มทร.ธัญบุรี
นักประดิษฐ์นักวิจัยไทย นำผลงานคว้า 18 เหรียญทอง พร้อมคว้ารางวัล World Champion รางวัลสูงสุดของการจัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ จากเวที WorldInvent Singapore 2024 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้มุ่งมั่นในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมที่มีศักยภาพ การนำผลงานมาประกวดในเวทีนานาชาติ นับเป็นอีกขั้นหนึ่งของการพัฒนาเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ และการสร้างการยอมรับในมาตรฐาน ในผลงานของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย ซึ่งในการประกวดและนำเสนอผลงานในเวที WorldInvent Singapore 2024 ระหว่างวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2567 ณ Singapore Expo Convention and Exhibition Centre สาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งในปีนี้ ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากประเทศไทย ได้รับเหรียญรางวัล ดังนี้ – เหรียญทอง 18 ผลงาน – เหรียญเงิน 9 ผลงาน – เหรียญทองแดง 6 ผลงาน พร้อมด้วย Special Prize อีกจากนานาประเทศ อาทิ โรมาเนีย เกาหลี ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เป็นต้น และเป็นที่น่ายินดีที่นักประดิ
2 นักศึกษา มทร.ธัญบุรี คิดค้นนวัตกรรม “เทคโนโลยีโฟมดูดน้ำมัน” ผลิตจากน้ำยางพาราและผักตบชวา เผยจุดเด่น “โฟมยางดักจับเฉพาะน้ำมัน-ใช้ซ้ำมากถึง 50 ครั้ง” ส่วนน้ำมันที่ดักจับ นำไปใช้งานต่อได้ การันตีรางวัลเหรียญทอง จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นายภพธร คล้ายเข็ม (เนม) นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ และ นายพฤติพงศ์ พันธมนัสโสภา (เด่น) นักศึกษาปริญญาเอก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) คิดค้นและพัฒนาผลงานเทคโนโลยีโฟมดูดน้ำมัน (Green Oil-Absorbing Technology) โดยมี รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ จาก มทร.ธัญบุรี และ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ล่าสุดได้รับรางวัลเหรียญทอง (Gold Awards) ระดับอุดมศึกษา กลุ่มพลังงงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ จากโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับชาติ – Thailand New Gen Innovators Award 2024 (I-New Gen Awards 2024) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในงานวันนักประดิษฐ์ 2567 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ที่ผ่านมา
วันที่ 14 มิถุนายน 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนทุนวิจัยแก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชะลอวัยจากสารสกัดสาหร่ายพวงองุ่นที่กักเก็บในอนุภาคนีโอโซม” โดยมี รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ แห่งหน่วยวิจัยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากภูมิปัญญาไทย คณะการแพทย์บูรณาการ มทร.ธัญบุรี เป็นหัวหน้าโครงการฯ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายชาญณรงค์ มณีรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ วช. นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมผลสำเร็จของโครงการดังกล่าว เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ผลงานวิจัยไปสู่สาธารณชน โดย ดร.วัชระ ดำจุติ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะการแพทย์บูรณาการ มทร.ธัญบุรี พร้อมด้วย คณะนักวิจัยให้การต้อนรับ ณ คณะการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี รศ.ดร.กรวินท์วิชญ์ บุญพิสุทธินันท์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า คณะการแพทย์บูรณาการ มทร.ธัญบุรี ได้รับการสนับสนุนทุนจาก วช. ในกา
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โชว์ผลงานวิจัยของคนไทย โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกล้วยไม้สกุลหวาย มิติใหม่แห่งวงการแพทย์เพื่อใช้รักษาโรคหลายชนิด ช่วยรักษาอาการปวดท้อง ลดไข้ รักษาอาการบวม ของ ดร.อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยไม้ พร้อมต่อยอดสู่การผลิตสารมูลค่าสูงจากกล้วยไม้สกุลหวาย เพื่อขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารเชิงหน้าที่ต่อไป ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. เป็นองค์กรสำคัญของรัฐในการขับเคลื่อนสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม วช. มีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากกล้วยไม้สกุลหวาย ของ ดร.อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ แห่งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพราะเป็นโครงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยการนำประโยชน์ที่ได้จากกล้วยไม้มาพัฒนากลายเป็นสมุนไพร เพื่อใช้ในวงการทางการแพทย์
วันที่ 16 กันยายน 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การปรับปรุงเสถียรภาพลาดตลิ่งในสระเก็บน้ำพระรามเก้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้สภาวะการลดลงของระดับน้ำอย่างรวดเร็วจากภัยแล้ง” ให้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ ละอองจันทร์ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เพื่อศึกษาเสถียรภาพและการเคลื่อนตัวของลาดตลิ่งภายใต้สภาวะเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ พร้อมทั้งปรับปรุงลาดตลิ่งของสระเก็บน้ำพระรามเก้ากักน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่ตอนล่าง ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมในการนำงานวิจัยมาหนุนเสริมในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงพื้นที่ โดยให้ทุนสนับสนุนทุนวิจัยโครงการปรับปรุงเสถียรภาพลาดตลิ่งในสระเก็บน้ำพระรามเก้าอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภายใต้สภาวะการลดลงของระดับน้ำอย่างรวดเร็วจากภัยแล้ง ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วีระศักดิ์ ละอองจันทร์ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
เก็บตกผลงานวิจัยน่าทึ่งในในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ซึ่งจัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 ณ เวที Highlight Stage ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำผลงานวิจัยร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ภายใต้แนวคิดหลักของการจัดงาน “วิจัยเพื่อพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ภาคนิทรรศการ “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์เชิงการพัฒนาพื้นที่” ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)จำนวน 3 ผลงาน ดังนี้ ดร.อภิชัย สาวิสิทธิ์ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้นำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง เครื่องดื่มใบข้าวหอมมะลิ เสริมวิตามินบีรวม ตรา “จ๊าสไรซ์” ผลิตจากใบอ่อนข้าวหอมมะลิอินทรีย์ทุ่งกุลาร้องไห้ โดดเด่นด้วยความหอมที่เป็นเอกลักษณ์และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ บรรจุในขวดแก้วที่สะดวก
นักวิจัย มทร.ธัญบุรี นำกากสาโทเหลือทิ้งจากโรงงาน มาผลิตเป็นน้ำส้มสายชูหมักเพื่อเป็นเครื่องดื่มสำหรับผู้รักสุขภาพ ย้ำประโยชน์สำคัญ “ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่” จากของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิต ผศ.ดร. เจริญ เจริญชัย อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ร่วมกับ คุณรมิตา เรือนสังข์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย คุณสุรัตน์ ยกยิ่ง ผู้ประกอบการสุรากลั่น จังหวัดปทุมธานี แบรนด์ไทยสาโทและสุรากลั่นอังเคิลทอม ศึกษาวิจัยผลงาน “การใช้ประโยชน์จากกากสาโทเหลือทิ้ง เพื่อผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากข้าวด้วยปฏิกรณ์ชีวภาพ” ในโครงการวิจัย “การพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี” ผศ.ดร. เจริญ เผยว่า จุดเริ่มต้นของผลงานวิจัยเกิดจากปัญหาของบริษัท ไทยโปรดักส์แอนด์เบเวอร์เรจ จำกัด ผู้ผลิตสาโท และสุรากลั่นจากสาโท ในแบรนด์ไทยสาโท และสุรากลั่นอังเคิลหอม ซึ่งเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดปทุมธานี ที่มีกำลังผลิตสาโทและสุรากลั่น
เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2564 บรรยากาศงาน “มหกรรมดนตรี อว.เทิดพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2564 ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์” อบอวลไปด้วยความสุข คณะผู้บริหาร อว. ร่วมร้องเพลงพรปีใหม่ กับคณะวงดนตรีไทย และประชาชนที่มาร่วมงาน ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า มหกรรมดนตรี อว. เทิดพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2564 ปิดฉากอย่างสมบูรณ์ สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ได้ร่วมกันจัดงาน “มหกรรมดนตรี อว. เทิดพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2564 ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์” นี้ กว่า 70 แห่ง ทุกภูมิภาคของประเทศ ในวันที่ 5 ธันวาคม จัดเกือบทุกจังหวัด ในกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดงาน “มหกรรมดนตรี อว.เทิดพระเกียรติ 5 ธันวาคม 2564 ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์” โดยมีวงดนตรีของนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของ อว. ผลัดเปลี่ยนและหมุนเวียนกันมาจัดแสดง รวม 15 วันที่จัดแสดง ระหว่างวันที่ 5-19 ธันวาคม 2564 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกระหว่างวันที่ 5-7 ธันวาคม 2564 ณ ลา
สิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิตคือ ความคิดและการเรียนรู้ สามารถทำให้ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ที่เยี่ยมไปกว่านั้นคือ สามารถจะทำให้มีพื้นที่ให้ก้าวออกเดินได้ไปกว้างเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ต้องกล้าที่จะคิดและเรียนรู้กับทุกเรื่องราวที่ต้องการ ความคิดและเรียนรู้ไม่มีวันสุดท้ายของชีวิต โลกที่น่ารักน่าอยู่ใบนี้ ทุกวันเวลาจะก้าวไปพร้อมการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา มีเรื่องราวอีกมากมายที่จะเข้ามาหากับชีวิตตลอดเวลาพร้อมลมหายใจที่มีอยู่ สวัสดีครับแฟนๆ ขอต้อนรับด้วยคำว่า สวัสดี และขอบพระคุณอย่างมากมายจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านและผู้เขียนเป็นเบื้องแรก ทุกเรื่องราวจากคอลัมน์นี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนๆ เรียกได้ว่าเป็นแฟนประจำ มีการส่งเสียงไปให้แรงใจ โทร. 081-846-0652 หรือ ทางเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อ สมยศ ศรีสุโร หรือ ID Line Janyos กันอย่างต่อเนื่อง ต้องขอขอบพระคุณอีกครั้งที่ให้แรงใจกันตลอดมา ทุกครั้งที่นำมาเสนอเรื่องราวเช่นนี้จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแฟนๆ ตลอดมา ผมจะเรียกไว้ในคอลัมน์นี้ว่า นักออกแบบสายพันธุ์ใหม่ เสมอ และนักออกแบบเหล่านี้ที่นำเสนอครั้งนี้คือผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ส
วันที่ 7 ธันวาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะสื่อมวลชน ติดตามผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผักตบชวาอุตสาหกรรมแฟชั่น ภายใต้การนำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ชลสาคร คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณะนักวิจัย ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (มทร.ธัญบุรี) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก วช. ภายใต้กระทรวง อว. ประจำปี 2560จนสามารถสร้างแบรนด์ผ้าชื่อ “สาคร” และ แบรนด์ “บ้านหัตถศิลป์” อีกด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร ชลสาคร คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงแนวคิดในการนำผักตบชวามาพัฒนาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มและยังเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนด้วยว่า นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา สร้างมูลค่าเพิ่มสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์จังหวัดปทุมธานี สามารถนำพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบทั้งเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรี ของใช้ตกแต่งบ้านเรือน กระเป๋าแฟชั่น เป็นต้น ปัจจุบันมีการต่อยอดให้เป็นชุมชนนวัตกรรมต้นแบบ รวมทั้งสร้างนวัตกรรมช