ถั่วเหลือง
พาณิชย์เปิดยื่นคำขอรับการจัดสรรนำเข้าสินค้ากากถั่วเหลืองเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเพื่อมนุษย์บริโภค และเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามความตกลงการเกษตรตามโควตา WTO ปี 2560 ปริมาณ 2.3แสนตัน นายวันชัย วราวิทย์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ประเทศไทยได้ดำเนินการเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามพันธกรณีตามความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) โดยคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2560 และคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 มีมติเห็นชอบกำหนดปริมาณเปิดตลาดและอัตราภาษีในและนอกโควตาสินค้ากากถั่วเหลืองเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเพื่อมนุษย์บริโภค ตามพิกัดอัตราศุลกากร 2304.00.90.002 และเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามพิกัดอัตราศุลกากร 2304.00.90.090 สำหรับปี 2560 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ออกระเบียบเปิดตลาดเพื่อจัดสรรปริมาณนำเข้าในโควตาสินค้าดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างส่งระเบียบฉบับดังกล่าวไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยปี 2560 ได้กำหนดปริมาณที่จะจัดสรรสำหรับสินค้ากากถั่วเหลืองเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเพื่อมนุษย์บริโภค และเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม
คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าถั่วเหลือง 3 ปี ภายใต้ WTO โดยไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 ระบุ ผู้มีสิทธินำเข้า 3 กลุ่ม ต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองจากเกษตรกรภายในประเทศ ตามชั้นคุณภาพ ในราคาไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กำหนด ได้แก่ เกรดสกัดน้ำมัน เกรดผลิตอาหารสัตว์ และเกรดแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ในราคากิโลกรัมละ 17.50 บาท 17.75 บาท และ 19.75 บาท ตามลำดับ นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 เห็นชอบการเปิดตลาดนำเข้าถั่วเหลือง 3 ปี ภายใต้กรอบ WTO โดยให้นำเข้าไม่จำกัดปริมาณ ในอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 ซึ่งมีเงื่อนไขให้ผู้มีสิทธินำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศจากเกษตรกรทั้งหมดในราคาที่กำหนดตามชั้นคุณภาพ โดยปรับราคารับซื้อขั้นต่ำเพิ่มขึ้นจากปี 2559 กิโลกรัมละ 2 บาท ทุกชั้นคุณภาพ สำหรับการเปิดตลาดนำเข้าถั่วเหลือง เป็นไปตามมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เป็นประธาน โดยผู้มีสิทธินำเข้ามี 3 กลุ่ม ได้แก่
เมื่อวันที่ 12 มกราคม น.ส.จิตตานันท์ กิจวรสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า หลังจากท้องฟ้าครึ้มและมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องใน จ.น่าน ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ฤดูหนาวกลับไม่หนาวแต่มีฝนตกลงมาคล้ายฤดูฝน จากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป แม้ข้อดีคือ โอกาสแล้งจะน้อยลง แต่ก็ทำให้คนน่านและนักท่องเที่ยวต่างพากันผิดหวัง รวมทั้งยังทำให้ข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวอยู่บนภูเขา เมื่อเจอน้ำฝนอย่างต่อเนื่องจะมีความชื้นสูง เกิดเชื้อราและรากงอก เก็บมาขายก็จะไม่ได้ราคา รวมถึงพืชผักสวนครัวหรือสวนผลไม้ต่างๆ ก็ได้รับผลกระทบลักษณะเดียวกัน “หรือถ้าฝนหยุดตกอุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนชื้น เชื้อราจะชอบมาก เพราะฉะนั้นเกษตรกรต้องดูแลพืชผลของตนเอง” นางสาวจิตตานันท์กล่าว และว่า ประการที่สองผลกระทบที่เห็นชัดเจน นอกจากข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวไม่ทันคือ พริก มะขามหวาน เมื่อเจอฝนช่วงนี้ทำให้เกิดเชื้อรา ประการที่สามผู้ปลูกถั่วเหลืองสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์ จำหน่ายให้เกษตรกรปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ก็จะเกิดเชื้อราอีกเช่นเดียวกัน รวมพื
คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์ นอกจากถั่วเหลืองจะมีดีตรงที่ไม่มีน้ำตาลแล็กโทสแล้ว ยังช่วยลดไขมันในเลือด และชะลอความ “ภาวะไขมันในตับ” ที่อาจเรื้อรังจนเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดร.ฮง เฉิน นักโภชนาการจากมหาวิทยาลัยรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ทดสอบนักเรียนชั้นประถม ตั้งแต่ 6-12 ขวบ โดยให้เด็กๆ เลือกทานสารพัดเมนูถั่วเหลือง ทั้ง นมถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ และซุปเต้าหู้ เป็นเวลานาน 1 สัปดาห์ แล้วจึงตรวจร่างกาย เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับปริมาณไขมันส่วนเกินก่อนการทดลอง จนพบว่า ลดระดับไขมันไตรกลีเซอ ไรด์ในเลือด ต้นเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด ระบบประสาทบกพร่อง และยังส่อแววช่วยลดไขมันสะสมในตับได้อีกต่างหาก เพราะถั่วเหลืองมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลและไขมันตัวร้าย ก่อนที่หนูน้อยนักหม่ำจะป่วยออดๆ แอดๆ เพราะโรคอ้วน และอาการลงพุงในอนาคต
สวง โฮสูงเนิน รายงาน นายวรกุล บุตรดาจักร หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช รักษาราชการแทนเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า เมื่อหมดฤดูการทำนาปีแล้ว จำเป็นต้องแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรังในส่วนที่ทำได้ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฟักสด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ทานตะวัน และพืชผักอื่นๆ ซึ่งพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศ์กเมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาปรังข้าวจะใช้น้ำถึง 5 เท่าคือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่การปลูกพืชอายุสั้นนั้นการเตรียมดินจะยุ่งยากเนื่องจากดินนาส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว การระบายน้ำค่อนข้างเลว จึงต้องเตรียมดินให้ร่วนแล้ว ทำร่องช่วยระบายน้ำและเป็นการเพิ่มความลึกของหน้าดิน หากการะบายน้ำออกไม่ได้หรือน้ำยังท่วมขังไม่ควรปลูกพืชอายุสั้นใดๆ ขอแนะนำการปลูกพืชอายุสั้น ควรปฏิบัติดังนี้ 1.ระยะเวลาปลูก ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน,ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกในช่วง 15 ธันวาคม- 15 มกราคม เพราะช่วงนี้ดินมีความชื้นสูง และพืชเหล่านี้ยังทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี ข้าวโพดฝักอ่อนสามารถปลูกได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถั่วเขียวควรปลูกใ
เพื่อนสนิทของผมคนหนึ่งเคยบอกไว้นานแล้วว่า “ความรู้เป็นที่มาของความรู้สึก” คือเขาเชื่อว่า เมื่อใดเราล่วงรู้เรื่องราว รายละเอียด เงื่อนไขข้อแม้ต่างๆ ไม่ว่าจะของคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ตาม เราจะ “รู้สึก” ต่อสิ่งนั้นได้มากขึ้น ในแง่นี้ ความรู้จึงมีสถานะเป็นเครื่องปรุงแต่งทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง แม้ว่าในทางปฏิบัติ มันจะต้องอาศัยสิ่งอื่นๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของความรู้นั้นๆ กระทั่งการยอมเปิดใจที่จะรับรู้ ซึ่งก็ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน เรื่องนี้ผมเชื่อเพื่อนมาตั้งแต่แรกได้ยินเขาพูด และในกรณีของกับข้าวกับปลา วัตถุดิบ การปรุงรสอาหาร ฯลฯ ที่ก็อาจนับว่าเป็นศาสตร์อันลึกซึ้งละเอียดอ่อนนั้น ผมคิดว่าคำพูดของเขาช่างเป็นเรื่องจริงเอาเสียจริงๆ ความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่ความรู้สึกเชิงโภชนารมณ์นั้นเป็นของที่ยังมีอยู่มาก และหลายครั้งก็อยู่รอบๆ ตัวเรานี้เอง … กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้อาศัยติดตามคณะทำงาน “กินเปลี่ยนโลก” มูลนิธิชีววิถี ไปดูขั้นตอนการทำซีอิ๊วขาวและเต้าเจี้ยว ตราช้อนทอง ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปแม่บ้านสันป่ายาง อำเภอแม่แตง เชียงใหม่ ทั้งซีอิ๊วขาวและเต้าเจี้ยวที่