ปลูกผักข้างบ้าน
ในยุคปัจจุบัน การทำเกษตรไม่ใช่เรื่องที่จำกัดอยู่แค่ในพื้นที่ขนาดใหญ่อีกต่อไป แม้ว่าคุณจะมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยในเมือง บนดาดฟ้า ระเบียง หรือสวนหลังบ้าน คุณก็สามารถเริ่มต้นทำเกษตรและสร้างรายได้ได้เช่นกัน ที่สำคัญคือการวางแผนและเลือกเทคนิคที่เหมาะสม เพื่อให้พื้นที่จำกัดนี้สามารถสร้างผลผลิตที่คุ้มค่าและมีรายได้ตลอดทั้งปี วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวมกลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่จำกัด ที่สามารถทำเกษตรแบบครบวงจรได้อย่างน่าทึ่ง โดยใช้พื้นที่ในสวนสร้างรายได้ตลอดทั้งปี ควบคู่กับการทำอาชีพอื่นๆ หากคุณกำลังมองหาวิธีเริ่มต้นทำเกษตรในพื้นที่จำกัดและไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี มาดูเหล่ากูรูที่เนรมิตพื้นที่เกษตรให้มีรายได้กันเลย! พื้นที่ข้างบ้านมีน้อย ถ้ารู้จักการบริหารจัดการที่ดี ก็ทำรายได้ได้ไม่ยาก ในพื้นที่จำกัด ก็สามารถทำเกษตรได้หลายแบบที่เหมาะกับการใช้งานพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือบางแนวคิดและไอเดียในการทำเกษตรในพื้นที่เล็กๆ เริ่มจากสิ่งที่เราชอบละศึกษาเรียนรู้ไปกับมันจะทำให้ผลผลิตออกมาดี มีคุณภาพ มือใหม่ต้องรู้ก่อนที่จะเริ่มต้น วางแผน ก่อนจะเริ่มทำเกษตรในพื้นที่จำกัด สิ่งสำคัญคือการวางแผน เขียนแผน
เมื่อกล่าวถึงการทำการเกษตร หลายๆ คนอาจมีภาพของการมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การทำไร่ไถนากลางแดดร้อนๆ หรือถือจอบพรวนดินในพื้นที่กว้างโล่งไกลสุดลูกหูลูกตา แต่กับคุณปูเป้การปลูกผักทำสวนกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ด้วยพื้นที่รอบๆ บ้าน คุณปูเป้ได้รังสรรค์และเปลี่ยนให้พื้นที่ว่างโล่งให้กลายเป็นแปรงผักสีเขียวขจี ที่ห้อมล้อมบ้านทั้งหลังเอาไว้ วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านชวนมารู้จัก “ปูเป้” หรือ สุพัตรา ไชยชมภู เจ้าของเพจ ปูเป้ทำเอง ผู้เก็บผลผลิตจากสวนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยตัวเอง ก่อนจะเป็นปูเป้ทำเอง คุณปูเป้ เล่าว่า ก่อนหน้าการมาทำสวนในเมือง คุณปูเป้ใช้ชีวิตธรรมดาเหมือนกับนักศึกษาทั่วไป เว้นแต่เพียงว่า ในช่วงมหาวิทยาลัยนั้นคุณปูเป้ได้เปิดร้านอาหารของตัวเอง ซึ่งได้ทำให้กิจวัตรและการใช้ชีวิตนั้นเปลี่ยนไป จากตื่นกลางวันนอนกลางคืนก็กลายเป็นตื่นกลางคืนและนอนกลางวัน เมื่อถึงจุดหนึ่งคุณปูเป้ก็ตัดสินใจที่จะให้ญาติพี่น้องได้สานต่อกิจการ ในขณะที่คุณปูเป้ได้ออกมาทำในสิ่งที่ตัวเองชอบบ้าง คุณปูเป้ เล่าพร้อมรอยยิ้มว่า “สิ่งแรกก็คือ เริ่มปลูกต้นไม้ก่อนเลย” วิถีจากบ้าน สู่การทำสวนผักในเมือง เดิมทีนั้นคุณปูเป้เกิดและโ
คุณพีระพล เศรษฐพลอย หรือ พี่โจ๊ก อยู่บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ประกอบอาชีพหลักเป็นพ่อค้าขายอุปกรณ์โทรศัพท์ ผันตัวเป็นเกษตรกรสร้างรายได้เสริมยุคโควิด ดัดแปลงพื้นที่รอบบ้าน ปลูกพืชผักสวนครัว และผักสลัดอินทรีย์ สร้างรายได้เสริมจุนเจอครอบครัว ในขณะที่อาชีพหลักต้องหยุดไป ก็ยังมีรายได้จากการขายผักเข้ามาทุกวัน จนตอนนี้ผลิตไม่ทันขาย พี่โจ๊ก เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตร ว่า เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตนได้ลาออกจากงานประจำแล้วกลับมาอยู่ที่บ้านกับภรรยา ซึ่งในตอนที่ย้ายมาอยู่ที่บ้านกับภรรยา ก็ยังไม่ได้มีอาชีพอื่นใดมารองรับ อาศัยเพียงความเป็นนักสู้ของตนเอง เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการเป็นพ่อค้า เปิดท้ายขายอุปกรณ์โทรศัพท์ตามตลาดนัดในตัวเมืองเพชรบุรี จนกระทั่งได้มีโรคระบาดไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้น ส่งผลกระทบถึงรายได้ที่หดหาย เพราะออกไปขายของไม่ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตนได้มาสวมบทเป็นเกษตรกรเพื่อความอยู่รอด โดยอาศัยความรู้ที่เรียนจบมาทางด้านพืชศาสตร์ มาประยุกต์ดัดแปลงพื้นที่รอบบ้านที่มีอยู่มาใช้เพื่อทำงานเกษตร บนแนวคิดปลูกเพื่อกิน และลดรายจ่ายในครอบครัว เหลื
คุณอังคณา ปาคำ หรือ คุณจ๊ะเอ๋ ธุรการสาว เจ้าของบ้านไร่อำไพร ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 186 หมู่ที่ 3 ตำบลแม่พลู อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ที่ถึงแม้จะมีงานประจำทำอยู่แล้ว ก็ยังสามารถแบ่งเวลามาทำงานเกษตรที่ตนเองรักได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง คุณจ๊ะเอ๋ บอกว่า การปลูกผักของตนเองเริ่มจากการมีเป้าหมายอยากจะปลูกผักไว้กินเอง จึงเริ่มต้นจากการปลูกผักสลัดก่อน แต่ด้วยสภาพดินและต้นทุนการปลูกผักสลัดค่อนข้างสูง ทำให้ต้องกลับมาพิจารณาใหม่ว่าควรจะเอาเงินไปทุ่มกับตรงนี้หรือไม่ และก็คิดได้ว่าการทำเกษตรเราต้องเริ่มต้นจากศูนย์ จึงเปลี่ยนความคิดเริ่มมองจากสิ่งใกล้ตัวก่อนคือมีผักอะไรบ้างที่เราและที่บ้านชอบกิน แล้วขยายต่อไปยังชุมชนว่าคนในชุมชนชอบกินผักอะไร หรือปลูกอะไรที่ชาวบ้านเข้าถึงง่าย จับจ่ายใช้สอยสะดวก โดยนำเอาหลักความคิดเหล่านี้มาเป็นแนวทางการทำเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวผสมผสาน เช่น แตงกวา กระเจี๊ยบ ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง มะเขือเปราะ และอื่นๆ อีกมากมายตามฤดูกาล มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกทั้งหมด 18 แปลง เลือกปลูกพืชผักตามฤดู และเลือกพืชที่ไม่ค่อยมีแมลงมารบกวน เพื่อการจัดการง่าย ประหยัดต้นทุน ส่วนเรื่องระบบน้ำไม่เป็นปัญห
ผักบ้านๆ คู่ครัวไทย แถมยังเติบโตง่ายในสภาพอากาศร้อนชื้นแบบบ้านเรา ผักแต่ละชนิดต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน เพราะผักบางชนิดชอบแดด บางชนิดชอบน้ำ ทุกครั้งที่ปลูกไม่ว่าชนิดไหนเราจึงควรหมั่นดูแล เอาใจใส่ แล้วพืชที่ปลูกจะได้ผลผลิตที่ดี บ้านใครมีพื้นที่ปลูกพืชผักถือว่ามีทำเลทองอยู่ในบ้าน ได้ผักที่ปลอดสารไว้กินเองดีต่อสุขภาพ แถมยังสามารถต่อยอดด้วยการปลูกผักขายได้อีกด้วย เป็นกิจกรรมยามว่างสำหรับวันหยุด ชวนครอบครัวมาปลูกผักไว้ทำอาหารกินเองกันดีกว่า มีพืชชนิดไหนที่ปลูกรอบบ้านกันบ้างไปดูกันเลย 🍀สะเดา 🪴วิธีการปลูก เป็นพืชปลูกง่าย ทนแล้ง ยิ่งแล้งยิ่งออกดอกดี การปลูกสามารถปลูกได้หลายวิธี จะปลูกแบบชำต้น พอต้นสมบูรณ์แล้วค่อยเอาลงดิน หรือปลูกแบบเสียบยอดก็ได้ ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ให้ผลรับออกมาเหมือนกัน สะเดาจะผลัดใบช่วงสั้นๆ ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงออกดอก ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม ผลมีลักษณะและขนาดคล้ายพวงองุ่น สุกประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลสุกมีสีเหลือง หรือเหลืองอมเขียว ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด 🌱การเพาะกล้าจากเมล็ดสะเดา การเก็บเมล็ดสะเดามาเพาะกล้า มีเคล็ดลับว่าเมล็ดสะเดาจะต้องแก่จัด โดยเมล็ดสะเดาจะร่วงช่วงเดือนเ
ด้วยกระแสรักสุขภาพยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีชาวบ้านจึงไม่พลาดโอกาสที่จะหยิบยกเรื่องราวการทำเกษตรดีๆ มาฝากกันอีกแล้ว โดยฉบับนี้ขอนำเสนอไอเดียการปลูกผักสร้างรายได้ของเกษตรกรสาวอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่พลิกวิกฤตจากความล้มเหลว สู่ความสำเร็จ ด้วยไอเดีย “ปลูกผักขายยกถุง” สร้างรายได้ให้เธอหลายหมื่นบาทต่อเดือน คุณเอรี ถนอมวรากุล หรือ คุณแอน เกษตรกรเจ้าของฟาร์มผักสดจากสวน ที่อยู่บ้านแม่สาน้อย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จากแม่ค้าขายของตลาด ไนท์บาซาร์เชียงใหม่ สู่เกษตรกรสาวผู้ปิ๊งไอเดียปลูกผักขายยกถุง ฟันรายได้ 30,000-40,000 บาทต่อเดือน พร้อมต่อยอดทำธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ สำหรับรองรับนักท่องเที่ยว ควบคู่กันไป มีความสุขล้นเหลือ คุณแอน เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกร ตนเองประกอบอาชีพเป็นแม่ค้าขายของอยู่ที่ตลาด ไนท์บาซาร์เชียงใหม่ แต่ต้องเลิกราอาชีพแม่ค้าไป จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ตัดสินใจกลับมาอยู่บ้าน เริ่มต้นประกอบอาชีพเกษตร ด้วยคนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก ในช่วงแรกก็ปลูกพืชผักแบบชาวบ้านทั่วไป คือเน้นการปลูกลงดินบนพื้นที่เยอะๆ ซึ่ง
การปลูกผักข้างบ้านนอกจากจะเป็นแหล่งสำรองอาหารในเมืองแล้ว ยังผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากการทำงานอีก การปลูกไม้ดอกในแปลงผักในระบบเกษตรอินทรีย์มักเลือกต้นที่มีกลิ่นไล่แมลง และเป็นพืชผักสมุนไพรที่แมลงรังเกียจ เช่น ดอกดาวเรือง กะเพรา และดอกไม้ที่ไม่มีแมลงรบกวนมากนัก แต่มีสีสันเพื่อตัดสีเขียวของใบผักที่ทำให้ดูแล้วมีความสุข นอกจากการอิ่มท้องด้วยแล้ว ในสมัยก่อนการจัดสวนมีเฉพาะในสถานที่ที่มีบุคคลชั้นสูงพักอาศัยเท่านั้น ส่วนชาวบ้านธรรมดาไม่ได้มีอารมณ์สุนทรีย์ขนาดนั้น แต่บ้านขุนนางในระดับล่างๆ ลงมาก็เลียนแบบเอาจากบุคคลชั้นสูงมาบ้าง แต่ก็เป็นเพียงปลูกไปตามอย่างโดยไม่ได้มีหลักแต่อย่างใด ส่วนชาวบ้านเองก็ปลูกไม้ดอกไม้ประดับก็เพียงแค่ให้พอมีดอกไม้เก็บไปวัดวันพระเท่านั้น บางสวนตามวัดวาที่พระสงฆ์มีหน้าที่ต้องรักษายามชาวบ้านเป็นไข้ก็ปลูกสมุนไพรเสียเป็นหลัก แต่สวนชาวบ้านจริงๆ ก็ปลูกผักที่กินได้มากกว่าที่จะปลูกอย่างอื่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการท่านหนึ่งที่ผมรู้จักคือ คุณสำรอง วรภาพ มีฝืมือในการจัดสวน โดยท่านจบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมนครราชสีมา หรือเรียกเกษตรสีคิ้ว เมื่อปี 2523 และได้รับราชการในกรมส่
สำหรับเทคนิคของการปลูกผักไว้กินเองหรือขายนั้นมีมากมายหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผักลงดิน ปลูกผักในกระบะสำเร็จรูป หรือปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในระบบน้ำนิ่ง หรือน้ำวน ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล แต่ในฉบับนี้จะขอยกตัวอย่างการปลูกพืชผักสวนครัว และผักสลัดใน “กะละมัง” ซึ่งการปลูกผักในกะละมังถือเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ต้นทุนต่ำ เหมาะทั้งในรูปแบบของการปลูกไว้กินเองใช้พื้นที่ไม่มาก และในรูปแบบของการปลูกเพื่อสร้างรายได้ก็ดีไม่น้อย คุณจารินี ป้อมน้อย หรือ คุณบู อยู่บ้านเลขที่ 119/4 หมู่ที่ 1 ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี สาวใต้ใจรักในงานเกษตร ที่ยึดอาชีพการปลูกพืชผักสวนครัว และผักสลัดในกะละมังสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวมานานกว่า 3 ปี โดยมีเคล็ดลับการปลูกผักให้รสชาติหวาน กรอบ ด้วยปุ๋ยหมักสูตรทำเอง และการดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ สร้างรายได้ต่อสัปดาห์ไม่น้อย คุณบู เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนเองประกอบอาชีพเป็นแม่ค้าขายขนมหวานตามตลาดนัดมาก่อน แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รายได้จากการขายขนมหวานหดหายไป ตนเองจึงหันมาทดลองปลูกพืชผักสวนครัวขายเล็กน้อยเพ
