มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.)
ภาพรวมบรรยากาศ มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 9 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่สองของการจัดงาน ยังคงเป็นไปอย่างคึกคัก เกษตรกรสวนยางพาราและประชาชนทั่วไป ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ทยอยมาร่วมงานอย่างหนาตาตลอดทั้งวัน เพื่อเข้าชมนิทรรศการสาระความรู้เกี่ยวกับยางพารา ฟังเวทีเสวนา และเข้าร่วมเวิร์กช็อป ที่สามารถนำไปใช้กับการทำสวนยางได้จริง รวมทั้งมาร่วมลุ้นร่วมเชียร์กิจกรรมต่างๆ มากมายตลอดทั้งวัน ทั้ง การแข่งขันกรีดยางพาราชิงแชมป์ประเทศไทย การประกวดนกกรงหัวจุก และ การประกวดธิดาชาวสวนยาง 2564 สร้างสีสันให้มหกรรมยางพารา 2564 สนุกสนานยิ่งขึ้น โดยการจัดงานครั้งนี้ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน เป็นไปภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จัดเต็มสาระความรู้ “ยางพารา” ครบวงจร มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” นำเสนอนิทรรศการความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมยางพารา การแสดงขนบธรรมเนียม วัฒน
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัด มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” ระหว่างวันที่ 8-10 เมษายนนี้ ที่สนามการยางแห่งประเทศไทย เขตภาคใต้ตอนกลาง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช ตอกย้ำความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมยางพาราในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการปลูกยาง และเป็นศูนย์กลางน้ำยางที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก พร้อมโชว์ศักยภาพประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการแปรรูปยางพาราระดับโลก ประเดิมวันแรกสุดคึกคัก เกษตรกรชาวสวนยางทยอยร่วมงานไม่ขาดสายตั้งแต่เช้า ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จัดเต็มสาระประโยชน์ ครบเครื่องเรื่องยางพาราครบวงจร มหกรรมยางพารา 2564 “นครฯ แห่งนวัตกรรมยางพารา” นำเสนอนิทรรศการความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมยางพารา การแสดงขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น วิถีชาวสวนยาง มีการจัดแบ่งโซนนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ โซนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ, โซนนิทรรศการ นครฯ เมืองแห่งยางพารา, โซนนิทรรศการ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโซนนวัตกรรมยางพารา จากการยางแห่งประเท
วช. ลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เยี่ยมชมผลสำเร็จงานวิจัยโครงการต้นแบบการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการพัฒนาชุมชม พร้อมมอบถุงมือนวัตกรรมจากยางพาราฆ่าเชื้อด้วยตัวเองช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อใช้ในพื้นที่เสี่ยงด่านสะเดา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่จังหวัดสงขลา ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร วช. และคณะสื่อมวลชน เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการวิจัย การพัฒนาถุงมือยางธรรมชาติเคลือบน้ำยานาโนอิมัลชันป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อใช้ในพื้นที่เสี่ยงด่านสะเดา อำเภอสะเดา โครงการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากพืชกระท่อมเพื่อสุขภาพ และโครงการผลิตเครื่องดื่มฟังก์ชั่นนอล ชนิดผงสำเร็จรูปจากสารสกัดข้าวกล้องสังข์หยดอินทรีย์ สำหรับผู้สูงวัย และวัยทำงานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ภายหลังการเยี่ยมชมผลงานวิจัย ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า วช. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ โดยขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ถ่ายทอดเพื่อพัฒนา
ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญและมีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกรรม การติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล รวมถึงใช้เป็นฐานเก็บข้อมูลสำคัญต่างๆ แต่กระบวนการจัดเก็บข้อมูลยังคงเป็นอุปสรรค เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักจะหลงลืม จนหาไฟล์ไม่พบ จำข้อมูลผิดพลาด รวมถึงจัดส่งเอกสารไม่ถูกต้อง ศูนย์สารสนเทศศาสตร์บริการและท่องเที่ยวอัจฉริยะอันดามัน (Andaman Intelligent Tourism and Service Informatics Center: AI-TaSI) ร่วมกับ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ และ นายวรุณ ซิงห์เกิล นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมดิจิทัล วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้ร่วมพัฒนาโปรแกรม “เมมมิฟาย” (Memmify) มาช่วยแก้ไขปัญหา พร้อมช่วยประมวลผลข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น การแนะนำหมวดหมู่หรือป้ายกำกับให้กับเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้ใช้เพิ่มเข้าไป ช่วยประหยัดเวลาของผู้ใช้งานในการจัดระเบียบของข้อมูลเหล่านั้น ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ ทองเทพ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต กล่าว
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) นำ “นวัตกรรมระบบ software smart bed ควบคุมเตียงพลิกตะแคงและเบาะเจลยางพาราป้องกันแผลกดทับ Doctor N Medigel” ส่งมอบนวัตกรรมพร้อมสาธิตการใช้งานระบบ software smart bed และเตียงพลิกตะแคง ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้, รศ.ดร.บัณฑิต กฤตาคม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย พัฒนานวัตกรรม และบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, ผศ. พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ และ รศ.ศักดิ์ระวี ระวีกุล ร่วมกันส่งมอบนวัตกรรม และมี ผศ.นพ.กิตติพงศ์ เรียบร้อย ผู้อำนวยการ รพ.สงขลานครินทร์ เป็นผู้รับมอบฯ ณ อาคารโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ตามสถานการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระยะแรกของการระบาดจนถึงปัจจุบัน และในวันน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พัฒนาเครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก และปลอดภัย อาศัยเทคโนโลยีอิเล็กโทรลิซิสของไทยสำเร็จ รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ปี 2565 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รศ.ดร.วรากร ลิ่มบุตร นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผยความสำเร็จผลการคิดค้น “KIKOWA” เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง ว่า ม.อ. พัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กโทรลิซิส ภายใต้แนวคิด “เพราะน้ำยาฆ่าเชื้อไม่ได้มีแค่แอลกอฮอล์” จนได้เทคโนโลยีอิเล็กโทรลิซิสสายพันธุ์ไทย ชื่อ “KIKOWA” ที่สามารถผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีความโดดเด่น คือ มีความสดใหม่ ผลิตได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่า ฆ่าเชื้อโรคได้หลากหลายกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า อีกทั้งสามารถฆ่าเชื้อราในห้อง และฆ่าไรบนผิวหนังได้ดีเยี่ยม อ่อนโยนไม่ระคายเคืองกับผิวหนังเป็นเพื่อนต่อสิ่งมีชีวิตเนื่องจากไม่เป็นพิษต่อเซลล์ผิงหนัง และเซลล์เยื่อบุช่องปาก ราคาถูก ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ “เครื่องผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง” ได้มีกระบวนกา
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาสารสกัดแปรรูปจากข้าวที่ได้มาตรฐาน หวังสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูป ช่วยชาวนาแก้วิกฤตราคาข้าวตกต่ำ รศ.ดร.ณัฐดนัย หาญการสุจริต จากสำนักประสานแผนงานเกษตรและอาหารมูลค่าสูง บพข. กล่าวว่า การพัฒนาสารสกัดแปรรูปจากข้าวที่ได้มาตรฐาน เกิดจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปของไทย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง บริษัท บ้านไทยเฮิร์บ จำกัด หจก. คชศิลป์ เบเวอร์เรจ และบริษัท โอรี่ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด ด้วยเห็นว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีการเพาะปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ ประมาณร้อยละ 30 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดทั่วโลก และมีรำข้าวซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการแปรรูปจำนวนมาก จึงมีเป้าหมายพัฒนากระบวนการผลิตข้าวมีสี โดยใช้ข้าวสังข์หยดเป็นกรณีศึกษานำร่อง เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบฟังก์ชันในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ รศ.ดร.ณัฐดนัย กล่าวต่อว่า การนำข้าวที่มีสีซึ่งมีส่วนประกอบของ
