ปลากระชัง
สุพรรณบุรีเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการทำเกษตรกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่หรือพืชสวน เรียกได้ว่าผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิด เกิดขึ้นจากการผลิตภายในจังหวัดนี้เช่นกัน เช่น การปลูกข้าว การปลูกอ้อย และพืชผักต่างๆ เนื่องจากจังหวัดสุพรรณบุรีมีแม่น้ำท่าจีนเป็นเหมือนสายน้ำแห่งชีวิตไหลผ่าน จึงทำให้นอกจากนำมาทำการเกษตรแล้ว ยังสามารถเป็นประโยชน์ให้กับเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ นั้นคือการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำท่าจีนนำมาเลี้ยงปลาเพื่อสร้างรายได้ คุณนพดล สุขเลิศธรรมกุล อยู่บ้านเลขที่ 83/3 หมู่ที่ 10 ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ยึดการเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำท่าจีนเป็นอาชีพหลักให้กับครอบครัว ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก และสภาพอากาศตามฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาจนชำนาญ ทำให้การเลี้ยงปลากระชังของเขาสามารถทำให้เกิดรายได้ ซึ่งการจะทำให้เป็นอาชีพที่ยืนยาวได้นั้น ต้องมีการปรับตัวในการทำอยู่เสมอ คุณนพดล เล่าว่า เดิมทีไม่ได้ยึดอาชีพทางด้านการประมง ทำอาชีพเป็นเจ้าของกิจการเกี่ยวกับรถบรรทุก ต่อมาได้ล้มเลิกลากิจการนี้ไป จึงได้มองหาอาชีพใหม่นั้นก็คือการเลี้ยงปลาในก
คุณยุภาพร ประถม อยู่บ้านเลขที่ 29/8 หมู่ที่ 1 ตำบลท่ามะเฟือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เล่าให้ฟังว่า ผู้ที่ริเริ่มเลี้ยงปลากระชัง คือ คุณพ่อ ซึ่งสมัยก่อนคุณพ่อของเธอเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เพราะด้วยปัญหาหลายๆ อย่างทางสายงาน จึงเลิกทำกิจการด้านนั้น และมาทำการทดลองเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำน่าน เพราะในสมัยที่คุณพ่อยังเป็นสมาชิกสภาจังหวัดได้ออกพื้นที่ต่างๆ เห็นอาชีพด้านการเลี้ยงปลากระชังตามภาคกลางของประเทศ จึงนำสิ่งที่เห็นมาทดลองเลี้ยงที่บ้าน เพราะพื้นที่บริเวณบ้านอยู่ติดแม่น้ำน่าน (ขวา) คุณยุภาพร ประถม “สมัยนั้นคุณพ่อเริ่มทำเป็นเจ้าแรกประมาณปี 46 ต่อมาจึงรวมกลุ่ม ตั้งเป็นกลุ่มเลี้ยงปลากระชัง ประมาณปี 49 ช่วงแรกๆ ทางกลุ่ม เลี้ยงไปได้ดี ต่อมาประสบปัญหาบ้าง ทำให้สมาชิกภายในกลุ่ม มีเลิกเลี้ยงไปบ้าง เพราะการจัดการหลายๆ อย่าง” คุณยุภาพรเล่าถึง จุดเริ่มต้น ของการทำอาชีพการเลี้ยงปลากระชังของครอบครัว ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำเป็นกระชังสำหรับเลี้ยงเธอบอกว่าเป็นเหล็กที่มีอยู่เดิม เพราะสมัยก่อนที่บ้านก็ทำอาชีพรับเหล่าก่อสร้างด้วย จึงได้นำเหล็กเหล่านั้นมาประกอบเป็นกระชังสำหรับเลี้ยงปลาในแม่น้ำ และเมื่อเลี้ยง
ผลจากการเรียนจบมาทางด้านสัตวแพทย์ ก็ทำให้ น.สพ. ตุลา ตรงเมธีรัตน์ เข้าใกล้ชิดสัตว์บางชนิดมากขึ้น ไม่เฉพาะแค่ระบบร่างกายของสัตว์ชนิดนั้น แต่กลับเป็นเรื่องของการจัดการระบบการเลี้ยง การดูแล การส่งเสริม รวมถึงการขาย น.สพ. ตุลา ตรงเมธีรัตน์ เป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบทางด้านสัตวแพทย์ แต่ไม่เปิดคลินิกรักษาสัตว์ กลับเข้าทำงานในบริษัทเอกชน ที่ให้บริการส่งเสริมการเลี้ยงปลาครบวงจร ในตำแหน่งนักวิชาการของบริษัท ทำให้รู้และเข้าใจระบบการเลี้ยงปลาอย่างถูกวิธี จึงมีแนวคิดทำอาชีพอิสระด้วยการเลี้ยงปลากระชัง ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่มี “แหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงปลา เป็นประการสำคัญประการแรกที่ควรคำนึงถึง” น.