ปลาช่อน
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ตั้งอยู่ เลขที่ 32 หมู่ที่ 2 ตำบลโพแตง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คุณวินัย จั่นทับทิม ผู้อำนวยการ ให้ข้อมูลว่า ปลาช่อน เป็นปลาที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในประเทศไทย แต่การเพาะเลี้ยงด้วยวิธีการใช้อาหารเม็ดยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ซึ่งการเพาะพันธุ์ปลาช่อนสมัยก่อนจะเน้นหาช้อนลูกปลาจากธรรมชาติมาเลี้ยง และที่สำคัญยังใช้น้ำจำนวนมากในการเลี้ยง และต้นทุนการใช้ปลาเป็ดตัวเล็กๆ จากทะเล เพื่อนำมาบดเป็นเหยื่อสดก็มีราคาที่ถูก แต่เนื่องจาก ณ ปัจจุบันนี้ สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ในหนอง คลอง บึง ก็มีปริมาณที่น้อยลงผิดกับสมัยเก่าก่อน จึงทำให้การช้อนลูกปลาช่อนแบบสมัยนี้ทำได้ยากอีกด้วย คุณวินัย เล่าให้ฟังอีกว่า งานของกรมประมง คือ การนำปลาจากแหล่งธรรมชาติที่เพาะขยายพันธุ์ไม่ได้ มาทำการศึกษาวิจัยเพื่อทำให้เป็นปลาเศรษฐกิจ ซึ่งปลาช่อนก็เป็นปลาที่ได้รับความสนใจเช่นเดียวกัน เมื่อเล็งเห็นว่ามีแนวโน้มที่ดี สามารถทำได้จึงสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จ “ปลาช่อนที่เรานำมาทำการเพาะพันธุ์ จะเป็นปลาที่เราไปหามาจาก
สุพรรณบุรี เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการทำเกษตรหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำนาข้าว ปลูกพืชไร่ เช่น ไร่อ้อย ตลอดไปจนถึงพืชผักสวนครัว พืชสวนต่างๆ จึงเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งพื้นที่ที่มีผลผลิตทางการเกษตรสำคัญอีกจังหวัดหนึ่งก็ว่าได้ นอกจากจะมีเรื่องทางการเกษตรที่เป็นพืชแล้ว ทางด้านการประมงนั้นสุพรรณบุรียังมีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาด้วยเช่นกัน โดยบางพื้นที่จะเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงทุกคนในจังหวัดมาอย่างยาวนาน จึงเกิดเป็นรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี สองพี่น้อง เป็นอีกหนึ่งอำเภอที่มีการเปรียบกันว่าเป็นอู่ปลาที่มีปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาช่อนที่ยังมีอยู่ค่อนข้างมาก จึงทำให้ลูกปลาช่อนจากแหล่งน้ำธรรมชาติทำให้เกิดรายได้ของคนในพื้นที่ ด้วยการช้อนลูกปลาช่อนเหล่านั้น มาส่งจำหน่ายให้กับฟาร์มที่รับซื้อ เพื่อมาอนุบาลให้เป็นปลาไซซ์นิ้วต่อไป คุณมานิตย์ โสภณ อยู่บ้านเลขที่ 150 หมู่ที่ 1 ตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเกษตรกรที่เพาะพันธุ์ปลาช่อนมากว่า 20 ปี โดยรับซื้อลูกพันธุ์จากชาวบ้านที่ไปช้อนมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติในอำเ
คุณชาญ บัววิเชียร เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาช่อน ตำบลบางพลับ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีการบริหารจัดการตั้งแต่การนำลูกปลาจากธรรมชาติมาอนุบาลจนมีความแข็งแรงก่อนที่จะส่งจำหน่ายต่อไปยังเกษตรกรที่มีความสนใจ คุณชาญ เดิมมีอาชีพเป็นช่างตัดผม อยู่แถวมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่เบื่อความจำเจ ประกอบกับที่ต้องกลับมาดูแลพ่อแม่ จึงกลับมาอยู่บ้านเกิดและหันมายึดอาชีพเป็นลูกจ้างเลี้ยงปลาช่อน ในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี การทำงานเป็นลูกจ้างคุณชาญทำให้มีโอกาสสร้างธุรกิจเล็กเป็นของตัวเอง