จังหวัดราชบุรี
โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จัดโครงการ “ศึกษาออนไลน์ อุ่นใจ ไร้โควิด 19” ขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด -19 ด้วยการเปิดสอนบทเรียนออนไลน์เกี่ยวกับการทำเกษตรอย่างง่าย ทั้งเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ เช่น การผลิตปุ๋ยใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ภายในครัวเรือน การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมักสูตรต่าง ๆ ตลอดถึงการเพาะกล้าพันธุ์พืช วิธีการปักชำ การเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ การทำสบู่ และน้ำยาเอนกประสงค์ เป็นต้น ในหลักสูตรออนไลน์เหล่านี้จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายในโครงการฯ ทำการบันทึกเทปเป็นคลิปวิดีโอ พร้อมตัดต่อให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาก่อนเกิดวิกฤตการณ์โควิด -19 ทางโครงการฯ จะมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ไม่ต่ำกว่า 2 แสนคนต่อปี แต่เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ไม่มีผู้เดินทางมายังโครงการฯ เลย เพราะจะต้องอยู่กับบ้านลดการเคลื่อนไหว “ แต่ทุกคนยังต้องบริโภคซึ่งหากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ก็สามารถทำการเพาะป
ในปัจจุบัน การทำการเกษตรได้เปลี่ยนแปลงไปในหลายๆ ด้าน เกษตรกรจึงต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ คุณธำรง ทัศนา เกษตรกรจากอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เจ้าของแปลงนาพื้นที่กว่า 50 ไร่ ก็เป็นหนึ่งในเกษตรกรที่มีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม จนกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาอาชีพสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งนำประสบการณ์ที่สะสมกว่า 20 ปี มาถ่ายทอดให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และปฏิบัติตามอีกด้วย คุณธำรง เริ่มอาชีพเกษตรกรด้วยการสืบทอดอาชีพทำนาต่อจากครอบครัว ด้วยความมุ่งมั่นและใจรัก คุณธำรงได้ศึกษาการทำนาจนมีความเข้าใจและมีองค์ความรู้จนได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพทำนาจังหวัดราชบุรี รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่ต่ำสุดระดับประเทศ ปี 2556 เกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำนาระดับเขต รางวัลคนดีศรีปากท่อ สาขาเกษตร และรางวัลศูนย์ข้าวชุมชนดีเด่น ระดับประเทศ ปี 2550 เคล็ดลับในการทำนาให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพของคุณธำรงคือการศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจทุกขั้นตอนอย่างลึกซึ้ง และใส่ใจทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ทำนา การฟื้นฟูบำรุงดิน การ
หลายคนคงจะคุ้นเคยกับ คำขวัญเมืองโพธาราม ที่กล่าวว่า “คนสวยโพธาราม งดงามน้ำใจ ค่ายหลวงบ้านไร่ หนังใหญ่วัดขนอน ที่นอนนุ่มชั้นนำ ถ้ำค้างคาวร้อยล้าน งามตุ๊กตาน่าพิศ จิตรกรรมฝาผนัง หนองโพดังนมสด เลิศรสผักกาดหวาน” ความจริงเมืองโพธารามยังมีของดีอีกอย่างเรียกว่า “ข้าวโพดแปดแถว” อยู่ในกลุ่มข้าวโพดข้าวเหนียว มีลักษณะพิเศษคือ ขนาดฝักเล็ก เมล็ดข้าวโพดสีขาวมีจำนวนแปดแถว รสชาติหวาน เนื้อเหนียวนุ่ม ไม่ติดฟัน สามารถปลูกได้ตลอดปี แค่ชิมครั้งแรก มีตกหลุมรักรสชาติความอร่อยของข้าวโพดพันธุ์นี้เสียแล้ว เพราะอร่อย นุ่มและหวาน ไม่เหมือนข้าวโพดต้มที่เคยกินในพื้นที่อื่นเลย ที่มาของข้าวโพดแปดแถว เมื่อ 30 ปีก่อน “นายดำรง มินทนนท์” หรือ ลุงดำ ได้พันธุ์ข้าวโพดแปดแถวมาจากเพื่อนคนหนึ่ง จึงนำมาปลูกครั้งแรกในพื้นที่อำเภอโพธาราม และนำออกต้มขายที่หน้าวัดโบสถ์ ปรากฏว่า ชาวบ้านชอบใจในรสชาติความอร่อยของข้าวโพดพันธุ์นี้ จึงหันมาปลูกเป็นพืชเสริมหลังฤดูทำนากันอย่างแพร่หลาย ในพื้นที่ตำบลคลองตาคต และตำบลบ้านเลือก จนถึงทุกวันนี้ ที่ผ่านมา ข้าวโพดแปดแถวเป็นที่รู้จักของชาวโพธาราม และคนต่างถิ่นที่มาท่องเที่ยววัดโบสถ์ โ
พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง และพลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี รองประธานอนุกรรมการฯ พร้อมคณะอนุกรรมการฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี พร้อมกับรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงานและเยี่ยมชมผลผลิตของเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี กล่าวว่า โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และทำการเกษตร โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2530 อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีขนาดความจุ 4.3 ล้านลูกบาศก์เมตร มีระบบท่อส่งน้ำ จำนวน 2 ระบบ ได้แก่ ระบบ Pumping (ระบบส่งน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำ) ความยาวรวม 20.935 กิโลเมตร และระบบ Gravity (ระบบส่งน้ำแบบโดยแรงโน้มถ่วงของโลก) ความยาวรวม 5.952 กิโลเมตร ปัจจุบันอ
“สับปะรด” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดราชบุรี มีพื้นที่ปลูกสับปะรดกระจายอยู่ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ บ้านคา สวนผึ้ง จอมบึง และปากท่อ ปัจจุบันแหล่งปลูกสับปะรด เนื้อที่ 1,014 ไร่ ในพื้นที่หมู่บ้านหนองจอก ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา ถูกคัดเลือกเป็นแปลงใหญ่ต้นแบบสับปะรดปัตตาเวียบ้านคา ที่มีลักษณะพิเศษคือ รสชาติหวานฉ่ำ ไม่กัดลิ้น มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองสวย ละเอียด หนา นิ่ม มีตาค่อนข้างตื้น ปอกง่าย รับประทานได้ทั้งแกน สับปะรด เป็นสินค้าขายดีที่นิยมบริโภคกันทั่วไป สับปะรดปัตตาเวียบ้านคา ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เกษตรกรจึงสามารถกำหนดราคาผลสดได้เอง ทั้งนี้ สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียส่วนใหญ่ เน้นขายผลสด และส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรด เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง สับปะรดแช่แข็ง น้ำผลไม้ และผลไม้แปรรูปป้อนตลาดส่งออก แต่บ่อยครั้งที่มีปัญหาสินค้าล้นตลาดในฤดูผลิต ขายสินค้าในราคาถูก ทำให้เกษตรกรขาดทุนกันทั่วหน้า นอกจากนี้ การเพาะปลูก-เก็บเกี่ยวสับปะรดที่ไม่ถูกวิธี รวมทั้งผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่ต่อเน
