ทุเรียนอ่อน
ที่สวนน้าพงศ์พอเพียง เลขที่ 203 หมู่ 12 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายสุบรรณ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร นายวีรวัฒน์ จีรวงศ์ นายกสมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดชุมพร และสื่อมวลชน ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อต้องการทราบสถานการณ์การผลิตทุเรียนคุณภาพของสวนดังกล่าว โดยมี นายสมพงศ์ เหมาะสม เจ้าของสวนให้การต้อนรับ นายสมพงศ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ทุเรียนของจังหวัดชุมพรจริงๆ ยังไม่มีผลผลิตออกสู่ท้องตลาด ต้องรออีกประมาณ 60 วัน ทุเรียนของชุมพรจึงจะมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาด ดังนั้น ทุเรียนที่วางขายอยู่ริมถนนใน จ.ชุมพร รวมทั้งที่มีการขายออนไลน์ในขณะนี้ทั้งหมดจึงเป็นทุเรียนที่ผู้ค้ารับมาจากจังหวัดอื่น เพราะทุเรียนชุมพรรุ่นแรกในสวนของตนจะมีรอบตัดในวันที่ 5-20 มิถุนายน ซึ่งออกดอกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และใน 1 แปลงคงไม่สามารถตัดในรอบเดียวได้ ดังนั้น ขอยืนยันว่าทุเรียนที่กำลังวางขายในชุมพรขณะนี้ล้วนแต่เป็นทุเรียนที่รับมาจากจังหวัดอื่น นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดชุมพรได้หารือกับจังหวัดชุมพรเรื่องคนคัดและคนตัดทุเรียนจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือและเชื่อถือได้
นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดทุเรียนอ่อนจำหน่ายอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ทุเรียนส่งออกของประเทศไทย โดยสั่งการเร่งด่วนให้ทุกหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนอย่างเข้มข้น 2 เรื่อง คือ 1. กรณีการสวมสิทธิ์ทุเรียน ได้สั่งการให้ดำเนินคดีขั้นเด็ดขาดทั้งทางอาญาและทางแพ่งสำหรับผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดทุกคน พร้อมทั้งถอนใบรับรอง GAP (ข้อปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดีในการผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค) และ GMP (เกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตสินค้า เป็นข้อกําหนดขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่มีความจําเป็นในขั้นตอนการผลิตและควบคุมคุณภาพ) และ 2. กำชับให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบของทางราชการอย่างเข้มข้น ตรงไปตรงมาและมีความโปร่งใส โดยหากพบว่ามีการปฏิบัติงานที่ละเลยและทุจริตในหน
จังหวัดตราด พื้นที่ตำบลห้วงน้ำขาว และตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด ทุเรียนจะออกก่อนที่อื่นๆ ด้วยสภาพพื้นที่ที่โอบกอดด้วยทะเลทั้งสองด้าน และดินเป็นดินทรายทำให้เนื้อแห้ง รสชาติอร่อย เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรปีละ 2,000-3,000 ล้านบาท คุณชยุทกฤดิ นนทแก้ว เกษตรจังหวัดตราด เห็นว่าเส้นทางถนนทางหลวงชนบท ตร. 4008 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ระยะทาง 6 กิโลเมตร ที่ตัดผ่านสวนทุเรียนจากบ้านแหลมศอกไปท่าเรือแหลมศอก-เกาะกูด แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาก มีศักยภาพพัฒนาเป็นเส้นทางผลไม้ แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องสวนทุเรียนคุณภาพ โดยพัฒนาเป็น “Durian Road @ Trat” ที่สามารถมาสัมผัสได้ตั้งแต่ฤดูกาลผลไม้ปี 2565 นี้ ดีสะหงาดเกษตรตราดทำจริง คุณชยุทกฤดิ ยึดหลักทำงานว่า “ดีสะหงาดเกษตรตราดทำจริง” เล่าถึงไอเดียบรรเจิด พัฒนา “Durian Road @ Trat” หรือ “ถนนทุเรียนตราด” ว่าจากกระแสทุเรียนที่มาแรงมากในขณะนี้ เกษตรกรที่ปลูกเพิ่มขึ้นจำนวนมากทำให้คาดว่าผลผลิตจังหวัดตราดปีนี้ประมาณ 90,000 ตัน และตลาดจีนให้ความนิยมมาก ทำให้ราคาต้นฤดูเพิ่มสูงมาก โดยเฉพาะที่ตำบลอ่าวใหญ่
คนไทยจำนวนมาก รักและหลงใหลการบริโภคทุเรียน เพราะติดใจในรสชาติความอร่อยของทุเรียน แต่หลายครั้งที่ต้องช้ำใจ เพราะถูกให้หลอกซื้อ “ทุเรียนอ่อน” เนื่องจากแยกทุเรียนอ่อนกับทุเรียนแก่ไม่เป็น หากใครไม่อยากถูกหลอกให้ช้ำใจเหมือนที่ผ่านมา ขอแนะนำเคล็ดลับการซื้อทุเรียนแก่ โดยใช้วิธีง่ายๆ คือ “ดู ดีด ดม ดูด” ดู…ขั้ว ก้านขั้วต้องแข็ง สากมือ (ถ้าเป็นทุเรียนอ่อน ก้านจะนิ่ม) ปลิงบวม พูใหญ่ เด่น เห็นเส้นกลางพูชัด หนามใหญ่ ปลายหนามแห้ง ฐานหนามกว้าง ทุเรียนแก่จัด สุกกำลังดี จะมีกลิ่นหอมคงที่ มองเห็นเส้นกลางพูชัดเจน ยกเว้นก้านยาว (หรือทุเรียนหนามถี่) สุกในปลิง หรือปลิงเพิ่งหลุด พูหลวม ดีด…ใช้นิ้วมือดีดที่โคนหนาม ฟังเสียงหลวมๆ ดังก๊อกๆ การดีดหนามที่พูจะช่วยตรวจสอบคุณภาพทุเรียนอ่อนหรือแก่ แล้วยังสามารถช่วยตรวจสอบทุเรียนทุกพูหลวมเท่ากันจะมีโอกาสเป็นทุเรียนที่สุกสม่ำเสมอ เวลาสุกจะมีเนื้อนิ่มสม่ำเสมอ เนื้อไม่แข็งกรุบ การดีด ช่วยให้ได้ทุเรียนที่มีความสุกแก่ในช่วงเวลาที่ต้องการรับประทาน หลวมมาก 1-2 วัน ถึงตึงมาก 3-4 วัน จะสุก ดม…ดมด้วยจมูก ทุเรียนแก่จัดใกล้สุกจะมีกลิ่นสาบอ่อนๆ ทุเรียนสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม กลิ่นจะเร
“ปัญหาทุเรียนอ่อน” ปัญหาเรื้อรังที่ต้องแก้ไขกันทุกปี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูกาลที่มีผลผลิตออกน้อย ราคาทุเรียนพุ่งสูงขึ้น ประกอบกับมีภัยธรรมชาติ พายุฝน ภัยแล้ง ทำให้ทุเรียนเกือบแก่ได้รับความเสียหาย ต้องรีบตัดขาย ทุเรียนนี้ถูกขายไปให้โรงคัดบรรจุ มีทั้งที่ส่งออกและขายส่ง แผงขายปลีกภายในประเทศ แม้ว่าแต่ละจังหวัดจะตั้งคณะทำงานชุดเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ มีมาตรการตรวจสอบเข้มงวด และบทลงโทษตามกฎหมายทั้งปรับและจำคุกผู้กระทำผิดมาแล้ว แต่ยังคงมีปัญหาทุเรียนอ่อนเกิดขึ้นทุกปี เมื่อ วันที่ 27-29 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา เป็นวันเปิดตัวสมาพันธ์ทุเรียนไทยภาคตะวันออก (6 จังหวัด คือ จันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี) คุณธีรภัทร อุ่นใจ นายกสมาพันธ์ทุเรียนไทยภาคตะวันออก ได้จัดงาน “Durian to Go” by สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จันทบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรีและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ภายใต้แนวคิด พัฒนาทุเรียนไทยก้าวไกลสู่สากล โดย วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 กิจกรรมเวทีเสวนา เรื่อง
ในฤดูกาลนี้เป็นช่วงออกผลผลิตของผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน ราชาผลไม้ โดยคาดว่า ในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม จะเป็นช่วงที่ทุเรียนเริ่มให้ผลผลิตออกสู่ตลาด ด้วยแรงจูงใจจากราคาที่สูง ขายได้ราคาดี เพราะเป็นช่วงต้นฤดูกาล และทุเรียนอ่อนมีน้ำหนักผลมากกว่าทุเรียนแก่ จึงทำให้เกษตรกรและพ่อค้าตัดทุเรียนอ่อนออกมาขาย กรมส่งเสริมการเกษตร จึงขอประกาศเตือนให้เจ้าของสวนและพ่อค้าทุเรียนอย่าขายทุเรียนอ่อน เพราะการตัดทุเรียนอ่อนออกมาขายถือว่าผิดกฎหมายผู้บริโภค เข้าข่ายหลอกลวง มีโทษทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้งส่งผลให้ราคาทุเรียนในรุ่นต่อไปตกต่ำ ถ้าพบชาวสวนหรือพ่อค้าทำผิดก็ให้ดำเนินคดีโดยเด็ดขาด สำหรับผู้บริโภคมีข้อสังเกตง่ายๆ ก่อนซื้อทุเรียนในช่วงนี้ คือ สังเกตก้านผล ก้านผลจะแข็งและมีสีเข้มขึ้น สากมือ เมื่อจับก้านผลแล้วแกว่งผลทุเรียนจะรู้สึกว่าก้านผลทุเรียนมีสปริงมากขึ้น ก้านผลบริเวณปากปลิงจะบวมโตเห็นรอยต่อชัดเจน สังเกตหนาม ปลายหนามแห้ง มีสีน้ำตาลเข้ม เปราะและหักง่าย ดังนั้น เมื่อมองจากด้านบนของผลจะเห็นหนามเป็นสีเข้ม หนามกางออก ร่องหนามห่าง เวลาบีบหนามเข้าหากันจะรู้สึกว่ามีสปริง สังเกตรอยแยกระหว่างพู ผลทุเรียนที่แก่
คนไทยจำนวนมากรักและหลงใหลการบริโภคทุเรียน เพราะติดใจในรสชาติความอร่อยของทุเรียน แต่หลายครั้งที่ต้องซ้ำใจ เพราะถูกให้หลอกซื้อ “ทุเรียนอ่อน” เนื่องจากแยกทุเรียนอ่อนกับทุเรียนแก่ไม่เป็น หากใครไม่อยากถูกหลอกให้ช้ำใจเหมือนที่ผ่านมา ขอแนะนำเคล็ดลับการซื้อทุเรียนแก่ โดยใช้วิธีง่ายๆ คือ “ดู ดีด ดม ดูด” ดู…ขั้ว ก้านขั้วต้องแข็ง สากมือ (ถ้าเป็นทุเรียนอ่อน ก้านจะนิ่ม) ปลิงบวม พูใหญ่ เด่น เห็นเส้นกลางพูชัด หนามใหญ่ ปลายหนามแห้ง ฐานหนามกว้าง ทุเรียนแก่จัด สุกกำลังดี จะมีกลิ่นหอมคงที่ มองเห็นเส้นกลางพูชัดเจน ยกเว้นก้านยาว (หรือทุเรียนหนามถี่) สุกในปลิงหรือปลิงเพิ่งหลุด พูหลวม ดีด…ใช้นิ้วมือดีดที่โคนหนามฟังเสียงหลวมๆ ดังก๊อกๆ การดีดหนามที่พูจะช่วยตรวจสอบคุณภาพทุเรียนอ่อนหรือแก่ แล้วยังสามารถช่วยตรวจสอบทุเรียนทุกพูหลวมเท่ากันจะมีโอกาสเป็นทุเรียนที่สุกสม่ำเสมอ เวลาสุกจะมีเนื้อนิ่มสม่ำเสมอ เนื้อไม่แข็งกรุบ การดีดช่วยให้ได้ทุเรียนที่มีความสุกแก่ในช่วงเวลาที่ต้องการรับประทาน หลวมมาก 1-2 วัน ถึงตึงมาก 3-4 วัน จะสุก ดม…ดมด้วยจมูก ทุเรียนแก่จัดใกล้สุกจะมีกลิ่นสาบอ่อนๆ ทุเรียนสุกแล้วจะมีกลิ่นหอม กลิ่นจะเริ่
14 จังหวัดภาคใต้ ลุยรณรงค์แก้ปัญหาเกษตรกรตัดทุเรียนอ่อนขาย เหตุแนวโน้มราคาทุเรียนพุ่งสูงขึ้นจากปีก่อนมาก หวั่นผลผลิตด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด นายธาร นวลนึก ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไม้ผลเขตร้อนที่สำคัญของโลก ไม้ผลเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ทุเรียน ที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตได้ทุกภูมิภาค โดยในปี 2561 มีพื้นที่ให้ผลผลิต 609,951 ไร่ และคาดว่าจะมีผลผลิตรวม 734,284 ตัน ซึ่งภาคใต้เป็นแหล่งผลิตใหญ่รองลงมาจากภาคตะวันออก โดยเฉพาะพื้นที่ จ.ชุมพร ที่มีพื้นที่ให้ผลผลิตสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจาก จ.จันทบุรี มี “กลุ่มล้ง” หรือผู้รวบรวมสินค้าเกษตรสำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศเปิดจุดรับซื้อจำนวนมาก ซึ่งรับซื้อทั้งผลผลิตของ จ.