จังหวัดอุดรธานี
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ทำให้ระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก ประชาชนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ขาดแคลนรายได้และอาหาร กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) ส่งเสริมให้คนไทยน้อมนำแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ระหว่าง วันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2563 เมื่อสิ้นสุดโครงการพบว่า มีประชาชนทั่วประเทศสนใจร่วมโครงการปลูกผักสวนครัวกับ พช. มากถึง 12,573,072 ครัวเรือน คิดเป็น 96.89 เปอร์เซ็นต์ ในสัดส่วนดังกล่าว พบว่า มี 18 จังหวัด ที่มีพี่น้องประชาชนสนใจปลูกผักกันอย่างคึกคักครบ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ได้แก่ บึงกาฬ เพชรบุรี มุกดาหาร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา ภูเก็ต ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ตาก อุบลราชธานี พัทลุง สุโขทัย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ตราด สกลนคร และชัยภูมิ อุดรธานีมีรัก ปลูกผักกินเอง จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 20 อำเภอ 156 ตำบล 1,863 หมู่บ้าน 101 ชุมชน 494,498 ครัวเรือน ประชากร 1,586,646 คน พื้นที่ 7.33 ล้านไร่ หลายคนสงสัยว่า อุดรธานีทำไมถึงติด 1 ใน 18 จังหวัด ที่ปลูกผักได้ 100 เปอร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตอกย้ำความสำเร็จใช้งานวิจัยต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนได้จริง รองศาสตราจารย์ ดร.ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยถึงผลการจัดงานแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนและสมาชิกในชุมชนจังหวัดอุดรธานี “Startup Champions Model” สู่การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ที่จังหวัดอุดรธานี ว่า การจัดงานดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการวิจัยที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยเสริมสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ด้วยการนำงานวิจัยไปต่อยอดภูมิปัญญาของชาวบ้าน ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐานและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึ้
รศ.ดร.รจนา จันทราสา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พัฒนาการจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และบริษัท แอ๊ดด้า ฟุตแวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กำหนดจัดการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้แผนงานวิจัยการพัฒนาศักยภาพชุมชนและสมาชิกในชุมชนจังหวัดอุดรธานี “Startup Champions Model” สู่การยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 มีนาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา จังหวัดอุดรธานี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมการยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากงานวิจัยในชุมชนจนต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้ ช่วยเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีผลงานวิชาการสู่การยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และเครือข่ายพันธมิตร พัฒนาพื้นที่ชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ชมความงามไม้ดอกได้ตลอดปี พร้อมเปิดตัว “ปทุมาห้วยสำราญ” ไม้ดอกหน้าฝนสายพันธุ์ใหม่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัด สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของจังหวัดอุดรธานี โดยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตไม้ดอกไม้ประดับกลุ่มใหญ่ของจังหวัดอุดรธานี และยังเป็นแหล
นางเพ็ญศิริ วงษ์วาท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการเกษตรสมัยใหม่ โดยเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและภูมิปัญญาในการพัฒนาสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเกษตรให้ปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคบนพื้นฐานการทำเกษตรกรรมยั่งยืน โดยในส่วนของจังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้บูรณาการร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) โดยให้การสนับสนุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ภายใต้แผนบูรณาการวิจัยการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารจังหวัดอุดรธานี และหนองบัวลำภู การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนยั่งยืน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศท.3) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การแปรรูปอ้อยอินทรีย์ของกลุ่มวิส
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี และเครือข่ายพันธมิตร พัฒนาพื้นที่ชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ชมความงามไม้ดอกได้ตลอดปี สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชน ประเดิมจัดงาน “ปทุมาเบ่งบาน เที่ยวห้วยสำราญสุขใจ” ชมความงามปทุมาหลากสายพันธุ์ถึง 31 ตุลาคมนี้ พร้อมเปิดตัว “ปทุมาห้วยสำราญ” ไม้ดอกหน้าฝนสายพันธุ์ใหม่ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากความร่วมมือระหว่าง สวทช. และจังหวัดอุดรธานี ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสินค้าทางการเกษตรของจังหวัดอุดรธานี สอดคล้องกับแผน นโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาของจังหวัดที่จะยกระดับความเป็นเมืองท่องเที่ยวของจังหวัดนั้น สวทช. โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จึงได้ร่วมกับจังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านห้วยสำราญ-ห้วยเจริญ ตำบลหนองไฮ อำเภอเมืองอุดรธานี พัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเก
กฟก. มอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรในภาคอีสาน 205 ราย เนื้อที่กว่า 2.1 พันไร่ และมอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรลูกหนี้สหกรณ์กว่า 10 ล้านบาท “จุรินทร์” มอบนโยบายสร้างความเข้าใจแก่ อนุกรรมการฯ จังหวัด เร่งผลักดันงานฟื้นฟูอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และแก้ปัญหาหนี้สินให้เกษตรกรสมาชิก วันที่ 17 สิงหาคม 2563 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เป็นประธานมอบโฉนดที่ดินทำกินให้เกษตรกรสมาชิก ภายหลังจากเกษตรกรชำระหนี้คืนครบสัญญา ที่ โรงแรมสยามแกรนด์ จังหวัดอุดรธานีโดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ให้การต้อนรับ นายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2563 กฟก.จัดโครงการสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจังหวัด เวทีที่ 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยมี นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหาร นายจารึก บุญพิมพ์ ประธานคณะกรรมการจัดการหนี้ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ผู้แทนคณะกรรมการบริหารฯ
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลตำรวจเอกเฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน ) หรือ บจธ. ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รองนายกรัฐมนตรีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ นายกุลพัชร ภูมิใจอวด รองผู้อำนวยการปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ บจธ. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าร่วมประชุมชี้แจงภารกิจร่วมกับ นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมส่วนราชการจังหวัดในพื้นที่ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เพื่อร่วมกันหาแนวทางการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย รวมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างงานในภาวะของโรคระบาดโควิด-19 โดยจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ตามวิถีปกติใหม่หรือ New normal ในวันเดียวกันพลตำรวจเอกเฉลิมเกียรติ และคณะผู้บริหาร บจธ. ลงพื้นที่เข้าร่วมประชุมกับนายสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมส่วนราชการจังหวัด ร่วมเดินทางมาให้การต้อนรับ โดยร่วมหารือแนวทางบูรณาการร่
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ถั่วลิสงเป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรตามนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ทดแทนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โดยถั่วลิสงเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญ ซึ่งต้นถั่วและเปลือกยังช่วยปรับสภาพดินทำให้ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ถั่วลิสงยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งผลสดและแปรรูป โดยเฉพาะโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับแหล่งเพาะปลูกถั่วลิสงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่และสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วลิสง โดยในฤดูการผลิตปี 2562/63 (ถั่วหลังนา) มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้งหมด 435 ครัวเรือน พื้นที่ปลูกทั้งหมด 887 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอกุดจับ ซึ่งมีพื้นที่ 736 ไร่ หรือร้อยละ 83 ของพื้นที่ปลูกทั้งจังหวัด ผลผลิตเฉลี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ขอเชิญผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และผู้สนใจในพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี และใกล้เคียงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมสัมมนาฟรี 2 หลักสูตร ได้แก่ “หลักสูตรการยกระดับผักและผลไม้ไทยสู่มาตรฐานสากล” ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อทราบถึงมาตรฐาน ThaiGAP กับการสร้างโอกาสเข้าสู่ตลาดระดับบน สมัครได้ที่ https://forms.gle/uyaZEjEGkY6YETaL6 และ “หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืนด้วยนวัตกรรม 4.0” ในวันที่ 27 มีนาคม 2563 เพื่อทราบถึงแนวทางพัฒนาเป็นเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) ในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการเก็บรักษาและขนส่ง สมัครได้ที่ https://forms.gle/b4Segqji2Jo3ENij7 โดยทั้งสองหลักสูตรกำหนดจัดเวลา 08.30-16.00 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา และคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์อุดรธานี ด่วน! รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน ต่อหลักสูตร เฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคลเท่านั้น ภายใน 23 มีนาคม นี้ สอบถามเพิ่มเติม โทร. (02) 564-7000 ต่อ 1300, (063) 915-6656