มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
กล้วยไข่เป็นพืชที่ปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ จังหวัดจันทบุรี เป็นอีกแหล่งที่สามารถปลูกและส่งออกกล้วยไข่คุณภาพดีได้ เกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีนิยมปลูกกล้วยไข่กันมาแถบพื้นที่อำเภอมะขาม อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอท่าใหม่ อำเภอนายายอาม และอำเภอคิชฌกูฏ โดยสายพันธุ์กล้วยไข่ที่เกษตรกรนิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์กำแพงเพชร พันธุ์พระตะบอง และพันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 ถึงเเม้กล้วยไข่จะเป็นผลไม้ที่ทำเงินให้เกษตรกร เเต่ด้วยปริมาณผลผลิตที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งกล้วยลูกเล็กๆ ผิวไม่ค่อยสวยที่อยู่บริเวณปลายเครือ หรือที่เรียกกันว่า “กล้วยตีนเต่า” มักขายไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ อาจารย์สุนทร ฟักเฟื่อง สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จึงได้นำกล้วยไข่ตกเกรดมาแปลงโฉมและรสชาติใหม่ กลายเป็น “ซอสกล้วยไข่” แปลงโฉมกล้วยไข่ให้เป็นซอส อร่อยจนแยกไม่ออก ปกติเเล้วกล้วยไข่จะจำหน่ายผลสด หากเหลือค่อยนำมาแปรรูปเป็นเมนูต่างๆ เเต่สำหรับกล้วยตีนเต่าเป็นกล้วยที่ตกไซซ์ ผิวไม่สวย ไม่มีใครรับซื้อ คนปลูกเลยปล่อยให้เน่าทิ้ง ด้วยเหตุผลอยากเพิ่มมูลค่ากล้วยที่ไม่มีใครต้องการ เลยเป็นที่มาของงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อเ
“ดอกโสน เป็นพืชผักในกลุ่มผักท้องถิ่น มีดอกสีเหลืองทอง มักขึ้นบริเวณริมคลอง คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานในส่วนของดอกและยอดอ่อน ตัวอย่างเมนูที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ขนมดอกโสน แกงส้มดอกโสน ไข่เจียวดอกโสน หรืออาจนำมาผัดน้ำมันหรือลวกสำหรับรับประทานคู่กับน้ำพริกนานาชนิด ซึ่งรสชาติของดอกโสนจะให้รสหวานมันและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว โสนเป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจลงทุน เพราะปลูกดูแลง่าย เก็บดอกขายได้ทั้งปี เมื่อต้นโสนเริ่มแก่ก็สามารถตัดต้นออกเพียงครึ่งต้นเพื่อปล่อยให้แตกยอดใหม่และสามารถเก็บดอกขายได้ทั้งปีเช่นเดิม ดอกโสนนอกจากนำมาทำอาหารคาวหวานได้หลากหลายเมนูแล้ว ยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสมีสรรพคุณบำรุงกระดูกและสมอง มีธาตุเหล็กบำรุงโลหิต มีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดอกโสนยังมีสารฟลาโวนอยด์ และสารเควอเซทินมีฤทธิ์ช่วยหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยระงับการอักเสบ และช่วยป้องกันอันตรายของเซลล์ปกติต่อความเครียดจากกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ “คุกกี้เนยสดดอกโสน” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างมูลค่าเพิ่มดอกโสน เกิดจากแนวคิดของ นายวัชรศักดิ์ จักกิจ ระหว่างที่กำลังศึกษาในสาขาอาหารและโภชนา
ระหว่างวันที่ 6-8 ตุลาคม 2566 ดร.ภาณุมาศ สุยบางดำ ผู้อำนวยการวิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พร้อมด้วย ดร.ณัฐชา สาระมาศ หัวหน้าโครงการ คณะอาจารย์สาขาการบัญชี บุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาวิทยาลัยรัตภูมิกับนักศึกษาต่างประเทศ (ประเทศมาเลเซีย) ณ วิทยาลัยรัตภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี กล่าวเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับ PROF MADYA DR AZRUL ABDULLAH (HEAD OF LEARNING CENTRE) คณะอาจารย์และนักศึกษาจาก Universiti Teknologi MARA (UiTM) Perlis จำนวน 38 คน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตร และ ดร.ลมุล เกยุรินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ บรรยายภายใต้หัวข้อ “MANAGEMENT ACCOUNTING FOR SHORT-TERM DECISION MAKING Cost-Volume-Profit Analysis A single product” โครงการดังกล่าวเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge management – KM) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แ
ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2566 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จัดการประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 8 : ศาสตร์บูรณางานวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Liberal Arts National Conference 2023) และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 3 (Liberal Arts International Conference 2023) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญฤทธิ์ โอมณี คณบดีคณะศิลปศาสตร์ กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ห้องประชุมใช้บางยาง ชั้น 2 อาคาร 59 สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ศรีวิชัย โดยงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าภาพร่วมเครือข่ายมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ กว่า 30 หน่วยงาน ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมได้รับฟังการบรรยายจาก Keynote Speaker 2 ท่าน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา หัวหน้าภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ “นว
กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) จัดใหญ่ โชว์ความสำเร็จด้านการพัฒนากำลังคนจากการคัดเลือก บ่มเพาะ และเคลื่อนย้ายกำลังคนไปทำงานร่วมกับสถานประกอบการเพื่อการพัฒนานวัตกรรม ในงาน “มหกรรมนวัตกรรมการทำงานของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลร่วมกับภาคประกอบการ ครั้งที่ 2” ณ โรงแรมโนโวเทล ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ประธานคณะกรรมการที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เป็นประธานเปิดงานมหกรรมนวัตกรรมการทำงานของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลร่วมกับภาคประกอบการ ครั้งที่ 2 (The 2nd RMUT-TRM Day) ที่จัดขึ้นในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมโนโวเทล ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต โดยมีอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ผู้แทนหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สถานประกอบการ และนักวิจัยผู้มีศักยภาพของกลุ่ม มทร. เข้าร่วมงานกว่า 300
มูลนิธิดั่งพ่อสอน ร่วมลงนาม MOU กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่าง มุ่งเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยนำศิลปะมาผลักดัน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับจิตใจ ร่วมจัดโครงการรณรงค์เนื่องใน “วันดินโลก”เพื่อส่งเสริม เชิดชู เรียนรู้ความสำคัญของแผ่นดิน ส่งภารกิจแรก จัดกิจกรรมประกวดงานทัศนศิลป์ ในกลุ่มเยาวชนและประชาชนทั่วไป ใน วันที่ 5 ธันวาคม ภายใต้ชื่อโครงการ “ศาสตร์ ศิลป์ ดิน สยาม” ตั้งเป้าสร้างผลงานศิลปะกว่า 30,000 ชิ้น เบิกฤกษ์ดี 13 กรกฎาคม 2566 ในพิธีไหว้ครูช่างและบายศรีสู่ขวัญ 110 ปี วิทยาลัยเพาะช่าง ประจำปี 2566 ได้ถือวันดีวันนี้ร่วมลงนามความร่วมมือ ระหว่างมูลนิธิดั่งพ่อสอนและวิทยาลัยเพาะช่าง เพื่อที่จะนำศิลปะเป็นแกนในการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนในด้านต่างๆ ของคนในสังคม โดยในปี 2566 นี้ ได้ริเริ่มโครงการแรก “ศาสตร์ ศิลป์ ดิน สยาม” ซึ่งเป็นโครงการจัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องใน “วันดินโลก” โดยเชิญชวนกลุ่มเยาวชนระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการประกวดงานทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของแผ่นดิน และ
ผศ.ดร.สาลินันท์ บุญมี รองอธิการบดี รักษาราชการแทนคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ มาให้ความรู้ มีผู้เข้าอบรมจาก อบจ. เทศบาล อบต. และหน่วยงานท่องเที่ยวเข้าร่วม 80 คน ศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง กล่าวว่า คณะศิลปศาสตร์ มทร.สุวรรณภูมิ ได้ร่วมจัดหลักสูตรกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ NIDA ในการพัฒนาสมรรถนะ ทักษะและองค์ความรู้ด้านการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวมรดกโลกอยุธยาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้แผนงานการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อยกระดับทักษะการวางแผนและความคิดเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่มรดกโลกอยุธยา ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดเห็นความสำคัญในการจัดการที่จะยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะในเรื่องความหลากหลายของนักท่องเที่ยว มีควา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาลินันท์ บุญมี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนางานวิชาการ เรื่อง “แนวทางการเขียนหนังสือตำราในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.อลงกลด แทนออมทอง จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และกรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ (มทร.สุวรรณภูมิ) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมบรรยายให้ความรู้ พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ดร.ประยุทธ อัครเอกฒาลิน กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ มทร.สุวรรณภูมิ และ ศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข กรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม Workshop ณ ภูเขางาม รีสอร์ท จังหวัดนครนายก
ระหว่างวันที่ 5-9 มิถุนายน 2566 งานวิเทศสัมพันธ์ นำโดย ดร.ลมุล เกยุรินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี นำทีมคณะผู้บริหาร ได้แก่ รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการสำนัก จำนวน 32 ราย เดินทางเข้าร่วม การอบรมหลักสูตรด้านการบริหาร Transforming Educational Institution into I4.0 and Smart Nation Ready ณ Nanyang Polytechnic International, Singapore การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงประกอบด้วย Mr.Wee Chin Chuan, Executive Director of Oriel Group of Companies and Director of Global Sustainability Nexus, Mr.Graham Ng, SIT Project Engagement, Mr.Edward Ho, Industry 4.0 @ NYP NYP Digital, Lai Poh Hing Transformation Journey รวมถึงศึกษาดูงาน ณ บริษัทที่มีชื่อเสียงในสิงคโปร์ ประกอบด้วย MakerSpace, Marina BarrageURA Gallery, Sanwa Intec, Developing I&E Spirit of Students ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยเล็งเห็นถึงความร่วมมือที่สามารถพัฒนาร่วมกันได้ ประกอบด้วย Conduct capacity building and capability development programs; Collaborat
สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ร่วมกับสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมฟังผลงานและสิ่งประดิษฐ์ด้านวิศวกรรมเกษตร ใน “การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับนานาชาติ ครั้งที่ 16 และระดับชาติครั้งที่ 24″ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2566 โดยสามารถเข้าดูรายละเอียดได้จาก https://tsae2023.rmutto.ac.th https://www.facebook.com/SEI.RMUTTO?mibextid=LQQJ4d #วิศวกรรมเกษตร #ร่วมส่งบทความทางวิชาการ #สมาคมวิศวะกรรมแห่งประเทศไทย #SEIRMUTTO #RMUTTO #ราชมงคลตะวันออก