ถั่วเหลือง
ในระยะนี้จะมีสภาพอากาศแห้งแล้ง กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเฝ้าระวังติดตามการระบาดของหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่วใน 2 ระยะ คือ ช่วงถั่วเหลืองปลูกใหม่อายุไม่เกิน 14 วัน มักพบหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่วเข้าทำลายถั่วเหลืองตั้งแต่ระยะต้นกล้า เมื่อหนอนฟักออกมาจากไข่จะชอนไชตามเส้นใบไปที่ก้านใบ เพื่อเข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อที่บริเวณไส้กลางลำต้น ทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองลดลงมากกว่า 40% เกษตรกรควรคลุกเมล็ดถั่วเหลืองก่อนปลูกด้วยสารฆ่าแมลงอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิลยูเอส อัตรา 2 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือพ่นด้วยสารฆ่าแมลงไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน พ่นครั้งแรก เมื่อใบจริงคู่แรกคลี่ออกมาเต็มที่ หรืออายุประมาณ 7-10 วันหลังถั่วเหลืองเริ่มงอก
บางคนบอกว่า ไม่เคยกินถั่วเหลืองเลยสักครั้ง ซึ่งท่านอาจนึกไม่ถึงว่าทุกวันนี้เราได้รับโปรตีนจากถั่วเหลืองเข้าไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้ เช่น ตื่นขึ้นมาตอนเช้าออกไปซื้อน้ำเต้าหู้หน้าปากซอย ซึ่งก็ทำมาจากถั่วเหลืองนั่นเอง บางคนบอกไม่กินอาหารไทยตอนเช้าๆ แต่โปรดปรานอาหารฝรั่ง ต้องกินขนมปัง ไข่ดาว ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม ที่ต้องบอกว่า อุดมไปด้วยไขมันและคอเลสเตอรอลทั้งสิ้น แต่ถึงยังไงๆ อาหารเหล่านั้นก็ต้องเหยาะซอสปรุงรสสีดำๆ ที่ใครๆ ต่างก็เรียกว่า ซีอิ๊ว และซอสปรุงรส โดยเครื่องปรุงรสเหล่านั้นต่างก็ทำมาจากถั่วเหลืองทั้งนั้น พอถึงช่วงกลางวันกินอาหารเที่ยงสั่งผัดผักรวม เขาก็เหยาะซีอิ๊วขาวที่ทำจากถั่วเหลืองลงไปอีก และพอตกเย็นกิน ข้าวต้มกุ๊ย สั่งผัดผักบุ้งไฟแดง และผัดถั่วงอกเต้าหู้อาหารจานโปรด ซึ่งเต้าหู้และเต้าเจี้ยวต่างล้วนแล้วแต่ทำจากถั่วเหลืองอีกนั่นแหละ ซีอิ๊ว และ ซอสปรุงรส (หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวได้จากการย่อยโปรตีนของถั่วเหลืองด้วยการหมักหรือกรรมวิธีอื่นที่เหมาะสม และจะแต่งรสหรือสีหรือไม่ก็ได้ หรือเครื่องปรุงรสอย่างน้ำปลา ทำด้วยถั่วเหลือง น้ำปลาถั่วเหลือง ก็เรียก อย่างใส เรียกว่า ซีอิ๊วขาว อย่า
ในระยะนี้จะมีสภาพอากาศแห้งแล้ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองเฝ้าระวังการระบาดของหนอนม้วนใบและหนอนกระทู้ผัก สามารถพบได้ในระยะที่ต้นถั่วเหลืองอายุประมาณ 1 เดือน เกษตรกรควรสังเกตหนอนม้วนใบ มักพบหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ชักใยบางๆ คลุมตัวไว้แล้วกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกระจายกันออกไปทั่วทั้งแปลง เพื่อสร้างใยยึดใบพืชจากขอบใบของใบเดียวเข้าหากัน หรือชักใยดึงเอาใบมากกว่า 2 ใบมาห่อรวมเข้าหากัน และอาศัยกัดกินอยู่ในใบที่ห่อม้วนนั้นจนหมด จึงเคลื่อนย้ายเข้าไปทำลายใบอื่นต่อไป สำหรับในระยะก่อนออกดอกถึงระยะฝักยังเขียวอยู่ หากพบใบถูกทำลาย 30% หรือในระยะหลังดอกบาน 4 สัปดาห์ กรณีพบใบถูกทำลาย 60% ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร นอกจากนี้ เกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังการระบาดของหนอนกระทู้ผัก จะพบหนอนเข้าทำลายตั้งแต่ต้นถั่วเหลืองเจริญเติบโตทางลำต้นและใบจนถึงระยะออกดอกและติดฝัก โดยหนอนที่ฟักออกม
