ผลิตภัณฑ์น่าซื้อ
“ปลาดุกร้า” เป็นอาหารหมักดองประเภทหนึ่ง เนื้อปลาดุกร้าเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านภาคใต้ ปลาดุกร้ามีรสชาติหวานเค็มผสมกันอยู่ นำมาทำอาหารด้วยวิธีปิ้งย่างหรือทอดไฟอ่อนๆ จนมีกลิ่นหอม ซอยหอม พริกขี้หนู บีบมะนาวใส่ลงไป นำมากินกับข้าวสวยร้อนๆ แค่นี้ก็อร่อยแซ่บเว่อร์สุดๆ เอาสเต๊กมาแลกก็ไม่ยอม การผลิตปลาดุกร้า มีวัตถุประสงค์เพื่อถนอมอาหาร โดยทำจากปลาดุกล้วนๆ ทั้งตัว นำมาหมักด้วยเกลือและน้ำตาล เพื่อเนื้อปลาแห้งในระดับปานกลาง ปลาดุกร้าในแต่ละท้องที่จะมีรสชาติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ กรรมวิธีการหมักและการตากแดด แหล่งผลิตปลาดุกร้าที่สำคัญในพื้นที่ภาคใต้ ส่วนใหญ่อยู่รอบทะเลสาบสงขลา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง กลุ่มเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังและอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น กศน.อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช คุณศุภชัย สกุลแก้ว ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีสภาพภูมิประเทศติดชายฝั่งทะเลและมีพื้นที่ราบลุ่ม ที่ชาวบ้านสามารถปลูกข้าว มะพร้าวน้ำหอม และเลี้ยงปลาดุกเป็นอาชีพได้ ที่ผ่านมา กศน.อำ
“ผ้าปาเต๊ะ” หรือผ้าบาติก (Batik) เป็นเครื่องนุ่งห่มที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย คำว่า “ปาเต๊ะ”หรือ “บาติก” มาจากภาษาชวา ใช้เรียกชื่อผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด ซึ่งวิธีการทําผ้าปาเต๊ะจะใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าปาเต๊ะบางชิ้นอาจผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสี และย้อมสีหลายๆ ครั้ง ส่วนผ้าปาเต๊ะอย่างง่าย อาจทําโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนําไปย้อมสีที่ต้องการ สมัยก่อนคนชวานิยมใช้ผ้าปาเต๊ะ ในลักษณะ 1. โสร่ง (Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว 2. สลินดัง (salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษ หรือเรียกว่า “ผ้าทับ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็นกรอบหรือชาย 3. อุเด็ง (udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า “ซุรบาน” สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศีรษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า “คิมเบ็น” (kemben) ต่อมามีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายประเภทอื่นๆ ใช้กันทุกเพศทุกวัย จนกลายเป็นเครื่องแต
คุณเสกสันติ์ รอบรู้ และ คุณอัญชลี พงค์ศิริแสน สองสามีภรรยา จากชีวิตจริงในอดีตจากการไม่รู้สู่การเรียนใฝ่คว้าหาความรู้ ฝึกฝนการทอผ้าไหมจนชำนาญ ผลิตผ้าไหมไทยยกดอกจนเป็นสินค้าโอท็อป ระดับ 5 ดาว ออกสู่สายตาชาวไทยและต่างประเทศจนได้รับรางวัลระดับ Asian ฉบับนี้ ผู้เขียนได้นำสิ่งดีๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยมานำเสนอท่านผู้อ่านโดยผู้เขียนได้ไปสนทนากับสองสามีภรรยา ณ ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหม คุณเสกสันติ์และคุณอัญชลี อยู่บ้านเลขที่ 9 หมู่ที่ 2 บ้านท่อสมาน ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 54120 ภายในบริเวณบ้านเปิดเป็นศูนย์ท่องเที่ยว โรงทอผ้าไหม ห้องแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้คุณเสกสันติ์-คุณอัญชลี เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า เมื่อ 20 กว่าปีก่อนทั้งสองไปทำงานเกี่ยวกับผ้าไหมที่จังหวัดลำพูน และได้ขอรับการฝึกหัดทอผ้าไหม พอได้ทักษะประสบการณ์ก็กลับมาทอผ้าเองที่บ้าน ต้องทำเองทุกอย่างในการทอผ้าไหม ในช่วงเวลาหนึ่งได้รับการสนับสนุนให้ออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยได้ไปออกงานแสดงนิทรรศการมีผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาดูและชื่นชมในผลงาน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความมุ่งมั่นผลิตผ้าไหม และได้รั
เชื่อว่า มนุษย์เงินเดือนหลายคน เมื่อทำงานถึงช่วงระยะเวลาหนึ่งก็ใฝ่ฝันอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง เช่นเดียวกับ “มะลิวรรณ อำพล” อดีตสาวออฟฟิคที่เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์อาหารจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ตัดสินใจลาออกในปี 2547 โดยเริ่มจากการซื้อกิจการผลิตเครื่องดื่มเล็กๆ จากของเจ้าของเดิม ใช้เงินทุน 20,000 บาท ผลิตเครื่องดื่มเฉาก๊วยยี่ห้อ “ริมสวน” ราคาขวดละ 10 บาท ส่งขายตามร้านโชวห่วยทั่วไป ปัจจุบัน กิจการของเธอเติบใหญ่ จดทะเบียนกิจการในชื่อ บริษัท มหาทรัพย์ โปรดักส์ชั่น จำกัด อ.บางเลน จ.นครปฐม เป็นผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มพาสเจอไรซ์ แบบขวดพร้อมดื่ม ที่ส่งเสริมเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มียอดขายกว่า 60 ล้านบาท ต่อปี คุณมะลิวรรณ อำพล กรรมการผู้จัดการ บริษัท มหาทรัพย์ โปรดักส์ชั่น จำกัด เจ้าของแบรนด์ “ริมสวน” เล่าว่า หลังจากทดลองตลาด ส่งสินค้าวางขายในร้านค้าท้องถิ่น ปรากฏว่าได้รับผลตอบรับที่ดีจากลูกค้า จึงมองหาช่องทางการตลาดใหม่ๆ โดยส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เพราะเห็นว่าเซเว่นฯ เป็นช่องทางการจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ สามารถกระจายสินค้าไปถึงผู้บริโภคได้ทั
เมื่อวันลอยกระทง น้องชายที่คุ้นเคยกันมาแต่ก่อนชวนไปเที่ยวบ้านสามเรือน อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา เขาทำงานในคณะประสานงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ได้ให้งบประมาณอุดหนุนตามโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ผ่านหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ (ABC) สนับสนุนให้คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ทำวิจัยเพื่อสนับสนุนความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “เห็ดตับเต่า” (King bolete mushroom) ในพื้นที่ ทั้งในเชิงคุณภาพ ความรู้ด้านโภชนาการ และลู่ทางการแปรรูปใหม่ๆ พร้อมๆ ไปกับคำนึงถึงการต่อยอดไปยังประเด็นความยั่งยืนอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การพัฒนาคุณภาพของลำคลองโพธิ์ อันเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ตลอดจนการรื้อฟื้นประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม อย่างการอาบน้ำคืนเพ็ญด้วย ในช่วงกลางวัน จะมีการสาธิตผลิตภัณฑ์โดยชาวบ้านที่ทำเห็ดเป็นอาชีพหลัก แถมมีการเลี้ยงข้าวสื่อมวลชนที่ไปร่วมงาน ด้วยอาหารปิ่นโตของชาวบ้าน ซึ่งกลุ่มชุมชนโฮมสเตย์บ้านสามเรือนริเริ่มสร้างขึ้นจนเป็นเอกลักษณ์ดึงดูดให้ผู้คนมาท่องเที่ยว ผมเองก็ถูกดึงดู
ชุมชนบ้านแหลม ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำหลากหลาย หอยตลับหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หอยปะ เป็นหอยประจำถิ่นมีอยู่จำนวนมาก แต่การนำมาใช้ประโยชน์ยังไม่เต็มที่ ที่จะสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าจากสิ่งที่มี จึงนำไปสู่การแปรรูปหอยตลับให้มีมูลค่ามากขึ้น ทั้งนี้ หอยตลับ หรือ หอยปะ มีเปลือกค่อนข้างหนา มีเนื้อน้อย มีให้เก็บทุกฤดูกาล มีการจับหอยตลับได้ในปริมาณที่มากกว่าแหล่งอื่นในลุ่มน้ำปะเหลียน โดยการจำหน่ายในรูปหอยตลับสด แปรรูปผลิตภัณฑ์หอยในรูปของหอยตลับดอง หอยตลับปรุงรส แต่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายตามเทศกาล ตามออเดอร์ที่สั่งของลูกค้า โดยหอยตลับขนาดใหญ่และขนาดกลาง ชาวบ้านจะนิยมขายแบบสด ในราคากิโลกรัมละ 30-50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด ส่วนหอยตลับขนาดเล็กมีเนื้อค่อนข้างน้อย ซึ่งหอยตลับขนาดเล็ก ชั่งทั้งเปลือกมีประมาณ 110-140 ตัว ต่อ 1 กิโลกรัม ชาวบ้านจึงนิยมนำมาลวกเอาแต่เนื้อของหอยมาทำกับข้าว และนิยมนำมาแปรรูปเป็นหอยตลับสมุนไพรเก็บไว้รับประทานในครัวเรือน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชมพูนุช โสมาลีย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์ประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.