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจการของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) จังหวัดราชบุรี โดยมี นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีพบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และเยี่ยมชมนิทรรศการด้านปศุสัตว์ พร้อมชมการสาธิตการเลี้ยงโคนม และให้อาหารโค จากนั้นได้กล่าวกับเกษตรกรที่มารอต้อนรับ โดยขอให้เกษตรกรเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ หรือการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ และสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจการของสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) จังหวัดราชบุรี โดยมี นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีพบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และเยี่ยมชมนิทรรศการด้านปศุสัตว์ พร้อมชมการสาธิตการเลี้ยงโคนม และให้อาหารโค จากนั้นได้กล่าวกับเกษตรกรที่มารอต้อนรับ โดยขอให้เกษตรกรเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์ หรือการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ และสร้างความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพด้านการเกษตร
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 เวลา 10.00 น. นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2562 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้กรมส่งเสริมการเกษตรอัญเชิญองค์ผ้าพระกฐินพระราชทานนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดบัวงาม (พระอารามหลวง) ตำบลบัวงาม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และถวายจตุปัจจัยเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยมี นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรรักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ผู้บริหาร ข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร และประชาชนเข้าร่วมงาน โอกาสนี้ได้มอบเงินบำรุงโรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 1 แห่ง และโรงเรียนในความอุปถัมภ์ 1 แห่ง โดยยอดเงินที่ถวายผ้าพระกฐินพระราชทานกรมส่งเสริมการเกษตร ประจำปี 2562 เป็นเงินทั้งสิ้น จำนวน 2,117,921 บาท วัดบัวงาม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดส
ในอดีตที่ผ่านมา ปู่ย่าตายายของเราส่วนมากจะมีอาชีพทางการเกษตร ท่านเหล่านั้นทำการเกษตรด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ ผืนดิน ป่าเขา แม่น้ำ เสมือนผู้มีพระคุณที่เกื้อหนุนแก่สรรพชีวิตทั้งหลายในโลก ท่านเหล่านั้นได้ใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติอย่างทะนุถนอมค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่างประหยัดและใช้อย่างมีคุณค่าที่สุด การแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ เช่น การทำขวัญข้าว กลายเป็นเรื่องงมงายในปัจจุบัน หลังจากที่เราทำเกษตรยุคใหม่ซึ่งเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีทั้งสารเคมีกำจัดโรคพืช กำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ยั้งมือ โดยมุ่งหวังผลผลิตที่ได้เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงสารตกค้างที่อยู่ในพืชผักที่ผลิตซึ่งจะส่งผลร้ายต่อผู้บริโภคและตัวเอง คนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ หลายท่านหลังที่จะมาเกษียณในชีวิตปั้นปลายที่ไร่นาในต่างจังหวัด หรือบางท่านสามารถกลับมาใช้ชีวิตกลางไร่นาในวัยหนุ่มสาว เช่น ครอบครัวสิทธิชัย ซึ่งมี คุณวิรัตน์ สิทธิชัย และ คุณสานิต สิทธิชัย น้องชาย กับพี่ๆ น้องๆ ในครอบครัวฝันอยากเป็นครอบครัวเกษตรกรตามวิถีของบรรพบุรุษอีกครั้งที่อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี คุณสานิต กล่าวถึงความเป็นมาเป็นไปว่า “ดั้งเดิมพ่อแม่ย้ายจากจังห
นายสุชาติ กาญจนวิลัย ผู้อำนวยการโครงการชลประทานราชบุรี เปิดเผยว่า ปี 2562 กรมชลประทานจะเริ่มงานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำโป่งพรหม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ในพื้นที่บ้านโป่งพรหม ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ 1,064,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แห่งนี้ได้แล้วเสร็จในปี 2565 เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,700 ไร่ และสนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภค 200 ครัวเรือน ทั้งนี้ เมื่ออ่างเก็บน้ำโป่งพรหม ก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นการสนองพระราชดำริที่ทรงให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำครบทั้ง 6 แห่ง มีปริมาณน้ำกักเก็บรวมกัน 3,278,030 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) รองรับพื้นที่เกษตร 7,300 ไร่ ซึ่ง ณ ปี 2542 ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว 5 แห่ง เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกไปแล้วกว่า 6,000 ไร่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านพุกรูดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยพุกรูดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำเขาหัวแดงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำบ้านไทยประจันอัน