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 วช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม โครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบการตรวจวิเคราะห์โรคเมลิออยโดสิสในแพะ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้แผนงานวิจัย พัฒนาและขับเคลื่อนการเลี้ยงแพะของภาคใต้ ปีที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) เพื่อให้เกษตรกรใช้ตรวจหาโรคในแพะ เพื่อป้องกันการเสียชีวิต พร้อมทั้งการพัฒนาคุณภาพน้ำนมของเกษตรกร ณ จังหวัดพัทลุง ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารทุนวิจัยได้ปักหมุดหมายการยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้ด้วยวิจัยและนวัตกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว ตั้งเป้าหมายให้เกิดผลผลิตพร้อมใช้ และความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม เช่นเดียวกับ ผลงานการวิจัยเพื่อยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ซึ่งขับเคลื่อนโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งส่งเสริมให้เกิดการยกระดับด้านสัตว์เศรษฐกิจภาคใต้ให้มีความมั่นคงได้ ผศ.ดร.วรรณรัตน์ แซ่ซั่น อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า เชื้อเมลิออยโดสิส เป็นเชื้อ
วช. ลงพื้นที่ จ.สงขลา สนับสนุนแผนงานวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนการเลี้ยงแพะของภาคใต้ ปีที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2564) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุกสร้างมาตรฐาน GMP HALAL เสริมความมั่นคงอาชีพให้เกษตรกร พร้อมบุกเบิกผู้เลี้ยงแพะรายใหม่ในพื้นที่โดยรวมกว่า 200 ราย กระตุ้นบริโภคทั้งในและต่างประเทศ 22 ธันวาคม 2564 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำโดย รศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ ประธานคณะทำงานดำเนินการขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านสัตว์เศรษฐกิจ : ยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการวิจัย ภายใต้แผนงานวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนการเลี้ยงแพะภาคใต้ พ.ศ. 2563- 2565 ของคณะนักวิจัย คณะทรัพยากรธรรมชาติ แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คาดการณ์งานวิจัยสามารถตอบโจทย์ปัญหาการเลี้ยงแพะภาคใต้ได้ ด้วยองค์ความรู้ด้านรูปแบบการจัดการการเลี้ยงแพะ ระบบอาหาร การปรับปรุงและการผสมพันธุ์ รวมทั้ง การจัดการโรคในแพะ “เมลิออยโดสิส” บุกเบิกผู้เลี้ยงรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 200 ราย เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน จากสถานการณ์โรคโควิด-19
ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้รู้จักพืชกระท่อมมานานกว่า 100 ปี ใช้เป็นยารักษาโรค เป็นของขบเคี้ยวระหว่างเพื่อนฝูง และเป็นของกินเพื่อต้อนรับแขกที่มาเยือน ไม่ต่างจากกินหมากพลูของชาวภาคกลาง การเคี้ยวใบกระท่อมอยู่ในวิถีชีวิตชาวปักษ์ใต้เช่นเดียวกับ “การดื่มกาแฟของคนเมือง” ก่อนการไปทำงานในแต่ละวัน เพราะเชื่อว่า การเคี้ยวใบกระท่อม จะช่วยให้ทำงานได้ยาวนานขึ้น ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ศึกษาเรื่องการใช้ประโยชน์กระท่อมในฐานะพืชสมุนไพร พบว่า ความรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ได้ถ่ายทอดสู่ลูกหลานรุ่นต่อรุ่นในการใช้ใบกระท่อมรักษาโรค ได้แก่อาการไอเรื้อรัง ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อย ปวดท้อง แผลอักเสบ แก้ไข้ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมะเร็ง ฯลฯ อาจใช้ ใบกระท่อมเป็นยาหลักหรือยารอง ในการบรรเทาอาการท้องร่วง หรือบางตำรับ อาจผสมกับเครื่องยาที่มีรสฝาด และเครื่องยาลดอาการท้องอืดเช่นเดียวกัน ภูมิปัญญาการใช้พืชกระท่อมในการรักษามีมานานมากแล้วและค่อย ๆ สูญหายไปตามกาลเวลา ตายไปพร้อมกับหมอพื้นบ้าน แม้ว่ากระท่อมได้รับการบรรจุเป็นยาในตำราแพทย์แผนไทย แต่การนำมาใช้ถูกจำกัดด้วยก