โดยการนำลูกปลาช่อนที่ชาวบ้านจับมาจากธรรมชาติส่วนที่เกินปริมาณการสั่งชื้อของนายจ้างมาเลี้ยงในกระชังควบคู่กับการเป็นลูกจ้าง ซึ่งในแรงๆยังไม่มีเงินทุน การเพาะเลี้ยงจึงเริ่มต้น 4 กระชัง โดยใช้ไม้ไผ่ทำเป็นหลักยึดกระชังให้ลอยอยู่ในน้ำ หลังจากที่คุณชาญเพาะเลี้ยงลูกปลาช่อนควบคู่กับการเป็นลูกจ้างมาระยะหนึ่ง ธุรกิจของนายจ้างต้องหยุดกิจการลงเนื่องเกิดปัญญา ลูกน้องแยกย้ายไปหาอาชีพอื่นๆทำกันหมด เหลือเพียงคุณชาญที่ยังให้ความสนใจถึงแม้ธุระกิจของนายจ้างจะหยุดลงแต่เขายังคงสานต่ออาชีพนี้ทำเป็นธุรกิจเล็กๆของครอบครัว คุณชาญเ
มูลนิธิบูรณะนิเวศ พบ ปลามาบตาพุด-8 พื้นที่อุตสาหกรรมสารปรอทสูงเกินมาตรฐานปลาช่อนหนักสุด ชี้ เสี่ยงอันตราย สมอง ไต เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิบูรณะนิเวศได้แถลงผลการศึกษาทางวิชาการเรื่อง “การปนเปื้อนสารปรอทในปลาและร่างกายมนุษย์ในพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2559-2560” ซึ่งเป็นการศึกษาร่วมกันของ เครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อกำจัดสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม สมาคมอาร์นิกา องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจากประเทศสาธารณรัฐเช็ก และมูลนิธิบูรณะนิเวศ โดยแบ่งออกเป็นการศึกษาปริมาณสารปรอทในเส้นผมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ และสารปรอทในสัตว์น้ำในพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การศึกษาปริมาณสารปรอทในเส้นผมสตรีวัยเจริญพันธุ์ คณะผู้ศึกษาได้ทำการเก็บตัวอย่างเส้นผมอาสาสมัคร ซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีอายุในระหว่าง 18-44 ปี 68 คนจาก 2 พื้นที่ คือ รอบเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง 34 คน และพื้นที่ เขตอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี 34 คน ก่อนนำไปตรวจวิเคราะห์ระดับสารปรอทใ
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาช่อนในพื้นที่ปลูกข้าว สนับสนุนโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามนโยบายประชารัฐ เพิ่มความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรไทย ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง โดยร่วมกันจัดทำโครงการขยายผล “การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาช่อนในพื้นที่ปลูกข้าว” โดยในปี 2560 จะมุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวเปลี่ยนมาเลี้ยงปลาช่อนให้ได้ 200 บ่อ/ราย ซึ่งมีจังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด คือ ขอนแก่น นครราชสีมา หนองคาย กำแพงเพชร และอ่างทอง ภายใต้งบประมาณกว่า 8 ล้านบาท นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “การวิจัยและพัฒนาเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ รวมทั้งการผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ความร่วมมือดำเนินโครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาช่อนในพื้นที่ปลูกข้าว ระหว่าง สวก. กับกรมประมง