สพ. ตุลา บอก การเลี้ยงปลาที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่สนใจต้องการเลี้ยงปลา หรือมือใหม่ที่เริ่มก้าวเข้ามาเป็นเกษตรกรเลี้ยงปลา ควรเลือกแหล่งเลี้ยงที่เหมาะสม เพราะเป็นประการสำคัญที่มีปัจจัยต่อความเสียหายของการเลี้ยงอย่างมาก น.สพ. ตุลา เลือกลำน้ำพอง เป็นแหล่งเริ่มเลี้ยงปลากระชัง และเลือกปลานิล ปลาทับทิม เพราะเห็นว่าเป็นปลาที่สามารถจำหน่ายได้ทั่วไปในท้องตลาด ซื้อ-ขายง่าย และระยะเวลาการเลี้ยงต่อรอบจับจำหน่ายไม่ไ
การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเชิงเศรษฐศาสตร์ ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำทั่วไปตามธรรมชาติ อีกทั้งเป็นการช่วยให้ผู้ที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถสร้างอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ บริเวณริมเขื่อนวชิราลงกรณ หรือชื่อเดิมคือเขื่อนเขาแหลม ตั้งอยู่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรีมีชาวบ้านตั้งรกรากเพื่อทำมาหากินด้วยการจับสัตว์น้ำ บางรายมีที่ดินก็ปลูกบ้าน บางรายไม่มีที่ดินก็สร้างแพ คุณสมชาย ศาลาคำ อายุ 51 ปี เป็นอีกคนที่มีชีวิตครอบครัวพักอาศัยในแพและยึดอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณริมเขื่อนเขาแหลมมากว่า 17 ปี ด้วยการซื้อพันธุ์ปลาแล้วมาเลี้ยงส่งขายเองตามร้านอาหารเรียกว่าเป็นทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายขายตรงในเวลาเดียว ถือว่าทำงานแบบครบวงจรเลย และด้วยความเพียร ความอดทน การเป็นผู้เรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง จนกระทั่งเขาสามารถสร้างฐานลูกค้าได้อย่างมั่นคง สร้างรายได้นับหลายแสนในแต่ละเดือน สามารถส่งบุตรสาวเรียนได้ถึงระดับปริญญาโท จนทุกวันนี้เขามีความสุขกับครอบครัวแล้วยังมีแผนที่จะต่อยอดอาชีพนี้อีก กว่าจะมาถึงจุดสำเร็จแห่งอาชีพนี้ คุณสมชายต้องฝ่าฟันปัญหานานับประการ ถูกม
คุณชัยวัฒน์ สุขสำแดง อยู่บ้านเลขที่ 67 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าชัย อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังที่ประสบผลสำเร็จมากว่า 20 ปี โดยเขาได้ใช้พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำให้เกิดประโยชน์ ด้วยการมาเลี้ยงปลาในกระชังที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีข้อดีคือกระชังของเขาอยู่เหนือเขื่อนจึงทำให้มีน้ำเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี ทำให้เวลานี้จากงานที่คิดจะทำเป็นอาชีพเสริม กลายเป็นงานที่สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวให้กับเขาได้เป็นอย่างดี คุณชัยวัฒน์ สุขสำแดง เล่าให้ฟังว่า ช่วงสมัยก่อนนั้นมีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมทั่วไปคือ ปลูกพืช ต่อมาได้รู้สึกว่าอยากจะเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอาชีพเสริม โดยเห็นว่าบริเวณที่ดินอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำ มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี จึงมีแนวคิดว่าการเลี้ยงปลาน่าจะเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ จึงได้ทดลองเลี้ยงแบบจำนวนน้อยๆ โดยเริ่มเลี้ยงในช่วงแรก ประมาณ 2 กระชัง “ช่วงนั้นเริ่มจากทีละน้อยก่อน เพราะว่าเรื่องการตลาดเรายังไม่มีความรู้มากนัก พอเลี้ยงแล้วเริ่มประสบผลสำเร็จ ก็ขยับขยายการเลี้ยงมาเรื่อยๆ ซึ่งปลาที่เลี้ยงอยู่ในกระชังก็มี 3-4 ชนิด คือ ปลาดุก ปลาทับทิม ปลากดคัง และปลาสังกะวาด ก็เลี้ยงขายสลับกั
จากกรณีที่เขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ได้ทำการระบายน้ำออกจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำแควน้อย มาตั้งแต่เดือน กรกฎาคม จากเดิมระบายน้ำอยู่ที่ 23 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพิ่มเป็น 28 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน และ 31 ล้านลูกบาศก์ต่อวัน จนล่าสุดอยู่ที่ 43 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดของการระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ ซึ่งการระบายน้ำดังกล่าวนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนวชิราลงกรณ ได้แจ้งเตือนผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ท รวมทั้งประชาชนที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลากระชัง ให้ทราบมาโดยตลอด และที่ผ่านมายังไม่มีรายงานความเสียหายแต่อย่างใด ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายธนพล แก้วดอนหวาย อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 20 / 12 หมู่ 3 ต.จรเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี ว่ากระชังปลาได้หลุดลอยไปตามกระแสน้ำเสียหายทั้งหมด ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนกว่า 10 ล้านบาท โดยนายธนพล กล่าวว่า ตนมีกระชังปลาทั้งหมด 96 กระชัง เมื่อประมาณวันที่ 24 กรกฎาคมตนได้รับหนังสือแจ้งเตือนว่า เขื่อนวชิราลงกรณ จะทำการระบายน้ำ ลงสู่แม่น้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่มีฝนตกทางตอนเหนือของแม่น้ำโขงและในพื้นที่ จ.หนองคาย ติดต่อกันหลายวัน ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงขึ้น-ลง อย่างรวดเร็วสลับกันไป และมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวและขุ่นมากขึ้น ล่าสุดระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ไหลผ่าน จ.หนองคาย วัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ อยู่ที่ระดับ 10.55 ม. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของเมื่อวานนี้ถึง 93 ซม. ต่ำกว่าตลิ่งเพียง 1.65 ม. และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำสถิติใหม่ทะลุ 11 เมตร เนื่องจากวันนี้ระดับน้ำโขงทางตอนเหนือ คือ ที่สถานีเชียงคาน จ.เลย สูงขึ้น 78 ซม. ซึ่งจะไหลมาถึงหนองคายภายใน 20 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีฝนตกทั้งในพื้นที่ ทางตอนเหนือของไทย และ สปป.ลาว ที่จะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นอีก โดยระดับน้ำโขงที่ขึ้น-ลง อย่างรวดเร็วสลับกัน อีกทั้งยังเชี่ยวและขุ่นข้น ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องกับเกษตรกรที่เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะที่บ้านพร้าวใต้และบ้านเจริญสุข ต.หินโงม ที่มีเกษตรกรเลี้ยงปลา ประมาณ 80 ราย กระชังปลารวมกว่า 2,000 กระชัง ช่วงนี้ปลาถูกกระแสน้ำพัดไปชนกระชัง จนเกล็ดถลอก ป่วยและตายเป็นจำนวนมาก จากปกติ 1 กระชัง จะตายไม่เกิน 2-3 ตัว
