ปัตตานี
“ตำบลบางตาวา” เป็นชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งของอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ชาวตำบลบางตาวามีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ เพราะมีทำเลที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวปัตตานี มีแพลงตอนเป็นอาหารปลาจำนวนมากมาย ส่งผลให้ปลาชุกชุมตามไปด้วย กลายเป็นแหล่งเพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆ มากมาย จนได้รับการขนานนามว่า “มดลูกทะเล” ชาวตำบลบางตาวาจำนวนมากยึดอาชีพประมงชายฝั่งเป็นรายได้หลักเลี้ยงดูครอบครัว พวกเขารีบตื่นก่อนตะวันขึ้น เพื่อล่องเรือประมงออกไปจับปลา ตั้งแต่ ตี 4 ตี 5 ช่วงสายๆ ก็นำปลาทะเลสดๆ เช่น ปลาอินทรี ปลากุเลา ปลาหลังเขียว ปลากระเบน ปลาหมึกกล้วย ฯลฯ ไปส่งขายที่ตลาดท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียง “กุเลา” ราชาแห่งปลาเค็ม…สุดยอดความอร่อย ปลากุเลา เป็นปลาน้ำกร่อย รูปร่างคล้ายปลายี่สก มักหากินแพลงตอนอยู่ตามหน้าดินโคลนพบได้ทั่วไปแถบฝั่งทะเลอ่าวไทย ปลากุเลามีรูปร่างเรียวยาว ลักษณะลำตัวแบนค่อนข้างหนา หัวค่อนข้างเล็ก จะงอยปากสั้น สันหลังสีเทาปนเขียว ครีบหลังและครีบหางมีรอยแต้มสีเทาที่ปลาย ครีบอื่นๆ มีสีเหลือง ปลากุเลา มีลักษณะเนื้อนุ่ม นิยมแปรรูปเป็นปลาเค็ม เพราะมีรสชาติอร่อยมาก
ศยา เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพประเภทสกินแคร์กว่า 100 แบรนด์ทั่วไทย โรงงานผลิตได้รับมาตรฐานรับรองฮาลาล ผลิตภัณฑ์สมุนไพรคุณภาพ ทั้งแชมพู ครีมนวดผม สบู่เหลว สบู่ก้อน เจลแอลกอฮอล์ โรลออน เซรั่มน้ำมันมะพร้าว แอนด์อาร์แกนออยด์ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เซรั่มมะรุม น้ำมันนวด ในแพ็กเกจเรียบง่าย สบายตา ได้รับความไว้วางใจในคุณภาพของโรงงานผลิตกว่า 100 แบรนด์ ภายใต้บริษัท ศยาสมุนไพร จำกัด จากปัตตานี กว่าจะมาเป็นศยาสมุนไพร เริ่มจากทดลองสมุนไพรท้องถิ่นที่คนในชุมชนต่างคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อการบำรุงดูแลผิวพรรณ รวมไปถึงเส้นผม จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภทที่มีคุณภาพ ใครใช้ก็เห็นผลลัพธ์ คุณอภิชัย หมัดเน เจ้าของแบรนด์ศยา เล่าว่า คิดค้นจนเจอสูตรที่ใช่ เริ่มจากศึกษาและทดลอง ดึงจุดเด่นของสมุนไพรแต่ละชนิด ผสมผสานสรรพคุณสมุนไพร จนเข้ากันได้อย่างลงตัว จนสำเร็จกลายเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับดูแลสุขภาพและช่วยแก้ปัญหาผิวพรรณได้จริง ก็ทำมาหลายปีกว่าจะได้แบบวันนี้ จุดเริ่มต้น “ศยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เพื่อคนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ” เริ่มต้นผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากว่า 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 ที่ได้สะ
