ปลาช่อน
ปลาช่อน เป็นปลาที่อาศัยแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ เป็นปลาที่มีเกล็ดลักษณะลำตัวกลม และเรียวยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร หางมีลักษณะแบนข้าง ปากกว้างซึ่งภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวมีสีคล้ำอมน้ำตาลอ่อน ปลาช่อนเป็นปลาที่มีความพิเศษคือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนได้เป็นแรมเดือน โดยการสะสมพลังงานไว้หรือที่เรียกว่า ปลาช่อนจำศีล เนื้อปลาช่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู หรือทำเป็นปลาเค็มใส่เกลือก็อร่อยไม่แพ้กัน จึงนับว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและในกระชัง คุณกังวาล ชูแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 200 หมู่ที่ 1 ตำบลสระพังลาน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ลองเลี้ยงปลาช่อนจนประสบผลสำเร็จ จึงยึดเป็นอาชีพสร้างงานสร้างเงินได้แบบสบายๆ ในเวลานี้ คุณกังวาล เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีตนเองมีอาชีพค้าขายของชำทั่วไปกับภรรยา ต่อมาได้เห็นพี่ชายของภรรยาเลี้ยงปลาช่อน จึงเกิดความสนใจที่อยากจะทดลองเลี้ยงบ้าง เพราะสมัยก่อนนั้นต้นทุนเรื่องอาหารยังไม
คุณชาญ บัววิเชียร หรือที่ทุกคนเรียกแกว่า ลุงชาญ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 150 หมู่ที่ 1 ตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลาช่อนมามากกว่า 20 ปี โดยรับซื้อลูกพันธุ์จากชาวบ้านที่ไปช้อนมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในอำเภอสองพี่น้อง และลุงชาญก็นำมาอนุบาลต่อ เป็นงานที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว รวมทั้งประชาชนทั่วไปอีกด้วย ลุงชาญ ชายผู้มากด้วยรอยยิ้มและมีอารมณ์ขัน เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีตนมีอาชีพเป็นช่างตัดผมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อทำมาได้ระยะหนึ่งรายได้ที่หาได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย จึงได้หยุดอาชีพนั้นกลับมาทำงานอยู่ที่ต่างจังหวัด คือ สุพรรณบุรี “ช่วงนั้นเป็นช่างตัดผมอยู่แถวรามคำแหง เงินที่ได้รับไม่ค่อยพอ เลยตัดสินใจเป็นช่างตัดผม กลับมาอยู่บ้านต่างจังหวัดน่าจะดีกว่า ก็มาเป็นลูกจ้างทั่วไป ยิงนกตกปลาตามแต่จะทำอะไรของชนบทที่ทำได้ จนกระทั่งวันหนึ่งได้รู้จักกับคนที่เลี้ยงปลาช่อน เราก็ได้ศึกษาการเลี้ยงและทดลองเลี้ยง ก็ประสบผลสำเร็จดีมาก ปลาได้น้ำหนักดีกว่าที่คิด จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้มายึดอาชีพด้านนี้” คุณชาญ บอก ต่อมาประมาณปี 2533 ได้มีแนวคิดริเริ่มทดลองผลิตลูกเพาะปล
คุณณรงค์ ศรีทองอ่อน เจ้าของร้านเฮียติ่งปลาเผา ตั้งอยู่เลขที่ 75/1 ถนนโพธิ์อ้น ตำบลหวายสอ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นอีกหนึ่งคนที่ยอมเปลี่ยนอาชีพจากการขายส่งปลา มาทำธุรกิจอาหารนั่นก็คือ ปลาช่อนเผาอบชานอ้อย โดยได้อาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปลาที่มีอยู่ มาใช้ในการประกอบธุรกิจนี้และประสบความสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็ว และกลายเป็นงานที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ให้กับครอบครัวของเขาในขณะนี้ คุณณรงค์ ศรีทองอ่อน (เฮียติ่ง) ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการเริ่มต้นการทำอาชีพว่า เขาเริ่มต้นอาชีพการของเขาด้วยการจับปลาเลี้ยงปลาได้ประมาณ 