ผักหวานป่า
ชื่อสามัญ : ผักหวานป่า ; Pak warn ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melientha suavis วงศ์ : OPILIACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผักหวานป่า เป็นไม้พื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้นๆ เหนียวติดกะลำต้น เป็นใบเดี่ยว รูปร่างรีๆ เหมือนไข่ ปลายใบป้านกลมอาจมีรอยเว้าบ้าง มีหูใบเล็กๆ บริเวณก้านใบ ผล ก็จะเป็นพวงๆ มีสีเหลืองอมน้ำตาล ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ชอบขึ้นตามเชิงเขา หรือตามป่าเต็งรัง ที่เป็นหินปนดินดาน หรือปนทราย ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผักหวานป่าจะทิ้งใบจนแทบหมดต้น แล้วต่อมาเดือนกุมภาพันธ์พฤษภาคม ก็จะแตกยอดและใบอ่อนให้ได้กินกันทุกปี ผักหวานป่า เป็นที่รู้จักบริโภคกันทุกภาค เนื่องจากรสชาติดี หากินยาก มีเฉพาะฤดูกาล ราคายังค่อนข้างสูง ปัจจุบัน ประมาณกิโลกรัมละ 100-200 บาท หน้าฝนก็อาจถูกลงมาบ้าง ตามหลักการของดีมานและซัพพลาย แต่ก็ยังถือว่าเป็นพืชทำรายได้ที่ดีแก่ชาวบ้านอย่างหนึ่งในขณะนี้ คนนิยมซื้อหาไปปรุงอาหาร และมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการดัดแปลง สูตร เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อใส่ผักหวาน ผักหวานผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักหวาน ฯลฯ
จำได้ว่าสมัยก่อน ผักหวานป่า หากินยากมาก เพราะจะมีอยู่แต่ในป่าและได้กินเฉพาะช่วงหน้าร้อน-หน้าฝน เท่านั้น แต่หลายปีมานี้มีการนำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่ามาปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบผักชนิดนี้มีกินได้ตลอดทั้งปี ในราคาที่จับต้องได้ สวนผักหวานป่า อมรฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลโพนสุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นอีกแห่งที่ปลูกผักหวานป่าขายทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม โดยมี คุณพิมพ์พกานต์ ซ้ายกาละคำ อดีตพยาบาลสาว เป็นเจ้าของ ซึ่งในสวนนี้มีเนื้อที่ 23 ไร่ นอกจากจะปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ ยังแบ่งปลูกพืชผักผลไม้อื่นๆ อีก อาทิ ไผ่บงหวาน 6.5 ไร่ ปลูกข้าว รวมถึงมะม่วง มะขามเทศ หม่อน ฝรั่งไส้แดง มะเดื่อฝรั่ง สมุนไพรหลากหลาย พืชผักสวนครัวนานาชนิด และเห็ดขอนขาว เดิมคุณพิมพ์พกานต์ทำงานเป็นพยาบาล อยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และเป็นพยาบาลอิสระ รวมระยะเวลากว่า 10 ปี กระทั่งเริ่มสนใจการทำเกษตรอย่างจริงจัง เนื่องจากเจ้าตัวมองแล้วว่าคนต้องกินอาหารทุกวัน การทำธุรกิจอาหารและการเกษตรน่าจะเหมาะกับยุคปัจจุบันที่พืชผักอาหารราคาแพงขึ้น ในส่วนของราคาผักหวานป่าก็แพง ตกกิโลกรัมละ 300-500 บาท ถือว่าส
คุณทองคำ พิลากรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอบรบือ ผู้เพาะปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ บ้านเลขที่ 79 หมู่ที่ 5 บ้านเปลือย ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เล่าว่า ส่วนตัวแล้วทำอาชีพรับราชการในสำนักงานเกษตร อีกทั้งเป็นเกษตรกรทำไร่มันสำปะหลังและทำนามาจนถึงปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของการปลูกผักหวานป่า เนื่องจากเป็นเกษตรกรที่ทำไร่ทำสวนแบบผสมผสาน ประกอบกับมีความสนใจในตัวของผักหวานป่า เนื่องจากเป็นพืชที่คุ้นเคยมีอยู่แล้วในแถบภาคอีสาน และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูง เติบโตต่อเนื่อง จึงได้ศึกษาข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเองจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจากการค้นคว้าและวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ทำให้ทราบว่า ผักหวานป่า นั้นมีข้อดีหลักๆ อยู่ 2 อย่าง คือ 1. เป็นพืชที่ดูแลง่าย อายุยืน สามารถปลูกแล้วปล่อยไว้โดยไม่ต้องดูแลมาก ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 2. เป็นพืชเกษตรอินทรีย์ หมายความว่า การปลูกพืชชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือปุ๋ยเคมี ใช้เพียงปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือน้ำหมักชีวภาพเท่านั้น คุณทองคำเริ่มต้นปลูกผักหวานป่า ในพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 200 หลุม ปัจจุบันขยายพื้นที่เป็น 2 ไร่แล้ว และยั
นครราชสีมา ไอเดียสุดปัง คุณอามัคนายก ปรับพื้นที่หลังบ้าน 1 ไร่ ปลูกผักหวานป่า 1,000 ต้น แจงเคล็ดลับผลผลิตงาม ราคากิโล 200 บาท เก็บขายสร้างรายได้ดี คุณอาถกล แก้วมะเริง อายุ 63 ปี ชาวบ้านช่องโค หมู่ที่ 3 ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปัจจุบัน เป็นมัคนายกวัดบ้านช่องโค ได้ปรับใช้พื้นที่สวนหลังบ้าน จำนวน 1 ไร่ ลงทุนสวนผักหวานป่า โดยใช้วิธีปลูกผักหวานป่าแบบเพาะเมล็ด โดยลงทุนปลูกไว้จำนวน 1,000 ต้น ซึ่งปลูกแบบระบบน้ำหยด โดยปลูกต้นมะขามเทศไว้เป็นร่มเงาให้กับต้นผักหวาน ใช้ระยะเวลาปลูกเพียง 2 ปี ก็สามารถเก็บผลผลิตผักหวานขายได้ ส่วนเคล็ดลับในการปลูกผักหวานป่าง่ายๆ คือ ผักหวานไม่ชอบแสงแดด ฉะนั้นต้องปลูกต้นไม้ที่เกิดร่มเงา เช่น ต้นมะขามเทศ ควรปลูกเว้นระยะห่างประมาณ 3 เมตร หรือถ้าไม่ปลูกต้นไม้ที่ให้ร่มเงาก็เอาเข่งครอบได้ และจากผักหวานอายุครบ 1 ปี จึงสามารถนำเข่งที่คลุมเอาไว้ออกได้ สำหรับผักหวานนั้นสามารถปลูกได้ทั้งใช้เมล็ดและกิ่งตอน ซึ่งการเพาะเมล็ดจะนานกว่ากิ่งตอน ราว 2-3 ปี กว่าจะเก็บผลผลิตได้ ขณะที่กิ่งตอนใช้เวลาเพียง 6 เดือน-1 ปี ก็สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ ปัจจุบันนี้ผักหวานป่าส
ผักหวานป่า ถือเป็นผักพื้นบ้านอีกชนิดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่ว่าโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน โดยยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน ของผักหวาน เป็นส่วนที่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหารได้ทั้ง นำมาต้ม ลวก นึ่ง หรือปรุงเป็นอาหารต่างๆ เช่น ผัดกับน้ำมัน แกงเลียง แกงอ่อม แกงกับไข่มดแดง แกงกับปลา แกงกะทิสด ยำ เป็นต้น นอกจากรสชาติที่อร่อย ยังเป็นพืชพันธุ์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นฤดูที่ราคาจำหน่ายจะสูงมาก ทั้งนี้ มีเคล็ดลับการปลูกผักหวานป่า ที่จะทำให้ให้รอดตายและเจริญเติบโตเร็ว คือเริ่มจากการเตรียมหลุมปลูกและปรับปรุงดินปลูกให้ร่วนซุย นอกจากนี้ ยังเตรียมต้นกล้าที่สมบูรณ์ และกรีดถุงต้นกล้าลงหลุม ระวังอย่าให้ตุ้มดินแตกเละ แปลงปลูกต้องมีพืชร่มเงาให้แสงแดดรำไร รวมถึงในช่วงช่วงแล้งปีที่ 1 และ 2 อย่าให้ต้นผักหวานป่าขาดน้ำและร่มเงา โดยเมื่อพ้นแล้งที่ 2 จะสังเกตเห็นต้นผักหวานป่าเติบโตได้เร็ว การปลูก จะเริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ขุดหลุม ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ผสมวัสดุปลูกโดยใช้ดิน ปุ๋ยคอก แกลบดิบที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 1:1
ผักหวาน มีลักษณะเป็นไม้ทรงพุ่มขนาดกลาง ความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร ขึ้นไป เปลือกต้นมีลักษณะขรุขระ กิ่งที่ยังอ่อนจะมีลักษณะเป็นสีเขียวผิวเรียบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ผิวใบเกลี้ยงเรียบทั้งสองด้าน โดยนิยมนำใบอ่อนมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ซึ่งการขยายพันธุ์ของไม้ชนิดนี้นั้น นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง จากความนิยมของตลาดที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ทำให้ตลาดยังมีความต้องการไม้ชนิดนี้อย่างมาก เพราะบางฤดูกาลผลผลิตมีน้อยจึงส่งผลให้ราคาแพงตามไปด้วย จึงเป็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี คุณนิมิตร อุ่นหลำ อยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 4 ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ได้ปลูกผักหวานเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้มาหลาย 10 ปี โดยชาวบ้านในพื้นที่นี้ปลูกผักหวานเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นสินค้าประจำอำเภอเลยก็ว่าได้ โดยในทุกปีจะมีเทศกาลผักหวานที่จัดขึ้นให้ผู้ที่สนใจได้มาซื้อหาและชิมผักหวานของชุมชนในย่านนี้ได้ จึงเกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี คุณนิมิตร เล่าให้ฟังว่า ย้อนไปเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว ช่วงนั้นเขาได้จบการศึกษาใหม่ๆ ได้ไปสมัครงานหลายบริษัท เพื่อรอเรียกตัวเข้าไปทำ
“ผักหวานป่า” เป็นผักพื้นบ้านที่พบเห็นได้ง่ายในเขตพื้นที่ราบสูง ที่เป็นป่าเต็งรัง ป่าไผ่ รวมอยู่ในกลุ่มพวกป่าเบญจพรรณ ผักหวานป่ามีลักษณะใบใหญ่ กลม ยาว หนา หากสนใจอยากปลูกผักหวาน แต่ไม่รู้วิธีปลูก ต้นผักหวานมักจะไม่ค่อยโต การปลูกผักหวานให้ได้ผลผลิตที่ดีต้องปลูกเลียนแบบธรรมชาติ โดยปลูกผสมผสานกับพืชไร่ไม้ผลอื่นๆ เพื่ออาศัยร่มเงาไม้พี่เลี้ยงช่วยพรางแสงแดดในแปลงเพาะปลูก ป้าสำลี พ่วงนาค เกษตรกรผู้ปลูกผักหวาน อยู่บ้านเลขที่ 260/8 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองปลิง จังหวัดนครสวรรค์ เล่าว่า ก่อนที่ป้าจะหันมาปลูกผักหวาน ป้าทำไร่ข้าวโพดมาก่อน แต่พอทำไปเรื่อยๆ ก็ประสบปัญหาภัยแล้งบ่อยๆ จึงเลิกทำไร่ข้าวโพดแล้วมาปลูกมะขามเทศไว้ส่วนหนึ่ง แต่พอดีว่าช่วงนั้นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ที่ป่าไผ่แถวบ้านจะมีต้นผักหวานป่าอยู่เยอะ ป้าก็เข้าไปเก็บเมล็ดมาเพาะเองที่บ้าน แรกๆ ก็ปลูกไม่ได้ผลตายหมด เพราะยังไม่มีความรู้ แต่ก็ยังไม่ถอดใจ ปีที่สองไปเก็บมาเพาะใหม่ก็เริ่มดีขึ้น เพาะได้ 10 ต้น แล้วนำมาขยายพันธุ์ต่อ ตอนปี’38 ปลูกเอาไว้เก็บกิน พอเก็บกินจนเหลือก็คิดว่าแถวบ้านมีตลาดเช้าที่สถานีรถไฟหนองปลิง ป้าก็เอาไปขาย ปรากฏว่าขายดี ตั้งแต่นั้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า การปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนไม่น้อยจึงปรับเปลี่ยนมาเป็นเกษตรผสมผสาน พร้อมๆ กับเลี้ยงสัตว์ด้วย เพื่อให้มีรายได้ตลอดทั้งปี ย้อนกลับไปก่อนปี 2552 คุณพิชิต ศิริเมือง อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลสะอาดไชยศรี อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ก็เหมือนเกษตรกรทั่วไปในตำบลสะอาดไชยศรี ที่ปลูกอ้อย มันสำปะหลัง และทำนา จนเมื่อได้ไปศึกษาดูงานได้รู้ได้เห็นและเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงนำมาปฏิบัติในพื้นที่ทำกินของตัวเองจำนวน 19 ไร่ ที่ตำบลสะอาดไชยศรี โดยแบ่งที่ทำกิน เป็นที่นา 5 ไร่ และทำประมง 2 ไร่ นอกนั้นปลูกพืชแบบผสมผสาน และได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง กระทั่งได้รับคัดเลือกเป็นแปลงต้นแบบโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดกาฬสินธุ์ ในโครงการกาฬสินธุ์ คนดี สุขภาพดี รายได้ดี ปี 2557 ปลูกน้อยหน่า 500 ต้น ไม่พอขาย คุณพิชิต เล่าให้ฟังว่า ได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของตำบลสะอาดไชยศรี เมื่อปี 2552 ตอนนี้มีรายได้วันละ 300-600 บาท ไม่รวมรายได้เป็นเดือนและรายปี ซึ่งล้วนมา
คุณบุญยืน วงค์กระโซ่ เกษตรกรหนุ่มใหญ่ อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 3 บ้านโพนไฮ ตำบลหนองแคน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร คุณบุญยืน เล่าว่า ปลูกผักหวานป่าเป็นอาชีพเสริมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 สาเหตุที่สนใจปลูกผักหวานป่า เพราะเคยไปศึกษาดูงานเรื่องการปลูกผักหวานป่า ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ขากลับแวะซื้อต้นกล้าผักหวานป่า และเมล็ดพันธุ์กลับบ้านมาด้วย การปลูกผักหวานป่าด้วยเมล็ดของคุณบุญยืน เขาใช้วิธีการเพาะเมล็ดให้ออกรากเสียก่อน แล้วนำลงปลูก ช่วงปลูกเป็นฤดูฝน ฝนตกสม่ำเสมอ ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการรดน้ำ ประกอบกับพื้นดินที่ใช้ปลูกมีความสมบูรณ์ค่อนข้างสูง การรอดของต้นกล้าจึงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ จากนั้นก็ขยายปลูกเพิ่มเรื่อยๆ จนเต็มพื้นที่ราว 11 ไร่ การดูแลรักษา คุณบุญยืน เล่าว่า ทำเหมือนกับต้นไม้อื่นทั่วไป เช่น การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี พืชที่เป็นพี่เลี้ยงก็ไม่ให้ความสำคัญมากนัก จะมีเพียงต้นลำไยซึ่งปลูกไว้ห่างๆ นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาติบ้าง การเพิ่มปริมาณโดยไม่ต้องปลูกเพิ่ม คุณบุญยืน ใช้วิธีขุดหลุมข้างต้นผักหวานป่า หลุมที่ขุดควรห่างจากต้นแม่ ประมาณ 50-100 เซนติ
ผักหวานป่าเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกและเพาะขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เกษตรกรชาว อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ใช้ภูมิปัญญาขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยวิธีการสับราก นายคำมี ปุ้งโพธิ์ เกษตรกรชาวบ้านป่าเป้ง ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น นับเป็นเกษตรกรที่มีความรู้ และมีความชำนาญในด้านการขยายพันธุ์ผักหวานป่าโดยวิธีการสับราก นายคำมี เล่าว่าการเพาะขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการสับรากนั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีการขยายพันธุ์ที่เป็นความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน กรณีที่เรามีต้นผักหวานอยู่แล้ว ทำได้ง่ายๆ โดยใช้วิธีขุดดินข้างต้นผักหวานป่าเพื่อหารากผักหวาน ความลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร หลุมที่ขุดควรห่างจากต้นพันธุ์ ประมาณ 50-100 เซนติเมตร เมื่อพบรากให้ใช้เสียมสับรากของต้นผักหวาน และใช้กระบอกไม้ไผ่ ครอบไว้เพื่อป้องกันการถูกทำลาย ปล่อยไว้ประมาณ 15 วัน ต้นผักหวานจะแตกยอดงอกเป็นต้นผักหวานต้นใหม่ ทำให้ได้ต้นผักหวานป่าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การขยายพันธ์ด้วยวิธีสับรากนั้น ต้องดูที่ขนาดและอายุของต้นผักหวานด้วย สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการขยายพันธ์ด้วยวิธีนี้คือช่วงปลายฤดูฝน หรือช่วงปลายเดือนตุลาคมจะได้ผลดีที่สุด ซึ่งการขยายพันธุ์