“การเลี้ยงปลาช่อน เดี๋ยวนี้แตกต่างกว่าสมัยก่อนมาก คือมีการใช้อาหารเม็ดมากขึ้น ทำให้การเลี้ยงเป็นแบบมาตรฐานจีเอพี (GAP) ซึ่งทำให้ปลาที่เลี้ยงมีความสะอาด เพราะน้ำที่เลี้ยงไม่เน่าเสีย เพราะฉะนั้นตัวปลาก็สามารถทำราคาเพิ่มได้ เพราะมีที่มาที่ไป โดยสามารถตรวจสอบกระบวนการผลิตได้หมด ว่าเป็นลูกปลารุ่นไหน มีการเพาะพันธุ์ และการเลี้ยงอย่างไร ซึ่งเป็นการช่วยทำตลาดให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ทำให้วางห้างสรรพสินค้า และส่งออกยังต่างประเทศได้ เชื่อว่ายังมีโอกาสที่ดีในอนาคต” คุณวินัย จั่นทับทิม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กล่าว ปลาช่อน นับได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน เรียกง่ายๆ ว่า ถ้าไปตามร้านอาหารแล้วเมนูที่เกี่ยวกับปลาช่อน จะต้องมีอยู่ในเมนูของร้านกันเลยทีเดียว เช่น ปลาช่อนเผา แกงส้มแปะซะปลาช่อน ตลอดไปจนถึงผัดฉ่า หรือแม้แต่ต้มยำก็อร่อย เมื่อมองถึงเรื่องของการตลาดแล้ว นับได้ว่าอนาคตของปลาชนิดนี้ยังไปได้อีกไกล เพราะวิธีการเลี้ยงก็ไม่ยุ่งยากอย่างสมัยก่อน และที่สำคัญตลาดยังเป็นที่นิยม ผู้บริโภคที่ชื่นชอบกินเนื้อปลาช่อน สามารถกินได้บ่อยๆ ในราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกั
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 นายพงษกรณ์ เอ่งฉ้วน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลพรุเตียว อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ได้รับแจ้งจากนายวิโชค ถ้วยทอง อายุ 67 ปี ชาวบ้านหมู่ 8 ต.พรุเตียว อ.เขาพนม จ.กระบี่ ว่า วางไซดักปลาและได้ปลาช่อนสีทองสร้างความแปลกใจแก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก เชื่อว่าเป็นปลามงคลจึงนำมาเลี้ยงไว้ในท่อซีเมนต์ จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าปลาช่อนดังกล่าวอยู่ในท่อซีเมนต์ เจ้าของจึงจับมาใส่กะละมังให้ชาวบ้านได้ชมกันชัดๆ พบว่าปลาช่อนดังกล่าวมีลักษณะสีเหลืองทอง ลำตัวยาวประมาณ 6 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 3 ขีด มีลักษณะเหมือนปลาช่อนทั่วไป แต่ที่แปลกคือมีสีเหลืองทองทั้งตัว สร้างความประหลาดใจแก่ผู้พบเห็น นายวิโชคเจ้าของปลาช่อนทองดังกล่าวเล่าว่า เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ตนได้วางไซดักปลาในห้วยข้างบ้าน พบว่า ปลาช่อน 2 ตัวเข้ามาติดไซ แต่ที่ทำให้ประหลาดใจคือ มีปลาช่อนตัวหนึ่งที่ลำตัวมีสีเหลืองทองทั้งตัวจึงนำมาเลี้ยงไว้ในบ่อซีเมนต์ที่บ้าน แต่จะไม่กินเป็นอาหาร เพราะเห็นว่าเป็นปลาช่อนที่มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป ขณะที่ชาวบ้านที่ทราบข่าวก็แห่ไปดูกันไม่ขาดสาย เนื่องจากไม่มีใครเคยพบเห็
ปลาช่อน เป็นปลาที่อาศัยแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ เป็นปลาที่มีเกล็ด ลักษณะลำตัวกลมและเรียวยาว ประมาณ 30-40 เซนติเมตร หางมีลักษณะแบนข้าง ปากกว้าง ซึ่งภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวมีสีคล้ำอมน้ำตาลอ่อน ปลาช่อน เป็นปลาที่มีความพิเศษคือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนได้เป็นแรมเดือน โดยการสะสมพลังงานไว้ หรือที่เรียกว่าปลาช่อนจำศีล เนื้อปลาช่อนสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู หรือทำเป็นปลาเค็มใส่เกลือก็อร่อยไม่แพ้กัน จึงนับว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและในกระชัง คุณกังวาล ชูแก้ว อยู่บ้านเลขที่ 200 หมู่ที่ 1 ตำบลสระพังลาน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ลองเลี้ยงปลาช่อนจนประสบผลสำเร็จ จึงยึดเป็นอาชีพสร้างงานสร้างเงินได้แบบสบายๆ ในเวลานี้ จากพ่อค้า ผันชีวิตสู่อาชีพประมง คุณกังวาล เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมตนมีอาชีพค้าขายของชำทั่วไปกับภรรยา ต่อมาได้เห็นพี่ชายของภรรยาเลี้ยงปลาช่อน จึงเกิดความสนใจที่อยากจะทดลองเลี้ยงบ้าง เพราะสมัย