ช้าง
คุณวรกมล ทับทอง อยู่บ้านเลขที่ 26 หมู่ที่ 9 ตำบลคุ้งพยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สร้างงานสร้างอาชีพให้กับตัวเอง ในขณะที่อายุยังวัยหนุ่ม และจากเด็กหนุ่มธรรมดาที่มีใจรักในอาชีพไม้ดอกไม้ประดับจนสามารถเลี้ยงชีพตัวเองจากการปลูกกล้วยไม้ขาย ซึ่งน้อยคนมากที่จะเป็นแบบอย่างให้กับคนรุ่นใหม่เช่นนี้ได้ ที่มาที่ไปสำหรับเรื่องนี้ เกิดแรงบันดาลใจจากสวนกล้วยไม้ข้างๆ บ้าน ก็เลยเกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาอยากจะลองทำดู ในช่วงนั้นก็พยายามศึกษาพร้อมทั้งอาศัยความจำให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะทำเป็นอาชีพหลัก มาจนถึงทุกวันนี้ เริ่มสนใจจนสามารถทำได้ดี คุณวรกมล เล่าว่า เดิมทีมีความสนใจกล้วยไม้พันธุ์แวนด้าเป็นพิเศษ จากนั้นจึงมาเลี้ยงกล้วยไม้พันธุ์ช้างเพราะเห็นว่าจะไปได้ดี ส่วนในเรื่องของการตลาดก็กว้าง สำหรับสายพันธุ์ของกล้วยไม้พันธุ์ช้าง ได้มีการหาซื้อตามแหล่งต่างๆ บ้าง หรือไม่ก็ขยายเอง อาจจะส่งไปให้ทางแล็บ หลังจากนั้น ก็นำมาออกเป็นไม้จากขวด การส่งไปให้แล็บนี้ก็สามารถส่งได้ทั้งที่เป็นเมล็ดและต้นก็ได้ หลังจากที่ได้มีการนำไปขยายพันธุ์ในห้องแล็บแล้ว ระหว่างนั้นก็ต้องรอจนกว่าจะครบ 1 ปี จึงจะสามารถนำกล้วยไม้ที่ได้
เมื่อวันที่ 13 ก.พ. อินดิเพนเดนต์รายงานว่ามีช้างตกเฉลี่ย 4 ตัวต่อวันถูกนักล่าสัตว์แอบเข้าไปล่าอย่างผิดกฎหมายในอุทยานแห่งชาติของโมซัมบิก ตั้งแต่ปี 2554 ส่งผลให้ประชากรช้างที่เคยมีสูงถึง 12,000 ตัว ลดเหลือเพียง 1,500 ตัวในอุทยานแห่งชาติเท่านั้น การเปิดเผยดังกล่าวมาจากหน่วยงานที่ชื่อว่าเฟานา แอนด์ ฟลอรา อินเตอร์เนชั่นแนล หรือเอฟเอฟไอ หลังแสดงความกังวลว่าจำนวนช้างในอุทยานแห่งชาตินิอัสซา จะถูกฆ่าล้างจนสูญสิ้นจากกลุ่มนักล่าผิดกฎหมายติดอาวุธหนัก ช่วงสองเดือนที่ผ่านมามีช้างราวร้อยละ 5 ถูกล่าเพื่อเอางาช้างไปขาย นายมาร์ก โรส หัวหน้าจากหน่วยงานดังกล่าวระบุว่าอุทยานแห่งชาตินิอัสซาเป็นอุทยานแห่งท้ายๆ ของทวีปที่มีสัตว์ป่าหลากหลายสายพันธุ์ และต้องเผชิญหน้ากับการล่างาช้างและของผิดกฎหมายอื่นๆ เช่นสินแร่ /ภาพ conservationaction.co.za “มัเนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในระยะยาว และมันไม่ใช่เรื่องที่ฟังดูแล้วเหมือนกับการพูดโม้โอ้อวด รัฐบาลโมซัมบิกต้องเข้ามาจัดการวิกฤตโดยทันทีเพื่อลดจำนวนนักล่าผิดกฎหมาย” นายโรสกล่าว งาช้างผิดกฎหมาย / ภาพ Sunday Mirror ด้านนายแมตต์ ไรซ์ นักอนุรักษ์ธ
รั้วรังผึ้ง กรมอุทยานฯป้องกันช้างบุกบ้าน นักวิจัย ลุ้นระทึก ช้าง 60 ตัวออกจากป่าบุกบ้านชาวบ้านแก่งหางแมว แต่ต้องถอยกลับหมด เพราะโดนผึ้งไล่ เผย บ้าน 5 หลังเลี้ยงผึ้งรอบบ้าน 2 ปีมาแล้ว ช้างไม่กล้าเข้าใกล้เลย เมื่อวันที่ 25 มกราคม นายจิระชัย อาคะจักร หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) เปิดเผยว่า สถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง ได้นำต้นแบบการใช้ผึ้งมาป้องกันช้างป่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของชาวบ้านมาจากประเทศเคนยา โดยเบื้องต้นนำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ติดกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง และพื้นที่ อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ช้างป่ามักจะออกจากป่ามาทำลายพื้ชผลของชาวบ้านเป็นประจำ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในกล่อง แล้วแขวนทำเป็นรั้วล้อมรอบพื้นที่นาข้าว ปรากฏว่าได้ผลค่อนข้างดีมาก เพราะช้างไม่เข้ามารบกวนทำลายพืชผลของชาวบ้านเลย รั้วรังผึ้ง นางรชยา อาคะจักร นักวิจัยสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง หลักการของการเอาผึ้งไปป้องกันช้างป่าไม่ให้เข้ามาบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรม และบ้านเรือน คือ ให้ช้างกับผึ้งกับผึ้งมาเจอกัน
ผืนป่ากุยบุรี บ้านของคน และช้างป่า อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อยู่ร่วมกันใต้ร่มเงาของ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่จัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างที่ดีที่สุดในเอเชีย ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนชุมชนในพื้นที่ที่ช่วยกันหยุดยั้งการล่าสัตว์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี รวมถึง ปรับปรุง ฟื้นฟูแหล่งอาหาร และแหล่งน้ำของช้างป่าให้อุดมสมบูรณ์ เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเพื่อสนองพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซัมซุงจึงเดินหน้าสานต่อ “Samsung Love and Care” โครงการเพื่อสังคมระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโอเชียเนีย โดยครั้งนี้ได้ระดมพนักงานอาสาสมัคร ปรับปรุงพัฒนาผืนป่า และแหล่งอาหารสัตว์ป่า ด้วยการกำจัดวัชพืชในแปลงอาหารสัตว์ป่า สร้างโป่งดิน ปรับปรุงแหล่งน้ำ ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่จัดการความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างที่ดีที่สุดในเอเชีย นายกาญจนพันธุ์ กำแหง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เ
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่วังช้างแลเพนียด จ.พระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันทำกระทงขนาดใหญ่ที่ทำจากใบกล้วยและประดับด้วยดอกไม้นานาชนิดมีสีสันสวยงาม ให้พลายศรีมงคล อายุ 11 ปี และพลายภูเขาทอง อายุ 6 ปี ช้างแสนรู้และควาญช้างจากวังช้างแลเพนียด เพื่อลอยกระทงภายในบึงพระราม เป็นการแสดงสัญลักษณ์และเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวจ.พระนครศรีอยุธยา เทศกาลลอยกระทง ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ส่วนที่บริเวณพระราชนุสาวรียมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือทุ่งภูเขาทอง พระครูเกษมจันทวิมล หรือพระอาจารย์แดง เกจิชื่อดังของอยุธยา ได้จัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ ให้ประชาชนที่มาร่วมงานลอยกระทงได้อาบน้ำเพ็ญ ในช่วงเวลาเที่ยงคืนพระจันทร์วันเพ็ญจะเต็มดวง เพื่อความเป็นสิริมงคล พร้อมรับแจกวัตถุมงคลด้วย ตามประเพณีโบราณ ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงบ่ายจนถึงเย็นวันที่ 30 ตุลาคม นายฐานะ ทองสมุย หัวหน้าชุดเฝ้าระวังและติดตามช้างป่า อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวจังหวัดระนองและชุมพร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พร้อมด้วยนายวิถี กลิ่นนุ้ย และนายสุนทร วรดิษ สมาชิก อบต.เขาค่าย หมู่ 3 นายธนพล คงทอง สมาชิก อบต.เขาค่าย หมู่ 12 นายสมัย ธรรมเกษ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.เขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร นำคณะผู้สื่อข่าวเข้าสังเกตการณ์ กรณีช้างป่าจำนวน 11 ตัว ที่เข้ามาทำลายพืชผลอาสินของชาวบ้านในพื้นที่ ต.เขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร โดยทำได้เพียงเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย และใช้เวลาสังเกตการณ์ประมาณ 2.30 ชั่วโมง นายฐานะกล่าวว่า ช้างป่าโขลงนี้มาจากป่า อ.พะโต๊ะที่แยกออกจากฝูงมาหากินในพื้นที่ ต.เขาค่าย เพราะพื้นที่ป่าเหลือน้อย อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาวจังหวัดระนองและชุมพร ได้จัดชุดเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนเร็วที่เฝ้าติดตามช้างป่าฝูงนี้แต่ไม่สามารถเข้าใกล้ชิดได้ ที่ผ่านมาช้างป่าฝูงนี้ที่มี 11 ตัว เป็นตัวเมีย 9 ตัว เป็นลูกช้างตัวผู้ 2 ตัว ได้เข้าทำลายต้นทุเรียน มะพร้าว กล้วย เพื่อเป็นอาหาร จนพืชผลอา
ที่บ้านนาเกียน ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนหิน ที่เรียกว่า ดินดอย ทำให้การไถนาเพื่อปลูกข้าวทำได้ยากลำบาก สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายต่างๆ มากขึ้น นายพะก่า โหนะ ชาวกะเหรี่ยง พร้อมเพื่อน 2 คน ได้ทดลองนำช้างมาไถนา เพราะช้างเป็นสัตว์ใหญ่แข็งแรงกว่าวัว-ควาย และยังสามารถไถนาได้พื้นที่มากกว่า ในเวลาที่เท่ากัน โดย 1 แรงช้าง เท่ากับ 4 แรงงานวัว-ควาย ช้าง 1 เชือก สามารถลากคันไถได้ตั้งแต่ 1-4 คันไถ โดยไม่ต้องหยุดพักเหนื่อย เพราะการไถนาถือเป็นงานเบามากสำหรับช้าง ช้างเชือกแรกที่นำมาไถนาชื่อ ปุ๊น้อย (ตัวผู้น้อย) ช้าง 1 เชือก ต้องมีผู้ควบคุม 2 คน (บังคับช้าง 1 คน และถือคันไถอีก 1 คน) ชาวบ้าน ต.บ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ได้อนุรักษ์ประเพณีช้างไถนาไว้ให้ลูกหลาน และคนไทยที่สนใจได้เห็นสืบต่อไป แถมเป็นสถานที่ Unseen Thailand อีกแห่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้ สนใจเข้าชม ติดต่อสอบถามที่ อบต.นาเกียน หรือ ททท.สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลช้างของมูลนิธิเพื่อนช้าง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลช้างแห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลำปาง ได้รับตัวช้างเพศผู้ชื่อ ช้างพลายเด่นชัย อายุ 1 ปี 3 เดือน จากจังหวัดเชียงใหม่ เข้ามารักษา โดยช้างน้อยเชือกนี้ป่วยมีอาการกินอาหารน้อย และขอบตาแดง คาดว่าเนื่องจากได้รับเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ทำให้เจ้าของช้างจึงรีบนำช้างมาส่งยังโรงพยาบาลช้าง เพื่อทำการรักษา สัตวแพทย์เครือทอง ขยัน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลช้างของมูลนิธิเพื่อนช้าง จังหวัดลำปาง