จังหวัดเชียงราย
กยท. หนุนงบ 49(3) มอบเกษตรกรสวนยางต้นแบบฯ ติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อจัดการระบบน้ำในสวนยางแบบวนเกษตร ลดต้นทุน สร้างรายได้เสริมจากพืชแซมและปศุสัตว์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย นายเกียรตินันท์ ยิ้นซ้อน ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงราย นำคณะเจ้าหน้าที่ กยท. จังหวัดเชียงราย และสื่อมวลชน ลงพื้นที่สวนยางพาราของเกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรต้นแบบระดับสาขาและระดับจังหวัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 ปีซ้อน ในโครงการสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางต้นแบบด้วยเกษตรกรรมยั่งยืน ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยมี นางสาวชรินทร์ทิพย์ เชื้อเมืองพาน เจ้าของสวนยางพาราต้นแบบ และ นายจัตุรัส กั้นสกุล เกษตรกรชาวสวนยาง ให้การต้อนรับ นายจัตุรัส ให้ข้อมูลว่า พื้นที่สวนยางมีประมาณ 30 ไร่ เป็นสวนยางที่มีเอกสารสิทธิถูกต้อง และได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรฯ กับ กยท. ตั้งแต่ปี 2558 โดย กยท. ได้จัดทำข้อมูลพื้นที่สวนยาง สามารถค้นหาพิกัดผ่านระบบ GIS รองรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่ง กยท. มีนโยบายให้เกษตรกรชาวสวนยางทำการเกษตรแบบเกษตรก
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ผนึกกำลัง บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และตัวแทนจากประเทศจีน เสริมแกร่งอุตสาหกรรมยางพารา พัฒนา “โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจ” ช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ที่สำนักงานตลาดกลางยางพารา จังหวัดเชียงราย นำโดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และตัวแทนจาก China Environment & Carbon Net-Zero Investment Representatives ได้ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือ “โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการซื้อขายคาร์บอนเครดิตแบบสมัครใจ” โดยมีวัตถุประสงค์ของการลงนามข้อตกลงในครั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในการลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางประเทศไทย ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงความสำคัญในการร่วมมือครั้งนี้ว่า การจัดการคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยเป็นเรื่องที่สำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ซึ่งต้นยางพาราเองเ
คุณเนตรรัชนี เต๋จ๊ะ หรือ คุณเนตร วัย 55 ปี จากแม่ค้าขายน้ำเต้าหู้ และประสบการณ์ที่คร่ำหวอดอยู่ในกรุงเทพฯ พร้อมครอบครัว หลังจากลูกๆ เรียนจบแล้ว เธอก็กลับบ้านเกิดที่จังหวัดเชียงราย และคิดที่จะทำการเกษตร อันดับแรกที่สนใจก็คือ พุทรานมสด จากการที่ไปเที่ยวเขาใหญ่ เห็นพุทรานมสดที่มีลูกดกเต็มต้น ก็มีแนวคิดว่าอยากจะนำไปปลูกที่เชียงราย จากการใช้ชีวิตทำมาหากิน ค้าขายที่กรุงเทพฯ หันกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ใช้เนื้อที่ 2 ไร่ ปลูกพุทราปลอดสารแบบกางมุ้ง 80 กว่าต้น สร้างรายได้เป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง แรงบันดาลใจที่จะปลูก พุทรานมสดกางมุ้ง ปลอดสาร คุณเนตรรัชนี เล่าว่า ตอนแรกปลูกได้ 2 ปี ไม่มีแมลงศัตรูพืชมารบกวน พอปีที่สามแมลงวันทองเจาะทุกลูกหมดสวนเลย แต่ไม่ท้อ ลองต่ออีก 1 ปี โดยใช้กับดักล่อแมลงวันทอง แต่ก็ไม่ได้ผล ก็ไปดูงานที่สวนอื่น ทำไม เขามีพุทราขายเยอะแยะ ไม่มีแมลงรบกวน แต่ละสวนมีพุทราออกดกมาก เต็มต้นไปหมด ด้านหน้าสวนก็มีคนมาซื้อจัดใส่ถุงพลาสติก ถุงละ 10 กิโลกรัม มีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงสวน แต่ข้างหลังสวนกำลังฉีดยาฆ่าแมลง เพราะว่าพุทราด้วยความดกมากและหวาน จึงเป็นที่ชื่นช
เทศบาลตำบลสันทรายงาม เปิดโลกเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานยกเป็นต้นแบบ พลังงานของชุมชน ในโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า แก้ปัญหาขยะล้นในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง มีแผนเปิดโรงงานขยะแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า 9.9 เมกกะวัตต์ มูลค่า 2,000 ล้านบาท ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการรัฐ 25 ปี จ่ายการลงทุนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แจงผลสำรวจความคิดเห็นชาวบ้านในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน เห็นด้วยกับโครงการนี้ด้วยคะแนน 85.4% ประเมินผลประโยชน์ได้รับมีมาก ต่อวิถีชีวิตทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทำไมต้องมีโรงงานเผาขยะแปรรูปเป็นพลังไฟฟ้า นายประสิทธิ์ พิลาวุฒิ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสันทรายงาม อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาขยะมีการขยายตัวต่อเนื่อง เทศบาลสันทรายงามจึงมีโครงการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน โครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ดำเนินการเป็นศูนย์บริหารจัดการขยะแบบครบวงจรโดยใช้เทคโนโลยีกำจัดแบบเผาตรงที่ถูกลักษณะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับปริมาณขยะสูงสุด 500-700 ตันต่อวัน ไม่มีขยะมูลฝอยตกค้าง แก้ปัญหาขยะมูลฝอยในจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตกระแสไฟฟ้า 9.9 เมกกะวัตต์ แล
นายปรีชา พันธุ์วา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายวิชิต ภูกัน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสหกรณ์การเกษตรโครงการหลวงห้วยโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จำกัด ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยมี นางสาวศิริพรใจธรรม ประธานกรรมการสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ สมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ พร้อมรับฟังการนำเสนอรายงานผลการปฏิบัติงาน ความเป็นมาของสหกรณ์ และมอบนโยบาย ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เน้นย้ำให้มีการติดตามปัญหาอุปสรรค เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้น จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมพื้นที่บริเวณโดยรอบของสหกรณ์
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ และสำนักดิจิทัลและสารสนเทศ ร่วมกับ ผศ.ดร. สุนันทา เลาวัลย์ศิริ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมการอบรมออนไลน์ ภายใต้การดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีจัดการขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ต้นแบบ 3 จังหวัด เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ได้แก่ จังหวัดหนองคาย (ชุมชนตำบลหาดคำ) จังหวัดเชียงราย (ชุมชนหนองปึ๋ง และโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม) และจังหวัดชลบุรี (โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา) โดยมีประชาชนเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 50 คน นอกจากนี้ ในอนาคต วว. จะขยายผลการดำเนินโครง
บริษัท ยันม่าร์ เอส พี จำกัด และเกษตรกรในหมู่บ้านบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดย นายสุเมธ จีนน้ำใส สมาชิกกลุ่มร่วมกิจกรรมประจำปีของหมู่บ้าน ในโครงการอนุรักษ์พื้นที่ป่าลุ่มแม่น้ำอิง โดยรวมกลุ่มเกษตรกรที่ใช้แทรกเตอร์ยันม่าร์ กว่า 20 คัน พร้อมใจกันนำแทรกเตอร์มาปรับพื้นที่สวนป่าชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ไม่ให้รกร้าง ซึ่งกิจกรรมนี้กลุ่มเกษตรกรจิตอาสาได้ร่วมกันนำแทรกเตอร์มาพัฒนาพื้นที่ในทุกๆ ปี ปีละ 2-3 ครั้ง นับเป็นตัวอย่างของชุมชนเข้มแข็งจนได้รับรางวัลเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกจากโครงการพัฒนาของสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งเป็นรางวัลสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติอีกด้วย นายธัชพล ชวินธนโชติ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวเพิ่มเติมว่า ยันม่าร์จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรระดับชุมชนที่จะเป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป และยันม่าร์เองจะยังคงมองหาโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรและร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย
“ชา” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งผลิตใบชาคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยส่งออกในลักษณะชาเขียว ชาดำ และชาสำเร็จรูป ส่งขายในตลาดอาเซียน จีน เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และชิลี แต่ละปีสร้างรายได้ก้อนโตเข้าสู่ประเทศ จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศที่เอื้อต่อการปลูกชา ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 350-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ชาเชียงราย เป็นใบชาสดที่มีคุณภาพดี เพราะเกษตรกรผู้ปลูกชาจะเก็บชา 1 ยอด และ 2 ใบชา ยอดกับก้านจะให้รสฝาด ใบแรกรองจากยอดจะให้รสขม ใบที่สองจะให้ความหอม จะได้ความฝาด-ขม-หอม รวมเป็นหนึ่ง รสชาติหอมละมุน กลมกล่อม ยอดชาที่เก็บเกี่ยวถูกส่งเข้าโรงงานทันทีเพื่อควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันชาและกาแฟ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) สมาคมชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงราย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (จีไอ) ชาเชียงราย เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 โดยสินค้าชาเชียงรายที่ได้มาตรฐาน จีไอ คือผลิตภัณฑ์ชาเขียว (ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก) และชาอู่หลง (ชาที่หมักเพียงบางส่วน) ที่ได้จากพันธุ์ชาอัสสัม และพันธ
เมื่อไปถึงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สถานที่สำคัญในการปฏิบัติธรรม และเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีพุทธ นั่นคือ วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดที่ตั้งอยู่บนเทือกเขานางนอน พื้นที่ของ “วัดถ้ำผาจม” เป็นหนึ่งในดินแดนมหัศจรรย์ เนื่องจากเคยเป็นที่ธุดงค์กัมมัฎฐานของพ่อแม่ครูอาจารย์สายปฏิปทาขององค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่มีความศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วัดถ้ำผาจม มีถ้ำพญานาค ทอดยาวไปถึงประเทศพม่า มีธรรมชาติที่ร่มรื่น ทำให้วัดถ้ำผาจมได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในพื้นที่สัปปายะของนักปฏิบัติธรรม และผู้ที่ชอบการท่องเที่ยวแบบวิถีพุทธ ภูมิประเทศของวัดถ้ำผาจมรายล้อมไปด้วยหินที่เรียงลดหลั่นกันไปมา เมื่อปีนขึ้นเขาสูง แต่กลับพบว่า ตัวเราเองยืนอยู่ในที่ต่ำ แวดล้อมด้วยหินผาที่ลดหลั่นกันเรียงไปมาอย่างน่าอัศจรรย์ บนยอดผาสูงของภูเขาถ้ำผาจม หลวงพ่อวิชัย เขมิโย เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาจม ได้เมตตาสร้าง “พระพุทธพิชิตมารประทานพร” ตั้งตระหง่านไปทางประเทศพม่า ฝั่งเมืองท่าขี้เหล็ก บนยอดเขาสูงสุดซึ่งเป็นที่ตั้งของพระพุทธพิชิตมารประทานพร มองไปจะเห็นธรรมชาติที่สวยงามขอ
น้ำชา ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดื่มประจำวันของชาวจีนเท่านั้น แต่ใบชายังเป็นสินค้าเครื่องบรรณาการของชาวจีนตั้งแต่สมัยโบราณ การดื่มชายังเป็นงานศิลปะ มีประวัติยาวนานมากว่า 3,000 ปี คนจีนและชาวญี่ปุ่นมีพิธีชงชาสำหรับเลี้ยงต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เพื่อแสดงมิตรภาพผ่านกาน้ำชา ขณะเดียวกันคนจีนยกย่อง “ชา” ว่า เป็นเครื่องดื่มเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ช่วยยืดอายุขัย นอกจากช่วยดับความร้อนในร่างกาย แก้กระหาย ขับปัสสาวะ ทำให้สมองปลอดโปร่ง สดชื่น ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้ว ยังแก้โรคท้องเสีย โรคบิด ลดไขมัน ลดความอ้วน บรรเทาอาการไอมีเสมหะ โรคหอบหืด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ชะลอความแก่ ต้านโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ดื่มน้ำชายามท้องว่าง โดยเฉพาะน้ำชาที่เข้มข้น เพราะน้ำชาจะไปกระตุ้นกระเพาะอาหารอย่างแรง ทำให้รู้สึกไม่สบาย นอกจากนี้ การดื่มน้ำชา ระวังอย่าให้น้ำชาร้อนจัดหรือเย็นจนเกินไป จะไม่เป็นผลดี และไม่ควรดื่มน้ำชาตอนกลางคืนหรือก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ จากหนังสือ “สุขภาพ” อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายสิทธิพงษ์ วงศ์จำปา (6 พฤศจิกายน 2553)