ผักเป็นยา
“ผักเป็นยา” เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าผักสามารถนำมาใช้ในการบำรุงร่างกายและรักษาโรคต่างๆ ได้ เนื่องจากผักมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมีทั้งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ เทคโนโลยีชาวบ้านจึงได้รวบรวมพืชสมุนไพร ผักกินได้ ใกล้ตัว ที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกายกว่า 10 ชนิดมาฝาก อันดับ 1 ขิง สมุนไพรที่ใช้ทำอาหาร และมีสรรพคุณในการรักษาโรค ซึ่งสามารถช่วยรักษาอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และช่วยบรรเทาอาการไมเกรนลดความเจ็บปวดจากการปวดหัวได้ อันดับ 2 กระสัง พืชมนต์ขลัง ยาดีไม่มีลืมเลือน ผักที่เป็นอาหารและเป็นยา มีประโยชน์และคุณค่าทางอาหารช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหาร ใช้เป็นยาสมุนไพรนำใบมาต้ม ใช้ล้างหน้ารักษาสิว และทำให้ผิวหน้าใส อันดับ 3 หูเสือ สมุนไพรประจำบ้าน ช่วยแก้หวัด ซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรมาใช้รักษาบรรเทาอาการไอ แก้หวัดคัดจมูกได้อย่างยอดเยี่ยม อันดับ 4 ตดหมู ตดหมา(พาโหม) สมุนไพรที่ใช้ลดน้ำตาล-ไขมันในเลือด ทั้งยาบำรุงที่ดี เป็นยาอายุวัฒนะ โดยเชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำ สามารถเพิ่มกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยทำให้กระดูกที่หักติดกันง่าย ช่วยทำให้สีผิวเงางาม ช่วยกำจัดพ
พืชที่คนบ้านเรานำมาประกอบเป็นอาหาร เป็นกับข้าว หรือเป็นผักสด ส่วนใหญ่ที่เป็นชนิดนำเอาใบมาเป็นอาหาร มักจะเรียกคำนำหน้าว่า “ผัก” มีตั้งแต่ต้นที่ยอดใบต่ำเรี่ยดิน จนถึงไม้สูงใหญ่ที่มีใบยอดให้เอื้อมสอยเด็ดได้ ผักบางอย่างต้องปีนป่าย ใช้บันได ใช้ไม้สอย ผักบางอย่างต้องก้มเก็บแทบจะหมอบคลาน บ้างก็ต้องลุยน้ำ พายเรือเก็บยอดใบอ่อน เพียงเพื่อนำมาเป็นผักเป็นอาหาร เหล่านั้นคือวิถีชีวิตของคนกับธรรมชาติที่อยู่ร่วมกันมาแต่โบราณกาล มีผักชนิดหนึ่งที่มีต้นเตี้ยต่ำติดดิน บางคนจัดให้เป็นวัชพืช มีชื่อเรียกหลายอย่าง แล้วแต่พื้นถิ่นนั้นจะเคยเรียกว่าอะไร “ผักขม ผักโขม ผักโหม ผักหม” ซึ่งมีหลากหลายชนิด ที่จะกล่าวถึง คือ “ผักโขมไทย หรือ ผักหมหัด” ซึ่งดูจะเป็นผักพื้นบ้านของไทยเรา เป็นชนิดแรกที่เรารู้จักกัน จากนั้นจึงมีผักโขมชนิดอื่นๆ เช่น ผักโขมหิน ผักโหมเกลี้ยง ผักโขมหนาม ผักโขมสวน ผักโขมฝรั่ง หรือผักหมหลวง ผักโขมจีนต้นก้านใบใหญ่ยาวอวบ คล้าย “ป๋วยเล้ง” ผักบำรุงกำลังของ ป๊อปอาย ผักโขมไทย ผักหมหัด จะนับเป็นผักก็ได้ เป็นวัชพืชก็ได้ เป็นพืชสมุนไพรก็ได้ โดยเฉพาะ ผักหมหัด จะเรียกผักโขม ผักโหม ผักขม ก็เรียกได้ตามพื้นถิ่น เ
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ความเป็นอยู่ของมนุษย์เราก็แปรเปลี่ยนตาม บางอย่างเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น แต่บางอย่างกลับเปลี่ยนไปในทางเลวลง อาหารของมนุษย์ก็เช่นกัน เปลี่ยนรูป เปลี่ยนรส เปลี่ยนกลิ่น เปลี่ยนวิธีการปรุงแต่ง เปลี่ยนวิธีการกิน ไม่เว้นแม้กระทั่งวัตถุดิบที่นำมาใช้ประกอบอาหาร สังคมเปลี่ยนไป อาหารเปลี่ยนแปลง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร เปลี่ยนรูปโฉมจากของพื้นๆ พืชผัก เนื้อ นม ไข่ ไก่ ปลา เปลี่ยนรูปไปแล้วหลายอย่าง เรียกกันว่าอาหารแปรรูป แปลงรูป สำเร็จรูป อะไรทำนองนั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับการแปรรูปถนอมอาหาร เพื่อเอาไว้กินนานๆ ในฤดูกาลที่ไม่มีของสด ซึ่งอาหารแปลงรูปในทุกวันนี้ ถ้าไม่มีสลากระบุวัตถุตั้งต้นและสิ่งปรุงแต่ง จะไม่รู้เลยว่า อาหารที่จะกิน ทำมาจากอะไร เป็นเรื่องแปลกที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ จากวัตถุดิบประเภทพืชผักที่นำมาประกอบอาหาร แปรรูปอาหาร และถนอมอาหาร มีมากมายหลายชนิด ที่มนุษย์เรารู้จักเอามากินเป็นอาหาร ผักที่นำมาใช้เป็นอาหารยอดนิยม เห็นจะเป็นผักตระกูล “ผักกาด” ซึ่งมีอยู่มากหลายชนิด ในประเทศไทยเราก็หลายอย่าง ผักกาดเขียวใหญ่ ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาว ผักกาดขาวปลี ผักกาดกวางตุ้ง
คอลัมน์ เก็บป่ามาฝากเมือง โดย กุมิสบ๊ะ รงโซะ เขียนถึงต้นผักขมหิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Boerhavia Diffusa L. วงศ์ NYCTAGINACEAE ต้นผักขมหิน หรือที่ นางนิปะห์ นิเฮง หมอยาสมุนไพรบ้านอีนอ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จะรู้จักและเรียกชื่อในภาษามลายูถิ่นคือ ต้นบายังตือเลาะ (Bayang Telak) หมายถึง ต้นผักโขมที่แผ่ปกคลุมดิน หรือมีอีกชื่อที่ใช้เรียกกันคือ ต้นบายังตาเนาะห์ (Bayang tanah) หมายถึง ต้นผักโขมดิน จัดเป็นต้นพืชสมุนไพรที่มีขึ้นทั่วไปตามป่าข้างทาง หรือที่รกร้างต่างๆ ซึ่งปัจจุบันน้อยคนนักที่จะรู้จักต้นพืชชนิดนี้ และอาจมองว่า เป็นหนึ่งในต้นวัชพืชแล้วด้วยซ้ำไป เพราะไม่ค่อยมีคนเก็บเพื่อนำมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายดังเช่นในสมัยก่อนกัน สำหรับแม่หมอนิปะห์ นิเฮง นั้น ท่านได้เล่าว่า ปัจจุบันต้นผักขมหินนั้นจะค่อนข้างหายากมาก พื้นที่ที่เคยเป็นแหล่งเก็บเกี่ยวนั้น ได้มีสิ่งก่อสร้างต่างๆ เข้ามาแทนที่ แต่ท่านก็จะชอบเก็บต้นผักขมหินทุกครั้งเมื่อมีโอกาสพบเจอ ซึ่งท่านได้นำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านอาหารและยารักษาโรค เช่น นำมาแกงเลียง แกงกะทิ ลวกต้มจิ้มน้ำพริกบูดู รับประทานเป็นผักกับข้าว เป็นต้น ส่วนการใ
เมื่อครั้งอดีต พื้นที่บ้านเราเกือบทุกพื้นที่ก็ว่าได้ ที่มีพืชพรรณนานา เจริญงอกงามให้กับบ้านเมือง มีทั้งพืชอาหารปาก อาหารตา อาหารใจ โดยเฉพาะพืชอาหารปาก พวกพืชผักต่างๆ มีทั้งผักพื้นบ้านประเภทกินใบ กินหัวหรือราก กินดอก กินผล สารพัดพืชที่งอกงาม ต่างกับเดี๋ยวนี้ที่หาพื้นที่จะปลูกผักไว้กินก็หาได้น้อยลงไปมาก พื้นที่ถูกรับใช้สนองตัณหาความอยากของคนเรา ที่เรียกว่าความจำเป็น ไปเสียหมด เป็นตึกรามบ้านช่อง สนามกอล์ฟ สวนสนุก ตลาด ร้านค้า ถนนหนทาง จะหาที่หยอดผักที่คนมักกินมักใช้ประโยชน์ สักกอสักหลุมก็ชักยาก เห็นมีที่พอเป็นประโยชน์ได้บ้างก็ตรงรั้วบ้าน หรือบริเวณที่ว่างข้างรั้วที่จะตั้งกระถาง กระบะดินปลูกต้นไม้ได้นิดๆ หน่อยๆ ข้างรั้วหาที่มีดิน หยอด หรือปลูกพืชเถาเลื้อย เช่น ตำลึง มะระขี้นก บวบหอม หรือแม้แต่ ผักปลัง พืชผักเป็นอาหาร เป็นน้ำยาหล่อลื่น ก็ยังได้อยู่ “ผักปลัง” เป็นพืชผักที่หลายๆ คนรู้จัก แต่สมัยนี้ไม่แน่ใจนัก ว่าจะรู้จักกันมากหลายคน เป็นผักเก่าแก่ที่มีมาแต่โบร่ำโบราณ คนเมื่อก่อนใช้ประโยชน์จากผักปลังหลายอย่าง นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้ว ยังใช้เป็นยา จะเรียกว่าสมุนไพร หรือยาพื้นบ้านก็คงได้ มีหลายค
เห็ดตับเต่า ได้พึ่งพาต้นโสนเป็นพืชอาศัยเพื่อทำให้เชื้อเห็ดเดินและเจริญเติบโตได้ดี เห็ดตับเต่าเป็นอาหารโปรตีนชั้นยอดที่มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในทุกภูมิภาคของไทย ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านการศึกษาวิจัยเห็ดและผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงมีผู้สนใจได้นำผลงานมาต่อยอดด้วยการเพาะเห็ดตับเต่าขายในเชิงการค้า เห็ดตับเต่าเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่จะผลิตสร้างรายได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในแบบวิถีพอเพียง มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง เห็ดตับเต่า…พืชเศรษฐกิจในดงโสน ผลิตเพื่อการค้าด้วยวิถีพอเพียง มาบอกเล่าสู่กัน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงฤดูฝนมักจะมีเห็ดตับเต่าและเห็ดอีกหลายชนิดเจริญเติบโตในป่าธรรมชาติ และเห็ดตับเต่าเป็นชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมบริโภคกันแพร่หลายในทั่วทุกภูมิภาคของไทย โดยเฉพาะหมู่คนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็ดตับเต่ามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงกำลัง หรือดับพิษร้อนภายในร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยบำบัดอาการปวดข้อ ปวดเส้นเอ็น หรือปวดหลัง เห็ดตับเต่า มีชื่อเรียกต่างกัน ภาคเหนือ เรียกว่า เห็ดห้า เนื่องจากพบอยู่ใต้ต้นหว้า ภาคตะวันออกเฉียงเห
หลายเวลาที่เราอยู่ในอาการมึนงง ความทรงจำเบาบาง ต้องอาศัยการสืบค้น สอบถาม เพื่อให้ได้คำตอบมาเป็นตัวจุดประกาย กระตุ้นเราให้สามารถฟื้นคืนความจำขึ้นมาใหม่ได้บ้าง แม้จะได้ไม่ทั้งหมด แต่ก็เป็นเช่นหยดน้ำมันหล่อลื่นให้เข้าถึงจริต จนฟื้นคืนความจำได้ เช่นเดียวกับ ณ เวลานั้น ได้ไปพบลูกผลของพืชอย่างหนึ่ง พอจำได้ว่าเคยพบเจอเมื่อหลายปีก่อน และจำได้ว่าเคยนำมาลิ้มรส ชิมดูว่าเป็นพืชที่มีพิษต่อร่างกายหรือเปล่า ลองดูแค่นิดไม่มาก ก็ไม่เกิดผลอาการทางร้าย ตรงกันข้าม กับอร่อยดีเสียอีก เป็นลูกผลของพืชไม้เลื้อยพันขึ้นรั้ว กิ่งไม้ พุ่มไม้ มีเถา ใบ มือจับ ยอดอ่อน มีผลกลมรีปลายแหลมเป็นกระสวย หรือหยดน้ำ มีสีสันลวดลายเขียวขาวสวยงามมองดูไกลๆ คล้ายกับเถาต้นตำลึง แต่มีขนคลุมทั่วไป ชาวบ้านเคยบอกเรา เขาเรียกว่า “ลูกสาลี่” ลูกสาลี่ ที่เขาบอก ค้นหาพบว่า คือผลบวบขมป่าชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่า คงกลายพันธุ์ หรือเกิดการเปลี่ยนคุณสมบัติของสารที่เป็นองค์ประกอบของทุกส่วน จากความเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ สถานที่ขึ้น และน้ำ ดูแต่ธรรมชาติยังเปลี่ยนแปลงได้ ไฉนเล่าพืชพรรณชนิดนี้จะแปรเปลี่ยนไม่ได้ “บวบขม” เป็นไม้ป่าล้มลุก ชนิดเถาพันเลื้อ
ในบรรดาผักเชื้อสายจีน ที่เข้ามาแพร่หลายในไทย เดิมทีมี 16 ชนิด พวกตระกูล กะหล่ำ คะน้า ผักกาด ต้นหอม ผักชี กระเทียมใบ ตั้งโอ๋ ผักโขมจีน และก็มี “กุยช่าย” ที่เข้ามาแพร่หลายนานมาก ทั้งดอก ต้น ใบ เป็นที่นิยม พัฒนาการให้ผลผลิตออกมาเป็น กุยช่ายขาว ผัดเต้าหู้น้ำมันหอย หรือซีอิ๊วเปล่าๆ รสชาติเยี่ยมมาก คอข้าวต้มยามดึกชอบกันนัก ร่วมกับข้าวต้มแบน น้ำสีอำพัน เราเพื่อนกันตลอดไป ผักกุยช่าย ต้นกุยช่าย ใบกุยช่าย หรือที่รู้จักกัน ชื่อสามัญ Chinese Chive หรือ Garlic Chives ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium tuberosum Rotter ex Spreng อยู่ในวงศ์ AMARYLLIDACEAE วงศ์ย่อย ALLIACEAE พี่น้องเชื้อสายเดียวกับกระเทียมนั่นเอง มี 2 ชนิด คือ กุยช่ายเขียว และ กุยช่ายขาว ลักษณะต่างกันที่สีต้นใบ เนื่องมาจากการดัดแปลงกรรมวิธีการปลูก ส่วนลักษณะอื่นๆ ก็คือ กุยช่าย เหมือนกันทุกอย่าง รสชาติกุยช่าย เผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมฉุน มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ จีนแต้จิ๋วเรียก กูไฉ่ คนไทยภาคเหนือเรียก ผักแป้น ภาคกลางเรียก ผักไม้กวาด มีปลูกกันแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และแถบหิมาลัย อินเดีย เข้ามาปลูกในไทยนานแล้ว คาดว่าเข้ามาตั้ง
ในบรรดาพืชผักสวนครัวทั้งหลาย ที่มีอายุยืนกว่าใคร เห็นจะมี “มะเขือพวง” พืชที่เป็นผักตระกูลมะเขือนี่แหละ หลายบ้านมีปลูกไว้ในสวนหลังบ้าน ออกดอกให้ลูกให้ผลตลอดปี แต่ติดมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศกำลังเหมาะ นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกกะปิ ใส่แกงเผ็ด แกงแค ต้ม นึ่ง เป็นผักเคียงกับน้ำพริกเผา หรือย่างไฟ กินกับลาบ ก้อย พล่า ส้า ยำ กินเป็นยารักษาหลายโรค บำรุงร่างกาย คนกินอายุยืนยาว ปลูกขายได้ราคาดี มีปลูกกันทั่วประเทศไทย รวมถึงเพื่อนบ้านหลายแหล่งหลายเมือง “มะเขือพวง” หรือชื่อสามัญ Turkey berry หรือ Wild eggplant หรือ shoo-shoo bush เป็นพืชในวงศ์ SOLONACEAE ชื่อวิทยาศาสตร์ Solonum torvum Swartz เป็นไม้อายุข้ามปี ไม้กลางแจ้ง ทนแล้งได้ดี เป็นไม้พุ่มเตี้ย 1-2 เมตร รูปทรงพุ่มไม่แน่นอน ต้นตั้งตรง แข็งแรง แตกกิ่งก้านสาขามากเกะกะ มีขนปกคลุม มีหนามเล็กๆ โผล่ขึ้นห่างๆ ทั่วทั้งต้น กิ่ง ก้าน และใบ ออกดอกออกผลฤดูฝน แต่ถ้าดูแลรักษาดีๆ มีการบำรุงปุ๋ยคอก หรือกวาดเศษใบ ดายหญ้า คลุมโคนต้นหน้าแล้ง พรวนดินให้บ้าง ให้น้ำพอเหมาะ สามารถออกดอกให้ผลได้ทั้งปี ขนที่ขึ้นทั่วต้น มีอันตรายต่อคน ทำให้เกิดผื่นคันผิวหนังเ
หลายคนที่เคยพบเห็นผักเสี้ยว แล้วเกิดงุนงงสงสัย ว่ามันคือผักอะไร เป็นผักกินได้หรือ ชาวบ้านเอามาวางขายเป็นกองเล็กๆ ในตลาดสดท้องถิ่น จับดูใบอ่อนที่วางขายแล้วสากๆ มือ แต่สีเขียวอ่อนสดใสน่ากิน เขาเด็ดมาเป็นยอดเล็กๆ มีใบยอดละ 3-4 ใบ รูปทรงใบสวยเหมือนปีกผีเสื้อ โคนใบ และปลายเว้าลึกมองเห็นลวดลายเส้นใบชัดเจน ยิ่งตอนรับแสงสว่างจะแลดูอ่อนช้อย โปร่งสว่าง น่าเชยชม และก็จะสับสนเมื่อเห็นยอดอ่อนของต้นไม้อีกอย่าง คือ ชงโค โดยเฉพาะใบยอดเพิ่งแตกยอดใหม่ เหมือนกันมาก แตกต่างกันที่ขนาด เขาเป็นพืชชนิดเดียวกัน “ผักเสี้ยว” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bauhinia Purpurea Linn. อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เสี้ยวดอกแดง เสี้ยวหวาน เป็นต้น ลักษณะของผักเสี้ยว หรือเสี้ยวดอกแดง มีลำต้นชูกิ่งขึ้นสูงหลายเมตร แต่ถ้าหมั่นตัดแต่งให้เป็นพุ่มเอาไว้เด็ดยอดอ่อนสูงประมาณ 1 เมตรเศษๆ กำลังเป็นพุ่มพอเหมาะ แต่ถ้าปล่อยให้ต้นสูงจะเด็ดยอดอ่อนกินลำบากหน่อย ใบสีเขียวเข้ม แต่ใบอ่อน ยอดอ่อน จะมีสีเขียวอ่อนสว่าง โคนใบ ปลายเว้าเข้าหากัน ใบกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ยาว 3-4 นิ้ว ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มีกลีบดอกสีชมพูอมม่วงคล้ายกล้วยไม้