พืชน้ำน้อย
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัส Covid-19 ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยเริ่มที่ประเทศจีนจนแผ่วงกว้างทั่วโลกไม่เว้นแม้ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดในครั้งนี้ด้วย ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะออกนอกบ้านเพราะกังวลกับเชื้อโรค รวมทั้งคนที่ต้องกักตัวเอง 14 วัน นั่นทำให้ “ บ้าน “ เป็นสถานที่ที่ทุกคนจะทำกิจกรรมทุกอย่าง คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัดหรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในนามเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ว่า ปลูกผักอยู่บ้าน ต้านวิกฤต Covid-19 “ในสถานการณ์แบบนี้ คนส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่ “ บ้าน “ เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดเราไม่รู้ว่าออกไปข้างนอกจะเจออะไรบ้าง กิจกรรม “ปลูกผักอยู่บ้าน” เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ทางเราอยากเชิญชวนคนไทยได้มีโอกาสปลููกผักอยู่ที่บ้าน ลดการเดินทางออกไปข้างนอก ทำให้ได้บริโภคผักสดใหม่จากบ้านคุณเองและนอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่เราสามารถทำร่วมกันภายในครอบครัวได้อีกด้วยครับ” เมล็ดพันธุ์ผัก คืออาหารของพวกเราในอนาคต “ตอนนี้ทุกคนได้มีการเก็บข้าวสาร อาหารแห้งไว้ในครัวเรือนของตนเองเพราะส
“น้ำ คือชีวิต” น้ำ เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเกษตร ปีไหนน้ำดี เพาะปลูกพืชได้มาก ขายได้ราคาดี เศรษฐกิจก็เฟื่องฟูไปด้วย หากปีไหนเผชิญวิกฤตภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร ปีนั้นเศรษฐกิจก็ฝืดเคืองตามไปด้วย ปี 2563 เอลนิโญกลับมาเยือนเมืองไทยอีกรอบ ส่อเค้าภัยแล้งปีนี้อาจลากยาวไปถึงกลางปี หลายคนห่วงกังวลว่า ปีนี้น้ำน้อย แล้งแบบนี้ จะปลูกอะไรดี บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง ผู้นำอันดับ 1 ด้านเมล็ดพันธุ์ผัก ได้นำเสนอไอเดีย “ปลูกพืชน้ำน้อย 7 ชนิด” เป็นทางเลือกใหม่สู้วิกฤตภัยแล้งในปีนี้ เพราะข้อดีของพืชกลุ่มนี้คือ ใช้น้ำน้อย อายุเก็บเกี่ยวสั้น แถมขายได้ราคาอีกต่างหาก ระบบน้ำสำหรับพืชน้ำน้อย เมื่อน้ำมีน้อย ก็จำเป็นต้องใช้สอยอย่างประหยัด ศรแดง แนะนำ 2 ทางเลือก ในการลงทุนทำระบบน้ำ ได้แก่ 1. ระบบมินิสปริงเกลอร์ เหมาะสำหรับปลูกพืชสวน ไม้ดอก และแปลงผัก แรงดันน้ำ ประมาณ 10-20 เมตร อัตราการไหลของหัวปล่อยน้ำ 20-300 ลิตร ต่อชั่วโมง ระบบนี้ใช้แรงดันน้ำ “ปานกลาง” และมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานน้อยกว่าระบบสปริงเกลอร์ 2. ระบบน้ำหยด เหมาะสำหรับพืชผักล้มลุก เช่น แตงกวา แฟง ฯลฯ
วิกฤตภัยแล้งปี 2563 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเกษตรกรอย่างน้อย 20 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 5,297 หมู่บ้านแล้ว และวิกฤตภัยแล้งนี้อาจจะลากยาวไปถึงกลางปี บางพื้นที่นาข้าวหลายร้อยไร่ยืนต้นตายเพราะไม่มีน้ำ บางพื้นที่ภาครัฐได้ออกมาประกาศให้ชาวนางดการทำนาปรังและให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่า การปรับตัวสำหรับเกษตรกรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพื่อให้เอาตัวรอดผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งนี้ไปได้ คุณวิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไปบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ตราศรแดง ผู้นำอันดับ 1 ด้านเมล็ดพันธุ์ผัก กล่าวว่า“ วิกฤตภัยแล้ง หรือที่เราเรียกว่า เอลณีโญ โดยปกติแล้วจะเกิดขึ้นทุก ๆ 5 ปี ถ้าพวกเราจำกันได้ปี 2559 จะเป็นปีที่แล้งหนักมาก และในปี 2563 นี้วิกฤตภัยแล้งก็จะเวียนมาครบอีกรอบ โดยในปีนี้ค่อนข้างที่จะรุนแรงมากสาเหตุเพราะปริมาณฝนที่ตกปี 2562 น้อยกว่าปกติ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมน้อยปี 2563 ฝนตกล่าช้ากว่าปกติ 1 – 2 เดือน คือ จะเริ่มช่วง มิ.ย. – ก.ค. 2563 (ปกติแต่ละปีฝนจะเริ่มตก กลาง พ.ค.- ต.ค.) ปี 2563 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศา ฯ หรือราว 40 กว่าองศา ฯ ทำให้แห
เป็นที่น่ายินดี เมื่อทราบจาก คุณกมล โสพัฒน์ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภูหมาดๆ ว่า พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่พบว่าเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง และไม่เคยได้รับการประกาศว่าเป็นจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง แม้ว่าจะไม่มีระบบชลประทานภายในพื้นที่ เกษตรกรจะใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเพียงด้านเดียวก็ตาม แต่ก็เป็นที่น่าตกใจเช่นกัน เมื่อทราบข้อมูลว่า จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นจังหวัดที่ใช้สารเคมีในภาคเกษตรมากที่สุดลำดับต้นๆ ของประเทศ เมื่อได้พูดคุยกับ คุณกมล โสพัฒน์ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ทำให้ทราบว่า พื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู มีปัญหาในภาคเกษตร ซึ่งประมวลแล้วจำเป็นต้องแก้ปัญหาเร่งด่วน ได้แก่ การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เนื่องจากพบว่า เกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู มีรายได้ต่อครอบครัวเฉลี่ยต่ำที่สุดของประเทศไทย อยู่ที่ 53,000 บาท ต่อครอบครัว ต่อปี จากจำนวนเกษตรกรทั้งหมดกว่า 70,000 ครัวเรือน ทำให้ต้องพิจารณาพืชหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด 4 ชนิด ได้แก่ อ้อย พื้นที่ปลูกกว่า 700,000 ไร่ ข้าวกว่า 600,000 ไร่ ยางพารากว่า 100,000 ไร่ และมันสำปะหลัง ประมาณ 70,000 ไร่ รายได้ข
ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับดินฟ้าอากาศรวมทั้งเรื่องน้ำ ระบุว่า ปีนี้ไทยจะประสบภัยแล้งมากที่สุดในรอบ 40 ปี…บ้านเรา ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งต้องพึ่งพาน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ หากน้ำไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม ในฐานะที่ใกล้ชิดกับเกษตรกรทุกตำบล หมู่บ้าน กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีแนวทางแก้ไขภัยแล้งที่น่าสนใจไม่น้อย คุณทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้มาบอกเล่าสถานการณ์ รวมทั้งแนะนำการผลิตสินค้าเกษตรในช่วงฤดูแล้งนี้ ลองติดตามดูค่ะ ………………………………………… น้ำน้อย พื้นที่นาปรังลด จาก 13 ล้านไร่ เหลือ 4.7 ล้านไร่ สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ ปริมาณน้ำมีน้อย น้ำต้นทุนมีน้อย โดยเฉพาะปริมาณน้ำในเขื่อน ซึ่งมีน้อยเพราะเกิดจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอ มีการวางแผนในลักษณะที่จะต้องใช้น้ำประหยัด ใช้น้ำอย่างมีคุณค่า อย่างมีคุณภาพมากที่สุด ได้กำหนดเป้าหมายว่าในการส่งเสริมปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำเยอะๆ ต้องลดลง โดยเฉพาะเรื่องการทำนารอบที่ 2 หรือการทำนาปรัง เพราะการทำนาปรังของประเทศไทยโดยป
