มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.)
มอ.ปัตตานี : ส่งต่อข้อมูลผู้ไม่จบการศึกษาระดับ ม.ปลาย 41,830 คน จากผลการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ด้านการศึกษาให้ กศน.ปัตตานี เพื่อหาแนวทางจัดการศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายจบการศึกษาขั้นพื้นฐานและในระดับที่สูงขึ้น วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2564 โครงการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย : กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี โดย รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และคณะ #นำผลการวิจัยและหารือการส่งต่อข้อมูลผู้ไม่จบ ม.ปลาย 41,830 คนให้กับนายอุดร สิทธิพาที ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี เพื่อหาแนวทางจัดการศึกษาให้กลุ่มเป้าหมายจบการศึกษาขั้นพื้นฐานและในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ณ สำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
แพะ ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่อาศัยในพื้นที่เป็นคนไทยอิสลาม จึงทำให้แพะเป็นที่ต้องการเพราะใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เนื่องจากแพะเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูง สามารถหากินใบไม้ใบหญ้าได้เอง ทั้งยังให้ผลผลิตเนื้อและนม เนื้อแพะเป็นอาหารที่มีโปรตีนที่ย่อยได้ในระดับสูงกว่าเนื้อวัว หมู และไก่ มีไขมันในระดับต่ำกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ นมแพะมีคุณค่าทางอาหารสูง ใกล้เคียงหรือสูงกว่านมโค กระบือ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า วช. เล็งเห็นความสำคัญ และประโยชน์ของการเลี้ยงแพะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงส่งเสริมและสนับสนุนทุนให้ แผนงานวิจัยและพัฒนาขับเคลื่อนการเลี้ยงแพะของภาคใต้ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยอุตสาหกรรมและชุมชน สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงพื้นที่ไปสำรวจปัญหาจากเกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อนำมากำหนดเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาด้านแพะ ให้เลี้ยงแพะของภาคใต้กลาย
วันนี้ (28 ก.ย. 64) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ส่งมอบ “นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบผลิตออกซิเจน บวก-ลบ” เครื่องใหญ่แบบตั้ง จำนวน 26 เครื่อง และเครื่องเล็กพกพา จำนวน 24 เครื่อง โดยมี นางสุจิตรา พิทยานรเศรษฐ์ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ และนางสาวสราญภัทร อมุมัติราชกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นผู้รับมอบ ฯ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. เป็นหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ ที่มีเป้าหมายในการนำผลสำเร็จจากงานวิจัยและนวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาสำคัญและเป็นวิกฤตเร่งด่วนของประเทศ ทั้งนี้ วช. ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลคนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะคนพิการและผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จึงได้ร่วมกับ พม. โดย พก. และ ผส. ในการขับเคลื่อนงานนวัตกรรมพร้อมใช้สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ผลักดันให้เกิดการนำผลงานนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกันตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนและเสริมสร้างความมั่นคงด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” และจัดกิจกรรมเสวนาเรื่อง “ทิศทางการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนและเสริมสร้างความมั่นคงด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” และจัดกิจกรรมเสวนาเรื่อง “ทิศทางการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้และ พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงเป้าหมายและวัตถุประส
ปัจจุบัน การผลิตผักในดินมีข้อจำกัดและอุปสรรคอย่างมากสำหรับเกษตรกร เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้ตลอดทั้งปี และปัญหาคุณภาพดินที่ไม่เหมาะสม เช่น เป็นกรดจัด เป็นดินเค็ม มีโลหะหนักและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง มีธาตุอาหารในดินที่ไม่สมดุล เป็นต้น ตลอดจนปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วม รวมทั้ง การเกิดโรคและแมลงศัตรูผัก ผักที่ผลิตได้มักมีค่าไนเทรตเกินมาตรฐาน ส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของผัก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้ความร่วมมือกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนเป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วช.เล็งเห็นว่างานวิจัยระบบการผลิตผักไฮโดรโพนิกส์แบบน้ำไหลเวียน DRFT มีความปลอดภัยตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตทั้งต่อผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ได้ผลผลิตที่ตรงความต้องการของผู้บริโภค สร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่และความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก (Local economy) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมเพื่อนำ
