พลังงานสะอาด
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตกุ้งที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เดินหน้าเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ทั้งในฟาร์มและโรงงาน พร้อมยกเลิกใช้ถ่านหินในประเทศไทยภายในปี 2565 มีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนเป้าหมายสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral ในปี 2573 นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจกุ้ง ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบตลอดห่วงโซ่การผลิตกุ้ง ตั้งแต่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ ฟาร์มกุ้ง โรงงานผลิตอาหารแปรรูป โดยนำพลังงานชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในกระบวนการผลิต ปัจจุบัน มีการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ในฟาร์มกุ้ง ในประเทศไทย 5 แห่ง และปีนี้ มีแผนติดตั้งโซล่าร์เซลล์เพิ่มในโรงเพาะฟักลูกกุ้งอีก 8 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทฯ จะยกเลิกการใช้ถ่านหินในห่วงโซ่การผลิตกุ้งในประเทศไทยทั้งหมดภายในปีนี้ ตามเป้าหมาย CPF Coal Free 2022 ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานหมุนเวียนในฟาร์มและโรงงานในห่วงโซ่การผลิตกุ้งอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการประยุก
กรุงเทพฯ : 8 ธันวาคม 2564 – เอสซีจี ประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กู้วิกฤตโลกร้อน ทรัพยากรขาดแคลน และลดความเหลื่อมล้ำ ชูธง ESG 4 Plus “มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ” ประมาณการเงินลงทุนเบื้องต้น 70,000 ล้านบาท ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต และพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิลง ร้อยละ 20 ภายในปี 2030 รวมถึงพัฒนา Deep Technology เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ 5 ล้านตัน ด้วยการระดมปลูกต้นไม้ 3 ล้านไร่ ต่อยอดสร้าง 130,000 ฝาย เร่งดันนวัตกรรมรักษ์โลกเพิ่มขึ้น 2 เท่า อาทิ สินค้าฉลาก SCG Green Choice,นวัตกรรมการก่อสร้าง CPAC Green Solution, SCG Green Polymer และบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล-ย่อยสลาย 100% ลดสังคมเหลื่อมล้ำ ตั้งเป้าสร้างอาชีพที่ตลาดต้องการ 20,000 คน ประกาศร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อส่งมอบโลกที่น่าอยู่ให้คนรุ่นต่อไป ภายใต้การดำเนินงานอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า โลกกำลังเผชิญวิกฤตใหญ่ ได้แก่ อากาศแปรปรวน จากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น
ทุกวันนี้แวดวงพลังงานทั่วโลกกำลังก้าวสู่ยุค “เอนเนอร์จี ดิสรัปชัน” (Energy Disruption) ที่การใช้พลังงานรูปแบบเดิมๆ กำลังถูกพลิกโฉมสู่เทรนด์ 3Ds ได้แก่ 1.Decarbonization การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมให้การผลิตพลังงานนั้นสะอาดขึ้น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.Decentralization การกระจายตัวของแหล่งผลิตและจำหน่ายพลังงาน ที่ภาคเอกชน ชุมชน และครัวเรือน สามารถติดตั้งแหล่งผลิตพลังงาน อาทิ โซลาร์รูฟท็อป หรือโรงไฟฟ้าพลังงานโซลาร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้และนำไปจำหน่ายต่อได้ ซึ่งหากมีนโยบายภาครัฐสนับสนุนจะช่วยให้การกระจายตัวนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 3.Digitalization ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีจะเข้ามาปลดล็อกการตรวจสอบ ควบคุม และบริหารจัดการการใช้งานพลังงานสะอาดให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์Fortunebusinessinsights.com ระบุว่า ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2569 จะมีขนาดถึง 4,766 กิกะวัตต์ โอกาสนี้ “บ้านปู เน็กซ์” บริษัทลูกของบ้านปูฯ ในฐานะผู้ให้บริการสมาร์ทโซลูชันด้านพลังงานสะอาดแบบครบวงจรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จึงได้รวบรวม 5 เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทกับการใช้พล
นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน.ผตร.อว.) ในฐานะผู้แทนปลัดกระทรวงฯ เป็นประธานเปิดโครงการ “วว. จิตอาสา เราทำความ “ดี” ด้วยหัวใจ” โดยมี ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริหารสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวรายงาน และ นางสุวรรณา ดอกไม้คลี่ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กรกล่าวแนะนำกิจกรรมของโครงการ พร้อมนำเยี่ยมชมบู๊ธกิจกรรม ซึ่งได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรจิตอาสา 904 วปร. บรรยายเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างค่านิยมความเป็นจิตอาสา และจิตสาธารณะในการช่วยเหลือผู้อื่นในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงการปลูกฝังให้ผู้เข้าร่วมได้ทราบประวัติความเป็นมาระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย และบรรยายการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน โดยมีผู้แทนจาก วว., ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม, องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า และองค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ รวมทั้งการบรรยายให้ความรู้เรื่อง การบริหารจัดการขยะชุ