ปลากะพงขาว
ทำไม? ปลากะพงสามน้ำ แห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ถึงเป็นของดีประจำจังหวัดสงขลา ที่ได้มาตรฐาน GI หรือสินค้าตามแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และได้ชื่อว่า เป็นวัตถุดิบเลื่องชื่อ ที่ตลาดร้านอาหารมีความต้องการสูง นายพลอิทธิ์ กรกอง ตัวแทนเกษตรกร เล่าว่า ปลากะพงสามน้ำ คือปลากะพงขาวที่เกษตรกรเลี้ยงกันในทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุม 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ อำเภอสิงหนคร อำเภอบางกล่ำ และอำเภอควนเนียง เกษตรกรจะเริ่มจากการนำลูกพันธุ์ปลากะพงขนาด 3 นิ้ว ซึ่งต้องเป็นลูกพันธุ์จากแหล่งทะเลสาบสงขลาเท่านั้น จากนั้นนำมาปล่อยในกระชังกลางทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ใช้วิถีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม ใช้เวลาในการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดผสมปลาสดสับประมาณ 1-2 ปี เพื่อให้ได้ปลากะพงน้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม ซึ่งความพิเศษของทะเลสาบสงขลาที่ทำให้ปลากะพงได้ชื่อว่า เป็นปลาสามน้ำ มาจากกระแสน้ำขึ้น น้ำลง ที่ทำให้น้ำมีภาวะเป็นทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย หมุนเวียนตลอดทั้งปี ปลาจากที่นี่จึงมีความพิเศษกว่าทั่วไป เพราะจะมีเนื้อแน่น นุ่ม มัน ไม่คาว รสชาติดี เนื้อปลามีสีขาว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แบ่งเป็น
ประมงจังหวัดสงขลา และ ประมงจังหวัดพัทลุง ยืนยันทะเลสาบสงขลายังไม่พบปลาหมอคางดำ ไม่นิ่งนอนใจจับมือเอกชนและชุมชนปล่อยลูกปลากะพงขาวลงแหล่งน้ำ ด้วยแนวทางเชิงป้องกัน สร้างแนวกันชนด้วยการปล่อยลูกพันธุ์ปลากะพงขาวลงในแหล่งน้ำ ป้องกันปลาหมอคางดำรุกเข้าไปในทะเลสาบสงขลา พร้อมผนึกพลังชุมชนและชาวประมงเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง นายภูษิต จันทร์เพชร ประมงจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า ที่ผ่านมาประมงจังหวัดพัทลุงบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ชาวประมง และภาคเอกชนจัดการปัญหาปลาหมอคางดำ ทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลกับชุมชนในจังหวัด และชาวประมงที่อยู่รอบทะเลสาบเพื่อสร้างการรับรู้ปลาชนิดนี้ให้ช่วยกันสอดส่อง ยับยั้ง ป้องกัน เฝ้าระวังในพื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลา และรอยต่อระหว่างจังหวัดสงขลา และจัดชุดปฏิบัติการชาวประมงสำรวจปลาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยังไม่พบปลาหมอคางดำในทะเลสาบสงขลา ทั้งนี้ พัทลุงไม่เคยนิ่งนอนใจให้ความสำคัญกับการดำเนินการเชิงป้องกัน ติดตามสำรวจปลาหมอคางดำในพื้นที่ ไม่รอให้เกิดการแพร่ระบาดไปในหลายพื้นที่ และในช่วงที่มีฝนตกชุกในพื้นที่ จังหวัดพัทลุงได้ปล่อยปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้ว จำนวน
“ปลากะพงขาว” เป็นปลาน้ำกร่อย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ในบริเวณเขตจังหวัดชายทะเล เนื่องจากเลี้ยงง่ายและเนื้อมีรสชาติดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรมีการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันเกษตรกรยังต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนในการเลี้ยงปลากะพงขาว เนื่องจาก 60 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุนการเลี้ยง เป็นค่าอาหาร ทั้งแบบการใช้ปลาสดจากธรรมชาติ และการใช้อาหารสำเร็จรูป นอกจากนี้ อาหารแต่ละชนิดยังมีคุณค่าทางอาหารและโภชนาการที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้น การพัฒนาดัชนีชี้วัดการเจริญเติบโตของปลากะพงขาวที่ตอบสนองต่อโภชนาการ เพื่อให้ได้อาหารที่มีโภชนาการดีและทำให้ปลามีการเจริญเติบโตดี โดยเฉพาะส่วนของเนื้อปลากะพงขาวจะสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรได้ ทีมนักวิจัยกรมประมง จึงได้ศึกษา “การใช้หน่วยพันธุกรรม Insulin-like Growth Factor (IGF) และ Myostatin (MSTN) เพื่อเป็นดัชนีวัดการเจริญเติบโตประเมินคุณค่าทางอาหาร และกระตุ้นการเจริญเติบโตของปลากะพงขาว ดร. พิชญา ชัยนาค นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาปร
วันที่ 24 เมษายน สถานการณ์ปลากะพงขาวที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ในกระชังริมทะเลสาบสงขลารอบตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ที่ช็อกตายต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีปลาตายแล้วหลายสิบตัน ล่าสุดวันนี้ยังคงพบมีปลากะพงขาวตายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกระชังปลาของนายพงศ์ธร รัตนประทีป ในพื้นที่หมู่ 9 ตำบลเกาะยอ ที่เลี้ยงเอาไว้กว่า 100 กระชัง มีปลาช็อกและกำลังจะตาย จมลงในน้ำ ปลาส่วนใหญ่เป็นปลาที่ได้ขนาดส่งขาย คือตัวละ 3-5 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท นายพงศ์ธรบอกว่า เชื่อว่ามีปัญหาการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงในคลองธรรมชาติ ก่อนที่จะถูกระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลา ทำให้ปลากะพงช็อกตาย เนื่องจากก่อนที่ปลาจะช็อกนั้น ได้กลิ่นเน่าเหม็นรุนแรง แม้จะมีการพยายามใช้ผงออกซิเจนเพื่อกู้วิกฤต แต่ก็ไม่เป็นผล ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี และอยากให้ส่วนราชการเร่งยื่นมือมาช่วยเหลือ เพราะความเสียหายในครั้งนี้ถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว เนื่องจากได้มีการกู้ยืมเงินมาลงทุนเลี้ยงปลาล็อตนี้ถึง 2 ปี แต่เมื่อจะจับส่งขายได้ในราคากิโลกรัมละ 165 บาท วันนี้เหลือเพียง 5-100 บาทเท่านั้น ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนทันที โด