จังหวัดพังงา
จังหวัดพังงา โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา มีการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ผลไม้ ประจำปี 2566 ตามภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านกิจกรรมติดตามคาดคะเนสถานการณ์ผลไม้ และกิจกรรมจัดทำ Focus Group เพื่อสรุปข้อมูลการประเมินสถานการณ์ผลผลิตในแปลงพยากรณ์ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ปีละ 3 ครั้ง โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างเกษตรกรในพื้นที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 8 แห่งของจังหวัดพังงา สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานข้อมูลไม้ผลของภาคใต้ตอนบน รวมทั้งมีการกำหนดและจัดให้มีการลงพื้นที่สำรวจแปลงพยากรณ์เพื่อประเมินสถานการณ์ผลผลิต ซึ่งเป็นการสำรวจสถานการณ์ในช่วงที่ไม้ผลอยู่ในระยะต่าง ๆ ได้แก่ ระยะแตกใบอ่อน ระยะดอกบาน ระยะติดผล และระยะเก็บเกี่ยว ได้ตลอดฤดูกาล เป็นการพยากรณ์หรือคาดการณ์ปริมาณผลผลิตล่วงหน้า ตลอดจนสอบทานผลการคาดการณ์เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการจัดทำข้อมูลคาดคะเนสถานการณ์ผลไม้ระดับจังหวัดแยกตามชนิดพืช ซึ่งประกอบด้วยผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง เพื่อใช้ในการจัดทำข้อมูลเอกภาพ และจัดทำแผ
จังหวัดพังงา พัฒนาศักยภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มุ่งเป้าพัฒนามังคุดทิพย์พังงาสู่กระบวนการรับรองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) นายประคอง อุสาห์มัน เกษตรจังหวัดพังงา มอบหมายให้กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นำโดยนางสาววิไลวรรณ สีนา หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดและเจ้าหน้าที่ ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนามังคุดทิพย์พังงาสู่กระบวนการรับรองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” กิจกรรมพัฒนาสินค้าไม้ผลอัตลักษณ์สู่กระบวนการรับรองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และตรวจสอบย้อนกลับได้ ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ตามแผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ สวนดุสิต อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา มีเป้าหมายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในพื้นที่จังหวัดพังงา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานไม้ผลระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด รวมทั้งสิ้นกว่า 40 ราย นางสาววิไลวรรณ สีนา หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการ
นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานในการปิดงาน “Phangnga Seasonal Fruits and Food 2023” กิจกรรมงานประชาสัมพันธ์การบริโภคไม้ผลคุณภาพจังหวัดพังงา ณ อนุสรณ์สถานสึนามิ เรือ ต.813 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก นายประคอง อุสาห์มัน เกษตรจังหวัดพังงา กล่าวว่าจังหวัดพังงาได้คัดเลือกทุเรียนสาลิกาเป็นไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัด ด้วยลักษณะเด่นที่ผลค่อนข้างกลม เปลือกบาง เมล็ดลีบ รสชาติหวานมัน เนื้อสีเหลือง หนาละเอียด มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ และที่สำคัญบริเวณกลางแกนผลมีสนิมสีแดงทุกผล จนได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ภายใต้ชื่อ “ทุเรียนสาลิกาพังงา” จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อปี พ.ศ. 2561 รวมทั้งคัดเลือกมังคุดเป็นไม้ผลอัตลักษณ์ของจังหวัดในเวลาต่อมา เนื่องจากมังคุดที่ปลูกในจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตเหมืองแร่เก่า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ มีสภาพอากาศที่เหมาะสม มีฝนตกชุก มีแหล่งน้ำเพียงพอ จึงทำให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และมีความโดดเด่นที่ผิวผลมีสีน้ำตาลอมแดง รส
