ถนนยางพารา
ชาวสวนยางพัทลุงโวยนโยบายรัฐอุ้มสวนยางไร้ผล เหตุ อปท. บางพื้นที่ ไม่มีงบประมาณลุยทำ “ถนนยางพาราซอยล์ซีเมนต์” ส่งผลราคาน้ำยางสดไม่ขยับ นายไพรัช เจ้ยชุม ประธานกรรมการ ชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางจังหวัดพัทลุง จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้สวนยางพาราส่วนใหญ่เข้าสู่ฤดูกาลผลัดใบ ชาวสวนยางพาราจังหวัดต่างๆ จะเริ่มทยอยหยุดกรีด ยกเว้นที่ จ.พัทลุง ยังสามารถกรีดได้ 1-2 เดือน ส่งผลให้ปริมาณยางพาราจะเริ่มหดหายไปจากตลาด แต่ราคาน้ำยางสดกลับไม่ขยับขึ้นมากนัก โดยภาวะราคาน้ำยางสดไม่สมดุลกับยางแผ่นรมควัน เช่น ยางพารารมควัน ราคา 44 บาทเศษ/กก. ขณะที่น้ำยางสดอยู่ที่ 41 บาท/กก. ทั้งที่การผลิตยางแผ่นรมควันมีต้นทุนการผลิตประมาณ 5-7 บาท/กก. “ปัจจัยสำคัญที่จะดันให้ราคาเคลื่อนไหวได้ คือ นโยบายโครงการถนนยางพารา 1 หมู่บ้าน 1 กม. โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นำน้ำยางพาราไปสร้างถนนยางพาราซอยล์ซีเมนต์ 7.5 หมื่นหมู่บ้าน วงเงินรวม 9.23 หมื่นล้านบาทนั้น จนถึงตอนนี้ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย เพราะ อปท. เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด บางแห่งมีงบประมาณ แต่บางแห่งไม่มีงบประมาณ ดัง
ทุกวันนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกล ทำให้มนุษย์ทำงานได้ง่ายขึ้นก็จริง แต่การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมและมีผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน จึงช่วยให้องค์กรนั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่นเดียวกับ “วิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง” แม้จะเพิ่งเริ่มต้นดำเนินงานได้ไม่นาน แต่มีผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถ นำมาพัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จ กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านแปรรูปยางพาราระดับแนวหน้าของจังหวัดบึงกาฬ ที่ผู้สนใจจากทั่วประเทศสนใจเข้าแวะเยี่ยมชมกิจการตลอดทั้งปี ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนยางพาราเหล่าทอง ตั้งอยู่เลขที่ 65/10 บ้านเหล่าเงิน ตำบลเหล่าทอง อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ โทร.093-696-2999 กลุ่มฯ แห่งนี้อยู่ภายใต้การนำของประธานกลุ่มฯ คือ “คุณธนวณิช ชัยชนะ” หรือ “คุณอ๊อด” ซึ่งเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่สวมหมวกหลายใบในฐานะประธานเกษตรแปลงใหญ่ จังหวัดบึงกาฬ คุณอ๊อดยังมีธุรกิจส่วนตัว ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีแก้วรับเบอร์เทค จำกัด และ บริษัท ชัยชนะฟาร์ม จำกัด จุดเริ่มต้น เกษตรกรชาวสวนยางพาราในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย นิยมปลูกต้นยางพาราพันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ RRIM 600 และ RRIT 251 แล
ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย ซึ่งผลิตและส่งออกทำรายได้มูลค่ามากกว่าแสนล้านบาท ในปี 2553-2555 เกษตรกรขายยางพาราได้ราคาดี จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกยางพารานับล้านไร่ในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยไม่มีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก ในช่วงปี 2557-2561 ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา ยุโรปฯลฯ จึงหันไปใช้ยางสังเคราะห์ที่มีราคาถูกเพื่อลดต้นทุน ทำให้ราคายางพาราในช่วง 5 ปีหลังปรับตัวลดลงเรื่อยๆ สวนทางกับปริมาณผลผลิตยางพาราภายในประเทศของไทยที่มีจำนวนมากขึ้น ปัญหาราคายางตกต่ำส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจำนวนมาก รัฐบาลจึงออกมาตรการต่างๆ มาช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนยางพร้อมสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ หันมาใช้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น สร้างถนนยางทุกหมู่บ้านทั่วไทย เดือนธันวาคม 2561 รัฐบาลประกาศเดินหน้า “โครงการถนนยางพารา 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร” โดยสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำน้ำยางพาราไปใช้สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ ทั่วประเทศ จำนวน 75,032 หมู่บ้าน หมู่บ
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.อ.เจษฎา เฟื่องฟู ผู้บังคับกองพันทหารช่างที่ 402 กองพลพัฒนาที่ 4 กล่าวถึง ปัญหาถนนพาราดินซีเมนต์ชำรุด สายเลียบคลองชลประทานฝั่งขวา ตำบลพรุเตียว อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ กว้าง 6 เมตร ยาว 2,000 เมตร ว่า เนื่องจากว่า เป็นการปฏิบัติงาน ในช่วงฤดูฝน ที่มีฝนตกลงมาเกือบทุกวัน ทำให้บางวันที่ปฏิบัติงานบดอัดถนน เกิดมีความชื้นสูงกว่าปกติ ทำให้เปอร์เซ็นต์การบดอัด ในวันดังกล่าวทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่จะเป็นแค่เฉพาะจุดบางจุดของถนน เท่าที่เห็นในภาพขาว เท่านั้น ไม่ได้เป็นตลอดทั้งสาย และตามที่ ข่าวรายงานว่า ทหารช่าง จะเข้ามาแก้ไข โดยการเอาหิน มาโรยหน้านั้น แท้จริงแล้ว ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เรื่องจริงก็คือ นายช่างโยธา ของตำบลพรุเตียว เป็นคนเสนอแนวความคิดว่า ถนนดินลูกรัง เป็นชั้นรองพื้นทางที่ดีมีคุณภาพ ตามมาตรฐานของกรมทางหลวงอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ผิวถนนดินลูกรังเมื่อโดนน้ำฝนแล้วจะมีความลื่น จึงได้เสนอว่าอยากให้แค่เพียงเอาหินผุมาโรยหน้าบางๆ ก็ใช้ได้แล้ว ซึ่งเป็นเพียงการเสนอแนวความคิดของนายช่างเท่านั้น แต่ไม่ได้ปฏิบัติจริง สำหรับแนวทางการแก้ไข คือ ในวันที่ 21 ธันวาคม จะดำเนินการเ
การจัดงานวันยางพาราบึงกาฬ 2562 ในวันที่ 3 ตรงกับช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ มีเกษตรกรและประชาชนสนใจเข้าร่วมชมงานกันอย่างคึกคักตลอดทั้งวัน โดยช่วงบ่าย เปิดเวทีปราชญ์ชาวบ้าน เสวนาพร้อมความรู้ สู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน มีผู้สนใจเข้ารับฟังเสวนาในหัวข้อต่างๆ เป็นจำนวนมาก สร้างถนนยางทุกหมู่บ้านทั่วไทย ดึงยางจากตลาดได้ถึงร้อยละ 50 เวทีเสวนา “ ถนนยางพาราดินซีเมนต์ ทางรอดของการใช้ยางพารา ” ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. ระพีพันธ์ แดงตันกี รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนางานวิจัยและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และคุณนิพนธ์ คนขยัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ (อบจ.บึงกาฬ) ร่วมแชร์ข้อมูลการสร้างถนนยางพาราดินซีเมนต์ บนเวทีเสวนาในครั้งนี้ ผศ.ดร. ระพีพันธ์ เปิดเผยว่า ถนนยางพารา เกิดจากงานวิจัยเมื่อปลายปี 2556 และเปิดตัวเป็นครั้งแรกในงานวันยางพาราบึงกาฬเมื่อ 3 ปีที่แล้ว งานวิจัยชิ้นนี้ได้แรงบันดาลใจจาก นวัตกรรมสร้างถนนของเยอรมัน ที่ประสบปัญหาการก่อสร้างถนนที่มีความชื้นสูง ทำให้ถนนทรุดได้ง่าย จึงพัฒนาการรักษาคุณภาพถนนรูปแบบใหม่ เรียกว่า “ ถนน
กรมชลประทานพอใจผลงานโครงการไทยนิยมยั่งยืนขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ท้องถิ่น แก้ปัญหาสังคม สร้างมั่นคงในระดับพื้นที่ สั่งเร่งเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างด้านแหล่งน้ำชลประทาน รับซื้อน้ำยางเกษตรกรแล้วจำนวน 848.59 ตันมาใช้ทำถนนยาวกว่า 400 กม. พร้อมจ้างงานภาคเกษตรกรรมทะลุเป้าเกือบหมื่นราย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการไทยนิยมยั่งยืนของกรมชลประทานว่า ขณะนี้ ได้ทำการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วร้อยละ 42 หรือประมาณ 5,700 ล้านบาท โดยนำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างด้านแหล่งน้ำชลประทาน การส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานภาครัฐ และการจ้างแรงงานชลประทาน ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากระดับชาติสู่ระดับพื้นที่ ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง สำหรับการนำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างด้านแหล่งน้ำชลประทานนั้น จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการฟื้นฟูแหล่งน้ำชลประทานเพื่อบรรเทาเหตุอุทกภัยและภัยแล้ง โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดพื้น
รมว.เกษตรระบุว่า อบจ. หนองบัวลำภู เร่งรับซื้อน้ำยางจากสหกรณ์สวนยางในจังหวัดมาทำถนนถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศ หวังผลให้ราคายางพาราขยับสูงขึ้น เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จังหวัดหนองบัวลำภูว่า ได้ประสานงานกับองค์การบริหารงานส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี ทาง อบจ. อนุมัติงบประมาณสร้างถนนงานดินซีเมนต์ผสมยางพาราเป็นแห่งแรกเป็นถนนสาธิต ตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐ โดย อบจ. หนองบัวลำภู ซื้อน้ำยางสดจากกลุ่มเกษตรกรห้วยเดื่อ 1,200 กิโลกรัม และจากสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนทันยางทอง จำกัด 1,200 กิโลกรัม มาทำถนนยางพารา ที่หมู่ 4 บ้านหินลับ ตำบลหนองสวรรค์ อ. เมืองหนองบัวลำภูแล้ว ทั้งนี้ตามรายงานระบุว่า จากราคาซื้อขายที่กรุงเทพฯ อยู่ที่กิโลกรัมละ 36 บาทนั้น กลุ่มเกษตรกรต้องมีค่าใช้จ่ายในการนำแอมโมเนียและสารกันกอกเพื่อป้องกันยางจับตัวเป็นก้อนมาใส่ในน้ำยางสด รวมทั้งค่าขนส่งเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 10.23 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ทาง อบจ. รับ
เมื่อวันที่ 8 มกราคม นายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา กล่าวว่า อบจ.สงขลาให้ความสำคัญในการนำยางพารามาเป็นส่วนผสมในการทำถนนมาหลายปีแล้ว พบว่าถนนมีความทนทานในการรับงานหนัก แม้การลงทุนจะมีต้นทุนสูงขึ้น ทางอบจ.ได้มีการตั้งงบประมาณการปรับปรุงหรือทำถนนสายใหม่ เน้นการใช้วัตถุดิบจากยางพาราเป็นส่วนผสมร่วมกับยางมะตอยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ เพื่อมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องชาวสวนยาง และพบว่า อบจ.ในหลายจังหวัดให้ความสนใจ หันมาใช้ยางพาราทำถนนเพิ่มมากขึ้น สำหรับอบจ.สงขลา ตั้งเป้าก่อสร้างถนนที่มีส่วนผสมจากยางพาราในปี 2561 เพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา อีกอย่างน้อย 10 สาย ในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย คลองหอยโข่ง นาทวี หาดใหญ่ นาหม่อม สะเดา สะบ้าย้อย ใช้งบประมาณ ไม่น้อยกว่า 140 ล้านบาท ที่มา : มติชนออนไลน์
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา หลายหน่วยงานมีความต้องการจะใช้ยางภายในประเทศ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องของมาตรฐาน การจัดซื้อ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ขณะเดียวกันแต่ละหน่วยงานไม่ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้ จึงจำเป็นต้องการมีการจัดประชุมในครั้งนี้ เพื่อทบทวนหารือร่วมกัน ทั้งนี้ ได้มีการสรุปการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ 2560 (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ก.ค. 2560) ซึ่งมีจำนวน 9 หน่วยงานยื่นความจำนงใช้ยางพารา ได้แก่ 1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2. กระทรวงกลาโหม 3. กระทรวงคมนาคม 4. กระทรวงศึกษาธิการ 5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. กระทรวงสาธารณสุข 7. กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 8. กระทรวงมหาดไทย และ 9. กรุงเทพมหานคร มีการใช้ยางพารา รวมปริมาณน้ำยางข้น 22,321.54 ตัน และยางแห้ง 2,952.66 ตัน (จากเดิม น้ำยางข้น 20,964.8009 ตัน ยางแห้ง 3,512.0781 ตัน ณ วันที่ 29 มิ.ย. 2560) รวมเงินงบประมาณทั้งสิ้น 16,925,626,588.57 บาท สำหรับปี 2561 มี 5 หน่วยงานที่ยื
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ศาลาประชาคมหมู่บ้านเบื้องแบบ หมู่ 3 ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้และสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.)ได้จัดเสวนา “ทางเลือก ทางรอด ชาวสวนยางไทย” ประกอบด้วยนายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การยางแห่งประเทศไทย นายบุญส่ง นับทอง เลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.)และนายภูวนาท โง้วสุวรรณ ฝ่ายการตลาด คลินิกนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โดยมีนายสมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ดำเนินการอภิปราย และมีประชาชนจำนวนหนึ่งร่วมรับฟัง นายภูวนาท กล่าวว่า มหาวิทยาลัยได้คิดค้นสารเคมีตัวหนึ่งมาพัฒนายางพาราทำเป็นถนนยางพาราซีเมนต์ โดยใช้ส่วนผสม3อย่างมีสารเคมีกับน้ำยางพาราและดินหรือปูน ซึ่งสามารถนำน้ำยางสดมาทำถนนที่หน้างานได้ทันที โดยถนนกว้าง 6 เมตร ยาว 1,000 เมตร หนา 15 ซ.ม.ใช้น้ำยางสด 12,000 กิโลกรัมหรือยางแห