ศ.ดร.ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะ เผยการศึกษาสารโรโดไมรโทนจากใบกระทุ (วงศ์ชมพู่) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่เพื่อรองรับปัญหาเชื้อดื้อยา และการใช้เทคโนโลยีต่อยอดเป็นนวัตกรรมสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พร้อมรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ปี 2564 ระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปัจจุบันปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ จัดเป็นปัญหาวิกฤตระดับชาติและระดับโลกที่ควรตระหนัก เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในแต่ละปี และเชื้อแบคทีเรียยังคงพัฒนาความสามารถในการต่อสู้กับยาปฏิชีวนะได้รุนแรงมากขึ้น ยาที่เคยใช้อาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป อีกทั้งอุตสาหกรรมยาทั่วโลกยังขาดการวิจัยในการคิดค้นพัฒนายาชนิดใหม่ขึ้น เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้อย่างทันท่วงที ส่งผลกระทบต่อวงการแพทย์แผนปัจจุบัน และสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีบทบาทสำคัญในการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การริเริ่มขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ และ ดร. พรพิมล เชื้อดวงผุย รักษาการหัวหน้าสาขาวิชาวาริชศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้การต้อนรับ นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการ ผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสัตว์น้ำครบวงจร เขตประเทศไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายหัวข้อ “New Normal กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในอนาคต” แก่นักศึกษาและผู้ที่สนใจรวม 200 คน ได้มีโอกาสทราบเกี่ยวกับธุรกิจด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบันและแนวโน้มอนาคต รวมถึงแนวทางการรับบุคลากรทำงานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมี นายสุรพล ประมงค์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และ นางตาบส์ทิพย์ แสงแก้ว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ ร่วมด้วย ณ ห้องประชุมภูมิปัญญศิลป์ สถาบันวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)โดยศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ จัดการอบรมการผลิตผักไฮโดรโพนิกส์ปลอดภัย ให้กับอาจารย์และนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ และเกษตรกรชาวสวนในเทศบาลเกาะสมุย ที่วิทยาลัยอาขีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ อำเภอสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี วช. ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา โดย ดร. กลอยใจ สำเร็จวาณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ วช. และ รศ.ดร.อัจฉรา เพ็งหนู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัย ในการกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ในการใช้ชีวภัณฑ์ B-Veggie ในการควบคุมโรคของผักไฮโดรโพนิกส์ ที่ปลูกในดินและในโรงเรือนเพาะชำที่ไร้ดิน เนื่องจากชาวสวนมีปัญหาที่เกิดจากการปลูกผักคือ โรคเน่า โรคใบจุด และศัตรูพืชในผัก การควบคุมศัตรูผักโดยชีววิธี เป็นการใช้สื่งมีชีวิตหรือจุลินทรีย์มายับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคหรือแมลง เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายต่อพืช เรียกจุลินทรีย์เหล่านี้ว่า จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ โดยมีกลไกการ
“ไข่แมงดา” ที่ขึ้นชื่อว่าหอม มัน เคี้ยวอร่อย คือหนึ่งในเมนูอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สามารถนำมาทำเมนูได้หลากหลาย โดยจะกินแบบเผากับน้ำจิ้มซีฟู้ด หรือนำมาทำเป็นยำไข่แมงดาก็ถูกปากคอซีฟู้ด แต่รู้หรือไม่ว่าในความอร่อยนั้นยังแฝงไปด้วยพิษภัยอันตราย โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการรับประทานแมงดาที่มีพิษอยู่ไม่น้อย ล่าสุดมีข่าวสาววัยกลางคนในจังหวัดสระแก้ว ซื้อไข่แมงดาจากตลาดเพื่อมาประกอบอาหารรับประทานในครอบครัว ภายหลังรับประทานไปได้ไม่นาน เกิดอาการปากชา มือเท้าชา หายใจลำบาก ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลและเสียชีวิตในเวลาต่อมา แพทย์ระบุเหตุจากพิษของไข่แมงดาที่รับประทานเข้าไปโดยไม่ทราบว่ามีพิษ ทั้งนี้ เพื่อให้ความรู้ในการจำแนกชนิดของแมงดามีพิษกับไม่มีพิษ รศ.ดร. ซุกรี หะยีสาแม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องแมงดาทะเล ในโครงการการใช้ฐานทรัพยากรชีวภาพอ่าวปัตตานี สู่การใช้ประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพยั่งยืนและมั่นคง ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกมาแนะนำให
กรมวิชาการเกษตร ตามหาพันธุ์กล้วยโบราณ 12 ชนิด สนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ล่าสุดพบแล้ว 6 ชนิด ในพื้นที่ จ.นราธิวาส และกล้วยพันธุ์หายากอื่นๆ อีก 30 ชนิด พร้อมจัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์กล้วยพื้นเมืองภาคใต้ตามพระราชดำริ บนพื้นที่ 2.1 ไร่ และอยู่ระหว่างจำแนกและตรวจวิเคราะห์ลายพิมพ์ DNA เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ นายจิระ สุวรรณประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 (สวพ.8) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตามที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริขอให้รวบรวมพันธุ์กล้วยหายากตามรายชื่อพันธุ์กล้วยที่มีอยู่ในสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และตามหนังสือโบราณ เมื่อปี 2468 ของจังหวัดยะลา ที่ได้กล่าวถึงกล้วยชายแดนใต้ 12 พันธุ์ มาไว้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นราธิวาส ประกอบด้วย 1.ปีแซ กาปา (กล้วยตะเภา) 2.ปีแซ ซูซู (กล้วยนมสาว) 3.ปีแซ ยะลอ (กล้วยหอม) 4.ปีแซ กูกู กูดอ (กล้วยเล็บม้า) 5.ปีแซ ลือเมาะมานิ 6.ปีแซ กาลอ (กล้วยตานี)