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองนั้นมีมากมาย ไม่เฉพาะในแถบเอเชียบ้านเราเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปยังอเมริกา และยุโรป แต่ว่าเขาเริ่มหันมานิยมกันทีหลังเราเท่านั้นเอง และผู้นำในด้านการใช้ถั่วเหลืองจริงๆ คือ ประเทศจีน เพราะอาณาจักรนี้มีการปลูกถั่วเหลืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อาจจะเป็นพืชชนิดแรกๆ ที่คนเริ่มปลูกกัน ต่อจากนั้นอีกหลายๆ ศตวรรษจึงได้แพร่หลายไปญี่ปุ่น ในศตวรรษหลังๆ ต่อมา ประเทศญี่ปุ่น ได้รับเอาวัฒนธรรมการกินและประเพณีมาจากจีนเยอะมากแต่ค่อยๆ นำมาดัดแปลง สำหรับประเทศอเมริกานั้นเพิ่งรู้จักถั่วเหลืองเมื่อ 100 กว่าปีนี่เอง ราวปี ค.ศ. 1804 แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดของโลก ตามมาด้วยบราซิล จีน อิตาลี อาร์เจนตินา ปารากวัย อินโดนีเซีย แคนาดา รัสเซีย และประเทศไทยเราเองก็มีการปลูกถั่วเหลืองส่งออกเหมือนกัน ในประเทศอเมริกาจะเน้นหนักการใช้โปรตีนจากถั่วเหลืองมาเพิ่มโปรตีนในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และอาหารจากแป้งต่างๆ ไม่ได้นำมาผลิตเป็นถั่วเน่าเหมือนทางแถบเอเชีย แต่ก่อนเคยมีการจัดประกวดซอสปรุงรสถั่วเหลืองจากทั่วโลก และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุด ผลปรา
‘สมคิด’ นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เตือนกระทรวงเกษตรฯ ศึกษาข้อมูลพืชเกษตรรายประเภท ผลักดันให้แข่งขันเพิ่มและหามาตรการรองรับหากไม่มีศักยภาพในการแข่งขัน ที่ประชุมมีมติชะลอการเปิดตลาดมะพร้าว-เปิดตลาดการนำเข้าถั่วเหลือง นายลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 3/2561 มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า นายสมคิดมีข้อสั่งการให้ดูแลสินค้าเกษตรทั้งประเภทที่มีศักยภาพในการแข่งขันและสินค้าที่ไม่มีศักยภาพในการแข่งขัน ให้มีการวางแผนรับมือปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรเกินความต้องการของตลาดในทุกรายสินค้า โดยสินค้าที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้กระทรวงเกษตรฯ สนับสนุนให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและเร่งผลักดันการส่งออก ส่วนสินค้าที่ไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขันให้ปรับโครงสร้างการผลิตให้ลดผลผลิตน้อยลง แต่ในขณะนี้ ยังไม่มีการสั่งการให้ดูแลสินค้าตัวใดเป็นพิเศษ เพียงแต่ให้กระทรวงเกษตรฯ ทำงานร่วมกันกับกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิดในการศึกษาข้อมูลพืชเกษตรเป็นรายประเภท เพื่อให้ ปี 2562 ผล
ถั่วเหลือง หรือ Soybean เป็นสมุนไพร ประเภทพืชเถา เป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถปลูกได้ในประเทศแถบร้อนและอบอุ่น แหล่งกำเนิดของถั่วเหลืองจะอยู่ที่ประเทศจีน ในปัจจุบันประเทศไทยมีการปลูกถั่วเหลืองทางภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองมากที่สุดในโลกคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาเป็น บราซิล และจีน ตามลำดับ ถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลือง เรียก Glycine max (L.) Merr. จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง มีชื่อเรียกอื่นๆ อาทิ ถั่วแระ, ถั่วพระเหลือง, ถั่วแม่ตาย, มะถั่วเน่า, ถั่วเน่า, ถั่วหนัง, โชยุ, โซยาบีน, อึ่งตั่วเต่า, เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 446 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัมถั่วงอกหัวโต น้ำตาล 7.33 กรัม เส้นใย 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม ไขมันอิ่มตัว 2.884 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 4.404 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11.255 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรั
สนค.วิเคราะห์ผลสงครามการค้าสหรัฐฯ กับคู่ค้าในส่วนของการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร พบไทยมีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้นหลายรายการ เพื่อไปทดแทนสินค้าจากสหรัฐฯ ทั้งข้าว ผลไม้ กากเหลือจากการผลิตสตาร์ช ในตลาดจีน และข้าวโพดหวานในตลาด อียู แต่ก็ต้องระวังสินค้าจากสหรัฐฯ ที่จะไหลเข้าไทย ทั้งถั่วเหลือง ข้าวสาลี น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการศึกษากระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า ในกลุ่มสินค้าเกษตรว่า ไทยมีโอกาสส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนได้เพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนสินค้าของสหรัฐฯ เช่น กากเหลือจากการผลิตสตาร์ช ข้าว ผลไม้สดและแห้ง โดยเฉพาะพวกส้ม และพบว่า สินค้ากากเหลือจากการผลิตสตาร์ช เศษที่ได้จากการต้มกลั่น เป็นสินค้าที่มีโอกาสทำตลาดมากที่สุดในกลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นสินค้าที่จีนนำเข้าจากสหรัฐฯ เกือบทั้งหมด โดยในปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าเป็นมูลค่า 66 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไทยมีการส่งออกประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกไป สปป.ลาว เกือบทั้งหมด จึงน่าจะสามารถกระจายสินค้าไปตลาดจีนมากขึ้นได้ ทั้งนี้ ผลจากการที่จีนขึ้นภาษีผลไม้ที่นำเข้าจาก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 ติดตามผลโครงการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองหลังนาปีที่ 1 จังหวัดเชียงราย เผย เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 600 ราย ส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองหลังนาจำนวน 3,000 ไร่ ในอำเภอดอยหลวงและอำเภอเชียงรุ้ง ช่วยเกษตรกรเสริมองค์ความรู้การผลิตถั่วเหลืองหลังนา สถานการณ์การค้าถั่วเหลืองหลังนาคึกคักมากขึ้น นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองหลังนาปีที่ 1 ครั้งที่ 1 ภายใต้กองทุนเพื่อพัฒนาการผลิตถั่วเหลือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้รับงบประมาณดำเนินการ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 600 ราย กิจกรรมที่ดำเนินการ 3 กิจกรรม ได้แก่ 1. การส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองหลังนาจำนวน 3,000 ไร่ ในอำเภอดอยหลวงและอำเภอเชียงรุ้ง 2. การจัดงานเชื่อมโยงการผลิตการตลาด และ 3. การส่งเสริมผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวน 360 ไร่ จากการติดตามของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (สศท.1) พบว่า ผลการดำเนินงาน 9 เดือน นับแต่วันอนุมัติโครงการ (7 สิงหาคม 2560 – 31 พฤษภาคม 2561) ได้มีการถ่