ปี 2563 ประเทศไทย ต้องเตรียมรับมือกับวิกฤตภัยแล้งที่คาดว่าจะมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ ปี 2522 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าประเทศไทยต้องเผชิญฝนแล้งยาวนานจนถึงเดือนมิถุนายน โดยคาดว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่แล้งซ้ำซาก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน นับเป็นเรื่องใหญ่ที่ประชากรทุกคนต้องตระหนักถึง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งน้ำเป็นสำคัญ จำเป็นต้องวางแผนเอาตัวรอดให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ คุณอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง) อธิบายถึงสถานการณ์ภัยแล้งและวิธีแก้ปัญหาว่า หากย้อนไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในปี 2559 ประเทศไทยเคยเจอวิกฤตภัยแล้งเหมือนอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นใน ปี 2563 โดยเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นทุก 5 ปี เรียกว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ แต่ใน ปี 2563 ค่อนข้างรุนแรงมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะ เกิดฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนาน น้ำในเขื่อนใหญ่ทั้ง 14 เขื่อน จะเหลือน้ำใช้ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าเทียบกับ ปี 2559 บางเขื่อนยังพอมีน้ำประทังได้
คำถามเหล่านี้ เราคงได้ยินกันบ่อยๆ ในช่วงภัยแล้ง ภัยแล้ง คือภาวะที่ปริมาณน้ำไม่มีเพียงพอต่อการเพาะปลูก หรือใช้ในอุปโภคบริโภค สาเหตุของภัยแล้ง ได้แก่ ปริมาณฝนที่ตกน้อยกว่าปกติ ทำให้การเก็บน้ำสำหรับใช้ในหน้าแล้งมีน้อยลง ในภาคของการเกษตรคงเกิดผลกระทบอย่างแน่นอน เพราะ “น้ำ เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเกษตร” และในเมื่อการใช้น้ำปริมาณที่จำกัด ทางออกสำหรับเกษตรกรคือ – ปลูกพืชน้ำน้อย แทนการทำนาหรือพืชไร่ที่ต้องใช้น้ำมาก – เลือกวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ระบบน้ำหยด เป็นต้น “ศรแดงพืชน้ำน้อย ทางเลือกใหม่ในช่วงภัยแล้ง” คือโครงการที่ทาง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อมอบองค์ความรู้ในด้านพืชน้ำน้อยให้กับเกษตรกรไทย เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรสามารถรับมือกับภัยแล้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณรุ้งตะวัน ช้างสาร อยู่บ้านเลขที่ 25/1 หมู่ที่ 4 ตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ (061) 190-1887 เริ่มทำเกษตรกรรมในพื้นที่ 6 ไร่ เป็นเกษตรกรทำสวนไม้ผลระยะสั้นแบบผสมจนประสบความสำเร็จ ปัจจุบันมีพื้นที่ทำเกษตรกรรมจำนวน 33 ไร่ ในนาม “สวนรุ้งตะวัน” และจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสาน แล้วยังได้รางวัลผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนพืชระยะสั้น คุณรุ้งตะวันตั้งใจนำความสำเร็จสร้างเป็นต้นแบบเพื่อถ่ายทอดไปสู่ชาวบ้านในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง ดังนั้น ในปี 2559 จึงเริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมชาวบ้านปลูกพืชระยะสั้น หวังให้ชาวบ้านทุกคนทำเกษตรกรรมแบบครบวงจรด้วยตัวเอง ตั้งแต่เริ่มปลูก