ได้ให้ยาปฏิชีวนะทันที และให้ยาวิตามินแก่ช้าง นอกจากนี้ ยังให้ยาต้านไวรัส ซึ่งใช้เป็นเม็ดป้อนให้กิน เนื่องจากสันนิษฐานว่า อาจจะได้รับเชื้อไวรัสชนิด EEHV หรือ “เฮอร์ปีส์ไวรัส” ในช้าง ซึ่งเป็นไวรัสอันตราย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อชีวิตได้ ซึ่งที่ผ่านมามีช้างน้อยที่ได้รับเชื้อชนิดนี้ และเกิดล้มตายลงหลายเชือกแล้ว ถือเป็นเชื้ออันตรายที่คร่าชีวิตประชากรช้างน้อยไทยเป็นจำนวนมาก ทางคณะสัตวแพทย์เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันผลว่าติดเชื้อ EEHV หรือไม่ และจะดูแลรักษาอาการช
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตากว่า บรรดาควาญช้างบ้านปูเต้อ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด ที่กำลังไปร่วมงานวันช้างไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยอบต.แม่กุ และมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ณ วัดบ้านปูเต้อ ได้อาบน้ำ ใช้รถน้ำของท้องถิ่นฉีดน้ำให้ช้าง เพื่อให้ความชุ่มเย็นก่อน ที่จะนำเข้าไปร่วมงานวันช้างไทย เนื่องมาจากสภาพอากาศเริ่มร้อน จะทำให้ช้างมีปัญหาได้ นายผจญ สุวรรณคำพรรณ อดีตควาญช้างบ้านปูเต้อ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่กุ อ.แม่สอด จังหวัดตาก กล่าวว่า สถานการณ์ช้างที่บ้านปูเต้อเริ่มดีขึ้น เมื่อควาญช้าง เริ่มสำนึกถึงลูกหลาน โดยการไม่ยอมขายช้างแล้ว เพราะต้องการเอาช้างไว้ให้ลูกหลาน ซึ่งเชื่อว่า ปีนี้ มีช้าง จำนวน กว่า 30 เชือก ไปร่วมงานวันช้าง แม้ว่า จะมีช้างในหมู่บ้านที่ตายไป 2 เชือกก็ตาม สำหรับการจัดกิจกรรมช้างปีนี้ มี การสะเดาะเคราะห์ช้าง มัดข้อเท้าช้าง เลี้ยงอาหารช้าง และการแสดงของคน และช้าง ในบริเวณวัด ซึ่งเริ่มมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
วันที่ 9 มีนาคม 2560 เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ลานแสดงช้าง ภายในศูนย์คชศึกษาสุรินทร์ บ.ตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ เจ้าหน้าที่ของ อบจ.สุรินทร์ และควาญช้างที่ร่วมโครงการนำช้างคืนถิ่นเพื่อพัฒนาสุรินทร์บ้านเกิด ของ อบจ.สุรินทร์ ได้ร่วมกันซักซ้อมการแสดงช้าง ในฉากต่างๆรวม 6 องค์ หรือ 6 ฉากการแสดง เพื่อเตรียมแสดงใน”วันช้างไทย” 13 มีนาคม 2560 นี้ ประกอบด้วย องค์ที่ 1 การแสดงชื่อ”สุรินทร์ถิ่นอารยะธรรม” เล่าถึงช้าง ที่มีบทบาทต่อประวัติศาสตร์ชาติไทยมาช้านาน ทั้งในฐานะที่เป็นกำลังสำคัญในการปกป้องและกอบกู้บ้านเมือง ทั้งในบานะที่เป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำประเทศไทย และประดับช้างเผือกไว้ในธงชาติไทย และเป็นสัตว์มงคลคู่พระบารมีพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 26 พ.ค.2541 กำหนดให้วันที่ 13 มี.ค.ของทุกปี เป็นวันช้างไทย เพื่อยกย่องให้เกียรติช้างว่าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญและคุณูปการอย่างยิ่งยวดต่อชาติไทยอีกครั้ง นอกเหนือจากเกียรติภูมิที่เคยได้รับในอดีต โดยจะมีช้างแต่งสวยงาม 1 เชือก เกวียนผ้าไหมยาวที่สุดในโลกกลุ่มนักแสดง 3 ชาติพันธ์ เดินต่อแถวออกมาพร้อมกัน และการแสดงของกลุ่มชาติพ