ชื่อวิทยาศาสตร์ Baccaurea macrophylla Muell. Arg ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE, PHYLLANTHACEAE ชื่อสามัญ Balacuya, Malayan Baccaurea ชื่ออื่นๆ ลูกปุย ลำแข รังแข มะไฟควาย มะแค้ (ปัตตานี) ตัมโปย (มลายู) ลารัก (ชาวเงาะป่าซาไก) ตัมปุยบูลัน (อินโดนีเซีย) หนูรู้สึกน้อยใจกับชีวิตเล็กน้อย ในฐานะสาวบ้านป่าชาวใต้ ที่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะถิ่น เฉพาะจังหวัด จะหันไปพึ่งพาเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่ได้รับการส่งเสริม หรือจัดเป็นพืชพันธุ์เศรษฐกิจ ซ้ำยังถูกจัดเป็นผลไม้ป่า “หายาก เสี่ยงสูญพันธุ์” อีก ยิ่งกลุ้ม กว่าจะได้พบผู้คนก็ต่อเมื่อมีคนเข้าไปเก็บ ไปสอย ในชายป่าออกมาแขวนห้อย เป็นช่อเป็นพวงขายข้างทาง ให้ผู้คนที่ขับรถผ่านไปมาซื้อ ส่วนใหญ่ก็แขวนห้อยพวงคู่กับพวงมะไฟหรือละไม แต่พอใครเห็นพวงที่ห้อยหนูไว้กลับคิดผิด แล้วนินทาว่า ทำไมร้านนี้จึงเอากระท้อนมาห้อยขาย เห็นไหมเข้าใจผิดหนักไปอีก ทั้งๆ ที่หนูผลเล็กกว่ากระท้อน เพราะมองไกลๆ จะคล้ายๆ กัน ยิ่งช่วงปีนี้วิกฤตหนักไปอีก เมื่อมีประกาศของรัฐขอความร่วมมือลดการเดินทางและกิจการขนส่งคมนาคม ด้วยการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 ยิ่งทำให้หนูไม่ได้เจอผู้คนซะเลย ชื่อของหนูนอกจ
กลุ่มแปรรูปสินค้าประมงของสหกรณ์ในจังหวัดพังงา ขนปลาจากเกาะยาว ขึ้นเครื่องบินกองทัพอากาศไปแลกข้าวสาร และมะม่วงของสหกรณ์บ้านร่องส้าน จังหวัดพะเยา และข้าวหอมมะลิ 100% ของ สกต.ธ.ก.ส.ศรีสะเกษ เผยวิกฤติโควิด 19 ทำนักท่องเที่ยวหาย ชาวบ้านบนเกาะยาวขาดรายได้ ไม่มีตลาดรับซื้ออาหารทะเลแปรรูป ต้องใช้เครือข่ายสหกรณ์ช่วยระบายสินค้าออกนอกพื้นที่หวังเพิ่มช่องทางตลาดช่วยเกษตรกร นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ระบาด ผลผลิตและสินค้าสหกรณ์ในหลายพื้นที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ตามปกติ จึงได้สั่งการให้สหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน และสร้างเครือข่ายสหกรณ์ในพื้นที่ต่างๆ จับคู่ธุรกิจ เพื่อนำสินค้าที่จังหวัดนั้น หรือภาคนั้นไม่มี มาซื้อขายและแลกเปลี่ยนกัน เป็นการระบายผลผลิตออกไปยังพื้นที่ที่ผู้บริโภคมีความต้องการ และเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าให้กับสหกรณ์และเกษตรกร เพื่อจะได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวในช่วงเวลานี้ด้วย และเชื่อว่าหากสถานการณ์วิกฤติโควิด 19 เริ่มคลี่คลายและกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว การซื้อขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างสหกรณ์ในจังหวัดต่า
อากาศร้อนมากๆ ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็มีแต่คนบ่นว่าร้อนๆๆ ทำให้นึกถึงผลไม้สุดฮิตที่สามารถดับความร้อน แก้กระหายได้ดี ก็คือ “แตงโม” ครั้นจะหาซื้อในตลาดทั่วไปก็ไม่แน่ใจในความปลอดภัย แต่มีที่อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ผลิตแตงโมปลอดภัยจากสารพิษ ณ บ้านออก หมู่ที่ 6 ตำบลพรุใน และมีการทดลองปลูกแตงโมโดยใส่บล็อกรูปหัวใจ เพื่อเพิ่มมูลค่า และประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร คุณประดิษฐ์ วิจิตรนาวี หรือ บังอุบ เกษตรกรหมู่ที่ 6 บ้านออก ตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา กล่าวว่า หลังจากฤดูกาลทำนา เกษตรกรบ้านออก ปลูกพืชฤดูแล้งเพื่อเพิ่มรายได้ และใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกแตงโม ซึ่งเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในช่วงหน้าร้อน โดยปลูกรวมกัน เกษตรกรจำนวน 11 ราย ในพื้นที่ 15 ไร่ พันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ กินรี และไฮร็อค ซึ่งเน้นปลูกแบบปลอดภัย ไม่มีการใช้สารเคมี นอกจากนี้ ยังได้มีการทดลองปลูกแตงโมโดยใส่บล็อกรูปหัวใจ จำนวน 5 บล็อก เพื่อเพิ่มมูลค่าและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของอำเภอเกาะยาว โดยได้รับคำแนะนำและสนับสนุนบล็อกรูปหัวใจจากสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว โดยวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากอะ
สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer เพื่อให้มีขีดความสามารถด้านการเกษตร สามารถทดแทนเกษตรกรผู้สูงอายุ และสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีศักยภาพสามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดสินค้าเกษตร จนเป็นผู้นำทางการเกษตรในท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในทุกระดับ โดยการจัดเยี่ยมเยียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในฟาร์มของแต่ละคน เป้าหมายเดือนละ 2-3 ราย นางอุษณี เจียมรา เกษตรอำเภอเกาะยาว กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพื่อพัฒนา Young Smart Farmer ของอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ดำเนินการโดยยึดหลักการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ด้วยตัวของเกษตรกรเอง โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นพี่เลี้ยง ให้ความสำคัญกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริง สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะยาวได้จัดกิจกรรม Young Smart Farmer สัญจรเพื่อให้ Young Smart Farmer ได้ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซ
อำเภอเกาะยาว จัดงานวันอาหารปลอดภัย ข้าวใหม่ปลามัน ปีที่ 2 ร่วมกับการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร (Field Day) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ณ แปลงนา (นาทอน) หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เป็นการขยายช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะข้าว ซึ่งอยู่ในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการเกษตรแก่เกษตรกรในชุมชน เพื่อให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ ที่ได้จากการจัดงานในครั้งนี้ ไปปรับใช้ในกระบวนการผลิตของตนเอง อีกทั้งอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้วย นางอุษณี เจียมรา เกษตรอำเภอเกาะยาว กล่าวว่า อำเภอเกาะยาว ได้จัดงานวันอาหารปลอดภัย ข้าวใหม่ปลามัน ปีที่ 2 ร่วมกับงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร (Field Day) ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ณ บริเวณแปลงนา (นาทอน) หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่ห
ครั้งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารพระราชทาน 23 โรงพยาบาลเกาะยาวชัยพัฒน์ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ได้รับทราบว่าอำเภอเกาะยาวมีผู้ป่วยเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ได้มีพระราชกระแสให้มูลนิธิชัยพัฒนา นำเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน จากศูนย์พัฒนาพืชจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จังหวัดเชียงราย มอบให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอเกาะยาว เพื่อนำมาปลูกและบริโภคในครัวเรือน ส่งเสริมสุขภาพ ลดโรคและลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน นางอุษณี เจียมรา เกษตรอำเภอเกาะยาว กล่าวว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยราษฎรชาวอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารพระราชทาน 23 โรงพยาบาลเกาะยาวชัยพัฒน์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 ได้รับทราบว่า อำเภอเกาะยาวมีผู้ป่วยเรื้อรังเป็นจำนวนม
เกาะยาว เป็นอำเภอเล็กๆ ของจังหวัดพังงา พื้นที่ประมาณ 137.6 ตารางเมตร ประกอบด้วย 2 เกาะหลักๆ คือ เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ และเกาะต่างๆ รายล้อมมากมาย มีชายหาดและทิวทัศน์ที่สวยงามกลางทะเลอันดามัน รายได้หลักของประชาชนมาจากการทำสวนยางพารา ทำนา ประมง และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ นอกจากพืชเศรษฐกิจหลักคือ ข้าว ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของข้าวอินทรีย์ ที่มีรสชาติดี มีไอโอดีนแล้ว ยังมีพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่มีอนาคตสดใส สร้างความหวังให้เกษตรกรชาวอำเภอเกาะยาว คือ มะพร้าวอ่อน เนื่องจากเกาะยาวเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้งมะพร้าวของเกาะยาวมีรสชาติดี เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มะพร้าวมีรสชาติหวาน เข้มข้น อร่อย พร้อมทั้งได้สัมผัสวิถีแบบพื้นบ้าน ร่วมกิจกรรมกับชาวบ้านจับปลา หาหอย เกี่ยวข้าว ขี่จักรยาน เที่ยวศึกษาธรรมชาติ ดังคำยืนยันของเกษตรกรรายนี้ คุณลุงอุสัน บัวทอง หรือที่ชาวอำเภอเกาะยาวรู้จักกันดี ในนาม “ป๊ะบ่าว” อายุ 71 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32/1 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะยาวน้อย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ซึ่งทำอาชีพไร่นาสวนผสม ในพื้นที่ จำนวน 4 ไร่ โดยทำ