ความสุขมีทุกหนทุกแห่ง แล้วแต่เราจะเลือก แต่ความสุขที่เราจะเลือกนั้นใช่ความสุขถาวรหรือเป็นจริงหรือไม่ สิ่งที่เราเลือกในตอนแรกอาจจะใช่ แต่ผ่านกาลเวลาจึงจะพิสูจน์ได้ว่าใช่หรือไม่ เหมือนการเรียนปริญญามักจะกล่าวว่าปริญญาแรกเป็นปริญญาที่เราเห่อเรียนตามเพื่อน หรือตัดสินใจด้วยความไร้เดียงสา พอไปทำงานตามที่เรียนจบกลับพบว่าไม่ใช่ ปริญญาที่สองจึงเป็นวิชาที่เราชอบอย่างแท้จริง งานก็เช่นกัน เราอาจทำงานบางอย่าง แรกๆ ก็คิดว่าใช่แต่ตอนนั้นรู้สึกว่างานน่าเบื่อสุดๆ แต่ในช่วงเศรษฐกิจอย่างนี้ถ้ามัวเลือกงานอยู่ก็จะลำบาก ต้องทนๆ ไปก่อน แต่ก็โหยหาความเป็นอิสระโดยเฉพาะคนกินเงินเดือน การทำงานอดิเรกเป็นการเกษตรช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ระดับหนึ่งเช่นกัน คุณบอล หรือ คุณศรัญญู ศรีบุญเรือง เคยเป็นมนุษย์เงินเดือนเพราะเรียนจบมาสายช่างอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำงานหน้าที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของส่วนงานกระทรวงสาธารณสุขของจังหวัดแห่งหนึ่ง เป็นเวลา 8-9 ปี มีความเครียดเหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไป คิดอยากทำการเกษตรก็หาดูได้ตามสื่อออนไลน์ทั่วไป จนคิดว่าสามารถทำได้แล้ว จึงทดลองปลูกผักเล่น และลงสื่อเฟซบุ๊ก ใช้ชื่อว่า ฟาร์มสุขข้างบ้าน ต
ที่อยู่อาศัยในเมืองมีขนาดเล็กและแออัด ในสมัย 30-40 ปีก่อนหมู่บ้านจัดสรรจะเป็นบ้านเดี่ยวเสียส่วนใหญ่ พอที่ดินในเมืองใหญ่มีราคาสูงขึ้น ทำให้ขนาดบ้านเล็กลง เป็นบ้านแฝด เป็นทาวน์เฮ้าส์หรือบ้านแถว จนกระทั่งปัจจุบันที่ดินในเมืองกลายเป็นคอนโดเสียหมด พื้นที่ใช้สอยยิ่งมีขนาดเล็กลง ไม่ต้องถามถึงเรื่องพื้นที่ว่างรอบบ้าน หมู่บ้านจัดสรรที่เป็นลักษณะบ้านเดี่ยวจึงมีราคาค่อนข้างแพง หลังหนึ่งเป็นสิบล้านบาท ทำงานเดือนนึงไม่ได้เป็นแสนอย่าคิดหวังจะมีปัญญาอยู่บ้านเดี่ยว คนในเมืองที่พอมีฐานะจึงมักจะมีบ้านสองแห่ง แห่งแรกเป็นคอนโดอยู่ใกล้ที่ทำงาน ไว้อยู่อาศัยวันจันทร์ถึงศุกร์ พอเสาร์อาทิตย์ก็จะไปอยู่บ้านชานเมืองไกลออกมา พื้นที่บ้านเดี่ยวชานเมือง เนื้อที่สัก 100 ตาราวา รวมกับตัวบ้าน ยังพอมีที่เหลือสำหรับปลูกผักไว้กินอย่างเพียงพอ และอาจเหลือสำหรับคนอื่นอีก ตัวอย่างของการปลูกผักข้างบ้าน ผู้เขียนได้นำเสนอไว้หลายเรื่องแล้ว วันนี้เป็นช่วงที่ให้เก็บตัวอยู่กับบ้าน จึงขอนำเสนอการปลูกผักข้างบ้านไว้พอเป็นไอเดีย รศ. กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ อดีตรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา และหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสต