ผึ้งโพรง
“ผึ้ง” ถือเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ได้เป็นอย่างดี ว่าถ้าหากพื้นที่ตรงไหนหรือสวนไม้ผลไม้ดอกที่ไหนมีผึ้งมาอาศัยอยู่มาก ก็แปลได้ว่าบนพื้นที่แห่งนั้นค่อนข้างที่จะมีแหล่งน้ำ แหล่งธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งนอกเหนือจากสิ่งบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์แล้ว “น้ำผึ้ง” คือของดีมีประโยชน์ จะนำมาประกอบอาหารหรือทำเป็นยาคุณค่าก็สูงทั้งนั้น แต่น้ำผึ้งแท้ๆ ไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปนในปัจจุบันหากินยากขึ้นทุกที สาเหตุหลักคือ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติลดน้อยลง ประกอบกับมีผู้รู้วิธีการเลี้ยงและดูแลผึ้งโพรงป่าที่ถูกต้องมีจำนวนน้อย ดังนั้น หากใครกำลังสนใจอยากเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริม ก็ถือว่าเป็นอาชีพที่สนใจอยู่ไม่น้อย ด้วยวิธีการดูแลไม่ยาก ใช้พื้นที่น้อย สามารถฝากให้ชาวบ้านช่วยเลี้ยงได้ แต่มีข้อแม้ว่าพื้นที่ตรงนั้นต้องมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ปลอดจากสารเคมี คุณสันต์ ติ๊บปาละ หรือ พี่สันต์ อยู่บ้านเลขที่ 181 หมู่ที่ 16 ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโพรง สร้างรายได้มานานนับ 10 ปี ด้วยข้อดีที่ไม่ต้องใช้เวลาดูแลเยอะ ลงทุนไม่มาก ตลาดไม่ตัน และราคาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับไม้ผลหลายชนิดที่มีแต
ชุมชนคลองน้อย ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชุมชนที่ใช้ชีวิตริมสองฝั่งคลอง เพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำและลำคลองตามธรรมชาติล้อมรอบหลายสาย “สวนมะพร้าว” คืออาชีพหลักของชาวชุมชนคลองน้อย ชาวบ้านส่วนใหญ่จะปลูกมะพร้าวกันแทบทุกครัวเรือน อาชีพรองคือ การปลูกไม้ผล ได้แก่ กระท้อน มังคุด ส้มโอ มะนาว ชมพู่ทูลเกล้า กล้วย พืชผักต่างๆ และสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2560 ชาวสวนปาล์มน้ำมันตำบลคลองน้อย จำนวน 68 ราย รวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันตำบลคลองน้อย เนื้อที่ 771 ไร่ ภายใต้การนำของ คุณสุมาตร อินทรมณี ในฐานะผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันตำบลคลองน้อยและเป็นนายกสมาคมชาวสวนปาล์ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากในอดีตชาวชุมชนคลองน้อย ทำสวนมะพร้าวเป็นอาชีพหลัก หลังประสบปัญหาราคามะพร้าวตกต่ำก็หันมาทำสวนปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องการปลูก การบำรุงรักษาสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดการรวมกลุ่มแปลงใหญ่มีการสนับสนุนให้สมาชิกเรียนรู้วิธีการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน ผสมปุ๋ยใช้เอง และใช้ปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์ม และแนะนำให้สมาชิกใส่ปุ๋ยตามผลกา
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการติดตามผลการดำเนินงานของแปลงใหญ่ผึ้งโพรงไทยตำบลแก้วแสน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ปี 2564 นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างกลุ่มแปลงใหญ่ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นและประสบความสำเร็จ สามารถต่อยอดโครงการยกระดับการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่หลากหลายตามความต้องการของตลาด จากการติดตามของ สศท.8 พบว่า แปลงใหญ่ผึ้งโพรงไทยตำบลแก้วแสน เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2562 ปัจจุบันกลุ่ม มีสมาชิก 37 ราย นายสิทธิพร พรหมเมือง เป็นประธานแปลงใหญ่ มีการเลี้ยงผึ้งโพรง รวม 459 รัง (เฉลี่ย 12.4 รังต่อราย) โดยแปลงใหญ่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำผึ้ง พร้อมจัดซื้ออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และร้านวางจำหน่ายสินค้า ในพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกรชาวสวนยางพาราและปลูกผลไม้ จึงมีการเลี้ยงผึ้งเสริมราย
อย่างที่ทราบกันดีว่า น้ำผึ้ง คือของดีมีประโยชน์ จะนำมาประกอบอาหาร หรือทำเป็นยาคุณค่าก็สูงทั้งนั้น แต่น้ำผึ้งแท้ๆ ไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปนในปัจจุบันหากินยากขึ้นทุกที สาเหตุหลักคือ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติลดน้อยลง ประกอบกับมีผู้รู้วิธีการเลี้ยงและดูแลผึ้งโพรงป่าที่ถูกต้องมีจำนวนน้อย ดังนั้น ตอนนี้หากใครกำลังมองหาอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก การเลี้ยงผึ้งโพรงป่า ถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อย วิธีการเลี้ยงดูแลไม่ยาก ลงทุนน้อยเปรียบเสมือนคนเลี้ยงเป็นเจ้าของบริษัท ตื่นเช้ามาลูกน้องตื่นออกไปทำงาน ไม่ต้องมีโบนัส สวัสดิการ เพียงดูแลเอาใจใส่เรื่องความสะอาด ผลตอบแทนที่ได้คุ้ม คุณสยาม สกุณนา หรือ อาจารย์สยาม ผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงผึ้งโพรงป่า เล่าว่า กว่าจะเป็นมืออาชีพอย่างทุกวันนี้ได้ ตนลองผิดลองถูกมานานกว่า 4 ปี เมื่อก่อนเคยเป็นอาจารย์สอนวิชาเกษตรกรรมอยู่ที่ กศน. จังหวัดพะเยา ต่อมาได้ลาออกไปทำงานบริษัทปุ๋ย หลังจากนั้นลาออกจากบริษัทปุ๋ยอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าเบื่องานประจำ เพราะนิสัยส่วนตัวเป็นคนรักอิสระ ไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร จึงกลับมาอยู่บ้านที่อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา เช่าที่ทำนาจำนวนกว่าร้อยไร่ แรกๆ
วันเวลาจะเกาะเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวไปตลอด หนึ่งชีวิตของเราไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ ก้าวเดินไปกับชีวิตในทุกวันด้วยความมั่นใจ อย่ายอมแพ้กับชีวิตหรือบางครั้งเราอาจต้องยอมแพ้เพื่อศึกษาการเรียนรู้ที่จะสามารถนำมาประยุกต์เพื่อเอาชนะได้ในครั้งต่อไป ทุกคนล้วนมีความสามารถด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันในแต่ละชนิดของความสามารถเท่านั้น คนหนึ่งย่อมไม่เหมือนกับคนหนึ่ง ความต่างย่อมสดสวยและสวยงามเสมอ ความสามารถนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยความคิดเป็นเบื้องต้น เราต้องเริ่มด้วยวิธีคิดที่ใหม่กว่าเดิม มองโลกด้วยสายตาแบบใหม่ พร้อมการยอมรับเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมีการเปลี่ยนแปลงคือความจริงของชีวิตที่ทุกคนพึงได้พบเจอตลอดเส้นทาง สวัสดีครับแฟนๆ ขอต้อนรับด้วยคำว่าสวัสดีและขอบพระคุณอย่างมากมายจากเทคโนโลยีชาวบ้านและผู้เขียนเป็นเบื้องแรก คอลัมน์นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนๆ เรียกได้ว่าเป็นแฟนประจำ มีการส่งเสียงไปให้แรงใจโทร. 081-846-0652 หรือทางเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อ สมยศ ศรีสุโร หรือไอดีไลน์ Janyos กันอย่างต่อเนื่อง ต้องขอขอบพระคุณอีกครั้งที่ให้แรงใจกันตลอดมา รักคอลัมน์นี้เพียงน้อยๆ แต่ขอให้นานๆ นะครั
จากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทางภาคใต้ ฝนตกยาว น้ำท่วมส่งผลต่อแหล่งอาหารผึ้งโพรงไทย ผึ้งโพรงไม่สามารถแยกรังสร้างนางพญาได้ จังหวัดพัทลุง แหล่งผลิตรายใหญ่น้ำผึ้งโพรง เหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ หาย 70 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงพีกประมาณ 12 ตันต่อปี กลุ่มเลี้ยงผึ้งพัทลุงจึงจำเป็นต้องหนีสภาพภูมิอากาศฝนตก อพยพปักหลักฝั่งอันดามัน จังหวัดกระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี ส่งสัญญาณการเลี้ยงผึ้ง สภาพดินฟ้าอากาศ และสารเคมี ปัจจัยอุปสรรคต่อการเลี้ยงผึ้งโพรง โดยมีทางออกต้องสำรองแหล่งอาหาร พืชล้มลุก โดยเฉพาะข้าวโพด หากหมดโอกาสจริงคือผลของกล้วยสุกจะเป็นแหล่งอาหาร เพื่อความอยู่รอดของผึ้งโพรง คุณวีระพล ห้วนแจ่ม ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงตำบลปันแต ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดแปลงใหญ่ผึ้งโพรงปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บอกว่า การเลี้ยงผึ้งโพรงไทยปี 2565 ที่ผ่านมานี้ได้มีผลผลิตที่น้อยมาก เหลืออยู่ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งเทียบจากช่วงที่พีกนั้นสามารถเก็บผลผลิตได้กว่า 10 ตัน ซึ่งมีสาเหตุจากฝนตกยาวต่อเนื่อง ส่งผลกระทบจากการที่ผึ้งโพรงไม่สามารถจะแยกรังสร้างนางพญาได้ ประชากรผึ้งโพรงจึงไม่ขย
กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมแมลงเศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้เกษตรกรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ด้วยสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแมลง จึงทำให้ประเทศไทยมีความหลากหลายของชนิดแมลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยในการเลี้ยงและใช้ประโยชน์จากแมลงมานาน นับเป็นจุดแข็งที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพในการเลี้ยงแมลงให้เป็นแมลงเศรษฐกิจได้ ช่วยสร้างอาชีพ สร้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรทั้งที่เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม สามารถสร้างอาชีพและรายได้หมุนเวียนให้แก่เกษตรกรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ สำหรับสถานการณ์การผลิตการตลาดแมลงเศรษฐกิจ ในปี 2563/64 มีดังนี้ 1.ผึ้งพันธุ์ มีจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งพันธุ์กว่า 1,248 ราย จำนวนรังประมาณ 360,395 รัง จากการรายงานของ FAO ปี 2560 ประเทศไทยมีปริมาณผลผลิตน้ำผึ้งเป็นอันดับสองของอาเซียน และเป็นอันดับที่ 36 ของโลก นอกจากนี้การบริโภคน้ำผึ้งภา
มาเลี้ยงผึ้งโพรงกันเถอะ เลี้ยงง่าย รังเลี้ยงแบบไหนก็ใช้ได้ ต้นทุนไม่กี่บาท แต่สิ่งแวดล้อมต้องเหมาะสมตามธรรมชาติ คุณวุฒิชัย นาซ้าย หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่า ลุงถนอม อยู่บ้านเลขที่ 234 หมู่ที่ 8 บ้านฝั่งตื้น ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เล่าให้ฟังว่า ตนเองประกอบอาชีพทำนาและทำสวนลำไย ประมาณปี 2535 ได้มีผึ้งโพรงเข้ามาอาศัยในโพรงไม้ที่เก็บไว้ในบริเวณบ้าน จำนวน 1 รัง จึงเกิดแนวคิดว่า บ้านเราเองมีความร่มเย็น สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของผึ้งโพรง หากมีการเลี้ยงอย่างจริงจัง น่าจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น จึงสร้างและขยายรังออกเป็น 6 รัง โดยอาศัยรังเลี้ยงที่ทำจากต้นมะพร้าว ตัดเป็นท่อนๆ วางตั้ง หรือวางนอนก็ได้ แล้วหาไม้แผ่นหรือไม้อัดก็ได้ ปิดหัวท้ายของท่อนมะพร้าว เจาะรูที่ข้างท่อนมะพร้าวเพื่อให้ผึ้งมีทางเข้าออก รูเข้าออกนี้จะต้องอยู่ทางทิศตะวันออก หลังจากผึ้งโพรงเข้าไปอาศัยแล้ว ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ก็จะได้รวงผึ้งเต็มรัง นอกจากใช้ไม้จากต้นมะพร้าวเป็นรังเลี้ยงผึ้งโพรงแล้ว อาจจะใช้วัสดุอื่นๆ ก็ได้ เช่น ท่อระบายน้ำเก่าที่เป็นปูนซีเมนต์ ทำรังไม้ตีประกบเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ความสูงไม่ควรเกิ
มีข่าวดีสำหรับผู้เลี้ยงผึ้งโพรงไทยเพื่อเก็บน้ำผึ้งจำหน่าย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ส่งให้ผู้เลี้ยงมีรายได้สูงขึ้นและมีการลงทุนน้อย ส่วนใหญ่จะใช้การเลี้ยงแบบธรรมชาติโดยการทำกล่องเลี้ยงผึ้งจากไม้แล้วไปติดตั้งตามสวนผลไม้ ทางมหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยได้รับการติดต่อจากวิสาหกิจชุมชนพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ที่มีการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยและจำหน่ายน้ำผึ้ง ให้เข้ามาช่วยเหลือในการที่จะลดแรงงาน เพิ่มปริมาณผลผลิต และทำให้ผลผลิตมีคุณภาพตามความต้องการของตลาด จึงเป็นที่มาสิ่งประดิษฐ์ ของนางสาวฟิรฮาน สาและ และ นายวิศรุต ทองชู นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ ที่ได้นำแนวคิดไปสร้างระบบติดตามและแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมในโพรงผึ้งโดยใช้ระบบโซลาร์เซลล์ทดแทนพลังงานไฟฟ้า เวอร์ชั่น 2 มี ดร.ประเสริฐ นนทกาญน์ และ ผศ. สุรสิทธ์ ศักดา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยความสามารถของระบบติดตามและแจ้งเตือนสภาพแวดล้อมในโพรงผึ้งสามารถแจ้งเตือนระดับอุณหภูมิและเติมน้ำอัตโนมัติเมื่อระดับน้ำแห้ง มีการถ่ายภาพในรังผึ้งทุกๆ 2 ชั่วโมง มีการเก็บค่าสภาพแวดล้อมที่ส
ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงตำบลปันแต บ้านเลขที่ 102 หมู่ที่ 11 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 มีสมาชิก จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นเกษตรแปลงใหญ่ตามนโยบายของรัฐบาล ปัจจุบัน มีรังผึ้งทั้งผึ้งโพรงไทยและชันโรงที่ให้ผลผลิตแล้ว จำนวน 1,100 รัง เก็บเกี่ยว 2 ครั้ง ต่อเดือน ผลผลิตต่อปี กว่า 10,000 กิโลกรัม สร้างรายได้หมุนเวียน กว่า 4 ล้านบาท ต่อปี คุณวีระพล ห้วนแจ่ม ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงตำบลปันแต บอกว่า ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่เกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ยางพารา ข้าว ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล โดยรวมกลุ่มและมีมติจากชุมชนในการเลี้ยงผึ้งโพรงไทยในนามวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ได้เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรและชุมชน ด้วยการนำหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่างๆ ที่พระบาทส