำนวน 100,000 บาท จัดพวงหรีดเคารพศพ และนำน้ำดื่มไปร่วมในงาน หากมีภาระหนี้สินธนาคารยกหนี้ให้ทั้งหมด ส่วนลูกค้าผู้กู้ที่บาดเจ็บสาหัส ธนาคารมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 50,000 บาท และล
นายสมมาตร ยิ่งยวด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สศท.5) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน “มะเดื่อ” (Fig Fruit) หรือ “มะเดื่อฝรั่ง” ได้รับความนิยมในตลาดผู้บริโภคสินค้าปลอดสารเคมี (Organic Food) และกลุ่มผู้รักสุขภาพเป็นอย่างมาก เนื่องจากผลมะเดื่อมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งทางการแพทย์มีการรับรองว่าผลมะเดื่อ มีส่วนช่วยป้องกันโรคนิ่วในไต ช่วยฟอกตับและม้าม และทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เกษตรกรจึงนิยมปลูกในหลายพื้นที่นับว่าเป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี จากการลงพื้นที่ของ สศท.5 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต และการตลาดมะเดื่อในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบว่า มีพื้นที่เพาะปลูก ประมาณ 50 ไร่ มีเกษตรกรที่ปลูก จำนวน 10-15 ราย โดยเกษตรกรมีการปลูกมะเดื่อในลักษณะต่างคนต่างปลูก กระจายอยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ ได้แก่ อำเภอปากช่อง สีคิ้ว สูงเนิน และ ปักธงชัย เป็นต้น เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เป็นดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดี เหมาะสมต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโต ซึ่งการปลูกมะเดื่อในปัจจุบันเกษตรกร จะนิยมใช้กิ่งพันธุ์ตอนหรือกิ่งปักชำที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น พัน