20 ปีที่แล้ว โดยเขาจะนำปลาที่ได้จากการเลี้ยงไปขายส่งที่ตลาดไทเป็นหลัก แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัวอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คุณณรงค์ และภรรยา คือ คุณตุ๊กตา มีความคิดที่จะหารายได้เพิ่มด้วยการเปิดร้านขายส้มตำเล็กๆ สักร้าน ต่อมาจึงได้เปิดร้านส้มตำเพื่อสร้างรายได้เสริม พร้อมกับอาชีพหลักที่ส่งขายปลาไปพร้อมๆ กัน จนกระทั่งที่ตลาดบางลี่ ในอำเภอสองพี่น้อง ได้มีการจัดงานเทศกาล “อาหารดี เมืองสองฤดู” จึงทำให้คุณ
คุณขจร เชื้อขำ บ้านเลขที่ 51/3 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงปลาช่อน ชนิดที่ว่าตัวยงเลยก็ว่าได้ มีทั้งการเพาะพันธุ์ลูกปลาช่อน การเลี้ยงปลาช่อนส่งเนื้อขาย และที่สำคัญมีการแปรรูปสินค้าจากเนื้อปลาช่อนอีกด้วย คุณขจร เล่าให้ฟังว่า สมัยเริ่มแรกของช่วงอายุวัยทำงาน ตนได้เลือกทำอาชีพเกษตรกรรม คือ การเลี้ยงปลา เมื่อคิดว่าเหมาะสมกับทางสายงานด้านนี้แล้ว จึงจับเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งปลาที่คุณขจรเลี้ยงในช่วงแรกเป็นปลาทับทิม ต่อมาได้ไปศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์ปลาช่อนจากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสนใจอยากเลี้ยงปลาช่อนแบบจริงจังในเวลาต่อมา “ช่วงที่เราเลี้ยงปลาทับทิมอยู่ คนในย่านนี้เขาก็เลี้ยงปลาช่อนกันอยู่ เน้นไปหาช้อนลูกปลาจากธรรมชาติมาเลี้ยงใส่บ่อกันส่วนมาก ซึ่งช่วงนั้นที่ฟาร์มเราก็ทำ แต่ยังไม่มาก ต่อมาพอได้ไปเข้าร่วมอบรมหาความรู้ เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาช่อนที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงฯ ก็เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำปลาชนิดนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง เพราะเรามองดูแล้วมันไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยาก เพร
“โดโด้พันธุ์ปลา” เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาช่อน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 24/2 หมู่ที่ 6 ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร แล้วยังเพาะพันธุ์ปลาชนิดอื่นอีก อาทิ ปลาดุก ปลาสลิด และปลาหมอ ฯลฯ พร้อมแปรรูป มีตลาดลูกค้าสั่งจองทั่วประเทศ โดยมี คุณอนุชา บุญสินชัย หรือ คุณเดี่ยวเป็นเจ้าของ คุณอนุชา บุญสินชัย หรือคุณเดี่ยว แต่เดิมคุณเดี่ยวช่วยครอบครัวภรรยาทำไร่ ทำนา อยู่หลายปี มองว่าอาชีพที่ทำอยู่ไม่ได้สร้างฐานะให้ดีขึ้นหรือยั่งยืนดีพอ จึงพยายามมองหาอาชีพเกษตรอื่น ขณะเดียวกัน ทางครอบครัวภรรยาได้เลี้ยงปลาช่อนขายด้วย จึงทำให้คุณเดี่ยวลองหันมาเลี้ยงปลาช่อนอย่างจริงจัง ระหว่างนั้นคุณเดี่ยวมองอีกว่า การเลี้ยงปลาช่อนขายต้องไปหาซื้อลูกพันธุ์ปลามา ตัวละ 3 บาท เลี้ยงไปกว่าจะโตมีต้นทุนอื่นอีก เมื่อหักแล้วก็เหลือกำไรไม่มาก หากเป็นเช่นนี้ลองมาผลิตลูกปลาช่อนเอาไว้เลี้ยงเองเพื่อจะช่วยลดต้นทุน แล้วถ้าผลิตลูกปลาได้มากก็เลี้ยงปลาช่อนขายได้จำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย คุณเดี่ยว ไปปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ประมงเพื่อขอความรู้การผสมเทียมปลา ภายหลังที่ร่ำเรียนและฝึกปฏิบัติมาระยะหนึ่งจึงกลับมาทดลองเพาะลูกพันธุ์ปลาช่อนจนประ
เมื่อนึกถึงเรื่องการประกอบอาชีพแล้ว มีให้เลือกอยู่มากมาย งานขายปลาริมถนนของ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ ก็น่าสนใจไม่น้อย เมื่อไม่นานมานี้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาสเดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ร่วมพูดคุยกับ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ เจ้าของวาทะเด็ด “อาชีพของเราทำมาค้าขาย ไม่ได้ปล้นได้ฆ่าใคร ไม่จำเป็นต้องอายใคร” เขาเป็นพ่อค้าปลาเค็มข้างทาง ผู้ไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต และความยากจน เราไปทำความรู้จักกับพ่อค้าคนนี้กัน คุณประเชิญ ปัจจุบันอายุ 51 ปี มีบุตรสาว 2 คน เล่าให้ฟังถึงอาชีพขายปลาข้างทางว่า เริ่มทำอาชีพแผงปลามากว่า 20 ปี โดยถูกพ่อตาชักชวน ปลาที่ขายจะเป็นพวกปลาเค็มตากแห้ง เช่น ปลานิล ปลาช่อน ปลาสลิด ปลาที่นำมาแปรรูปจะเป็นปลาเลี้ยงรับมาจากฟาร์มที่จังหวัดสุพรรณบุรี ราคาขายก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของปลา โดยปลาช่อนตัวใหญ่ จะขายอยูที่ 180-200 บาท ปลาช่อนตัวเล็ก 150-160 บาท ส่วนปลาสลิด จะขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 160 บาท “ปลาเค็มที่ร้านส่วนมากจะขายหมดเกือบทุกวัน และจะขายดีในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันหยุดยาวหลายวัน” พ่อค้าประเชิญ เล่า วิธีการในการทำปลาเค็ม คุณประเชิญ เล่าว่า จะใช้ป
นายวิเศษ สมุห์นวล ชาวบ้านห้วยโจด ต.ห้วยโจด อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เปิดเผยว่า เดิมครอบครัวประกอบอาชีพทำนา ทำสวน แต่ประสบปัญหาภัยแล้ง ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ บางปีภัยแล้ง บางปีน้ำท่วม พืชผลก็เสียหาย บางปี ผลิตผลดี แต่ราคาตกต่ำ ถูกกดราคาจนอยู่ไม่ได้ มีหนี้สินมากมาย ต่อมาได้เปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ โดยการรับทำอาหารโต๊ะจีนตามงานต่างๆ ช่วงแรกๆก็พอไปได้ ต่อมามีคู่แข่งมากขึ้น รายได้ก็แบ่งเฉลี่ยไป รายได้ลดลง ไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว “ตนและครอบครัวมีประสบการณ์ในการทำอาหารมาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2553 จึงได้มาตั้งร้านอาหาร เป็นเพิงหมาแหงน ใกล้กับจุดตรวจกองกำลังบูรพา โดยทางร้านจะปรุงอาหารโดยใช้ปลาช่อนเป็นหลัก เช่น ต้มปลาช่อน ลาบปลาช่อน ปลาช่อนเผาเกลือ ปลาแดดเดียวทอด ตัวละ 10 บาท หลังจากทำร้านมา 3 ปี ผลปรากฏว่า ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นได้ย้ายพื้นที่จากบริเวณหน้ากองกำลังบูรพา ไปที่บริเวณใกล้ที่ทำการ อบต.ห้วยโจด ติดถนนสุวรรณศร โดยขอเช่าพื้นที่ของเอกชนรายหนึ่ง มาปลูกเพิงหมาแหงน ขายปลาแดดเดียว และอาหารตามสั่ง โดยใช้ชื่อร้าน “ปลาช่อนวิเศษ 10 บาท” ที่ตั้งชื่อเช่นนี้เพราะว่า ตนเอง ชื่อ วิเศษ และขายปล
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ตั้งอยู่ เลขที่ 32 หมู่ที่ 2 ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คุณวินัย จั่นทับทิม ผู้อำนวยการ ให้ข้อมูลว่า ปลาช่อน เป็นปลาที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในประเทศไทย แต่การเพาะเลี้ยงด้วยวิธีการใช้อาหารเม็ดยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก คุณวินัย จั่นทับทิม ซึ่งการเพาะพันธุ์ปลาช่อนสมัยก่อนจะเน้นหาช้อนลูกปลาจากธรรมชาติมาเลี้ยง และที่สำคัญยังใช้น้ำจำนวนมากในการเลี้ยง และต้นทุนการใช้ปลาเป็ดตัวเล็กๆ จากทะเล เพื่อนำมาบดเป็นเหยื่อสดก็มีราคาที่ถูก แต่เนื่องจาก ณ ปัจจุบันนี้ สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ในหนอง คลอง บึง ก็มีปริมาณที่น้อยลงผิดกับสมัยเก่าก่อน จึงทำให้การช้อนลูกปลาช่อนแบบสมัยนี้ทำได้ยากอีกด้วย “เมื่อมีการประกาศไม่ให้จับปลาเป็ด หรือปลาที่เป็นปลาทะเลสำหรับใช้เลี้ยงปลาช่อนได้น้อยลง จึงได้มีการทำการศึกษาให้ปลาช่อนได้กินอาหารเม็ด และทำให้ปลาช่อนที่เลี้ยงสามารถผลิตลูกปลาได้เอง เพื่อให้ปลาช่อนสามารถเลี้ยงได้ยั่งยืนถาวรต่อไป กรมประมง จึงมีการศึกษาวิจัย ซึ่งสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ก็ได้เลือกปลาช่อนที่เป็น
ปลาอะราไพม่า หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ปลาช่อนยักษ์อะเมซอน (อังกฤษ : Arapaima; ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arapaima gigas) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาอะราไพม่า (Arapaimidae) เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เกล็ดมีขนาดใหญ่ สีดำเงาเป็นมัน มีแถบสีแดง–ส้ม ตัดกับพื้นสีดำ พบได้ในแม่น้ำอะเมซอนและลุ่มน้ำสาขาในทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า พิรารูคู (Pirarucu) ขณะที่ชาวพื้นเมืองที่ประเทศเปรูจะเรียกว่า ไพชี่ (Phiche) โดยปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ชาวพื้นเมืองใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ในบางท้องที่มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจ ปลาอะราไพม่า เป็นปลาที่ได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นปลาสวยงาม ซึ่งมีจุดเด่นคือ ความใหญ่โตในรูปร่าง และสีสันของเกล็ดมีแถบแดงจัด จัดได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดความยาวที่สุดในโลก ในประเทศไทยปลาชนิดนี้ถูกนำเข้ามาครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2529 และได้รับความนิยมสูงสุดในปี พ.ศ. 2530 จนปัจจุบัน หลายท่านคงคิดว่า ปลาอะราไพม่า เป็นปลาที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ดุร้าย แต่คุณศิริวรรณ เจ้าของฟาร์มกลับบอกว่า เมื่อนำมาเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงแล้ว แม้จะเป็นปลาขนาดใหญ่กลับไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวกับผู้เลี้ยง
คุณขจร เชื้อขำ บ้านเลขที่ 51/3 หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยคันแหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นเกษตรกรที่เลี้ยงปลาช่อนในชนิดที่ว่าตัวยงเลยก็ว่าได้ มีทั้งการเพาะพันธุ์ลูกปลาช่อน การเลี้ยงปลาช่อนส่งเนื้อขาย และที่สำคัญมีการแปรรูปสินค้าจากเนื้อปลาช่อนอีกด้วย (กลาง) คุณขจร เชื้อขำ คุณขจร เล่าให้ฟังว่า สมัยเริ่มแรกของช่วงอายุวัยทำงาน ตนได้เลือกอาชีพเกษตรกรรม คือการเลี้ยงปลา เมื่อคิดว่าเหมาะสมกับทางสายงานด้านนี้แล้ว จึงจับเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งปลาที่เขาเลี้ยงในช่วงแรกเป็นปลาทับทิม ต่อมาเขาได้ไปศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์ปลาช่อนจากสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้สนใจอยากเลี้ยงปลาช่อนแบบจริงจังในเวลาต่อมา “ช่วงที่เราเลี้ยงปลาทับทิมอยู่ คนในย่านนี้เขาก็เลี้ยงปลาช่อนกันอยู่ เน้นไปหาช้อนลูกปลาจากธรรมชาติ มาเลี้ยงใส่บ่อกันส่วนมาก ซึ่งช่วงนั้นที่ฟาร์มเราก็ทำแต่ยังไม่มาก ต่อมาพอได้ไปเข้าร่วมอบรมหาความรู้ เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาช่อนที่สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงฯ ก็เกิดแรงบันดาลใจที่อยากจะทำปลาชนิดนี้ขึ้นมาอย่างจริงจัง เพราะเรามองดูแล้วมันไม่น่าจะเป็