ชุมพร และจังหวัดใกล้เคียง อีกทั้งราคาจำหน่ายทุเรียนในปี 2561มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปีก่อน ๆ ซึ่งผลผลิตที่ออกมาก่อนฤดูกาลมักได้ราคาสูง อาจเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรีบเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ยังไม่สุก หรือที่เรียกว่าทุเรียนอ่อน ส่งมาจำหน่ายในตลาดได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาผลผลิตด้อยคุณภาพไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่ต
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 2 พฤษภาคม นายทรงธรรม ชำนาญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิตพร้อม นายบุญส่ง อึ๊งเจริญ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตร จ.ระยอง นำเครื่องสแกนพร้อมอุปกรณ์ตรวจวัดเปอร์เซ็นต์แป้งทุเรียน ออกตรวจสอบตามแผงร้านค้าขายทุเรียน หลังได้รับการร้องเรียนจากผู้อุปโภคทุเรียนว่า พ่อค้าแผงทุเรียนริมถนนนำทุเรียนอ่อนมาจำหน่ายหลายราย ต่อจากนั้นได้ออกตรวจสอบแผงขายทุเรียน บริเวณริมถนนสาย 36 ตั้งแต่ในเขตเมืองระยอง พบว่าแผงขายทุเรียนหายเกลี้ยง คาดรู้ตัวล่วงหน้า ไม่กล้านำทุเรียนออกมาจำหน่าย จึงได้เดินทางไปตรวจสอบริมถนนสายบายพาส 36 ตั้งแต่สี่แยกขนำไร่ บริเวณแผงจำหน่ายสินค้า “ตลาดพุ่มโพธิ์ทอง” ต.มะขามคู่ อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง พร้อมนำเครื่องสแกนทุเรียน วัดค่าเปอร์เซ็นต์แป้ง ส่วนใหญ่เป็นทุเรียนแก่เป็นที่น่าพอใจ พร้อมกันนี้ได้มีการนำหนังสือจาก นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ขอความร่วมมือเกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายทุเรียน ไม่ซื้อ-ไม่ขาย ทุเรียนด้อยคุณภาพ (อ่อน) ผู้ฝ่าฝืนและกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 “ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเ
นายณรงค์ พลละเอียด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกทุเรียนเป็น อันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดจันทบุรี ประมาณการผลผลิต 128,894 ตัน มีผลผลิตออกสู่ตลาดเกือบทั้งปี สร้างรายได้แก่จังหวัดไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ต่อปี “จังหวัดชุมพรมักประสบปัญหาการตัดทุเรียนอ่อน เนื่องจากทุเรียนออกดอกหลายรุ่นในต้นเดียวกัน เกษตรกรขาดความชำนาญในการตัด ประกอบกับราคาทุเรียนต้นฤดูกาลแพง เกษตรกรจึงรีบตัดเพื่อให้ขายได้ราคา รวมทั้งทุเรียนอ่อนจากต่างจังหวัดปะปนมา มักพบทุเรียนอ่อนวางขายตามแผงค้าผลไม้ริมทาง ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชุมพรได้รับการร้องเรียนประจำทุกปี หากส่งทุเรียนอ่อนไปต่างประเทศจะมีผลทำให้ราคาทุเรียนทั้งระบบตกต่ำ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจของจังหวัดและของชาติ จังหวัดจึงมีมาตรการควบคุมไม่ให้มีการซื้อขายทุเรียนอ่อนในจังหวัดโดยเด็ดขาด คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดจังหวัดชุมพรจึงจัดประชุมเพื่องเร่งหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา” ขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน