นวัตกรรมการเกษตร
นวัตกรรมนี้ช่วยลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่เกษตรของไทย เพราะเกษตรกรไม่ต้องเผากำจัดเศษวัสดุในพื้นที่ ลดปัญหาด้านสุขภาพอันเนื่องมาจาก PM 2.5 ลดการนำเข้าถ่านกัมมันต์จากต่างประเทศ โดยการใช้ถ่านที่ผลิตได้ทดแทน เครื่องผลิตถ่านกัมมันต์ ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ คือ เตาปฏิกรณ์ ฮีตเตอร์ หม้อไอน้ำ มอเตอร์ และตู้ควบคุม โดยส่วนของตัวเตาปฏิกรณ์ใช้สำหรับบรรจุถ่านชีวภาพที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิส และมีฮีตเตอร์ฝังอยู่ด้านบนตัวเตาพร้อมหุ้มด้วยผนังที่มีฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนภายในเตา โดยมีมอเตอร์เป็นต้นกำลังที่ใช้สำหรับหมุนเตาปฏิกรณ์ ส่วนหม้อไอน้ำ ทำหน้าที่ผลิตไอน้ำเพื่อป้อนให้กับกระบวนการกระตุ้นในการผลิตถ่านกัมมันต์ โดยมีตู้ควบคุมสำหรับควบคุมอุณหภูมิ อัตราการป้อนไอน้ำ และเวลาในการทำปฏิกิริยา อยู่ด้านล่างของเตาปฏิกรณ์ เกษตรกรและนักลงทุนเกิดแรงจูงใจในการทำเกษตรและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ในสภาวะที่ราคาปาล์มน้ำมันราคาตกต่ำ เนื่องจากของเสียในการทำปาล์มน้ำมันสามารถก่อให้เกิดรายได้เพิ่มเติมได้ ประโยชน์ของการใช้นวัตกรรม สามารถกำจัดวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพ คือ กากทางและทะลายปาล์มน้ำมันได้ 100% เพ
“ดินเค็ม” เป็นหนึ่งในภัยคุกคามพื้นที่การเกษตรพบได้ทั่วไปในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ชายทะเล ปัญหาดินเค็มเกิดจากดินที่มีเกลือที่ละลายได้ในสารละลายดินปริมาณมาก จนกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช สังเกตง่ายๆ จะเห็นคราบเกลือเป็นหย่อมๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง บริเวณที่มีปัญหาดินเค็ม พืชมักมีอาการใบไหม้ ลำต้นแคระแกร็น เนื่องจากพืชจะขาดน้ำ ความเป็นพิษจากธาตุโซเดียมและคลอไรด์ และเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร ปัญหาดินเค็มนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการเกษตรแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นวัตกรรมชลาศัย ให้น้ำพืช-ป้องกันดินเค็ม นวัตกรรมชลาศัย (Aquawell and soil salinity control) เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกสำหรับใช้ป้องกันปัญหาดินเค็ม เป็นผลงานของ นายประกอบ เกิดท้วม นายสุรธัช พ่วงผจง นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.วรภัทร ลัคนทินวงศ์ ผลงานชิ้นนี้ ได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรม ระดับดีเด่น เหรียญทอง ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร (ระดับบัณฑิตศึกษา) ในงานมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี 2564 ที่
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรที่มีความชำนาญในการเก็บเกี่ยวผลกาแฟ ทำให้เกิดการเก็บผลกาแฟอ่อนปะปนกับผลกาแฟสุกที่มีคุณภาพดี ส่งผลให้กาแฟที่ได้มีคุณภาพต่ำและไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เนื่องจากเมล็ดกาแฟที่ได้จากผลกาแฟระยะต่างๆ มีกรดอินทรีย์ที่มีผลต่อกลิ่น รส และความรู้สึกในการชิมหลังคั่วบดแล้วแตกต่างกัน โดยเมล็ดกาแฟที่ได้จากผลกาแฟที่สุกแดงจะมีปริมาณกรดอินทรีย์ที่มีผลต่อกลิ่นรสที่ดีเป็นที่ชื่นชอบและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค จากปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลกาแฟที่มีความชำนาญดังกล่าว กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร จึงได้ดำเนินการวิจัย พัฒนาต่อยอด ออกแบบและคิดค้นจนได้แผ่นเทียบสีสำหรับใช้ประเมินความสุกแก่ผลกาแฟที่จะเก็บเกี่ยวจากแปลง โดยเป็นเครื่องมือที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย และสะดวกต่อการใช้งานของเกษตรกรและแรงงานรับจ้างเก็บเกี่ยวผลกาแฟจากแปลง ช่วยให้เกษตรกรสามารถกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการเก็บกาแฟได้อย่างถูกต้องทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ นางสาวอารีรัตน์ การุณสถิตย์ชัย นักวิช
เจียไต๋ ผนึกกำลังเจียไต๋อาสาทั่วประเทศ เดินหน้าสร้างแหล่งอาหารชุมชนใน “เจียไต๋ โซเชียล เดย์” ปีที่ 2 กรุงเทพฯ 20 พฤศจิกายน 2566 – บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย ผนึกกำลังกลุ่มพนักงานเจียไต๋อาสาจากสำนักงานต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวนกว่า 500 คน สานต่อกิจกรรมพัฒนาสังคมประจำปี “เจียไต๋ โซเชียล เดย์” ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 2 มุ่งเป้าหมายในการทำความดีเพื่อสังคม และสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยภายในชุมชน ตามเจตนารมณ์ของเจียไต๋ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ผ่านการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีคุณภาพ นางกุลวดี นิ่มนวล Assistant to Chief Commercial Officer บริษัท เจียไต๋ จำกัด กล่าวว่า “กิจกรรมเจียไต๋ โซเชียล เดย์ นี้ ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 ซึ่งในแต่ละปีเจียไต๋ได้พัฒนาพื้นที่ในชุมชนใกล้เคียงสำนักงานและสถานีต่างๆ ของเราทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชาชน ผ่านการแนะนำการทำพื้นที่เกษตรให้แก่ชุมชนทั้งในสถานศึกษา วัด รวมถึงศูนย์กลางชุมชน โดยต้นกล้าผักสวนครัวที่เจียไต๋มอบนั้นสามารถเพาะปลูกได้ง่าย
หากใครที่เป็นแฟนคลับของเทคโนโลยีชาวบ้าน คงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับ คุณบุษบา นาคพิพัฒน์ เป็นอย่างดีจากเรื่อง “ทุเรียนน้ำกร่อย” ที่เคยเผ่ยแพร่ลงนิตยสาร และเว็บไซต์เทคโนโลยีชาวบ้านไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่งในครั้งนี้คุณบุษบา มีอะไรมาทำให้พวกเราได้ทึ่งกันอีกแล้ว เพราะล่าสุดนอกจากการปลูกทุเรียนบนพื้นที่น้ำกร่อยจนประสบคววามสำเร็จแล้ว คุณบุษบาได้มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี Precision Farming เข้ามาใช้ลดต้นทุนการผลิต รวมถึงช่วยประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน และสร้างความสะดวกสบายในการทำสวนให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น คุณบุษบา นาคพิพัฒน์ เจ้าของสวนทุเรียนน้ำกร่อย อยู่บ้านเลขที่ 65/2 หมู่ที่ 14 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เกษตรกรหัวก้าวหน้า ที่เปิดรับนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรเข้ามาใช้ในสวน เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลา และลดจำนวนแรงงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณบุษบา เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่ทางทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านได้เข้ามาสัมภาษณ์การปลูกทุเรียนน้ำกร่อยของที่สวนไป หลังจากนั้นเมื่อประมาณปลายปี 64 ทางสวนก็ได้เริ่มนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตทุเรียนของที่สวน นั่นก
เจียไต๋ คว้ารางวัลสุดยอดการสร้างประสบการณ์แก่ลูกค้า จากเวที IDC Future Enterprise Awards 2023 ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรไทย กรุงเทพฯ 6 พฤศจิกายน 2566 – บริษัท เจียไต๋ จำกัด ตอกย้ำความเป็นผู้นำธุรกิจนวัตกรรมการเกษตรของไทย หลังคว้ารางวัลแห่งความภาคภูมิใจ Best in Future of Customer Experience Thailand หรือรางวัลสุดยอดการสร้างประสบการณ์แก่ลูกค้าแห่งโลกอนาคตระดับประเทศ จากเวทีระดับสากล IDC Future Enterprise Awards 2023 โดย นายไพโรจน์ เกียรติศิริขจร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสนับสนุนองค์กร นำทีมรับมอบรางวัลดังกล่าว ณ ประเทศสิงคโปร์ นายไพโรจน์ เกียรติศิริขจร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เผยว่า “ในฐานะตัวแทนของเจียไต๋ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่เจียไต๋ได้รับรางวัล Best in Future of Customer Experience Thailand ในครั้งนี้ จากการที่องค์กรมีความโดดเด่นด้านการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าคนสำคัญของเรา ซึ่งรางวัลนี้ ถือเป็นการสะท้อนและตอกย้ำความมุ่งมั่นของเจียไต๋ ที่ต้องการส่งมอบนวัตกรรมการเกษตรด้วยผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีคุ
“แอร์ออร์คิดส์” แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครปฐม มีจุดเริ่มต้นจากฟาร์มกล้วยไม้ตัดดอกส่งขายในประเทศ ของ คุณสวง และ คุณธนิดา คุ้มวิเชียร สองสามีภรรยาเมื่อ 26 ปีก่อน (พ.ศ.2538) ต่อมามีการพัฒนาการผลิตและคุณภาพกล้วยไม้จนได้รับมาตรฐานสากล ธุรกิจเจริญเติบโตขยายตลาดส่งออกอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจกล้วยไม้แบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย ปัจจุบัน แอร์ออร์คิดส์แตกไลน์ธุรกิจให้ครอบคลุมความต้องการของตลาด ประกอบด้วย แอร์ออร์คิดส์ฟาร์ม ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 250 ไร่ ภายใต้โรงเรือนและระบบการเพาะเลี้ยงที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) มีกล้วยไม้ให้เลือกกว่า 2,000 สายพันธุ์ ทั้งต้นพันธุ์ กล้วยไม้กระถาง และกล้วยไม้ตัดดอก อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรและแหล่งเรียนรู้สำหรับคนรักกล้วยไม้ ด้วยประสบการณ์อันยาวนานกว่า 30 ปีในการพัฒนาสายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยห้องแล็บเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทำให้แอร์ออร์คิดส์ สามารถพัฒนากล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ใหม่ได้หลากหลายสายพันธ์ สามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้ที่ได้คุณภาพและปริมาณ ส่งผลให้แอร์ออร์คิดส์เป็น
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 หรือ Thailand Research Expo 2023 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” นับเป็นหนึ่งในเวทีสำคัญในการนำเสนอผลงานวิจัย สู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ เป็นประจำทุกปี การจัดงานในปีนี้ มีผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดง แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจมูลค่าสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพชุมชน สำหรับบู๊ทนิทรรศการที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น เป็นที่สนใจของนักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้แก่ 1.เทคโนโลยีการให้น้ำแบบแม่นยำสำหรับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ผลงานวิจัยของ สถาบันวิจัยเกษตร
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในยุคที่แรงงานในภาคเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคการเกษตรเริ่มมีการปรับตัวทำการเกษตรสมัยใหม่หรือเกษตรอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาช่วยในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระยอง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาโรงเรือนอีแวปอัจฉริยะต้นแบบที่โครงการศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งสอดรับกับนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้านเกษตร โดยมี นายอัคคพล เสนาณรงค์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม เป็นหัวหน้าโครงการ เทคโนโลยีโรงเรือนอีแวป เป็นโรงเรือนที่สามารถลดความร้อนในโรงเรือน และช่วยป้องกันแมลงขนาดเล็กได้ค่อนข้างดี แต่ยังมีปัญหาจากความชื้นสัมพัทธ์ที่สูง เนื่องจากต้องใช้น้ำระเหยในกระบวนการลดความร้อนในระบบ Evaporative cooling system โรงเรือนอีแวปโดยทั่วไปจะควบคุมการปิดเปิดพัดลมและปั๊มน้ำ โดยเลือกการควบคุมโดยใ
0บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN ตั้งอยู่ที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่าย สินค้าแปรรูปพืชผลทางการเกษตรแปรรูป ตลอดระยะเวลามากกว่า 20 ปี ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตควบคู่กับการสร้างคุณค่าร่วมกับพนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน ปัจจุบันบริษัทมีการส่งออกไปจำหน่ายมากกว่า 50 ประเทศ ใน 8 ภูมิภาคทั่วโลก ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ข้าวโพดหวานบรรจุถุงสุญญากาศ ข้าวโพดหวานแช่แข็ง กลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน ในประเทศและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ภายใต้เครื่องหมาย KC ในปี 2560 บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างโอกาสในการเติบโตของธุรกิจอีกขั้นหนึ่ง โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการองค์กร ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จ นำมาซึ่งความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ความโปร่งใส และตรวจสอบได้ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ สัดส่วนลงทุน และสภาพคล่องให้สูงขึ้น รวมถึงรองรับกับการขยายงานด้านธุรกิจและแผนการลงท