จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
De-BUGs เป็นนวัตกรรมสารกำจัดแมลงอินทรีย์แปรรูปจากเปลือกไข่ โดยเปลี่ยนโปรตีนเยื่อเปลือกไข่ให้เป็นสารออกฤทธิ์กำจัดแมลงศัตรูพืชประสิทธิภาพสูงด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่สร้างของเสีย (Zero-waste Process) เป็นสารอินทรีย์ 100% นอกจากจะทำหน้าที่กำจัดศัตรูพืชแล้ว De-BUGs สลายตัวตามธรรมชาติกลายเป็นแคลเซียม (Calcium) ธาตุอาหารรองสำหรับพืชทุกชนิด De-BUGs เป็นนวัตกรรมเพื่อเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ภายใต้แนวคิด BCG โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย De-BUGs มีประสิทธิภาพป้องกันและกำจัดเพลี้ย ไล่มดและหอยทาก ใช้ได้กับผักสวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ผลไม้ และพืชไร่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการตกค้างและอันตรายจากสารเคมีสำหรับเด็กและสัตว์เลี้ยง การพัฒนานวัตกรรม De-BUGs เกิดจากความร่วมมือจากนักวิจัย 3 หน่วยงาน ได้แก่ ดร.ดวงทิพย์ กันฐา, ผศ.วรพจน์ ศตเดชากุล และ น.ส.ณภาส์ณัฐ อู๋สูงเนิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ดร.นิตยา แก้วแพรก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทีมนักวิจัยได้รับทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมจาก วช. เพื่อแปรรูปและเพิ่มมูลค
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตามแนวคิดของ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ว่า “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ” ความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่มี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธ์ เป็น คณบดี ฯ และเครือซีพีจึงเกิดขึ้นเพื่อพัฒนา ‘POR-DEE’ หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้พอดีกับใบหน้าคนไทย มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้นำไปจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปบริจาคให้กับโรงพยาบาลจุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตามเจตนารมณ์ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือซีพี ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ฯ คณะแพทยศาสตร์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมชาย ธนวัฒนาเจริญ คณบดี สำนักวิชาการทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ และผู้บริหาร คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ เครือเจริญโภคภัณฑ์ นำโดย ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนองค์กร และ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะเภสัชศาสตร์ และ บริษัท ไอยรา แพลนเน็ต จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ หวังพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ตลอดจนการร่วมพัฒนาและทดสอบทางคลินิก ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อผลงานวิจัยไทยเสริมความแข็งแกร่งให้ตลาด Wellness คาดปี 2568 มูลค่ารวมตลาดเติบโต 1.33 แสนล้านบาท โดย ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพันธกิจสำคัญในการรับใช้สังคม เป็นเสาหลักของแผ่นดินในด้าน วิชาการ ซึ่งการนำผลงานวิจัยที่มีมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์จัดเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญ เพื่อให้งานวิจัยที่มี “จากหิ้งสู่ห้าง” อย่างแท้จริง ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับ บริษัท ไอยราแพลนเน็ต จำกัด มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปจากเดิมมากขึ้น มีความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่ให้คุณประโยชน์ ครอบคลุม หลากหลายสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวันยิ่งขึ้น ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาและทดสอบอาหารเสร
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เตรียมจัดงานคืนเหย้า “๑๐๗ ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” เชิญชวนนิสิตเก่าและปัจจุบัน พร้อมใจกันสวมเสื้อสีชมพู เข้าร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน เข้าฟรีไม่มีการจำหน่ายบัตร ในวันที่ 26 มีนาคม 2567 ณ สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ประธานการจัดงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ 2567 เปิดเผยว่า ในปีนี้ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เตรียมจัดงานคืนเหย้า “๑๐๗ ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 26 มีนาคม 2567 โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลักที่นำมาจากวรรคทองของบทเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” ในท่อน “ขอทูนขอเทิดพระนามไท พระคุณแนบไว้นิรันดร” ให้ชาวจุฬาฯ หวนรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 สืบสู่รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 โดยชาวจุฬาฯ ร่วมเทิดพระเกียรติด้วยความพร้อมใจกัน สำหรับงานในปีนี้จัดขึ้นระหว่าง เวลา 17.00-22.00 น. รับชมกิจกรรมการแสดงจากผู้แทนนิสิตเก่าและปัจจุบัน โดยมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การแสดง “๑๐๗ ปี จุฬ
โครงการเพาะรักษ์ ภายใต้มูลนิธิดั่งพ่อสอน และ Prime centre โดยกลุ่มนักธุรกิจจิตอาสาจากแบรนด์ต่างๆ อาทิ แบรนด์ Go Mamma, Prompt Care Academy (PCA), NEW SEASON Life connect, FITPUB Thailand และละอองฝน ร่วมกับ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรม Workshop สอนเย็บลูกบีบเพื่อนำไปส่งมอบให้กลุ่มผู้สูงอายุได้ใช้ฟื้นฟูสุขภาพต่อไป โดยมี นายลิม ยอง เทียน ผู้บริหารสูงสุดกลยุทธ์และสำนักประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) และ รศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง ชมรมสมองใสใจสบาย เพื่อผู้สูงวัยที่เกิดภาวะสมองเสื่อม ร่วมทำกิจกรรม โดยมีน้องๆ นักศึกษา จากคณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร ร่วมสร้างสีสัน และแชร์ประสบการณ์ระหว่างวัยกับผู้สูงอายุ ติดตามหรือสนับสนุนการทำงานของโครงการเพาะรักษ์ได้ที่ เพจเพาะรักษ์
ศูนย์อ้างอิงด้านเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) ขยายระยะเวลาอีก 4 ปี (2567-2570) สานต่อภารกิจเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาแห่งแรกแห่งเดียวในเอเชียแปซิฟิก เร่งดำเนินการสร้างขีดความสามารถทางห้องปฏิบัติการและอบรมพัฒนาบุคลากรในภูมิภาคฯ อย่างต่อเนื่อง ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความท้าทายในด้านความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยในการทำการเกษตรที่ทั่วโลกกําลังเผชิญอยู่ คือการเพิ่มขึ้นของเชื้อดื้อยาหรือแบคทีเรียที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของเชื้อดื้อยาส่งผลทำให้การควบคุมและรักษาโรคติดเชื้อทำได้ยากขึ้นหรือไม่สามารถทำได้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการแพร่ระบาด ความรุนแรงของการเจ็บป่วย และอัตราการเสียชีวิต ศูนย์อ้างอิงฯ ภายใต้การดำเนินงานของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนความพยายามระดับโลกเพื่อแก้ปัญหานี้ภายใต้การทำงานร่วมกับ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UN FAO) “จุฬาฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่ก
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนการวิจัยให้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อดำเนินการพัฒนานวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ขณะนี้ นวัตกรรมประสบความสำเร็จและมีคุณภาพสูง เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ฝีมือนักวิจัยไทย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการในภูมิภาคต่างๆ ในโอกาสนี้ วช.ได้บริหารการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม “นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก sPace” มอบให้แก่ โรงพยาบาลอุดรธานี และโรงพยาบาลศรีนครินทร จ.ขอนแก่น เพื่อให้ผู้พิการได้ใช้นวัตกรรมเท้าเทียมที่เป็นมาตรฐานระดับสากล โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ร่วมกันส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ให้กับ นายแพทย์ทรงเกียรติ เล็กตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรธานี และศาสตราจารย์ นายแพทย์ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร จังหวัดขอนแก่น ณ อาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษา ชั้น 9 โรงพยาบาล จังหวัดอุดรธานี ดร.วิภารัตน์ ดี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล จัดพิธีส่งมอบนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิก sPace คุณภาพสูง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ฝีมือนักวิจัยไทย ให้แก่ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน และมี นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ โดย รองศาสตราจารย์ ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ร่วมส่งมอบเท้าเทียมไดนามิก “sPace” ให้กับ แพทย์หญิงสิณีนาฎ เจนวณิชสถาพร หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีผู้บริหารโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีและตัวแทนผู้พิการ เข้าร่วมในพิธี ณ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส “sPace” ตอบโจทย์และสอดรับกับความต้องการของประเทศ ที่มุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้าง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย จนเกิดเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา ของการรักษาโรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม การผลิตหลอดเลือดเทียม เส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม การพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติ การทาเปลือกตาเทียม ทาแผ่นปิดแผลนำส่งยา การทาผิวหนังเทียม และกระดูกเทียม นวัตกรรมทางการแพทย์จากไหมไทยนี้ ศ.ดร.ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล และรศ. ดร.โศรดา กนกพานนท์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยเนื่องจากเห็นว่า ไหมไทยเป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ และมีสมบัติที่ดีเหมาะสมสำหรับนำมาใช้ทางการแพทย์ จึงดำเนินงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จนำมาใช้เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ได้ ปัจจุบันคณะผู้วิจัยสามารถพัฒนาระบบนำส่งยาและสารสำคัญ รวมถึงวิศวกรรมเนื้อเยื่อจากชีววัสดุไฟโบรอินที่สกัดจากรังไหมไทยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งไฮโดรเจล โครงสามมิติ แผ่นแปะ อนุภาคขนาดไมครอน เส้นใยขนาดนาโน เป็นต้น เพื่อประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์โดยเฉพาะระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์เพื่อรั
โรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกบางมาพร้อมความชรา เมื่ออายุมากขึ้น หลายสิ่งในร่างกายย่อมเสื่อมถอยตามกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นเส้นผมเปลี่ยนเป็นสีขาว ผิวหนังมีริ้วรอย สายตาเริ่มรางเลือน ไม่เว้นแม้แต่กระดูกที่ค่อย ๆ สูญเสียมวลแคลเซียมอย่างช้าตั้งแต่วัยล่วง 40 ปี และยิ่งเร็วขึ้นในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ผู้ชายก็เป็นโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน แต่อาจเกิดขึ้นช้ากว่าผู้หญิง ไม่ว่าจะอย่างไร เมื่ออายุเลย 70 ปีขึ้นไป เกินครึ่งมีภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนซุกซ่อนอยู่ วันหนึ่งข้างหน้า อาจกระดูกหัก และไม่รู้จะหายกลับเป็นปกติหรือไม่ ประมาณการกันว่า ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป กว่าร้อยละ 30 มีกระดูกพรุนเกือบทั้งหมดไม่รู้ตัวเลยว่ามวลกระดูกลดลงเร็วจนเสี่ยงอันตราย มีหลายโรคและภาวะผิดปรกติอื่น ๆ ที่อาจเร่งให้กระดูกพรุนเร็วขึ้น เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคทาลัสซีเมีย โรคเบาหวาน ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคเกลือเกิน ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญคือ การมองเห็นโครงสร้างขนาดเล็ก ๆ ของกระดูก ในระดับไมโครเมตรหรือนาโนเมตร ซึ่งเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์มาก เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ทั่วไปมองไม่เห็น แต่หากมีเครื่องมือพิเศษที่ช่วยนักวิจัยให้มอง