มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดโอกาสให้นักศึกษาวิศวกรสังคม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ โชว์ผลงานบนเวที Mini Stage ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ปี 2566 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้นักศึกษาวิศวกรสังคมให้มีทักษะ 4 ประการ คือ เป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสานงาน และนักสร้างนวัตกรรม ด้วยการนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ณ เวที Mini Stage ระหว่างห้อง Lotus 10-11 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีภารกิจสำคัญในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม ในการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศแก้ไขปัญหาสำคัญเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยวิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ วช. ได้พิจารณาว่ากระบวนการวิศวกรสังคมเป็นอีกกลไกสำคัญในการบ่มเพาะ
วันที่ 10 สิงหาคม 2566 ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบโล่เกียรติคุณผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย (ผู้จัด) และมอบเกียรติบัตรรับรองเป็น “วิทยากรหลักสูตรการ พัฒนานักวิจัย” ภาคบรรยาย โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธาน พร้อมด้วย นายสมปรารถนา สุขทวี ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คณะผู้บริหาร วช. ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย และวิทยากร (แม่ไก่) เข้าร่วมพิธีฯ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ขอแสดงความยินดีกับท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนหน่วยงานเครือข่ายด้านการวิจัย (ผู้จัด) “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” (แม่ไก่) และวิทยากร หรือ “แม่ไก่” ทุกท่านที่ได้รับโล่เกียรติคุณและเกียรติบัตรรับรองเป็น “วิทยากรหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย” ภาคบรรยาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565 โดยขับเคลื่อนผ่านโครงการฝึกอบรม “สร้าง
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 หรือ Thailand Research Expo 2023 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” นับเป็นหนึ่งในเวทีสำคัญในการนำเสนอผลงานวิจัย สู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ เพื่อใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ เป็นประจำทุกปี การจัดงานในปีนี้ มีผลงานวิจัยมาร่วมจัดแสดง แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจมูลค่าสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพชุมชน สำหรับบู๊ทนิทรรศการที่มีผลงานวิจัยโดดเด่น เป็นที่สนใจของนักวิจัย นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้แก่ 1.เทคโนโลยีการให้น้ำแบบแม่นยำสำหรับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ผลงานวิจัยของ สถาบันวิจัยเกษตร
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศผลทีมสายอุดมศึกษาผู้พิชิตรางวัลในกิจกรรม “การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2566”ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 ในปีนี้มีผลงานจากนักประดิษฐ์ระดับชั้นอุดมศึกษา จัดแสดงจำนวน 154 ผลงาน ได้รับความสนใจจากผู้มาเยี่ยมชมงานจำนวนมาก ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล จะได้รับเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร จาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นผู้มอบรางวัล ณ เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราและบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวชื่นชมคณะอาจารย์ นิสิต นักศึกษา รวมไปถึงผู้บริหารหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์ หรือองค์ความรู้การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อเป็นฐานความรู้ในการนำไปพัฒนาประเทศ โดยกิจกรรมประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญหนึ่ง ภายในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566” หรือ “Thailand Research Expo 2023” ซึ่งจ
จากการที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้นิยาม เศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือ Creative Economy ว่า “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการมีทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมและการสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยีสมัยใหม่” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 : Thailand Research Expo 2023” ซึ่งจัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ต่อยอดความรู้ความเข้าใจแก่สังคมด้วยการจัดเวทีเสวนาภายใต้หัวข้อ “การยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : ชุมชนเข้มแข็งและมาตรฐานผลิตภัณฑ์” ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.), รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดก
วันที่ 9 สิงหาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ จัดงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 หรือ Thailand Research Expo 2023 ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” โดยมุ่งให้เกิดการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นเวทีสำคัญอีกเวทีหนึ่งในการนำเสนอผลงานวิจัยสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ ในปีนี้ก้าวสู่ปีที่ 18 ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้คิดค้นและนำมาจัดแสดง เรื่อง โครงการระบบสมาร์ทฟาร์มและระบบอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ภายใต้ชุดโครงการ การพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่ยั่งยืน โดย ดร.วิทยา ชำนาญไพร หัวหน้าโครงการวิจัย สังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะนักวิจัย จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดแสดงในระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเต
(8 สิงหาคม 2566) วันที่สองของ“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 : Thailand Research Expo 2023” ภายใต้แนวคิด “ขับเคลื่อนงานวิจัย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างไทยยั่งยืน” ณ ห้อง Lotus Suite 7 ชั้น 22 บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมจัด “งานเปิดตัวนักวิจัยศักยภาพสูงและแถลงงานวิจัย ประจำปี 2565-2566” โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ร่วมงาน ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูง และประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กองทุนส่งเสริม ววน. ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว 6 นักวิจัยศักยภาพสูง และแถลงคว
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)และโครงการพัฒนางานวิจัยและนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม(พวอ.) ประจำปี 2566 (The National RGJ and RRI Conferences 2023) ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)” ณ ห้องโลตัส 5-6 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานเปิดประชุมวิชาการระดับชาติ รองศาสตราจารย์ ดร.คมกฤต เล็กสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านกำลังคนและสถาบันความรู้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บรรยายพิเศษ “ทิศทางการพัฒนานักวิจัยรุ่นเยาว์” Professor Emeritus Geoffrey A. Cordell Natural Products, Inc. and University of Florida บรรยายพิเศษ เรื่อง “C.A.R.E. in Research” พร้อมได้รับความสนใจจากนักวิจัยเข้าร่วมประชุมมากมายดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง กล่าวว่า วช
วันที่ 7 สิงหาคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) จัดพิธีมอบรางวัล “ชุมชนต้นแบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยผลงานวิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งเป็นการขยายผลความสำเร็จของการพัฒนาพื้นที่ชุมชนสังคมด้วยวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง วช. และ กอ.รมน. โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ พลโท วิกร เลิศวัชรา รองเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นประธานมอบรางวัลฯ ณ เวที Highlight Stage ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 : Thailand Research Expo 2023” ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกหนึ่งในการร่วมปฏิบัติพัฒนานำองค์ความรู้และนวัต
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 หรือ Thailand Research Expo 2023 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 7 – 11 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 22-23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ถือเป็นเวทีรวบรวมวงการนักวิจัยและนวัตกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อสร้างความตระหนักและรับรู้ในการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 จึงได้มีการจัดเวทีเสวนาเรื่อง “แผนกำลังคน ววน. สู่การขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย มี รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศ.ดร.นพ.ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเสวนา ดำเนินรายก