จัดเก็บ ขนส่ง ไปจนถึงการขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่มาใช้ติดต่อขายสินค้าเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว ขณะเดียวกัน ยังช่วยหาตลาด รวมทั้งยังช่วยวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแต่ละชุมชนว่าควรปลูกพืชระยะสั้นประเภทใดที่เหมาะกับสภาพดิน น้ำ และความต้องการของตลาด โดยมีพืชระยะสั้นหลักๆ ได้แก่ แคนตาลูป มะเขือเทศรับประทานสด และฝรั่งกิมจู เพื่อนำผลผลิตเหล่านั้นไปขายยังตลาดที่แนะนำ ทั้งนี้ ได้รับค
พื้นที่บ้านโนนเขวา ต.ดอนหัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น เดิมทีกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่นี้เคยทำนาเป็นอาชีพหลัก แต่ปัญหาใหญ่ที่พบเป็นประจำทุกปีคือ เรื่องน้ำที่มีไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร ทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ชาวบ้านเลยหันมาปลูกพืชน้ำน้อยแทน โดยรวมกลุ่มกัน ในนาม “กลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านโนนเขวา” กลุ่มนี้เน้นปลูกผักกลุ่มผักใบ เพราะใช้น้ำน้อยกว่า เก็บเกี่ยวได้ไวกว่า ปลูกได้ทั้งปี มีตลาดรองรับ นายคำปั่น โยแก้ว เกษตรกรตัวอย่างจากกลุ่มปลูกผักปลอดภัยบ้านโนนเขวา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้กล่าวว่า ในพื้นที่บริเวณของกลุ่มบ้านโนนเขวา จะไม่มีชาวบ้านทำนาเลย เพราะว่าทำนาต้องใช้น้ำมาก ถ้าทำนาบ้านเดียว อีกสิบบ้านก็ไม่มีน้ำทำการเกษตรกัน ชาวบ้านเลยหันมาปลูกพืชน้ำน้อยเป็นทางเลือก “ เมื่อปี 2561 ผมได้ทำนาบนเนื้อที่ 5 ไร่ ลงทุนไปประมาณ 12,000 บาท แต่เนื่องจากนาข้าวต้องใช้น้ำเยอะ และการดูแลอย่างทั่วถึง ประกอบกับภาวะอากาศที่ร้อนจัด ทำให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ดี เมล็ดข้าวลีบ ไม่ได้น้ำหนัก ก็ขาดทุนไปครับ ส่วนอีกแปลงหนึ่ง บนเนื้อที่ 4 ไร่ ผมปลูกพืชน้ำน้อยในกลุ่มผักใบมีทั้ง คะน้า ผักบุ้ง ผักกาดหอม ผักชี กวางตุ้ง สลับกันไป ตลาดผักของผม
ชาวอำเภอเนินมะปราง หันมาปลูกพืชผักสวนครัวขายแทนการทำนา โดยเฉพาะข่า ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าจับตา เพราะเป็นพืชเครื่องเทศที่มีความนิยมสูงในการนำมาเป็นส่วนประกอบในหลากหลายเมนูอาหาร อีกทั้งเป็นพืชที่ทนแล้งใช้น้ำน้อย ต้านทานโรคทางวัชพืชได้ดี ปลูกและดูแลง่าย สรรพคุณมากมายและตลาดมีความต้องการสูง นางมัธวรรณ แสนลาด หรือป้าน้อย อยู่บ้านเลขที่ 98/1 ม.1 ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก มีอาชีพทำนา จนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว จึงได้คิดหาอาชีพใหม่ด้วยการเริ่มต้นปลูกข่าในพื้นที่ 1 ไร่ ผลปรากฏว่ารายได้จากการปลูกข่าอ่อนขาย สามารถทำรายได้ดีกว่าการทำนาและมีการดูแลรักษาน้อยกว่า จึงยึดเป็นอาชีพหลักสำหรับครอบครัว ปัจจุบัน ป้าน้อย ได้ขยายพื้นที่ปลูกข่าในพื้นที่ 6 ไร่ สภาพดินที่เหมาะต่อการปลูกข่ามากที่สุดควรเป็นดินร่วนปนทรายและจะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง การเตรียมดินมีการไถดะ, ไถแปร และพรวนชักร่องเหมือนกับการปลูกอ้อย ระยะปลูกที่นิยมคือ 80×80 เซนติเมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 2,500 หลุม ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกจะใช้เหง้าอ่อนหรือเหง้าแก่ก็ได้ โดยข่าที่ปลูกไปแล้วจะเริ่มขุดขายเมื่อมีอายุตั้งแต่ 8 เดือน และจะทยอยขุดขายไปเรื่อย