ถั่วเหลืองไม่ใช่พืชบ้านเรา แต่เป็นพืชที่พบในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีที่แล้ว บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองและเชื่อว่าอารยธรรมจีนก่อเกิดที่นั่น ถั่วเหลืองได้แพร่กระจายไปสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ต่อมาได้เข้าสู่ยุโรปและอเมริกา ชาวปศุสัตว์อเมริกาได้อานิสงส์จากการนำถั่วเหลืองมาเป็นอาหารสัตว์อย่างเป็นล่ำเป็นสันด้วยชาวอเมริกันบริโภคเนื้อวัวเป็นหลัก ถั่วเหลืองเป็นอาหารโปรตีนชั้นยอดสำหรับวัว จึงมีพื้นที่การปลูกถั่วเหลืองและผลผลิตมากที่สุดในโลกที่อเมริกา และเป็นจุดเริ่มต้นของการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลือง โดยบริษัท โมซานโต้ ที่หลายประเทศรังเกียจกันหนักหนา ในประเทศไทยเริ่มปลูกถั่วเหลืองกันกว่า 200 ปีแล้ว สันนิษฐานว่าเมล็ดพันธุ์ได้มาจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 หน่วยงานของรัฐได้มีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองให้เหมาะสมกับภูมิอากาศบ้านเรา เช่น พันธุ์สุโขทัย 1-3 พันธุ์นครสวรรค์ 1 พันธุ์เชียงใหม่ 60 พันธุ์ สจ.4 และ สจ.5 ปัจจุบันนี้ การผลิตถั่วเหลืองยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้มีการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศมาบริโภคในครัวเรือนและส่วนใหญ่นำเข้ากากถั่วเหลือง
ผมมีปัญหาเมื่อปลูกถั่วลิสงไปแล้ว เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว กลับพบว่า ผลมีขนาดเล็ก และอ่อนนุ่ม ไม่ติดเมล็ด ทำให้ไม่ได้ผลผลิต อยากทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด และผมจะแก้ไขอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ อาการที่เล่ามา เกิดจากคุณสากลปลูกถั่วลิสงในดินที่ขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง ทั้งนี้ ฝักถั่วลิสงที่แข็ง ไม่อ่อนนุ่มนั้น ประกอบด้วย แคลเซียมแพคเตตเป็นส่วนใหญ่ ในโครงสร้างของมันหนีไม่พ้นธาตุแคลเซียมที่มีมากในหินปูน ปูนขาว และเปลือกหอยเผา แล้วบดละเอียด วิธีแก้ไขทำได้โดยใส่ปูนขาวในอัตรา 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ ด้วยวิธีโรยข้างแถว ก่อนต้นถั่วจะออกดอก แล้วกลบโคนต้นให้ปูนขาวอยู่ใกล้ระบบราก และให้ใส่ปูนขาวในอัตราเดียวกันทุกๆ 3 ปี อาการฝักอ่อนนุ่มจะหมดไป เกร็ดน่ารู้ของถั่วลิสง ถั่วลิสงจะแปลกกว่าถั่วชนิดอื่นๆ คือ หลังผสมเกสรแล้ว ดอกจะแทงเข็ม ภาษาสากลเรียกว่า เพ็ก นำเอาตัวอ่อนลงไปยังพื้นดินบริเวณโคนต้นที่มีความชื้นมากกว่าบริเวณอื่น ดังนั้น ถั่วลิสงจึงให้ผลดีเมื่อปลูกในดินร่วนปนทราย เข็ม 1 อัน จะยาว 12-15 เซนติเมตร ตัวอ่อนปลายเข็มแต่ละอันจะพัฒนาเป็นฝักถั่วลิสง 1 ฝัก น่าอัศจรรย์นะครับ