“ข้าวแต๋น” นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านช่องลม หมู่ที่ 8 ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ คุณดารารัตน์ หิตการุญ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและประธานวิสาหกิจชุมชนข้าวแต๋นน้ำแตงโม มีตำแหน่งทางการปกครอง เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านช่องลม อยู่บ้านเลขที่ 108/1 หมู่ที่ 8 ตำบลหัวฝาย กล่าวว่า มูลเหตุของการผลิตข้าวแต๋นเกิดขึ้นเนื่องจาก ช่วงปี พ.ศ. 2557-2558 “ข้าว” ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย แต่ที่จังหวัดแพร่ มีราคาตกต่ำเป็นอย่างมาก จึงได้ร่วมกันคิดในกลุ่มแม่บ้านว่าจะมีวิธีการใดที่จะเพิ่มมูลค่าของข้าวในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นขนมขบเคี้ยว หรืออาหารว่างไว้บริโภค หรือขายเป็นของฝาก และเห็นว่าน่าจะเป็นช่องทางในการสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนที่ว่างงานอีกทางหนึ่ง ที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่าจะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นน้ำแตงโม วัตถุดิบหลักที่ใช้คือข้าว เป็นข้าวคัดพิเศษที่ได้จากผลผลิตข้าว กข 6 และข้าว กข 10 จากแปลงรวมซึ่งเป็นข้าวปลอดภัย และใช้น้ำแตงโมเป็นพื้นฐานแรกในการปรุงรสน้ำข้าวแต๋น ต่อมาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายทางรสชาติ ไม่ว่าจะเป็นรสปาปริก้า บาร์บีคิว รสสาหร่าย ให้มี
กล้วยน้ำว้าเป็นพืชอาหารที่มีความใกล้ชิดกับคนไทยมาเนิ่นนานแล้ว สมัยก่อนเก่าเด็กเกิดมาก็จะใช้กล้วยน้ำว้าสุกงอมบดป้อนให้เด็กได้กิน ซึ่งจะพบได้ตามชนบททั่วไปในปัจจุบัน แต่ตามหลักการแพทย์นั้นอาจทำให้เด็กท้องอืดเป็นอันตรายได้ถ้าเป็นเด็กแรกเกิด จึงควรใช้กับเด็กอายุ 4 เดือนขึ้นไป ผู้เขียนได้ติดตามดูแลการเกษตรของเกษตรกรในเขตของตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท พบว่าเกษตรกรนิยมปลูกกล้วยน้ำว้ากันมากบริเวณหลังบ้านพักและหัวไร่ปลายนา อีกทั้งปลูกในสวนไม้ผลที่ปลูกใหม่เพื่อเป็นร่มเงาให้กับไม้ผลที่ยังไม่แข็งแรงและเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งก่อนที่จะได้ผลผลิตหลัก ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกประมาณ 215 ไร่ แต่การดูแลรักษานั้นมีไม่มากนักส่วนใหญ่จะปล่อยทิ้ง ดังนั้น จึงขอให้ดูแลบ้าง เพียงหมั่นแยกหน่อทิ้งบ้าง ในกอหนึ่งๆ ควรมีกล้วยประมาณ 2-4 ต้น จะได้ไม่แย่งอาหารกัน เมื่อกล้วยออกดอก (ปลี) และติดผลเต็มที่แล้ว ควรตัดปลีที่เหลือทิ้ง ผลกล้วยจะโตได้รวดเร็วและให้ผลขนาดใหญ่ ปัญหาที่พบคือผลผลิตที่มีออกมากในฤดูกาลจะมีมากทำให้ราคาตกต่ำ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรนำมาแปรรูป เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ดังนั้น ในช่วงนี้กล้วยน้ำว้าออก
เชื่อว่าเมนู “น้ำพริก กับ ปลาทูทอด” เป็นหนึ่งในอาหารจานโปรดประจำบ้านของคนไทยหลายๆ คน เพราะเข้าครัวครั้งเดียว สามารถเก็บน้ำพริกและปลาทูทอดไว้รับประทานได้หลายวัน ที่สำคัญปลาทูทอดเป็นอาหารโปรตีนที่มีราคาไม่แพง ทานคู่กับน้ำพริกและผักพื้นบ้าน ได้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนในมื้อเดียว ปลาทู สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู สำหรับปลทูสด นิยมนำไปปรุงแต่งเพิ่มรสชาติในเมนูฉู่ฉี่ ทอดมันปลาทู ห่อหมกปลาทู ต้มส้มปลทู ต้มยำปลาทูมะขามสด ปลาทูทอดขมิ้น ปลาทูต้มเค็มหวานหรือที่หลายคนเรียก ปลาทูซาเตี๊ยะ ส่วนปลาทูนึ่ง นิยมใช้ทำแกงส้มปลาทู เมี่ยงปลาทู ข้าวผัดปลาทู ลาบปลาทู แกงเลียงปลาทู พล่าปลาทู ไข่เจียวปลาทู น้ำพริกปลาทู น้ำยาปลาทู หรือทอดแบบธรรมดาก็ได้รสชาติอร่อยเช่นกัน “ปลาทูซาเตี๊ยะ” เป็นอาหารพื้นเมืองของทางจังหวัดสมุทรสาคร ประวัติเมนูเด็ดจานนี้มีเรื่องเล่ากันมาว่า ถือกำเนิดในเรือประมงที่ออกหาปลากลางทะเล เมื่อชาวประมงจับปลาทูได้มากมาย ก็ลองนำมาทำอาหารแบบรวมๆ โดยใช้เครื่องปรุงที่มีภายในเรือ เช่น กระเทียม หัวหอม พริกแห้ง มะขามเปียก ต้มเคี่ยวบนเตาไฟจนได้ที่ กลายเป็นเมนูปลาทูต้มเค็มหวานน้ำขลุกขลิก
กระแสข่าวความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะข่าวก่อการร้ายด้วยระเบิดคร่าชีวิตทหาร ตำรวจ และสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับคนฟังได้มาก ถึงมากที่สุด ทำให้หลายคนไม่กล้ามาท่องเที่ยวในโซนนี้ แต่หากใครมีโอกาสมาเที่ยว “จังหวัดยะลา” สักครั้ง เชื่อว่าจะต้องหลงเสน่ห์ธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดมา ทั้งชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของจังหวัดยะลา ที่แตกต่างจากสังคมไทยในภูมิภาคอื่นๆ “สิบปากว่า ไม่เท่ากับตาเห็น” การฟังแค่คำบอกเล่า ไม่ทำให้รู้จักและเข้าใจ เท่ากับเราไปเห็นด้วยตาตนเอง ผู้เขียนโชคดีได้รับความเมตตาจาก คุณขนิษฐา มะลิสุวรรณ ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน. จังหวัดยะลา อนุเคราะห์ยานพาหนะพร้อมคนขับ และ “คุณอาณีซะห์ มะโดง” นักจัดการงานทั่วไป สำนักงาน กศน. จังหวัดยะลา ให้เกียรติทำหน้าที่เป็นไกด์นำทางไปรู้จักเมืองยะลาในแง่มุมต่างๆ YALA Bird City Street Art เดินถ่ายรูปสวย ไม่เสียตังค์ ผู้ที่ชื่นชอบผลงานศิลปะ ห้ามพลาด เราขอแนะนำให้คุณแวะเช็คอินเสพ