“ชาวบ้านในพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอาชีพเพียงอาชีพเดียว แต่ละครอบครัวจะมีอาชีพอย่างน้อย 2 อาชีพ ขึ้นไป อาชีพแรกก็จะทำสวนยางพารา อาชีพที่สองที่ตอนนี้ทุกคนทำกันอยู่ก็จะเป็นเรื่องการเลี้ยงปลากระชัง เพราะพื้นที่นี้อยู่ติดกับแนวชายฝั่งทะเล และระบบนิเวศป่าชายเลน ดังนั้น การเลี้ยงปลากระชังจึงเป็นอีกอาชีพที่สามารถทำได้ โดยที่ทุกครัวเรือนสามารถทำเงินได้จริงแบบประหยัดต้นทุน ด้วยการนำลูกปลามาเลี้ยงให้ใหญ่แล้วส่งขายได้” คุณบรรจง กล่าว คุณบรรจง นฤพรเมธี อยู่บ้านเลขที่ 145/1 หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งภายในฟาร์มของเขาไม่เพียงทำเป็นฟาร์มปลาอย่างเดียว ยังจัดพื้นที่บางส่วนทำเป็นโฮมสเตย์พักผ่อนริมชายฝั่งทะเล เพื่ออยู่กับธรรมชาติ ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน และที่สำคัญผู้ที่ได้มาเที่ยวยังได้รับประทานอาหารสดๆ จากปลาในกระชังที่เป็นเมนูสำหรับต้อนรับผู้ที่มาเข้าพักอีกด้วย คุณบรรจง เล่าให้ฟังว่า ชุมชนในย่านนี้เริ่มเลี้ยงปลากระชังมาตั้งแต่ปี 2520 โดยหลักการเลี้ยงจะนำลูกพันธุ์ปลาที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ โดยหาช้อนมาปล่อยลงในกระชัง เช่น ปลากะพง ปลาเก๋า ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่
คุณกัลญา สุริยัน ผู้เพาะเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังริ่มฝังแม่น้ำเจ้าพระยามานากว่า 20 ปี เล่าประสบการณ์การเลี้ยงให้กับทีมงานฟังว่า ก่อนจะหันมาประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังตนเคยประกอบอาชีพรับจ้างมาก่อน แต่ด้วยเป็นอาชีพที่มีเวลาให้กับครอบครัวน้อย จึงคิดมองหาอาชีพที่สามารถทำอยู่ที่บ้านเพื่อจะมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง สามารถใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ คุณกัลญาจึงมีแนวคิดหันมาให้สนใจเพาะเลี้ยงปลาในกระชังริมแม่น้ำส่งจำหน่าย เพราะมองว่าอาชีพนี้เป็นหนึ่งอาชีพที่ตอบโจรย์ความต้องการของตนเองได้ จึงตัดสินใจเริ่มใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่บ้านเพาะเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง คุณกัลญา เริ่มเพาะเลี้ยงปลาในกระชังอยู่ที่บ้านเลขที่ 13/1 หมู่ที่ 2 ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยเริ่มต้นทดลองเลี้ยงครั้งแรกเพียง 2 กระชัง “แรกๆ ที่เลี้ยงพี่ก็ยังไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังเลย แต่ด้วยความตั้งใจใช้เวลาศึกษา สอบถามจากผู้รู้ และขอคำปรึกษาเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนที่คอยมาเป็นพี่เลี้ยงสอนเทคนิคขั้นต
เมื่อวันที่ 8 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำมูล พื้นที่บ้านท่าลาด หมู่ที่ 8 ต.ท่าลาด อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี จำนวนมากกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลังปลาในกระชังเริ่มลอยคอ น็อคน้ำขึ้นมาตายจำนวนมาก ขณะที่มีผู้เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำมูล ประมาณ 500 กระชัง สร้างความเสียหายแก่เกษตรกรรายละกว่า 1 แสนบาท ล่าสุด เจ้าของกระชังปลาเร่งเพิ่มออกซิเจนเพื่อช่วยเหลือปลาในกระชังที่เหลือโดยด่วนน.ส.สัมพันธ์ จำปาจันทร์ อายุ 56 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง หมู่ที่ 8 บ้านท่าลาด ต.ท่าลาด เปิดเผยว่า เลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำมูล รวม 30 กระชัง มีทั้งปลานิล และ ปลาทับทิม หลังระดับน้ำในแม่น้ำมูลลดต่ำลงมาก เนื่องจากฝายหัวนาไม่เปิดประตูระบายน้ำ เริ่มสังเกตพบปลามีอาการโผล่ขึ้นมาหายใจบ่อยขึ้น บางตัวตายลงไป เรียกว่า ปลาน็อคน้ำ“คาดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากสภาพอากาศเริ่มร้อน และฝายหัวนาปิดประตูระบายน้ำ ทำให้ระดับน้ำมูลลดต่ำลง ทำให้ปลาขาดออกซิเจนเฉียบพลัน ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา กระทั่งรุ่งเช้าพบปลาลอยตายจำนวนมาก โดยเป็นปลาที่เลี้ยงไว้มีอายุ 2-4 เดือนพร้อมนำออกขายแล้ว ปกติขายราคากิโลก