เชื่อว่า คนไทยส่วนใหญ่รู้จัก “จังหวัดชายแดนภาคใต้” อย่างผิวเผิน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในที่นี้หมายถึง 5 จังหวัดใต้สุดของประเทศไทย ที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย แม้จังหวัดปัตตานีจะเป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย แต่จัดว่าเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้เช่นเดียวกัน เพราะประเพณี วัฒนธรรม ของคนใน 5 จังหวัดนี้จะคล้ายๆ กัน ประชาชนจะมีการเคลื่อนย้ายไปมาใน 5 จังหวัด และมีการออกไปประกอบอาชีพติดต่อสื่อสาร ไปมาหาสู่กับประชาชนในประเทศมาเลเซียเหมือนๆ กัน จึงได้รวมจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย วิถีชีวิตชายแดนใต้ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะทางสังคมของประชาชน หลายๆ อย่างแตกต่างไปจากสภาพในภาคอื่นๆ มีความละเอียดอ่อนในเรื่องของศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม และจะเคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนกิจ มีความละเอียดอ่อนเปราะบาง และเกิดปัญหาได้ง่าย หากเจ้าหน้าที่หรือส่วนราชการที่ไม่เข้าใจประเพณีและวัฒนธรรมของประชาชนที่นี่เข้าไปปฏิบัติงานได้อย่างยากลำบาก สภาพเศรษฐกิจทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประชาชนส่วนใหญ่จะมีฐานะค่อนข้างยากจน วัดจากตัว
“ขั้นตอนของการเลี้ยงกุ้งที่สำคัญที่สุด คือ การเตรียมบ่อ และคุณภาพน้ำ ดังนั้น บ่อพักน้ำจึงจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกุ้งมาก เพื่อให้น้ำมีคุณภาพ นอกจากนี้ คุณภาพของลูกกุ้งที่นำมาก็สำคัญ ต้องเลือกลูกกุ้งจากแหล่งที่ได้ผ่านการรับรองการตรวจคุณภาพและโรคของกุ้ง” ข้อมูลข้างต้น คุณวศิน ธนภิรมณ์ วัย 68 ปี เป็นผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจากการนั่งคุยยาวนานค่อนชั่วโมง ประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งของคุณวศินไม่เป็นรองใคร แม้กระทั่งเพื่อนบ้านรอบข้างหรือคนในอำเภอหนอกจิกที่เคยเลี้ยงกุ้งมาด้วยกัน ล้มเลิก เปลี่ยนอาชีพจากเลี้ยงกุ้งไปทำการประมงชนิดอื่นกันเกือบหมด เพราะประสบภาวะขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้ง สำหรับคุณวศินเองไม่ได้เป็นเช่นนั้น ประสบการณ์ที่คุณวศินได้รับ ช่วยกระตุ้นสร้างแนวคิดการเลี้ยงกุ้งอย่างถูกวิธี มีเทคนิคการสร้างธรรมชาติการเลี้ยงกุ้งให้เกิดความสมดุล ทำให้บ่อกุ้งที่เลี้ยงมา 30 ปี ยังคงเป็นบ่อกุ้งมาโดยตลอด ไม่ได้เปลี่ยนเป็นทำการประมงชนิดอื่น อีกทั้งปีที่ผ่านมา คุณวศินเอง ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ประจำปี 2561 คุณวศิน ธนภิรมณ์ อยู่บ้านเลขที่ 104/5 หมู่ที่ 1
ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ “นราธิวาส ยะลา ปัตตานี” ตรวจติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร (ด้านปศุสัตว์) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมหามาตรการช่วยเหลือชาวบ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้วยการ “อัพสกิล-รีสกิล” เพิ่มศักยภาพรวมทั้งเปิดรับอาสาสมัครวิทยาศาสตร์ ดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมนำเสนอปัญหา ให้กับคลินิกเทคโนโลยีของ อว. เข้าไปแก้ไข ขณะเดียวกัน อว. จะช่วยหาช่องทางโปรโมตสินค้าและหาช่องทางการตลาดกับชาวบ้าน ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหาร อว. ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร (ด้านปศุสัตว์) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ จังหวัดนราธิวาส ยะลา และปัตตานี โดยจุดแรกเยี่ยมชมผลสำเร็จจากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร (ด้านปศุสัตว์) ที่กลุ่มเลี้ยงโคช่องเขต อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน มีสมาชิกทั้งหมด 30 ราย
ชุมชนหนึ่งในต.บ้านแป้น อ.สายบุรี จ.ปัตตานี แหล่ง นา ภูเขา มะพร้าว ชุมชนที่ยังคงความงามทางธรรมชาติที่บริสุทธ์ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร และภูมิสภาพสิ่งแวดล้อมอันสวยงาม มีแหล่งน้ำ หล่อเลี้ยงสวนนาข้าวหลายพันไร่ สวนมะพร้าว และพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกมาอย่างยาวนาน อาชีพเกษตรกรตามวิถีพอเพียงเลี้ยงดูปากท้องของชุมชนตลอดมา แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอเกิดปัญหาส่งผลกระทบตามมา ทำให้ชาวบ้านต้องขึ้นไปสำรวจต้นน้ำและประชุมร่วมกันเพื่อสามารถจัดการกับแหล่งน้ำของตน ได้สร้างจิตสำนึกการเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการปรับปรุงฝายหิน สร้างบ่อเก็บน้ำ จัดการสร้างบริหารจัดการน้ำประปาภูเขา สร้างฝายเกษตรด้านล่าง มีการติดมิเตอรน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและหวงแหน ได้ออกแบบการใช้น้ำจนสามารถต่อยอดผลิตเป็นน้ำดื่มน้ำใช้ทุกครัวเรือน ทางสถาบันส่งเสริมและพัฒนามูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมและแก้ปัญหาให้กับชุมชน เช่น การทำบัญชีลดรายจ่ายในครัวเรือนให้กับชาวบ้าน รวมทั้งศึกษาเรียนรู้การต่อยอด เพิ่มมูลค่าทางการเกษตร ให้ชุมชนเข้มแข็ง
พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีต้นตาลจำนวนไม่น้อย ส่วนใหญ่ไม่ได้ปลูก แต่เป็นตาลที่ขึ้นตามธรรมชาติ และธรรมชาติของต้นตาล จะมีอายุยืนยาวเกินร้อยปี ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องบำรุงรักษาเหมือนพืชชนิดอื่น ตำบลกะมิยอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ขึ้นชื่อในเรื่องของการทำตาลแว่น และ น้ำตาลเหลว ตำบลกะมิยอ มีทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ในทุกหมู่บ้านมีชาวบ้านที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น เก็บน้ำตาลจากตาลโตนด นำมาแปรรูปเป็นตาลแว่น และ น้ำตาลเหลว สร้างรายได้ คุณรวิวรรณ มูลจันที ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เมืองปัตตานี ผู้ดูแลการศึกษานอกระบบในพื้นที่อำเภอเมือง บอกว่า พื้นที่ปลูกตาลโตนดในอำเภอเมืองมีมาก และมีการเก็บน้ำตาลโตนดมาแปรรูปเป็นตาลแว่น น้ำตาลเหลว ก็มากเช่นกัน แต่กรรมวิธีการผลิตจะต่างกัน ขึ้นกับภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น “แรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นก็ผลิตน้ำตาลออกมาตามสูตรของแต่ละบ้าน แต่ละครัวเรือน แต่ครั้งนี้ ต้องขอแนะนำเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน และผลิตน้ำตาลแว่น รวมถึงน้ำตาลเหลว ออกมาได้อย่างมีคุณภาพ 100 เปอร์เซนต์” ผอ.กศน.เมืองปัตตาน
ระหว่างการเดินทางไปอำเภอเบตง คุณขนิษฐา มะลิสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดยะลา พา พลเอกวิษณุ ไตรภูมิ ที่ปรึกษาสำนักงาน กศน. และ พันเอกหญิงสุนทรี ไตรภูมิ ผู้แทน กอ.รมน. ไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ของ กศน. อำเภอบันนังสตา ที่ส่งเสริมอาชีพการแปรรูปกล้วยหิน ให้ชาวบ้านในชุมชน ได้มีงานมีอาชีพและเกิดรายได้อย่างยั่งยืน กล้วยหิน “กล้วยหินบันนังสตา” หรือ “กล้วยซาบา (Saba Banana)” มักขึ้นอยู่ตลอดฝั่งลำน้ำปัตตานี ในเขตตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา กล้วยหิน มีลักษณะผลป้อมสั้น เป็นเหลี่ยม เปลือกหนา เนื้อผลสีขาวครีมละเอียด กล้วยหินมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร เพราะถือกำเนิดจากสายพันธุ์กล้วยป่า ที่มีเนื้อแข็ง เมื่อผลสุกจะมีรสชาติออกเปรี้ยวเล็กน้อย สาเหตุที่ถูกเรียกว่า กล้วยหิน เนื่องจากพื้นที่ของอำเภอบันนังสตา ร้อยละ 90 เป็นภูเขา กล้วยป่าพันธุ์นี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณเหมืองแร่ดีบุกร้าง ซึ่งมีสภาพดินเป็นกรวดหินและดินลูกรัง จึงนิยมเรียกกล้วยสายพันธุ์นี้ว่า “กล้วยหิน” แต่ชาวบ้านบางรายเล่าว่า คนหาแร่ พบกล้วยชนิดหนึ่งขึ้นปะปนกับกล้วยป่า เห็นนกกินได้ จึงเก็บมากิน รสชา
เมื่อวันที่ 1ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.ปัตตานี ฝนที่ตกต่อเนื่องติดต่อกันตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้น้ำท่วมขังหลายจุด ในเขตเมืองปัตตานี เข้าบ้านเรือนประชาชน ถนนหลักหลายสาย เช่น ถนนพิพิธ ถนนจะบังติกอ ถนนมะกรูด ถนนปัตตานีภิรมย์ ระดับน้ำท่วมสูงมากโดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำปัตตานี เช่นบริเวณซอยโรงอ่าง หลังโรงเรียนเทศบาล 4 น้ำท่วมสูงมากกว่า 1เมตร พื้นที่รอบนอกเมือง เช่นตำบลรูสะมิแล ตำบลบาราเฮาะ ตำบลปะกาฮะรัง และตำบลตะลุโบะ ปริมาณน้ำท่วมสูงมากกว่าในตัวเมือง ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การสัญจรในเมืองปัตตานี เป็นไปอย่างลำบาก บางจุดรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ขณะที่ฝนตกหนักขึ้น ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีเอ่อล้นออกมา ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมากโดยเฉพาะผู้ที่พักอาศัยริมแม่น้ำ ทั้งนี้สถานการณ์น้ำท่วมเมืองปัตตานีครั้งนี้ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบ10ปี โดยเช้านี้ฝนตกหนักกว่าวันที่ผ่านมาทำให้ปริมาณน้ำยิ่งเพิ่มสูงขึ้น ที่มา : มติชนออนไลน์
โมเดลสามเหลี่ยมเมืองหนองจิก ปัตตานีคืบ รัฐทุ่มงบฯ 186 ล้านบาท หนุนโครงการเกษตร-ปศุสัตว์ ดันเอกชนลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ให้สิทธิพิเศษเพียบ นายอำเภอเตรียมหนุนใช้นาร้าง 2.4 หมื่นไร่ ปลูก “ข้าว มะพร้าว ปาล์ม” ตั้งเป้ายกรายได้ต่อหัวผ่านเกณฑ์ จปฐ. ท้องถิ่นตั้งกลุ่มผลิตกุเลาเค็มตันหยงเปาว์สินค้าพรีเมี่ยม ด้าน บริษัทปาล์มเตรียมขยายกำลังการผลิตภายใน 3 ปี เพิ่มขนาด 120 ตันทะลาย ต่อชั่วโมง หนุนเกษตรกรปลูกปาล์ม เพิ่มสัดส่วนรับผลผลิตในพื้นที่ 70% ชูหนองจิกโมเดล นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหนองจิก และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการอำเภอหนองจิก เปิดเผยว่า ปี 2560 ได้ขับเคลื่อนโครงการสนองนโยบายรัฐบาลพัฒนาพื้นที่อำเภอหนองจิกให้เป็นหนึ่งในเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยความคืบหน้าปี 2560 ได้รับงบประมาณรวม 154,707,000 บาท สำหรับโครงการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีสำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานีเป็นผู้รับผิดชอบ แบ่งออกเป็น 1. พัฒนาศักยภาพกลุ่มชุมชนประมงพื้นบ้านบ้านตันหยงเปาว์ 6,846,160 บาท 2. เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์อ