ปลากระชัง
นครราชสีมา – นายธนนชัย สืบพรหม ประมงอำเภอครบุรี เผยมีรายงานพบปลาชะโดในเขื่อนลำแชะและคาดว่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด ถูกปลาชะโดรวมถึงปลาล่าเนื้อชนิดอื่นๆ ไล่กัดเป็นบาดแผลลอยตายมากในแต่ละวัน พบเห็นทั่วไปในเขื่อนลำแชะ อีกทั้งปลากระชังที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ก็ถูกปลาชะโดเข้าไปรบกวนสร้างความเสียหายอยู่เป็นประจำ เชื่อว่าปลาชะโดในเขื่อนลำแชะมีจำนวนมากเกินไป ส่งผลต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำ กระทบต่อจำนวนประชากรปลาชนิดอื่นที่อาจจะถูกล่าและลดจำนวนลง ส่งผลต่อวิถีชาวบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มชาวประมงที่ต้องหาสัตว์น้ำมาเลี้ยงดูครอบครัว อาจหาปลายากขึ้น ผู้ใดที่จับปลาชะโดได้ ให้นำขึ้นมากำจัดเสีย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ไม่อยากให้ปล่อยลงลำน้ำกลับคืน ปลาชะโดมีนิสัยดุร้ายมากหวงถิ่น ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง แม้กระทั่งคน ลูกครอกชะโดในแต่ละฝูงไม่น้อยกว่า 100 ตัว พ่อแม่ชะโดที่ดูแลลูกครอกเหล่านี้ดุร้าย ขย้ำทุกสิ่งที่เข้ามากวนลูกครอก ทำให้มากกว่า 90% ของจำนวนลูกครอกอยู่รอดและขยายพันธุ์ต่อไป เป็นผลทำให้ระบบนิเวศของสัตว์น้ำจืดใน
วันที่ 11 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในเขต อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง พบว่ายังคงน่าเป็นห่วง ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากน้ำมีปริมาณมาก เพิ่มระดับสูง และไหลแรง ชาวบ้านต้องใช้เรือเป็นพาหนะเข้าออกบ้านกันเป็นส่วนใหญ่ นอกจากประชาชนจะเดือดร้อนจากน้ำท่วมบ้านและถนนหนทางแล้ว เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังก็เดือดร้อนไปด้วย ต้องจนปลาใส่ตะกร้าออกชั่งขายริมถนนโดยที่บริเวณริมถนนทางเข้าหมู่บ้านหมู่ 5 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาทับทิมต่างใช้เรือขนปลาทับทิมใส่ตะกร้ามาชั่งขาย โดยมีพ่อค้ารับขับรถมารับซื้อและชั่งขายกันริมถนน ซึ่งทั้งคนซื้อและคนขายต่างช่วยกันคนละไม้ละมือ จากการสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาทับทิมรายหนึ่งเผยว่า ตนได้เลี้ยงปลาทับทิมไว้ในกระชังที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยตอนนี้กระแสน้ำที่ไหลแรงส่งผลต่อปลาทับทิม เนื่องจากกระแสน้ำได้พัดกระชังปลาทำให้มาสีโดนกับตัวปลา จึงต้องจับปลาขึ้นมาขาย แต่การซื้อขายก็ลำบาก เนื่องจากถนนทางเข้าหมู่บ้านถูกน้ำท่วมหมด พวกเกษตรกรพ่อค้าปลาจึงได้ช่วยกันพายเรือเข้าไปยังกระชังปลาและจับปลาใส่ตะกร้าวางมาบนเรือครั้งละ 2-3 ตะกร้า ก่อนที่
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม เวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานีในขณะนี้ว่า ระดับน้ำมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ทางเขื่อนเจ้าพระยาได้เพิ่มการระบายน้ำสู่ท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดวันนี้ได้ทำการระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 1,394 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยน้ำที่ไหลผ่านมานั้นมีความเชี่ยวแรงและมีลักษณะน้ำมีสีขุ่นแดงและมีตะกอนค่อนข้างมาก ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวนในช่วงที่ฝนที่ตกลงมาเป็นประจำทำให้ปลานั้นมีอาการเมาน้ำขาดอ๊อกซิเจนได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังบริเวณบ้านท่ารากหวาย หมู่ที่ 3 ต.เกาะเทโพ อ.เมือง จ.อุทัยธานี ซึ่งเป็นแหล่งของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง หลายร้อยกระชัง ซึ่ง 1 กระชังนั้น จะเลี้ยงจำนวน 1,400 ตัว โดยขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานั้นต้องใช้สลิงและเชือกขนาดใหญ่ ทำการชักลากกระชังปลาให้เข้าใกล้ฝั่งมากที่สุด และผูกยึดให้แน่นมีความแข็งแรง และเร่งเย็บตาข่ายกระชังปลาให้มีความแน่นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งต้องคอยเก็บเศษกิ่งไม้ต่างๆที่ลอยมากับกระแสน้ำออกจากกระชังปลาเพื่อป้องกันไม่ให้กระชังขาดจนปลาหลุดออกจากกระชังจนสร้
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังในคลองอู่ตะเภา ในพื้นที่หมู่ 7 ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ร้องเรียนว่า ปลานิล ปลากด และปลาชะโอน ที่เลี้ยงไว้ ลอยตายเกลื่อนกระชังต่อเนื่องมาอย่างน้อย 3 วัน ทำให้ปลาที่เลี้ยงไว้ประมาณ 40,000 ตัว ตายเกือบทั้งหมด โดยคาดว่ามีการลอบปล่อยน้ำเสียลงคลองอู่ตะเภาในช่วงที่มีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก นายพิชิต ประทุมทอง ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาบ้านบางศาลา กล่าวว่า ปลาที่ตายมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผู้เลี้ยงปลา 20 ราย เดือดร้อนทั้งหมด อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้ปลาที่เหลืออยู่รอดชีวิต รวมถึงให้ผู้เลี้ยงปลาสามารถเลี้ยงปลาได้โดยไม่ต้องกังวลถึงปัญหาการลอบปล่อยน้ำเสียลงคลอง สำหรับบริเวณดังกล่าวนั้นถือเป็นพื้นที่ตอนกลางของคลองอู่ตะเภา และมีการปิดประตูระบายน้ำคลองอู่ตะเภา ทำให้น้ำไม่มีการไหลเวียน หากมีสารพิษเข้ามาสมทบประกอบกับมีตะกอนดินอยู่จำนวนมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดต่ำลงจนทำให้ปลาขาดอ๊อกซิเจนและตายในที่สุด อย่างไรก็ตาม นายวรรณนัฑ หิรัญชุฬหะ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาก
นายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว ประธานสมาพันธ์เกษตรกรจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ว่ามีเห็บน้ำระบาดหนักในทะเลสาบสงขลา อันเนื่องมาจากน้ำในทะเลสาบสงขลาจืดกว่าปกติ เพราะมีน้ำจืดจากฝนตกน้ำท่วมไหลลงทะเลสาบปริมาณมาก ทำให้เห็บน้ำเติบโตได้ดีและเกาะกินเลือดปลากะพงขาวที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในกระชังริมทะเลสาบ พื้นที่ตำบลปากรอ และป่าขาด อำเภอสิงหนคร ทำให้ปลากะพงขาวตายกว่า 100 กระชัง เกษตรกรขาดทุน “การแก้ปัญหาทำได้ยาก เนื่องจากเป็นการเลี้ยงปลาในระบบเปิด การจะนำสารเคมีฆ่าเห็บน้ำจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ จึงต้องรอธรรมชาติช่วยเหลือ โดยให้น้ำเค็มเข้ามาตามสภาวะปกติ จะทำให้เห็บน้ำตายไป แต่ปัญหาคือเกษตรกรไม่มีเงินลงทุนรอบใหม่ จึงอยากให้ทางการช่วยเหลือ สมาพันธ์อยู่ระหว่างตรวจสอบและรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอความช่วยเหลือ” นายชัยวุฒิ กล่าว ขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน
นายสุรศักดิ์ วานิชกิจ สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติและเลขานุการคณะกรรมการด้านประมง สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในปัจจุบันผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงปลากระชัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลานิล ปลาทับทิม มีปริมาณสูงนับแสนตันหรือราวร้อยละ 50 ของผลผลิตปลานิลของประเทศ กระชังที่เลี้ยงมีขนาด 20-25 ตารางเมตร รวมจำนวนมากกว่า 50,000 กระชัง ได้ผลผลิต 30-40 กิโลกรัม/ตร.ม. รอบการผลิตเฉลี่ย 2 รอบ/ปี โดยมีการเลี้ยงกระจายในหลายจังหวัดที่มีลำแม่น้ำและเขื่อน สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนหลายหมื่นครัวเรือน และตามที่ได้มีพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 24 มกราคม พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศนั้น ยังผลให้เกษตรกรอาชีพการเพาะเลี้ยงปลากระชังในลำแม่น้ำต่างๆประสบความเดือดร้อนและอาจต้องเลิกอาชีพนี้ทั้งหมด เนื่องจาก พรบ.ดังกล่าวเรียกเก็บค่าตอบแทนเป็นรายปี ซึ่งไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 100 บาท และมีบทลงโทษจำคุก หรือปรับไม่น้อยกว่าตารางเมตรละ 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และต้องระวางโทษปรับเป็นรายวันอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีกฎหมา
สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดอ่างทอง ยังคงน่าเป็นห่วง หลังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อย ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนอกจากน้ำจะเอ่อท้นไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่มีบ้านเรือนใน อ.ป่าโมก และอ.เมืองอ่างทอง ที่มีบ้านเรือนประชาชนติดอยู่กับริมแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ประชาชนใน อ.วิเศษชัยชาญ ที่มีบ้านเรือนติดกับน้ำน้อยยังได้รับผลกระทบไปด้วย ไม่เว้นแม้แต่เกษตรกรผู้ยึดอาชีพผู้เลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก่อนหน้านี้ หลังจากที่เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนเพิ่ม ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มและไหลแรงขึ้น เกษตรกรที่เลี้ยงปลากระชังต้องช่วยกันใช้เชือกขึงยึดกระชังปลาเอาไว้อย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้กระชังปลาเสียหาย แต่ขณะนี้ด้วยความแรงของกระแสน้ำ ทำให้ปลานั้นไม่สามารถว่ายทานได้ เกิดการน็อคตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยจะตายวันละกว่า 300 กิโลกรัม หรือประมาณวันละกว่า 1000 ตัว เกษตรกรต้องคอยไปตักปลาที่ตายขึ้นมาอยู่วันละหลายรอบ และตัดสินใจที่จะขายปลาในกระชังก่อนกำหนด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้แบบนี้จะทำให้ปลาตายเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ขาดทุนย่อยยับ ล่าสุดเมื่อเวลา 22.00 น. ของวันนี้ (25 ก.ย.
พ.ต.ท. ฤทธิ์ ศิริเทพ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรรำมะสัก ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง กล่าวว่า การเลี้ยงปลากระชังเป็นโครงการ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นนโยบายของผู้บังคับบัญชา สนับสนุนให้ตำรวจชั้นผู้น้อย ใช้เวลาว่างหารายได้เลี้ยงครอบครัว ประกอบกับที่หน้าโรงพัก ส.ภ.ต. รำมะสัก มีคลองสีบัวทองมีน้ำไหลผ่านตลอด สามารถที่จะเลี้ยงปลาได้ จึงส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเลี้ยงปลากระชัง โดยเลี้ยงปลาเทโพและปลาดุก ในกระชังขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร จำนวน 4 กระชัง โดยใช้เวลาว่างดูแล กระชังปลา ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงนำร่องการเรียนรู้ เป็นทุนอาหารกลางวันตำรวจ พร้อมนำไปปรับใช้ในการทำอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน