จังหวัดศรีสะเกษ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 จังหวัดศรีสะเกษจัดงานส่งเสริม การท่องเที่ยว งานเฉลิมฉลอง “สู่ขวัญบ้าน บายศรีเมือง รุ่งเรือง 241 ปี จังหวัดศรีสะเกษ” พร้อมนำโดรนแปรอักษรส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้การต้อนรับการนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติมาร่วมจัดแสดง โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวสนับสนุนการนำสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมมาร่วมสร้างกลไกการท่องเที่ยวให้จังหวัดศรีสะเกษ ณ สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา (เกาะห้วยน้ำคำ) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. มีนโยบายที่มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ให้เกิดการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ได้ให้การสนับสนุนสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ นำการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวด้านโดรน และนวัตกรรมการพัฒนา
จังหวัดศรีสะเกษ มีเกษตรกรที่ปลูกทุเรียน 2,350 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกทุเรียน 15,111 ไร่ ให้ผลผลิตผลิตแล้ว 5,721 ไร่ ยังไม่ให้ผลผลิต 9,390 ไร่ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกมาก ได้แก่ ขุนหาญ กันทรลักษ์ และศรีรัตนะ พันธุ์ที่นิยมปลูกคือ พันธุ์หมอนทอง คาดการณ์ปริมาณผลผลิตทุเรียนในปีนี้ไว้ที่ 7,522 ตัน โดยปริมาณผลผลิตในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น 2,758 ตัน คิดเป็นร้อยละ 57.8 ของผลผลิตในปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีพื้นที่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2,108 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58 ของพื้นที่ให้ผลผลิตของปีที่ผ่านมา ในส่วนของผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ที่คาดการณ์ในปีนี้ คือ 1,315 กิโลกรัมต่อไร่ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ส่งผลให้ผลทุเรียนร่วงหล่นจำนวนมากทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ในช่วงต้นปี โดยในปีการผลิต 2565 นี้ คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดแบ่งเป็นหลายรุ่น เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2564 โดยผลผลิตจะออกมากที่สุด ในช่วงเดือนมิถุนายน รวมทั้งคาดการณ์ราคาจำหน่ายปลีกหน้าสวน กิโลกรัมละ 170-190 บาท และราคาในตลาดอำเภอเมือง ที่กิโลกรัมละ 190-210 บาท โดยคาดว่าทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษจ
คุณวีระชัย ศรีสด อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 8 บ้านโนนแดง ตำบลยาว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมที่เคยมีพื้นที่ทำนาเป็น 100 ไร่ แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากขาดแคลนน้ำ แถมยิ่งทำ ยิ่งมีหนี้สิน จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพการเกษตรหลายชนิดที่ใช้น้ำน้อย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนมาจบที่การเพาะพันธุ์ปลาขาย ลูกพันธุ์ปลาหมอชุมพร อายุ 1 เดือน เพาะปลาหมอ-ปลานิล แปลงเพศ ตลาดต้องการ คุณวีระชัย บอกว่า ลูกพันธุ์ปลาหมอชุมพรเป็นปลาที่ได้รับความนิยมมาก เขาได้นำพันธุ์ปลาหมอชุมพรมาจากประมงจังหวัดอุบลราชธานี คุณสมบัติที่ดีของปลาหมอชุมพรคือ มีขนาดใหญ่ จำนวน 2-3 ตัว ต่อกิโลกรัม จึงทำให้เป็นจุดเด่นของความต้องการจากลูกค้า ทั้งผู้บริโภคและพ่อค้า อีกประการเนื่องจากปลาหมอชุมพรตามธรรมชาติมีขนาดเล็กมาก ต่างจากปลาเลี้ยง จึงทำให้ผู้บริโภคสนใจปลาเลี้ยงมากกว่า สำหรับขั้นตอนการเพาะปลา เจ้าของฟาร์มให้รายละเอียดว่า หลังจากลูกปลาออกจากไข่แล้ว จะเพาะ-ฟัก ในบ่อซีเมนต์ก่อนเป็นเวลาประมาณ 3 วัน ซึ่งในช่วงนี้จะได้ลูกปลาในอัตรารอด ประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นจึงย้ายลงบ่อดินเป็นจำนวนนับล้านตัว ระยะเวลาการเลี้ยงลูกปลาแ
หลายท่านคงคุ้นเคยหรือเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วกับคำว่า “เกษตรสร้างชาติ” ซึ่งความหมายของคำว่าเกษตรสร้างชาติในความหมายของแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าหากจะให้เอ่ยจริงๆ แล้วการทำเกษตรกรรมไม่ว่าจะทำมากหรือทำน้อย ก็นับได้ว่าเป็นการสร้างชาติ สร้างชีวิต และสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศได้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ฉบับนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอ เกษตรกรตัวอย่างในยุคโควิด-19 ที่พลิกชีวิตจากโค้ชสอนออนไลน์สู่การเป็นเกษตรกร ให้เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้กับคนที่กำลังท้อแท้ให้ลุกขึ้นมาฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปพร้อมกัน คุณชัยธวัช คำแสงดี หรือ พี่ยุ้ย อยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 6 บ้านภูเงิน ตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ อดีตโค้ชสอนออนไลน์ เกี่ยวกับธุรกิจสุขภาพและความงาม ผันตัวมาเป็นเกษตรกรในยุคโควิด-19 ใช้เทคนิคการวางแผนจัดการระบบ จัดการผืนที่ก่อนปลูก รวมถึงการนำความรู้ทางด้านออนไลน์มาใช้ในการสร้างตลาด จนประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เดือนละหลายหมื่นบาทต่อเดือน พี่ยุ้ย เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนเองทำอาชีพเป็นโค้ชสอนออนไลน์มาก่อน แต่เนื่องด้วยสถาน
ธุรกิจสมุนไพรและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ที่เคยสร้างรายได้สะพัดวันละแสน หลังเจอปัญหาวิกฤตทางการเมือง ปี 2554 สินค้าขายไม่ออก ขาดทุนสะสมจนกลายเป็นหนี้ก้อนโต แต่ “ศุภธิดา ศรีชารัตน์” ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค เธอปรับตัวสู้ชีวิตใหม่อีกครั้ง โดยน้อมนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จนสามารถปลดหนี้เงินล้านได้สำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี ศุภธิดา เกิดและเติบโตในครอบครัวเกษตรกร ในหมู่บ้านหนองกอง หมู่ที่ 3 อำเภอโดด อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ เธอเห็นพ่อแม่ทำนามาตลอดชีวิตแต่ไม่รวยสักที หลังเรียนจบมัธยมจึงตัดสินใจไปทำธุรกิจค้าขายที่กรุงเทพฯ โดยเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ที่ห้างเซ็นทรัล สาขาบางนา และที่อิมพีเรียล สำโรง ระยะแรกธุรกิจเติบโตดีมาก สร้างรายได้สูงถึงวัน 100,000- 200,000 บาท แต่การใช้ชีวิตในสังคมเมืองหลวงมีภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทั้งค่ากินอยู่ ค่าเช่าที่ ค่าจ้างคนงาน ฯลฯ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วแทบไม่เหลือผลกำไร ต่อมาเกิดวิกฤตทางการเมือง สินค้าขายไม่ดี เกิดหนี้สินก้อนโตกว่าล้านบาท ช่วงปลายปี
ไก่จ๋า…ได้ยินไหมว่าเสียงใคร…เป็นข้อความตอนหนึ่งของเพลง ไก่จ๋า ที่ฟังแล้วคิดอยากกินไก่ย่างไม้มะดันสักมื้อ เป็นไก่ย่างสูตรพิเศษที่มีเสียงเล่าขานว่าเลิศรสความอร่อย ด้วยการเลือกนำไม้มะดันมาหนีบไก่ เมื่อนำไปย่างทำให้เนื้อไก่ย่างสีเหลือง ได้กลิ่นหอมพร้อมความอร่อย สินค้าดีมีคุณภาพในถิ่นอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นโอกาสดีที่การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ต้องผ่านเส้นทางไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน จึงได้แวะเข้าไปที่ร้านไก่ย่างแห่งหนึ่งทันที ขณะเดินผ่านบริเวณโรงครัวกลิ่นหอมก็โชยมาชวนให้ชิม เห็นมีคนมารอซื้อกลับบ้าน และมีคนสวมเสื้อซาฟารีกำลังพลิกกลับไก่บนเตาปิ้ง ทราบภายหลังว่า เป็น คุณพีปกรณ์ เฮงรัตนกุลเศรษฐ หรือ คุณโชค ผู้จัดการร้าน จึงได้พูดคุยกันพร้อมรวบรวมเป็นเรื่องราว ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน…ไก่เศรษฐกิจ เลิศรสความอร่อย มาบอกเล่าสู่กัน คุณพีปกรณ์ เล่าให้ฟังว่า ต้องขอเล่าความถึงอดีตสักหน่อยว่า พื้นถิ่นที่แห่งนี้เคยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร แต่ประชาชนก็ต้องพบกับปัญหาการเดินทาง เช่น จากอุบลราชธานี ไป-กลับกรุงเทพฯ ต้องใช้บริการนั่งรถไฟ บางครั้งใช้เวลาข้ามวันข้ามคืน ถ้าต้องการเดินทางให้
สยามคูโบต้า ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จังหวัดศรีสะเกษ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) ในจังหวัดศรีสะเกษ สร้างโมเดล “ศรีสะเกษ เมืองต้นแบบปลอดการเผา” มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในภาคการเกษตร รวมถึงส่งเสริมระบบบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ภายใต้องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร สานต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5” โดยกว่า 54% เกิดจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งรวมถึงการเผาในพื้นที่ทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน สยามคูโบต้าในฐานะผู้นำด้านเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) เพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน” ในปี พ.ศ. 2562 สยามคูโบต้า เกิดแนวคิดในการจัดตั้ง “โครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn)” โดยร่วมมือกับหน
ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ มอบหมาย สศก. ขยายผลโครงการแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นผืนดิน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำต้นแบบ จังหวัดศรีสะเกษ ขยายผลทั่วประเทศ สืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำโครงการจิตอาสาพระราชทาน “เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ร่วมสร้างอาชีพเกษตร ช่วยผู้ได้รับผลกระทบโควิด-19 ก้าวสู่ Smart Farmer ยุคดิจิทัล ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือน มหามงคลของปวงชนชาวไทย ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2563 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก. นำโครงการจิตอาสาพระราชทาน “เราทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ขับเคลื่อนโครงการแรงงานคืนถิ่น พลิกฟื้นผืนดิน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการ พัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจการเกษตรอาสาประจำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยอบรมและสาธิตการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการบริหารจัดการสินค้าเกษตรผลผลิตทางการเกษตร ผ่านเศรษฐกิจการ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.)และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มมวลชน ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและภาคประชาชนทั่วประเทศ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างอาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม โดยกอ.รมน.และวช.ร่วมจัดกิจกรรม Kick-off เปิดตัว”โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน โดยการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1” เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองบัวดง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน ในการนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม Kick-off ร่วมกับ พลตรีกฤษณะ วัชรเทศ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฎิบัติที่ 1 กอ.รมน. โดยมี นายสมชัย คล้ายทับทิม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ พร้อมผู้
ข้าวโพด เป็นพืชที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อนำเมล็ดมาเป็นส่วนผสมการทำอาหารสัตว์ ตามมติคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติหลักการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดหลังการทำนาหรือในช่วงฤดูนาปรัง เพื่อปรับปริมาณการผลิตการตลาดข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีความสมดุล เพื่อให้อุตสาหกรรมของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีเสถียรภาพในการผลิตสินค้าและลดการพึ่งพาจากภายนอกประเทศ ที่สำคัญคือส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพ มีรายได้ 6,000 บาท ต่อไร่ มั่นคง และวิถียั่งยืน คุณสว่าง กาลพัฒน์ เกษตรจังหวัดศรีสะเกษ เล่าให้ฟังว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ทำการเกษตร ประมาณ 3.8 ล้านไร่ มีเกษตรกร ประมาณ 2.2 แสนครัวเรือน พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว ทุเรียน มันสำปะหลัง พริก ยางพารา หอมแดง อ้อยโรงงานหรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีสินค้าเกษตรที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางพันธุศาสตร์ GI (Geographical Indications) ได้แก่ ข้าวหอมมะลิเขตทุ่งกุลาร้องไห้ และทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ จากสาเหตุที่เกษตรกรทำนาแบบต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณผลผลิตข้าวมาก ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้และการยังชีพ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติและอนุมัต